ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,482 รายการ

ชื่อเรื่อง                     ประเพณีเก่าของไทย 3 ประเพณีเนื่องในการสร้างบ้านปลูกเรือน                ผู้แต่ง                       พระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ขนมธรรมเนียม ประเพณีเลขหมู่                      398.3 อ195ปชสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ทหารกองหนุนปีที่พิมพ์                    2493ลักษณะวัสดุ               124 หน้า หัวเรื่อง                     ไทย – ความเป็นอยู่และประเพณี                              พิธีกรรม                              บ้านภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นายใช้ วันไชย


ชื่อผู้แต่ง         บุญชื่น  เพชรประดับ ชื่อเรื่อง           คืนสู่เหย้าชาวชุมพร พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     ม.ป.ท. สำนักพิมพ์       ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์          2522 จำนวนหน้า      188 หน้า                    คืนสู่เหย้าชาวชุมพร  เป็นการรวบรวกำลัง  ความสามัคคีของชาวชุมพรที่อยู่ในเขตกรุงเมพมหานคร  ได้ประกอบกิจกรรมอันเป็นคุณประโยชน์ต่อท้องถิ่นภูมิลำเนาเดิมปีละหนึ่งครั้ง  โดยเลือกจัดในวันสงกรานต์  เพื่อให้ได้รับประโยชน์สมบูรณ์ 



ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2492 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนเกษมกรรณสูต (ระเส็ง กรรณสูต)             นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติ ปฐมสังคายนา ทุติยสังคายนา ตติยสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนามาถึงสุวรรณภูมิ และกล่าวถึงกำเนิดพุทธศาสนามหายาน



แผ่นจำหลักประดับเพดานรูปดาว (ดาวเพดาน)   ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษ ที่ ๒๓-๒๔ ไม้ ลงรักปิดทอง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๒๗ ซ.ม. ได้จากวัดศรีรัตนมหาธาตุ (เชลียง) อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย   แผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมเกือบจัตุรัส จำหลักลายนดอกบัวอยู่ในวงกลมชั้นในและลายดอกบัวประกอบลายพันธุ์พฤษาในวงกลมชั้นนอกอีก ๓ ชั้น มุมทั้ง ๔ ด้านสลักรูปเทพพนมสี่องค์ ล้อมรอบด้วยลายกระหนกและพันธุ์พฤษา แผ่นไม้จำหลักที่ประดับอยู่บนเพดานของโบสถ์หรือวิหาร มีชื่อศัพท์ทางสถาปัตยกรรมไทยอีกอย่างหนึ่ง ‘เกือกพวง’ ลายจำหลักที่มีองค์ประกอบเป็นรูปวงกลมใหญ่และวงกลมย่อย ซ้อนกันอยู่หลายวงสมมติให้เป็นเสมือนดวงดาวหรือมณฑลแห่งสังสารวัฏหรือวัฏแห่งจักรวาล เป็นโบราณวัตถุที่แสดงถึงงานฝีมือช่างท้องถิ่นที่มีความวิจิตรงดงาม   ที่มาของข้อมูล : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง   ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผ่าน QR code จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓


“โป๊ยเซียน” เป็นคำภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว แต่ในสำเนียงจีนกลางออกเสียงเป็น “ปาเซียน”  โดยคำว่า “ปา” หรือ “โป๊ย” หมายถึง เลขแปด ส่วนคำว่า “เซียน” หมายถึง ผู้วิเศษตามความเชื่อของจีน ความเชื่อเรื่องแปดเซียน หรือโป๊ยเซียนเป็นความเชื่อในลัทธิเต๋าของจีน ซึ่งกล่าวถึงกลุ่มเทพเจ้าจีน ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมดแปดองค์ และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยชาวจีนเชื่อกันว่าแปดเซียน หรือโป๊ยเซียนเป็นสัญลักษณ์ของความสุข ความโชคดี และการอำนวยพรให้มีอายุยืนยาว ตำนานเกี่ยวกับแปดเซียน หรือโป๊ยเซียนมีอยู่ด้วยกันหลายตำนานแตกต่างกันออกไปตามแต่ละยุคแต่ละสมัย บันทึกเก่าแก่เกี่ยวกับแปดเซียน หรือโป๊ยเซียนเชื่อกันว่า มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก  โดยปรากฏอยู่ในบันทึก “หวายหนานจื่อ” ของหลิวอัน และเรียกเซียนทั้งแปดว่า “ปากง” ซึ่งเป็นเหล่าเซียนที่มุ่งแสวงหายาอายุวัฒนะ และได้บำเพ็ญเพียรจนกระทั่งสำเร็จกลายเป็นเซียน แปดเซียน หรือโป๊ยเซียนเป็นกลุ่มเซียนที่เป็นที่นิยมนับถือบูชาในหมู่ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยเซียนทั้งแปดองค์มีเรื่องราวประวัติความเป็นมา และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แตกต่างกัน เซียนทั้งแปดองค์ประกอบไปด้วย 1. หลี่ทิก้วย/ทิก้วยลี้ เซียนแห่งยา และการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ 2.ฮั่นเจ็งลี้  เซียนแห่งโชคลาภ กิจการและการปกครอง 3.หลื่อทงปิง เซียนแห่งธุรกิจการค้า ความมั่งคั่ง และการรักษาโรค 4.เตียก้วยเล่า  เซียนแห่งความมั่นคง ความมีอายุยืน และสุขภาพดี 5.หน่าไฉฮั้ว เซียนแห่งความอุดมสมบูรณ์ และบุปผชาติ 6.ฮ่อเซียงโกว  เซียนแห่งความดีงาม ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู และการเกษตรกรรม 7.ฮั้งเซียงจื้อ เซียนแห่งการพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และการดนตรี 8. เฉาก้กกู๋/เช้าก้กกู๋เซียนแห่งตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ ราชการและความซื่อสัตย์ .................................................................................... เรียบเรียง/กราฟฟิก : ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา  .................................................................................... อ้างอิง : 1. กรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. 2. ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. 108 สัญลักษณ์จีน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2552. 3. โป๊ยเซียน. เข้าถึงเมื่อ 8 ตุลาคม 2563. เข้าถึงได้จาก http://www.jiewfudao.com/เทพเจ้าสัญลักษณ์มงคล/โป๊ยเซียน.html



ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุรุษ พบที่เจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง        ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุรุษ ยืนเอียงสะโพก เกล้าผมเป็นมวยสูงที่เรียกว่าทรงชฎามกุฎ ไม่มีรายละเอียดของเครื่องประดับศีรษะ แต่ปรากฏผ้าหรือสายรัดที่โคนมวยผม ใบหน้าค่อนข้างเหลี่ยม คิ้วต่อกันเป็นปีกกา ตาเหลือบมองลงต่ำ จมูกโด่ง ริมฝีปากได้รูป แสดงอาการอมยิ้มเล็กน้อย ใบหน้าแสดงความรู้สึกถึงความมีเมตตา เป็นประติมากรรมที่ถูกปั้นด้วยฝีมือช่างชั้นเยี่ยม ทั้งนี้ไม่ปรากฏรายละเอียดของเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ลักษณะการยืนแบบเอียงตนของประติมากรรมชิ้นนี้ แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ แต่เนื่องจากใบหน้าแสดงถึงงานฝีมือช่างที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดีแล้ว จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)          ประติมากรรมปูนปั้นชิ้นนี้ ไม่มีลักษณะทางประติมานวิทยาของรูปเคารพพระโพธิสัตว์ เช่น รูปพระอมิตาภะหรือสถูปจำลองบนมวยผม อาจเกิดจากมวยผมส่วนบนหักหายไปก็เป็นได้ แต่มีลักษณะที่โดดเด่นคือ ช่างได้ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกถึงความมีเมตตา ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่พระโพธิสัตว์ทรงมีต่อมวลมนุษย์ ประกอบกับท่ายืนแบบเอียงตน ชวนให้นึกถึงประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ ที่พบจากมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น พระโพธิสัตว์ดินเผา พบที่เจดีย์หมายเลข ๔๐ เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน งานประติมากรรมปูนปั้นถือเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับศิลปกรรมสมัยทวารวดี แสดงให้เห็นถึงวิธี และรสนิยมในการตกแต่งศาสนสถาน ที่มีความหลากหลาย ทั้งประติมากรรมรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวดา หรือลวดลายประดับต่าง ๆ ชวนให้จินตนาการว่าเมื่อครั้งที่ศาสนสถานเหล่านี้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ จะเปี่ยมไปด้วยความสวยงาม และแสดงถึงความศรัทธาของช่างในสมัยทวารวดีมากเพียงใด -------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-------------------------------------------------บรรณานุกรม กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. สมศักดิ์ รัตนกุล. โบราณคดีเมืองคูบัว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๕.


ชื่อผู้แต่ง           มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ ชื่อเรื่อง            สมครามสืบราชสมบัติโปรลันด์ ครั้งที่พิมพ์         - สถานที่พิมพ์       - สำนักพิมพ์         โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์            ๒๔๖๘ จำนวนหน้า        ๑๐๒ หน้า หมายเหตุ          หุ้มแพรพระโสภณอักษรกิจ(เล็ก สมิตะสิริ) พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระเดชพระคุณในงานถวายพระเพลิง พระบรมศพ เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๖๘                        เรื่องสงครามสืบราชสมบัติโปลันด์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ เปนภาษาอังกฤษ ในเวลาที่สำเร็จการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ความประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ มีอยู่ที่จะรวบรวมเรื่องราวในการสืบราชสมบัติโปลันด์จากที่ต่างๆ สรรเอามาร้อยกรองเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาประวัติศาสตร์


     พระพุทธรูปนั่งปางแสดงธรรม มีพระมัสสุ      สำริด สูง ๒๓ เซนติเมตร      ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว)      พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี      จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      พระพุทธรูปนั่ง ปางแสดงธรรม พระเศียรใหญ่ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกใหญ่งุ้ม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์หนาอมยิ้ม มีพระมัสสุอยู่เหนือขอบพระโอษฐ์ พระกรรณยาวเจาะเป็นช่อง เม็ดพระศกเล็ก พระอุษณีษะทรงกรวย พระรัศมีรูปดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย ขอบสบงเป็นแนวที่บั้นพระองค์ มีชายสังฆาฏิอยู่เหนือพระอังสาซ้าย พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ แสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นยึดชายจีวรไว้เหนือระดับพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ พระบาทซ้ายอยู่บนพระบาทขวา      พระพุทธรูปองค์นี้แสดงถึงสุนทรียภาพและความนิยมแบบพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระขนงที่ต่อกันเป็นรูปปีกกา และการแสดงวิตรรกะมุทรา เริ่มปรากฏอิทธิพลศิลปะเขมรขึ้น เห็นได้จากรูปแบบพระพักตร์สี่เหลี่ยม และพระพุทธรูปมีพระมัสสุเหนือขอบพระโอษฐ์ นอกจากนั้นรูปแบบพระรัศมีและสังฆาฏิที่พาดเหนือพระอังสาซ้ายนั้น เป็นอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ (ประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นจึงอาจกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว)      การทำพระมัสสุหรือไรมัสสุ ในประติมากรรมสมัยทวารวดี น่าจะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากศิลปะเขมร เนื่องจากการทำพระมัสสุนั้นมักปรากฏในกลุ่มเทวรูป และประติมากรรมภาพบุคคลหรือยักษ์ เริ่มตั้งแต่ศิลปะเขมร สมัยบาแค็ง (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นต้นมา ทั้งนี้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า การทำพระมัสสุหรือไรมัสสุในพระพุทธรูป อาจเกิดจากความเคยชินของช่างในการสร้างประติมากรรมที่เป็นเทวรูปก็เป็นได้   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.


จันทรสุริยคาธ ชบ.ส. ๑๘ เจ้าอาวาสวัดต้นสน ต.บางปลาสร้อย เขต ๑ อ.เมือง จ.ฃลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๐ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.19/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อาคารเก่าริมฝั่งโขงเมืองนครพนม (ตอนที่ ๒) ในครั้งนี้ขอนำเสนออาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงเลียบถนนชยางกูร เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคนที่เดินทางมายังจังหวัดนครพนมต้องมาเชคอิน โดยอาคารหลังนี้ก็มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับจังหวัดนครพนมที่น่าสนใจ ดังนี้ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) นี้ สร้างขึ้นในสมัยของพระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรภ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ซึ่งนับเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรกตามประกาศกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๔๕๙ ที่เปลี่ยนคำว่า “เมือง เป็น “จังหวัด” ทั่วราชอาณาจักร โดยว่าจ้างช่างชาวญวนชื่อ นายกูบา เจริญ เป็นผู้ก่อสร้างในช่วง พ.ศ. ๒๔๕๘ และต่อมาเมื่อท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาอดุลย์เดชเดชาสยามเมศวรภัคดีพิริยพาหนะ ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร จึงได้ขายอาคารหลังนี้ให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อใช้เป็นที่พักของผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ตามเอกสารหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ฉบับที่ ๕๓๑๗ ออกโดยกรมที่ดิน เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ กำหนดเนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ ๔๒.๔๐ ตารางวา ระบุว่าได้ซื้อมาจากพระยาอดุลย์เดชาฯ ตามหนังสือซื้อขายลงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท สิ่งก่อสร้างสำคัญประกอบด้วย ๑) อาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงจั่ว ๒ ชั้น (จวนผู้ว่าราชการจังหวัด) ๑หลัง ๒) อาคารไม้ชั้นเดียวเรือน แถว ทรงจั่ว (บ้านพักเจ้าหน้าที่) ๑ หลัง และ ๓) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ทรงเพิง (โรงครัว) ๑ หลัง ลักษณะของอาคารหลังนี้อาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องว่าว ออกแบบโดยใช้ผนังรับน้ำหนักแทนการใช้เสา ตัวอาคารทาด้วยสีเหลือง ประตูและหน้าต่างทาด้วยสีเขียว พื้นชั้นล่างปูกระเบื้องซีเมนต์ลาย ชั้นบนปูไม้กระดานเข้าลิ้น การตกแต่งประดับพบที่การสร้างประตูโค้งครึ่งวงกลมและหน้าต่างโค้ง เหนือประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นรูปซุ้มโค้งระยะเวลาก่อสร้างอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๕๘ - ๒๔๖๘ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน “จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมหลังเก่า” พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๔ ไร่ ๔๒.๔ ตารางวา ในกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๖๙ ง หน้า ๑ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ ปัจจุบันอาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) แห่งนี้ ได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) แบ่งเป็น ๕ ส่วน อยู่ในบริเวณชั้นล่าง ๓ ส่วน และชั้นบนอีก ๒ ส่วน ท่านใดที่เดินทางมาจังหวัดนครพนม สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้นะคะ นอกจากจะสามารถถ่ายรูปกับสถาปัตยกรรมสวยๆแล้ว รับรองว่าจะได้รับสาระความรู้ดีๆกลับบ้านไปอย่างแน่นอนค่ะ ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ อ้างอิง : - คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว. - สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี.โบราณสถานขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี (เล่มที่ ๒).อุบลราชธานี:อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.