ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,453 รายการ
จัดให้มีการบริการทางการศึกษา นำชมพิพิธภัณฑ์และโบราณสถาน แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในอำเภอไชยา
จัดฉายภาพนิ่งและวีดีทัศน์ การบรรยายพิเศษชั่วคราว
จัดทำเอกสารเผยแพร่แก่นักเรียน ประชาชน และนักท่องเที่ยวผู้สนใจ
จำหน่ายหนังสือด้านวิชาการ หนังสือนำชม สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึกอื่นๆ
วันและเวลาทำการ
เปิด : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
ปิด : วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ชาวไทย 20 บาท
ชาวต่างประเทศ 100 บาท
ขนมไทย เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย นอกจากจะมีความงดงาม วิจิตร ละเอียดอ่อน พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำที่กลมกลืน ยังมีรสชาติที่อร่อย หอมกลิ่นพืชพรรณจากธรรมชาติและกลิ่นอบร่ำควันเทียน ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยในงานพิธีและงานมงคลต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว - หวาน อีกทั้งขนมแต่ละชนิดยังมีชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงคุณค่าและแฝงไปด้วยความหมาย อันเป็นสิริมงคล
ขนมมงคล หมายถึง ขนมไทยที่นำไปใช้ประกอบเครื่องคาวหวาน ถวายพระ เลี้ยงแขกในงานพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบวช หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น การเลือกใช้ขนมในงานมงคลจะเลือกจากชื่อและความหมาย ขนมไทยที่มักจะถูกเลือกใช้เป็นประจำคือขนมมงคล 9 ชนิด ดังนี้
- ขนมทองหยิบ เป็นขนมที่มีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทอง ชื่อขนมทองหยิบเป็นชื่อสิริมงคล เชื่อว่าหากนำไปใช้ประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ หรือให้เป็นของขวัญแก่ใครแล้วจะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับการงานสิ่งใดก็จะร่ำรวยมีเงินมีทอง สมดังชื่อ "ทองหยิบ"
- ขนมทองหยอด ใช้ประกอบใน พิธีมงคลต่าง ๆ หรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญ ๆ แทนคำอวยพรให้ร่ำรวยมีเงินมีทองใช้จ่ายอย่างไม่รู้หมดสิ้น ให้ขนมทองหยอดเปรียบเสมือนให้ทองคำแก่กัน
- ฝอยทอง เป็นขนมที่มี ลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ จึงนิยมใช้กันในงานมงคลสมรส เปรียบได้ว่าคู่บ่าวสาวจะครองชีวิตคู่และรักกันได้อย่างยืดยาวเช่นเดียวกับ เส้นฝอยทอง
- ขนมชั้น เป็นขนมไทยที่จะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น เพราะมีความเชื่อว่าเลข 9 เป็นเลขที่หมายถึงความเจริญก้าวหน้า จึงนิยมมอบขนมชั้นให้เพื่อแสดงความยินดีที่ได้เลื่อนชั้น เลื่อนยศฐาบรรดาศักดิ์ให้สูงส่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป
- ขนมทองเอก เป็นขนมที่ ต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำทุกขั้นตอน มีลักษณะที่สง่างาม มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนม คำว่า "เอก" หมายความถึง การเป็นที่หนึ่ง จึงนิยมใช้ขนมทองเอกประกอบพิธีมงคลสำคัญต่างๆ หรือใช้มอบเป็นของขวัญในงานฉลองการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง จึงเปรียบเสมือนคำอวยพรให้เป็นที่หนึ่ง
- เม็ดขนุน มีสีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด มีความเชื่อกันว่าชื่อของขนมเม็ดขนุนจะเป็น สิริมงคล ช่วยให้มีคนสนับสนุน หนุนเนื่องในการดำเนินชีวิตและในหน้าที่การงานหรือกิจการต่าง ๆ ที่ได้กระทำอยู่
- ขนมจ่ามงกุฎ เป็นขนมที่ทำยากมีขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อน นิยมทำกันเพื่อใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญจริง ๆ คำว่า "จ่ามงกุฎ" หมายถึง การเป็นหัวหน้าสูงสุด แสดงถึงความมีเกียรติยศสูงส่ง นิยมใช้เป็นของขวัญในงานเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ ง ถือเป็นการแสดงความยินดีและอวยพรให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานยิ่ง ๆ ขึ้นไป
- ขนมถ้วยฟู ชื่อของขนมถ้วยฟูให้ความหมายอันเป็นสิริมงคล หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟู นิยมใช้ประกอบในพิธีมงคลต่าง ๆ ทุกงาน ลักษณะเด่นของขนมถ้วยฟูคือจะต้องมีกลิ่นหอมจากการอบร่ำดอกไม้สด
- ขนมเสน่ห์จันทน์ คนโบราณนำความมีเสน่ห์ของผลจันทน์ที่มีผลสุกสีเหลืองเปล่งปลั่ง สวยงามและมีกลิ่นหอมชวนให้หลงไหล มาประยุกต์ทำเป็นขนมให้ชื่อว่า "ขนมเสน่ห์จันทน์" โดยเชื่อว่า คำว่าเสน่ห์จันทน์เป็นคำที่มีสิริมงคล จะทำให้มีเสน่ห์คนรักคนหลงดังเสน่ห์ของผลจันทน์ จึงนิยมนำมาใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสมรส และให้เป็นของขวัญแทนความรัก
ขนมไทยมีความสำคัญและผูกพันกับชีวิตคนไทยมาช้านาน เป็นเอกลักษณ์ไทยที่สวยงามโดดเด่น เป็นศิลปะสูงค่าที่น่าหวงแหนที่ชนรุ่นหลังควรอนุรักษ์ให้อยู่กับวิถีชีวิต คนไทยตลอดไป
ที่มา : วารสารข่าวรามคำแหง. ปีที่ 33 : ฉบับที่ 47 มีนาคม 2547. หน้า 4.
รายงานการเดินทางไปราชการ ในการถวายงานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
ณ นครมิวนิก –เมืองกามิช สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี
๑. ชื่อโครงการ การถวายงานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อถวายงานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราฯ เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระโอรสาธิราชฯ
๒.๒ ฝึกซ้อมการแสดงนาฏศิลป์ไทยโขน ชุด พระรามตามกวาง ให้กับทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
๒.๓ ฝึกซ้อมและร่วมบรรเลงขับร้อง ดนตรีสากล ให้กับทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างระหว่างวันที่ ๒๐-๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๔. สถานที่
นครมิวนิก-เมืองกามิช สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี
๕. หน่วยงานผู้จัด
หน่วยงานในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร
๖. หน่วยงานสนับสนุน
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
๗. กิจกรรม
วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๒๑.๓๐ น. คณะนาฎศิลปิน นักร้องและนักดนตรี ออกเดินทางจากสำนักการสังคีตไปสนามสุวรรรภูมิ
๐๐.๕๐ น. คณะนาฎศิลปิน นักร้องและนักดนตรี ออกเดินทางจากสนามสุวรรรภูมิ โดยสายการบินไทย
เที่ยวบินที่ TG ๙๒๔ สู่นครมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๐๖.๐๕ น. คณะนาฎศิลปิน นักร้องและนักดนตรีถึงนครมิวนิก
๐๘.๐๐ น. เดินทางเข้าที่พักแล้วเดินทางต่อไปเมืองกามิช
๑๔.๐๐ น. ถึงเมืองกามิช ฝึกซ้อมการแสดง การบรรเลงดนตรีและขับร้อง
๑๘.๐๐ น. เสร็จสิ้นการฝึกซ้อม
๑๙.๐๐ น. เดินทางกลับที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๐๙.๐๐ น. ฝึกซ้อมการแสดง การบรรเลงดนตรีและขับร้อง
๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๓๐ น. ฝึกซ้อมการแสดง การบรรเลงดนตรีและขับร้อง
๑๖.๓๐ น. เสร็จสิ้นการฝึกซ้อม
๑๘.๐๐ น. เดินทางกลับที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๐๙.๐๐ น. ฝึกซ้อมการแสดง การบรรเลงดนตรีและขับร้อง
๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๓๐ น. ฝึกซ้อมการแสดง การบรรเลงดนตรีและขับร้อง
๑๖.๓๐ น. เสร็จสิ้นการฝึกซ้อม
๑๗.๐๐ น. เข้ากราบพระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ณ โรงแรมที่ประทับ
๑๘.๐๐ น. เดินทางกลับที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๐๙.๐๐ น. ฝึกซ้อมการแสดง การบรรเลงดนตรีและขับร้อง
๑๑.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๓๐ น. ฝึกซ้อมการแสดง การบรรเลงดนตรีและขับร้อง
๑๕.๓๐ น. เสร็จสิ้นการฝึกซ้อม
๑๖.๓๐ น. เตรียมตัวแสดงถวายงาน
๒๐.๐๐ น. เริ่มการแสดงถวายงาน การแสดงนาฏศิลป์โขน ชุดพระรามตามกวาง และการบรรเลงดนตรีขับร้อง
๒๔.๐๐ น. จบการถวายงานการแสดง บรรเลงดนตรีและขับร้อง
วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๑๐.๐๐ น. เดินทารงกลับจากเมืองกามิช สู่เมืองมิวนิก
๑๑.๓๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๑๒.๐๐ น. เดินทางไปท่าอากาศยานมิวนิก
๑๔.๒๕ น. ออกเดินทางจากสนามมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนีโดยสายการบินไทย
เที่ยวบินที่ TG ๙๒๕
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๐๖.๐๕ น. เดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
๘. คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยอธิบดีกรมศิลปากรและข้าราชการ ของสำนักการสังคีต รวม ๔ คน คือ
ลำ
ดับ
ชื่อ – นามสกุล
ตำแหน่ง
ปฏิบัติหน้าที่
๑
นายสุรัตน์ เอี่ยมสะอาด
นาฏศิลปินอาวุโส
หัวหน้าคณะและผู้กำกับการแสดง
๒
นายคมสันฐ หัวเมืองลาด
นาฏศิลปินอาวุโส
ผู้ฝึกซ้อมและเลขา
๓
นายสุทัศน์ ปล้องมาก
ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
ผู้ฝึกซ้อมและ
ผู้บรรเลง
๔
นางสาวณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้
คีตศิลปินชำนาญงาน
ผู้ฝึกซ้อมและ
ผู้ขับร้อง
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในวันที่ ๒๘ กรรกฎาคม ของทุกจำทุกปีทางหน่วยราชการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ จัดให้มีงานเฉลิมพระเกียรติส่วนพระองค์ ณ โรงแรมที่ประทับ
ในงานมีการแสดงการบรรเลงและขับร้องของหน่วยราชการในพระองค์สำเร็จลุล้วงไปด้วยดี
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม -
(นาคมสันฐ หัวเมืองลาด)
นาฏศิลปินอาวุโส
เลขาคณะฯ
ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
ชื่อเรื่อง : การสำรวจแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
ผู้แต่ง : สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน
ปีที่พิมพ์ : 2551
สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่
สำนักพิมพ์ : กู๊ดพริ้น พริ้นติ้ง
เลขทะเบียน : นพ.บ.3/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 2 (11-19) ผูก 3หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วัดท่าเรือ (ร้าง) ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์การ้อง ๕ ตําบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีปัจจุบัน มีสภาพเป็นพื้นที่โล่งไม่มีโบราณสถานและสิ่งก่อสร้างใด ๆ หลงเหลือ ด้านประวัติที่มาไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้างรวมถึงถูกทิ้งร้างตั้งแต่เมื่อใด //จากการสอบถามคุณลุงวันชัย สีรุ้ง เจ้าของพื้นที่คนปัจจุบัน ทําให้ทราบว่าแต่เดิมบริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้มีเพียงเจดีย์ที่มีความเสียหายมาก คล้ายกับวัดทุ่งเสือข้าม และเนื่องจากไม่ได้รับการบูรณะจึงมีการเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา จนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน ที่ตั้งของวัดท่าเรือ ตั้งอยู่บริเวณแถบชานเมืองฝั่งตะวันออกของทางรถไฟในปัจจุบัน บริเวณพื้นที่ของวัดทางทิศใต้ติดกับถนนโพธิ์การ้อง๕ ฝั่งตรงข้ามของถนนมีลําคลองขนาดเล็กจากวัดโคกหม้อไหลผ่าน ถัดลงไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดโคกหม้อ เนื่องจากบริเวณทิศใต้ของพื้นที่มีลําคลองไหลผ่าน ประกอบกับชื่อวัดคือ วัดท่าเรือ ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากความนิยมการตั้งชื่อสถานที่ตามลักษณะโดดเด่นทางภูมิศาสตร์ของคนในสมัยก่อนเพื่อง่ายแก่การจดจํา จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้อาจจะเคยเป็นพื้นที่ติดต่อขนส่งสินค้าทางเรือกับชุมชนอื่น ส่วนด้านทิศตะวันตกห่างไปประมาณ ๑ กิโลเมตร คือแนวเขตกําแพงเมืองเก่า ปัจจุบันสร้างเป็นถนน ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ถนนสูง แผนผังเนื่องจากพบเพียงเศษอิฐ เศษกระเบื้องดินเผา และ เศษภาชนะดินเผา ที่อยู่กระจัดกระจายทั่วบริเวณ จึงทําให้ไม่สามารถระบุตําแหน่งที่ตั้งของโบราณสถานได้อย่างชัดเจน แต่สามารถศึกษารายละเอียดโบราณวัตถุต่างๆที่พบได้แก่ อิฐ พบทั้งอิฐลักษณะสมบูรณ์ ขนาดประมาณ ๑๓ x ๑๘ x ๖ เซนติเมตร และเศษอิฐ กระจายตัวทั่ว บริเวณพื้นที่รวมถึงด้านข้างของลําคลองเนื้อวัสดุทําจากดินเผาผสมฟางข้าว มีสีส้มอมแดงจากการพบอิฐที่มีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน ทั้งยังมีการผสมฟางข้าวลงไปในเนื้อดิน แสดงความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของอิฐในศิลปะสมัยอยุธยา จึงสันนิษฐานว่าตัวสถาปัตยกรรมก่อนหน้านี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะอยุธยา เศษกระเบื้องดินเผา พบเศษกระเบื้องดินเผาบริเวณใกล้แนวพุ่มไม้ โดยสามารถแยกได้เป็นกระเบื้องกาบูตัวผู้และกระเบื้องกาบูตัวเมีย เนื้อวัสดุทําจากดินเผา มีสีส้ม จากการพบเศษกระเบื้องดินเผา จึงสันนิษฐานว่าเดิมพื้นที่ตรงนี้น่าจะมีอาคารหลังคาคลุมอย่างแน่นอน และด้วยรูปแบบลักษณะของกระเบื้องมีความเด่นชัดว่าเป็นกระเบื้องกาบู จึงสันนิษฐานต่อว่า อาคารหลังคาคลุมดังกล่าวน่าจะเป็นอุโบสถหรือวิหาร เพราะเป็นความนิยมของงานสถาปัตยกรรมไทยที่นิยมใช้กระเบื้องกาบูในการประดับชั้นหลังคา เศษภาชนะดินเผา พบบริเวณใกล้แนวพุ่มไม้เช่นเดียวกับเศษกระเบื้องดินเผา ส่วนมากเป็นชิ้นส่วนของลําตัว เนื้อวัสดุทําจากดินเผา มีสีส้ม ขึ้นรูปโดยการใช้นิ้วมือ มีการตกแต่งเป็นลวดลายเชือกทาบ และการขูดขีดเป็นลวดลาย จากการพบเศษภาชนะดินเผาที่มีลายเชือกทาบ ซึ่งเป็นลวดลายที่มีปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียง โดยมีระยะห่างกันทั้งช่วงเวลาและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่แห่งนี้อาจมีการผสมผสานหรือการส่งต่อวัฒนธรรมจากพื้นที่อื่นเข้ามา ภาพที่ 1 พื้นที่บริเวณวัดท่าเรือในปัจจุบัน ภาพที่ 2 เศษกระเบื้องดินเผา และเศษภาชนะดินเผาที่กระจายตัวทั่วบริเวณ ภาพที่ 3 เศษอิฐ ที่พบในบริเวณวัดท่าเรือ ภาพที่ 4 เศษภาชนะดิน ภาพที่ 5 เศษกระเบื้องดินเผา ผู้เรียบเรียงข้อมูล : นายณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ที่มาข้อมูล: นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, 2558. รายงานการสำรวจโบราณสถานและศาสนสถานภายในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. จังหวัดเพชรบุรี : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. บุญมี พิบูลย์สมบัติ, 2559. “วัดร้าง จากเส้นทางไปวัดพระรูป.” ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์พัดยศ พระพิพิธพัชโรดม : 118-151.
ชื่อเรื่อง : โบราณคดีและประวัติศาสตร์สุโขทัย ความรู้เรื่องสุโขทัยใน 4 ทศวรรษ
ผู้แต่ง : สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย
ปีที่พิมพ์ : 2547
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สมาพันธ์
1. ตำรายาเกร็ด เช่น แก้เลือดแก้ลม, แก้ลงแดง, แก้ตกมูกตาเลือด, แก้สลบ คางแข็ง ตาแข็ง, แก้ไขละออง, ยากระสายดาน, ยางดเลือด, ยาทราง, ยาไข้เรื้อรัง, ยาโลหิตตกทวาร ฯลฯ 2. ตำราเวชมนต์คาถา เช่น คาถาพระเจ้าประจัญมาร, ทำน้ำมนต์รดผีออก ฯลฯ 3. ตำราเวชมนต์คาถา อักษรขอม ภาษาบาลี เช่น มนต์เสกน้ำเดือด , มนต์รดแก้คุณผี, มนต์สาริกาลิ้นทอง ฯลฯ 4. หมวดเบ็ดเตล็ด เรื่อง เกี่ยวกับทศชาติ