ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,432 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 174/4 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง              อนุสรณ์ในงานประชุมเพลิงศพนางเทียน  บุราคม ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        ม.ป.ท. สำนักพิมพ์          ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์              ๒๕๒๖ จำนวนหน้า          ๑๒๗  หน้า                          บุตรและธิดาทุกคนจัดทำเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานประชุมเพลิงศพ นางเทียน  บุราคม กล่าวถึงประวัติย่อ นางเทียน  บุราคม เป็นบุตรตรีคนที่ 3 ของนายดีและนางฝ้าย  ทรงอยู่ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน 2446 ณ บ้านโคกหม้อ ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน ได้สมรสกับ นายดาบ มาลัย  บุราคม


ชื่อผู้แต่ง         วัดบวรนิเวศวิหาร          ชื่อเรื่อง           วัดบวรนิเวศวิหาร ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     พระนคร สำนักพิมพ์       ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๕ จำนวนหน้า      ๑๔๔ หน้า หมายเหตุ        จัดพิมพ์ในงานวชิรญาณวงศานุสรณ์ครบ ๑๐๐ ปี รายละเอียด                ในงานมหานุสรณ์ครบ ๕๐ ปีสิ้นพระชนม์แห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรสแต่เป็นภาษาอังกฤษต่อมาจัดพิมพ์ฉบับภาษาไทยในงานวชิรญาณวงศานุสรณ์ครล ๑๐๐ ปี เนื้อหาประกอบด้วย  ประวัติวัดบวรนิเวศวิหารวัดใหม่  ผู้ครองวัดนี้  บูชนียสถาน ภาพฝาผนังพระอุโบสถเขตสีมาพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร




         แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๔           วัสดุ (ชนิด) ไม้ลงรักปิดทอง และงาช้าง ประดับกระจก         ขนาด กว้าง ๖๕.๕ เซนติเมตร ยาว ๘๗ เซนติเมตร สูง ๕๕ เซนติเมตร         ประวัติความเป็นมา พระมหาธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ มอบให้         ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ          เสลี่ยง ลักษณะเป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทองล่องชาด ทรงสี่เหลี่ยม ฐานล่างแกะลายลูกฟักสลับกับลายก้ามปู เหนือขึ้นไปทำลายแข้งสิงห์และนมสิงห์ จากนั้นจึงเป็นชั้นฐานบัว ที่ท้องไม้ประดับกระจก ด้านล่างสุดมีห่วงกลมสำหรับสอดไม้คานหามอยู่สี่ที่ พนักพิงและเท้าแขนทำจากงาช้าง  


          สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ขอเชิญชมนิทรรศการและรับฟังการประชุมสรุปงานทางวิชาการโบราณคดีและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยชุมชนโบราณและมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยเหล็ก บริเวณต้นลำน้ำชี ในเขตพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ในวันพฤหัสบดีที่ 13 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ณ ห้องประชุมสัมมนา ชั้น 9 อาคารเรียนรวม 9 ชั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ             มีหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้            1. ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "กรมศิลปากรกับงานโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ"                โดย คุณสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร (ประธานในพิธี)            2. พัฒนาการทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ                วิทยากรโดย : คุณกิตติพงศ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา            3. ภาพรวมการสำรวจทางโบราณคดีในพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิและอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ                วิทยากรโดย : คุณสุภาวดี อินทรประเสริฐ นักโบราณคดีชำนาญการ            4. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในเรื่องเล่าพื้นบ้านจังหวัดชัยภูมิ                วิทยากรโดย : อาจารย์ประเสริฐศักดิ์ มีหมู่ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ            5. ข้อมูลใหม่ ! จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ                วิทยากรโดย : คุณวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ            6. ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชุมชนกับสายน้ำชานเมืองชัยภูมิ                วิทยากรโดย : ผศ.วิมลศิลป์ ปรุงชัยภูมิ คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ            7. แหล่งโบราณคดีบ้านเกาะ อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ                วิทยากรโดย : คุณธันยธรณ์ วรรณโพธิ์พร นักโบราณคดีปฏิบัติการ            8. ข้อมูลใหม่ ! ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีจากการขุดค้น ณ วัดกู่สุวรรณวนาราม อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ                 วิทยากรโดย : คุณวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีชำนาญการ             ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองที่นั่ง ที่ งานกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โทร. 0 4481 5111 ต่อ 9100 หรือที่ 1. อาจารย์ประเสริฐศักดิ์ มีหมู่ โทร. 086 - 3220933 2. นายสราวุฒิ ทับทิมใส โทร. 088 - 5304149            ติดตามรับชมทางออนไลน์ได้ที่ : Youtube : CPRU Channel หรือคลิกที่ลิงค์ : https://www.youtube.com/@cpruchannel1618  


           เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์กับสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และภาคีองค์กรพิพิธภัณฑ์อีก 4 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันพระปกเกล้า และสถาบันพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ ณ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ถนนจักรเพชร เขตพระนคร            นายพนมบุตร จันทรโชติ กล่าวถึงที่มาของความร่วมมือครั้งนี้ว่า กรมศิลปากรให้ความสำคัญต่อการทำความร่วมมือกับภาคส่วนสังคมในการดูแลรักษาโบราณสถานและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ประเภทพิพิธภัณฑ์      จึงมอบหมายสำนักสถาปัตยกรรม เข้าร่วมดำเนินงานบูรณะอาคารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นโบราณสถาน “บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์)” อัครเสนาบดีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อการบูรณะอาคารแล้วเสร็จ ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญดำริจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญในอาคารโบราณสถานนี้ เพื่อสื่อสารภารกิจศาลรัฐธรรมนูญแก่สังคม กรมศิลปากรจึงมอบหมายสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร่วมดำเนินการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จใน พ.ศ.2567 และเพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเปิดให้บริการแล้ว กรมศิลปากรจะยังคงให้ความสนับสนุนสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต่อเนื่อง ซึ่งในวันนี้เป็นการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ โดยในส่วนกรมศิลปากร ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี            อธิบดีกรมศิลปากร ยังกล่าวอีกว่า ความร่วมมือครั้งนี้ มุ่งเน้นในเรื่องของการสนับสนุนกระบวนงานด้านพิพิธภัณฑ์วิทยา บูรณาการองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการ การประชาสัมพันธ์ ตลอดจนความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้แก่สังคม ทั้งนี้ กิจกรรมแรกที่จะร่วมมือกัน คือ กิจกรรมเฉลิมฉลองวันพิพิธภัณฑ์ไทย วันที่ 19 กันยายน โดยในปีนี้กรมศิลปากรกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2566 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภายใต้แนวคิด “พิพิธภัณฑ์กับการสร้างสุขภาวะที่ดีแก่สังคมไทย” ซึ่งหลังจากนี้จะได้มอบสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วางรูปแบบกิจกรรมร่วมกับพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ พิพิธภัณฑ์ทั้ง 4 องค์กรที่ลงนามความร่วมมือในวันนี้ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ของกรมศิลปากรต่อไป



"อมิตตดา"  นางอมิตตดากับเหล่าเมียพรามณ์ในหมู่บ้านทุนวิฐะ แคว้นกาลิงคะจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องเวสสันดรชาดก"กัณฑ์ชูชก"  วัดอุดมประชาราษฎร์ ต.นาจารย์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์


           ผลจากการที่ เมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ด้วยคุณค่าที่โดดเด่นจากรูปแบบของผังเมือง สถาปัตยกรรม และรูปแบบศิลปกรรม เป็นตัวแทนของการผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธแบบเถรวาท มหายาน และพราหมณ์ ฮินดู  เมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๖๐๐ ปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาอรุณรุ่งแห่งอารยธรรมสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ทำให้นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเยี่ยมชมมากกว่าวันละ ๕,๐๐๐ คน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเป็นกระแสและข้อห่วงใยเรื่องความปลอดภัยของโบราณสถานและการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ตลอดจนความพร้อมด้านต่าง ๆ เนื่องจากคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต             วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม (นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นางสาวเพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ) และคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ (นายกฤษณ์ คงเมือง) อธิบดีกรมศิลปากร (นายพนมบุตร จันทรโชติ)  ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง) รองอธิบดีกรมศิลปากร (นายสถาพร เที่ยงธรรม) นายอำเภอศรีเทพ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ นางจินตนา ทองใจสด นายกเทศมนตรีตำบลพุเตย  และประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดเพชรบูรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสนุ่น นายกเทศบาลตำบลโคกสะอาด และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ ณ เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยได้สำรวจสถานที่สำคัญ ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ได้แก่ โบราณสถานภายในเมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานเขาคลังนอก หลังจากรับฟังบรรยายสรุป และเยี่ยมพื้นที่สำคัญดังกล่าวแล้ว รมว.วธ. ในฐานะผู้แทนของรัฐบาล ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีซึ่งติดภารกิจสำคัญ  ไม่สามารถเดินทางมาด้วยตนเองได้ โดย รมว.วธ. กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีแสดงความห่วงใยและให้ความสำคัญ   ในเรื่องความปลอดภัยของโบราณสถาน สวัสดิภาพของนักท่องเที่ยวในการเข้าชม ตลอดจนความพร้อมของ  สิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการบริหารจัดการต่าง ๆ  ที่ครอบคลุมในทุกมิติ   เพื่อคงความโดดเด่น และคุณค่าในการเป็นมรดกโลกให้คงอยู่ตลอดไป พร้อมกับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล            ทั้งนี้ รมว.วธ. กล่าวถึงแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในช่วงนี้ว่า ขอให้กรมศิลปากร ประสานกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการในสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่ การเพิ่มรถสุขาเคลื่อนที่ โดยขอความอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาล พร้อมสั่งการให้กรมศิลปากร เพิ่มจำนวนรถรางเพื่อให้บริการนำชมกับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ สำหรับโบราณสถานเขาคลังนอก ซึ่งเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ที่อนุญาต ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมด้านบนได้นั้น ขอให้กรมศิลปากร จัดเจ้าหน้าที่เพื่ออธิบายข้อควรระมัดระวังในการเยี่ยมชม เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย พร้อมจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก และให้ความรู้ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร สำรวจสภาพความเปลี่ยนแปลงของโบราณสถานอย่างละเอียด และรายงานให้ทราบเป็นระยะ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าการรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากมีผลต่อโบราณสถานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โบราณสถานเขาคลังนอก ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ และผ่านการอนุรักษ์มาแล้ว จึงน่าจะไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับโบราณสถานภายในเมืองโบราณศรีเทพ ทราบข้อมูลจากกรมศิลปากรว่า ได้มีการป้องกัน โดยเว้นระยะไม่ให้นักท่องเที่ยวสัมผัสส่วนลวดลายประดับ ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้            การลงตรวจพื้นที่ในครั้งนี้ ได้มีการหารือและมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำสาธารณะ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก  โดยคำนึงถึงการออกแบบที่รองรับผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้บริการกับนักท่องเที่ยวได้ครบทุกด้าน โดยการก่อสร้างทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยความเหมาะสม ตามแผนแม่บทที่วางไว้ รวมถึงการสร้างศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณศรีเทพ ที่จะได้นำโบราณวัตถุสำคัญซึ่งพบในเมืองโบราณศรีเทพมาจัดแสดงต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ นอกจากนั้นยังขอให้มีการนำอัตลักษณ์ของศิลปกรรมอันโดดเด่นที่พบในเมืองโบราณศรีเทพ เช่น ลวดลายประดับรูปคนแคระ ซึ่งปัจจุบันถูกนำมาต่อยอดเป็นลวดลายบนไอศกรีม และจะได้สนับสนุนให้เกิดการต่อยอดเป็นสินค้าและงานหัตถกรรมอื่น ๆ โดยเน้นการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้ผลิต ทั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมจะสนับสนุนด้านการตลาดและการพัฒนาทักษะฝีมือในการผลิตของคนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เป็น Soft Power อย่างแท้จริง โดยแนวทางในการดำเนินการต่าง ๆ จะได้กราบเรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบต่อไป            สำหรับแผนการดำเนินการในระยะยาว รมว.วธ ได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากร เผยแพร่ความรู้เรื่องเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งพบว่ายังมีอีกหลายแห่งที่สำคัญในประเทศไทย และมีอายุร่วมสมัยกับเมืองโบราณศรีเทพ เช่น เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรีเมืองนครปฐมโบราณ เมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์  เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี   เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี ฯลฯ โดยเชื่อว่าเมืองโบราณเหล่านี้มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต่อไปในอนาคต ถือเป็นการต่อยอดในการที่เมืองโบราณศรีเทพ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ภายใต้แนวคิด “เมืองทวารวดีที่ห้ามพลาด” นอกจากนั้นยังขอให้กรมศิลปากร ทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบเมืองโบราณศรีเทพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ไปพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป  


           สภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Southeast Asia Regional Branch International Council on Archives: SARBICA) ร่วมกับสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ SARBICA International Symposium 2023 หัวข้อ “Archives in the Digital Era: Changes, Adaptations, and Achievements” ระหว่างวันที่ 21 - 22 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพมหานคร เปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://sarbica2023.nat.go.th            พุทธศักราช 2566 ในโอกาสครบรอบ 55 ปี แห่งการก่อตั้งสภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SARBICA) สํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บริหารสภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 24 และสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ ภายใต้หัวข้อ “Archives in the Digital Era: Changes, Adaptations, and Achievements” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ ร่วมพิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุในแต่ละประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมกัน  ตลอดจนร่วมกำหนดแผนงานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจงานจดหมายเหตุให้แก่บุคลากรของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยการสัมมนาทางวิชาการในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับความรู้เกี่ยวกับวิชาการจดหมายเหตุจากวิทยากรทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ และบุคลากรจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติในหัวข้อที่น่าสนใจ และได้เข้าร่วมกิจกรรม Night at the Museum เข้าชมนิทรรศการ  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เยี่ยมชมหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จังหวัดนครปฐม ศึกษาดูงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และ  วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา             ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ SARBICA International Symposium 2023 ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://sarbica2023.nat.go.th/Registration


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันประถมศึกษาแห่งชาติ 25 พฤศจิกายน” วันประถมศึกษาแห่งชาติ 25 พฤศจิกายน เป็นวันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อการศึกษาของไทย ที่ได้ทรงวางรากฐานให้กับการศึกษาของชาติ เนื่องจากทั้งสองพระองค์ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประถมศึกษา และพระราชทานตราพระราช บัญญัติด้านการประถมศึกษาเอาไว้ ทำให้เกิดเสรีภาพทางการศึกษา และเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย จวบจนกระทั่งทุกวันนี้ การประถมศึกษาของไทยอาศัย บ้าน วัด วัง เป็นสถานศึกษามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย จนถึงสมัยรัตน โกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงริเริ่มวางรากฐานการประถมศึกษา ของไทยขึ้น โดยจัดตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2414 และตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรที่วัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. 2427 และขยายการศึกษาไปตามหัวเมืองต่างๆ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ได้ทรงรับภารกิจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา สืบเนื่องจากพระราชบิดา ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างในปี พ.ศ.2453 ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงให้จัดสร้างโรงเรียนเพาะช่างขึ้นในปี พ.ศ.2456 ทรงจัดตั้งโรงเรียนเบญจมราชาลัยเพื่อฝึกหัดครูในปี พ.ศ.2456 ทรงตั้งโรงเรียนพาณิชยการ เมื่อปีพ.ศ.2465 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ขึ้นเพื่อบังคับให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อให้เด็กทุกคนรู้หนังสือ จึงทรงตราพระราฃบัญญัติประถมศึกษาออกบังคับเป็นเขต ๆ ไป เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 เพื่อกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 7-14 ปีบริบูรณ์ เข้าเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน นับเป็นการเริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษา โดยพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2464 ด้วยเหตุนี้กระทรวงศึกษาจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันประถมศึกษาแห่งชาติ และได้จัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติเป็นประจำมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2491-2508 ต่อมาโรงเรียนประถมศึกษาได้ถูกโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่นั้นมางานวันประถมศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วันศึกษาประชาบาล ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2523 ได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาขึ้น จึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลกลับมาสังกัดคณะกรรมการการศึกษา การจัดงานวันศึกษาประชาบาลจึงสิ้นสุดลง และกลับมาจัดวันประถมศึกษาแห่งชาติขึ้นใหม่ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 วันประถมศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนจากวันที่ 1 ตุลาคม มาเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่พระองค์เป็นผู้วางรากฐานและสนับสนุนการประถมศึกษาอย่างดี อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


          อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขยายเวลาให้เข้าชม "วัดไชยวัฒนาราม" และ "วัดราชบูรณะ" ยามค่ำคืนเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 15 - 24 ธันวาคม เที่ยวชมกันให้ฉ่ำปอด 10 คืน !!! ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียนมรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ครบรอบ 32 ปี ในปีพุทธศักราช 2566


องค์ความรู้เรื่อง แหล่งข้อมูลสารสนเทศ บุคคลสำคัญในท้องถิ่น ผู้เรียบเรียง : นางสาวทิพย์สุดา อาจดี เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน


Messenger