ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,423 รายการ


“เงาะ” เป็นคนป่าเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ของไทย ภาษามลายูเรียกว่า “เซมัง” หรือ “ซาไก” แต่คนพวกนี้เรียกตัวเองว่า “ก็อย”                 ทุกวันนี้คนเผ่าเงาะก็ยังมีอยู่ แต่ความเจริญของบ้านเมืองทำให้คนป่าเผ่านี้กลายเป็นคนเมืองไปเกือบหมดแล้ว มีทะเบียนสำมะโนครัว เช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป นามสกุลที่ตั้งขึ้นก็มักจะมีชื่อตำบลที่อยู่อาศัยร่วมอยู่ด้วย เช่นพวกที่อยู่ยะลาก็มีคำว่า “ธารโต” พวกที่อยู่พัทลุงก็มีคำว่า “บรรพต” เป็นต้น                 ในอดีต เงาะป่าซาไกคนหนึ่งมีวาสนาสูงส่ง แม้จะเกิดในดงดอน แต่แรงวาสนาทำให้เขาทะยานมาเป็นคนดังในราชสำนัก ร.๕ ในฐานะมหาดเล็กพิเศษที่โปรดปรานของพระพุทธเจ้าหลวง เฝ้ารับใช้ใกล้ชิดถึงกับเรียกพระองค์ว่า “คุณพ่อ”                 ทั้งนี้จากการเสด็จประพาสจังหวัดพัทลุงในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะได้ลูกเงาะมาชุบเลี้ยงไว้สักคนหนึ่ง โดยไม่ให้มีการบังคับจับกุม หลวงทิพกำแหง ผู้รั้งราชการเมืองพัทลุง จึงรับหน้าที่สนองพระราชประสงค์ และบอกต่อไปยัง นายสินนุ้ย ผู้ใหญ่บ้านที่คุ้นเคยกับพวกเงาะดี ในที่สุดก็เห็นว่ามีเงาะกลุ่มหนึ่งกำลังจะโยกย้ายที่อยู่ ในกลุ่มนี้มีเด็กผู้ชายอายุ ๑๐ ขวบอยู่คนหนึ่งชื่อ “คนัง” กำพร้าพ่อแม่ และจะต้องได้รับความลำบากในการเคลื่อนย้าย เพราะไม่มีใครดูแลอุปการะ แต่การเกลี้ยกล่อมให้สมัครใจคงไม่สำเร็จแน่ จะต้องใช้วิธีหลอกล่อจับตัว จึงมอบหมายให้นายยาง หรือยัง เงาะด้วยกันเป็นผู้รับหน้าที่นี้                 วันหนึ่งขณะคนังไปเที่ยวป่ากับ “ไม้ไผ่” เพื่อนเกลอ นายยังได้ล่อหลอกให้มาดูมโนราของโปรดของเงาะที่บ้าน และปรนเปรออาหารเสียอิ่มแปล้ คนังง่วงนอนหลับไป นายยังจึงได้โอกาสอุ้มไปให้ผู้ใหญ่สินนุ้ยนำตัวไปถวาย                 คนังตื่นขึ้นมาก็พบว่ากำลังอยู่ในเต็นท์ที่หลวงทิพกำแหงไปนอนรอรับ ไม่ใช่ทับที่พำนักของตัว ก็ร้องไห้แผลงฤทธิ์ดิ้นหนี หลังจากปลอบประโลมจนคนังคลายความตื่นตระหนกเลิกร้องไห้แล้ว แต่ก็ยังดิ้นรนที่จะกลับไปสู่ถิ่นให้ได้ หลวงทิพกำแหงพยายามปลอบขวัญตลอดเวลาที่นั่งหลังช้างมาด้วยกัน คนังก็ยังตื่นกลัวไม่รู้ว่ากำลังถูกพาตัวไปไหน แม้จุดหมายปลายทางจะเป็นสถานที่ที่ทำให้ชีวิตของเขาได้พบกับความเริดหรูเฟื่องฟูยิ่งกว่าเงาะคนใดจะได้รับ      เมื่อมาถึงวังหลวง มีพิธีทำขวัญคนังกันอย่างเอิกเกริก มีพราหมณ์มาอ่านคาถาทำขวัญ ลั่นฆ้องสนั่นสามรา คนังได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีและเข้มงวดกวดขันในด้านสุขภาพ เพราะเกรงกันว่าจะเจ็บป่วยจากการผิดน้ำผิดอากาศที่เปลี่ยนจากป่ามาสู่เมือง มีพี่เลี้ยงถึง ๒ คนช่วยอาบน้ำแต่งตัว หัดให้ใช้ช้อนส้อมกินข้าวและภาษาพูด แต่คนังก็ไม่ได้เจ็บป่วยแต่อย่างใด                     พระองค์เจ้าสายสวรีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ พระอรรคชายา ทรงเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนังด้วยความรัก ฝึกสอนให้รู้จักระเบียบต่างๆของราชสำนัก เพราะคนังจะต้องอยู่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระพุทธเจ้าหลวงในฐานะมหาดเล็กพิเศษ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึงเจ้าพระยายมราช สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับพระเมตตาของพระอรรคชายาที่มีต่อคนังว่า                 “...อ้ายคนังตั้งแต่มายังไม่เจ็บเลย เจ้าสาย (กรมพระสุทธาสินีนาฎ) นั้นหลงรักเหลือเกินทีเดียว เพราะมันไม่ได้ไปเที่ยวข้างไหนเลย อยู่แต่บนเรือน ช่างประจบด้วยความรู้ความประมาณตัวเองในสันดาน ทั้งถือตัวว่าเป็นลูก ก็พูดอยู่เสมอว่าลูกข้า ไม่ได้ไว้ตัวเทียบเจ้านายลูกเธอ รักแลนับถือไม่เลือกว่าใคร ไว้ตัวเองเสมอหม่อมเจ้า ไม่มีใครสั่งสอนเลย”                 เมื่อได้รับการดูแลและพระเมตตาจากพระอรรคชายาเช่นนี้ คนังจึงเรียกท่านว่า “คุณแม่” เรียกพระเจ้าอยู่หัวว่า “คุณพ่อหลวง” และเรียกสมเด็จหญิงเล็ก หรือสมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดลว่า “คุณพี่”                 ชีวิตในรั้ววังชั้นในของคนังแตกต่างจากชีวิตในป่าเมืองพัทลุงอย่างสิ้นเชิง แต่คนังก็ปรับตัวรับสภาพใหม่ได้อย่างมีความสุข ทำตัวให้เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของคนทั่วไป        พระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยายมราชได้กล่าวตอนหนึ่งอีกว่า                 “...การที่แสดงกิริยาเศร้าโศกเวลาพูดถึงบ้านอย่างแต่ก่อนไม่มี ด้วยว่ารู้จักคนกว้างขวาง ตั้งแต่เจ้านาย ข้าราชการผู้ใหญ่ลงไปจนถึงผู้น้อย ทั้งข้างหน้าข้างใน เขาแสดงความเมตตาเล่นหัวได้ทั่วไป อยู่ข้างจะเพลิดเพลินมาก อดนอนก็ทน แลคุณสมบัติในส่วนตัวซึ่งได้สังเกตแต่แรกไม่มีเสื่อมทรามลงไปคือ ตาไว ความคิดเร็ว จงรักภักดีมาก กตัญญูมาก นับว่าเป็นเฟเวอริตของราชสำนักนี้ได้...”                 เครื่องแต่งตัวชุดมหาดเล็กพิเศษของคนังออกแบบใหม่โดยเฉพาะ เป็นสีแดงสด อันเป็นสีโปรดของเงาะทั่วไป ตามเสด็จฯไปทุกหนทุกแห่งเป็นที่สะดุดตา เพราะชุดสีแดงคนแต่งตัวดำ ยิ้มเห็นฟันขาว                 พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง “เงาะป่า” ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๘ ซึ่งในคำนำของบทละครเรื่องนี้ทรงอธิบายไว้ว่า                 “...ส่วนศัพท์ภาษาก็อยู่ไล่เลียงจากอ้ายคนังทั้งนั้น แต่ไม่ใช่เลียงขึ้นสำหรับหนังสือเล่มนี้ ได้ชำระกันแต่แรกมาเพื่อจะอยากรู้รูปภาษาว่ามันเป็นอย่างไร แต่คำให้การนั้นได้มากแต่เรื่องนก หนู ต้นไม้ รากไม้ เพราะมันยังเป็นเด็ก...”                 ทรงให้ โรเบิร์ต เลนซ์ ช่างภาพฝรั่ง ถ่ายรูปคนังในเครื่องแต่งกายชุดต่างๆ ซึ่งคนังก็ชอบใจมากที่เห็นรูปของตัวเองและคิดถึงญาติพี่น้องในป่าที่จากมา ไม่รู้ว่าย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ไหนกันบ้าง อยากจะส่งรูปเหล่านี้ไปให้ดู เพื่อจะอวดว่าเดี๋ยวนี้เขาโตขึ้นและโก้ขึ้นมาก ทั้งไม่เจ็บไข้ได้ป่วยเลย                 พระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงรับเป็นพระธุระจัดการให้มหาดเล็กคนโปรด โดยมีพระราชหัตถเลขาไปถึงเจ้าพระยายมราชพร้อมด้วยรูปของคนัง                 “...ด้วยอ้ายคนังฝากรูปไปให้พี่น้อง ได้ส่งออกมาด้วยแล้ว ถ้ามีช่องทางที่ใครไปตรวจราชการที่นั้น ขอให้นำส่งให้มันด้วย...”                 จะมีใครในแผ่นดินที่ทำได้เช่นนี้ นี่คือวาสนาของเงาะป่าที่ชื่อ คนัง แห่งเมืองพัทลุง                 รูปของคนังไม่ว่าในชุดเงาะของบทละคร ที่ไม่ต้องใส่หัวเงาะเหมือนคนอื่น หรือในท่าอื่นๆ ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปมาก พระพุทธเจ้าหลวงจึงให้นำออกจำหน่ายเป็นการกุศลในงานประจำปีของวัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นงานใหญ่ในยุคนั้น ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยายมราชในเรื่องนี้ว่า                 “...บัดนี้ได้ส่งรูปอ้ายคนังที่ขายเมื่องานวัด (เบญจมบพิตร) มีคนชอบมาก เดิมพิมพ์ขึ้นไว้แค่ ๒๓๐ เร่งกันให้พิมพ์ในเวลางาน กระดาษเหลือเท่าใดก็ได้พิมพ์อีกสัก ๓๐-๔๐ รูปขายไม่ทัน ยังหาซื้อกันเรื่อยอยู่จนเดี๋ยวนี้ อีกรูปหนึ่งนั้นได้ถ่ายในวันก่อนเริ่มงาน ด้วยนึกว่าฝรั่งจะไม่เข้าใจเรื่องเงาะ จึงได้ถ่ายรูปแต่งธรรมดาก็ถูกต้อง ฝรั่งชอบรูปนั้นมากกว่ารูปที่แต่งเป็นเงาะ ขายในเวลางานแผ่นละ ๓ บาท ได้เงิน ๑,๐๐๐ บาทเศษ แบ่งออกเป็นสามส่วน ให้วัดส่วนหนึ่ง เป็นค่ากระดาษค่าน้ำยาส่วนหนึ่ง เป็นของอ้ายคนังส่วนหนึ่ง ได้เงินส่วนอ้ายคนังเกือบ ๔๐๐ บาท เดี๋ยวนี้สมบัติอ้ายคนังมีกว่า ๔๐๐ บาทขึ้นไปแล้ว ถ้าอยู่ไปจนแก่เห็นจะมีเงิน เพราะมันไม่ได้ใช้เลย.....”                 ในพระราชหัตถเลขา อีกตอนได้กล่าวไว้ว่า                 “...เสียแต่อย่างไรๆ ก็ยังนับเงินไม่ถูกอยู่เช่นนั้นเอง หนังสือเห็นจะพอสอนง่ายกว่าเลข เลขนั้นดูเหมือนไม่มีกิฟสำหรับชาติมันทีเดียว ได้ลองให้ขายของ ซ้อมกันอยู่หลายวัน ก็ยังรางๆอยู่เช่นนั้น สาเหตุนั้นด้วยมันไม่รู้จักรักเงิน ยังไม่รู้เลยว่าเงินมีราคาอย่างไรจนเดี๋ยวนี้...”                 ต่อมายังทรงให้คนังถ่ายรูปในชุดตามเสด็จเต็มยศ อัดจำหน่ายในราคารูปละ ๑๐ บาท ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารซื้อกันมาก เงินที่ได้โปรดฯให้นำไปบำรุงการกุศลวัดวาอารามต่างๆ                 การมีส่วนร่วมบำเพ็ญพระราชกุศลหาเงินเจ้าวัดด้วยการขายรูปตัวเองนี้ เป็นกุศลส่งให้คนังเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัว ได้รับความรักใคร่เอ็นดูจากเจ้านายและข้าราชบริพารทั่วไป เป็นมหาดเล็กที่เด่นที่สุดของราชสำนัก ชีวิตของคนังได้รับความสุขความอบอุ่นอย่างที่ไม่เคยมีชาวป่าชาวดอยคนใดจะได้รับ                 แม้พระพุทธเจ้าหลวงจะทรงโปรดคนังเพียงไร แต่เมื่อคนังอายุเข้า ๑๔ ปีก็ไม่สามารถจะอยู่ในพระราชวังต่อไปได้ ต้องออกไปอยู่ข้างนอกเหมือนผู้ชายคนอื่นๆ พระเจ้าอยู่หัวทรงฝากคนังไว้กับพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภให้เป็นผู้เลี้ยงดูต่อ โดยคนังจะต้องมาเข้าเวรมหาดเล็กเช่นเคย                 โลกอิสระภายนอกวังทำให้ชีวิตคนังเปลี่ยนไปอีกแบบ ประกอบกับเริ่มเป็นหนุ่ม ทั้งยังมีฐานะการเงินระดับขุนนางทีเดียว ที่ “คุณพ่อหลวง”ว่าคนังยังไม่รู้เลยว่าเงินมีราคาอย่างไร ก็เริ่มรู้ คนังจึงท่องราตรีไปตามสถานเริงรมย์ต่างๆ ที่มีอยู่ในสมัยนั้น คบเพื่อนประเภทเสเพล ที่สำคัญคือ เริ่มรักผู้หญิง                 ชีวิตสนุกสนานนอกวังยามราตรี ทำให้คนังเพลิดเพลินลุ่มหลงจนถึงขั้นทิ้งการเข้าเวร พระเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วในความเหลวไหลของคนัง แม้จะทรงเมตตาอย่างไรคนังก็ต้องได้รับโทษตามกฎระเบียบ คนังจึงถูกลงพระอาญา รับสั่งให้เฆี่ยนต่อหน้าข้าราชบริพาร เพื่อมิให้กระทำความผิดเช่นนี้อีก                 ชีวิตของคนังเริ่มเฉาและตกต่ำลงเมื่อพระพุทธเจ้าหลวงสวรรคต คนังท่องเที่ยวตามอำเภอใจ แม้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารทั้งหลายยังคงให้ความเมตตาแก่คนังเช่นเดิม แต่คนังใจแตกเสียแล้ว เที่ยวเตร่และคบเพื่อนเสเพลมากขึ้น มีเรื่องผู้หญิงมาเกี่ยวพันมากขึ้น จนกระทั่งต้องจบชีวิตลงในวัยหนุ่มกำดัดนั้นเอง                 สาเหตุการตายของคนังไม่ปรากฏชัด บ้างก็ว่าเขาเสียชีวิตเพระโรคร้ายที่ติดมาจากผู้หญิงเสเพล                 บ้างก็ว่า แม้คนังจะแสดงเป็นเงาะในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “เงาะป่า” โดยไม่ต้องใส่หัวเงาะเช่นคนอื่น แต่เขาก็ไม่อาจถอดรูปเงาะเป็นพระสังข์ได้ ฉะนั้นยากที่จะหารจนามาเสี่ยงพวกมาลัยให้ คนังจึงต้องปีนบ้านขึ้นไปหารจนาในยามวิกาล แต่นางก็ไม่เล่นด้วยและร้องโวยวายขึ้น คนังจึงโดนทั้งไม้พลองกระบองสั้นจนซมซานไปด้วยความบอบช้ำ                 ไหนจะช้ำทั้งกายช้ำทั้งใจ ในที่สุด คนัง เงาะที่ทะยานจากป่ามาสู่ราชสำนักด้วยแรงวาสนา ก็สิ้นวาสนาไปก่อนวัยอันควร เหลือไว้เพียงตำนานให้เล่าขานกันถึง ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวของคนป่าเผ่าซาไก ที่ได้มาเป็นมหาดเล็กพิเศษคนโปรดของสมเด็จพระปิยะมหาราช 


ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ -สั่งรื้ออาคารรุกกำแพงดินทั้งสองจุดแล้ว หลังเรื่องเข้าที่ประชุมอนุกรรมการพัฒนาเมืองเก่า เทศบาลเผยต้องรื้อใน 30 วันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ครบกำหนดกลางเดือนหน้า ด้านที่ดินจว.เตรียมแจ้งโฉนดพื้นที่ทับแนวกำแพง-คูเมืองอาจถูกเพิกถอนได้ วันนี้ (18 ม.ค.) คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าเชียงใหม่ ได้จัดการประชุมขึ้น ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานการประชุมของคณะอนุกรรมการในครั้งนี้ มีหัวข้อหลัก คือ การพิจารณาปัญหาเอกชนก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตทับแนวกำแพงเมือง-คูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ ของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2553 โดยมี พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการเป็นผู้ลงนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2553 สำหรับกรณีปัญหาเอกชนก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตทับแนวกำแพงเมือง-คูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่สำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ และสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ ได้รายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาต่อที่ประชุม ล่าสุด ได้เทศบาลนครเชียงใหม่มีคำสั่งให้ทำการรื้อถอนอาคารที่รุกล้ำพื้นที่กำแพงดินทั้งสองแห่ง ได้แก่ อาคารโรงแรมของ นางสาวเพ็ญสินี พรหมเศรณี บริเวณฝั่งตรงข้ามโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง ซึ่งก่อสร้างอาคารคร่อมทับแนวกำแพงเมือง และอาคารพาณิชย์ ค.ส.ล.3 ชั้น จำนวน 4 คูหาของ นายวลัญช์ชัย เกียรตินิยมรุ่ง ซึ่งทำการก่อสร้างผิดไปจากใบอนุญาตก่อสร้าง ที่ให้สร้างอาคารที่พักอาศัย 2 ชั้น โดยให้เจ้าของอาคารทั้งสองรายทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ซึ่งจะครบกำหนดภายในวันที่ 15 ก.พ.ที่จะถึงนี้ ขณะที่สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประสานงานกับทางสำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ เพื่อขอบัญชีโฉนดที่ดินจำนวน 596 แปลง ที่อยู่ในแนวเขตกำแพงเมือง-คูเมือง เพื่อทราบและถือปฏิบัติในกรณีที่มีการซื้อขาย โดยจะระบุเป็นเงื่อนไขว่า โฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวอาจถูกเพิกถอนได้ นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการยังได้มีความเห็นว่า ไม่มีภาระหน้าที่พิจารณาปัญหาข้อพิพาทดังกล่าว ภายหลังจากที่ที่ประชุมการติดตามและเร่งรัดการแก้ไขปัญหา กรณีเอกชนก่อสร้างอาคารบริเวณแนวกำแพงเมือง-คูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีมติให้นำคำร้องขออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอาคาร ราย นางสาวเพ็ญสินี พรหมเศรณี ลงวันที่ 21 ธ.ค.2553 เสนอต่อสำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ และเสนอต่อที่ประชุมเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา เข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/Local



วัสดุ สำริด แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย อายุสมัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 สถานที่พบ พบในเขต อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กระดิ่งหล่อจากสำริด ตัวกระดิ่งและด้ามแยกออกจากกันได้ ตัวด้ามทำเป็นปล้องคล้ายลูกมะหวด ยอดทำเป็นแฉก 3 แฉก ยอดกลางเป็นแท่งสามเหลี่ยม ขนาบข้างด้วยยอดโค้งลักษณะคล้ายปลายธงสะบัด ด้านในร้อยแท่งเหล็กกลม เวลาสั่นจะเกิดเสียง กระดิ่ง (ฆัณฏา) เป็นเครื่องมงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ เช่น ใช้ร่วมกับวัชระในพิธีทำวัตรในศาสนาพุทธมหายาน นิกายวัชรยาน


ชื่อวัตถุ ชามลายน้ำทอง (เครื่องถ้วย) ทะเบียน ๒๗/๔๗๑/๒๕๓๒ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ กระเบื้อง ประวัติที่มา เป็นมรดกตกทอด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้รับมอบจากนายส่ามเต่ และนางฉ้ายกิ๋ม แซ่อ๋อง พร้อมบุตรและธิดา เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๒ สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “ชามลายน้ำทอง” (เครื่องถ้วย) เครื่องถ้วยลายน้ำทองใบนี้ เป็นภาชนะทรงชามปากกว้าง ส่วนปากทาด้วยสีทอง ใต้ขอบปากตกแต่งเป็นลายยู่อี่ (Ju-I) ด้วยสีเหลืองและชมพู ยู่อี่ หมายถึง ความสมปรารถนาในทุกสิ่งที่ประสงค์ และมีอายุยืนนาน ลำตัวตกแต่งด้วยรูปดอกไม้สีชมพู น้ำเงิน และเหลือง มีใบไม้เป็นสีเขียว ตัวชามมีสีพื้นเป็นสีส้ม และมีหู ๔ หู เป็นสีทอง เครื่องถ้วยลายน้ำทองใบนี้เป็นหนึ่งใน “เครื่องถ้วยนนยา” (Nyonya Wares)คำว่า นนยา (Nyonya) เป็นคำภาษาชวาที่ยืมมาจากคำว่า “dana”ซึ่งเป็นภาษาดัชต์ หมายถึง ผู้หญิงต่างประเทศแต่งงาน ต่อมาใช้เรียกกลุ่มลูกครึ่งจีนกับมลายูที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่เรียกว่า “เปอรานากัน” แปลว่า “เกิดที่นี่” ซึ่งส่วนใหญ่อยู่อาศัยในแถบประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ส่วนในภูเก็ตเรียกคนที่มีเชื้อสายจีนผสมกับพื้นเมืองว่า “บาบ๋า” “เครื่องถ้วยนนยา” คือ เครื่องถ้วยลงยาสีบนเคลือบ เครื่องถ้วยชนิดนี้มีราคาที่แพง เนื่องจากมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากและมีการเผาหลายครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกต้องเผาด้วยอุณภูมิที่ต่ำ เรียกว่า “เผาดิบ” จากนั้นนำไปชุบน้ำเคลือบแล้วเผาอีกครั้งด้วยอุณภูมิที่สูงขึ้นแล้วจึงได้ภาชนะเคลือบสีขาวแล้วจึงนำไปลงยาสี “การลงยา” หมายถึง การนำน้ำเคลือบมาผสมกับน้ำมันการบูรซึ่งเป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติต่างๆ คือ ทำให้สีแห้งเร็ว สามารถละลายตัวสีให้มีความข้นพอที่จะทำให้ตัวสีติดกับผิวเคลือบ สีที่ติดบนผิวภาชนะจะสดใส มีความหนา และแข็งตัวง่ายเมื่อถูกอากาศ แล้วจึงเผาอีกครั้ง และหากมีการลงสีทองต้องมีการเผาครั้งสุดท้ายในอุณภูมิที่ต่ำกว่า ลายที่นิยมใช้ตกแต่งบนเครื่องถ้วยนนยา เช่น ลายดอกไม้ นก เครื่องถ้วยนนยามีรูปทรงต่างๆ เช่น จาน ชาม โถ ช้อนกลาง แจกัน พาน กระถางต้นไม้ และกระถามธูป เป็นต้น เครื่องถ้วยนนยาแบบที่ตกแต่งด้วยการลงยาบนสีเคลือบ มีอายุสมัยเก่าที่สุดในช่วงราชวงศ์ชิง พ.ศ.๒๓๖๔ – ๒๔๙๓ แต่ถูกผลิตมากในช่วง พ.ศ.๒๔๐๕ – ๒๔๕๑ ซึ่งตรงกับยุครัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) ซึ่งในช่วงเวลารัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่มีชาวจีนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองแร่บนเกาะภูเก็ต “โถลายเขียนสี” หรือ “เครื่องถ้วยนนยา” ใบนี้จึงเป็นหลักฐานการเข้ามาของชาวจีนในช่วงเวลาดังกล่าวและยังสะท้อนถึงค่านิยมในเครื่องถ้วยจีนในสมัยนั้นอีกด้วย เอกสารอ้างอิง - ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และนิสิต มโนตั้งวนพันธุ์. “เรียนรู้วัฒนธรรมเปอรานากัน (บ้าบ๋า ย่าหยา) จากเครื่องถ้วยนนยา,” วารสารนักบริหาร ๓๐, ๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๓):, ๖๒– ๖๗. - ณัฏฐภัทร จันทวิช. เครื่องถ้วยจีนที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๗.


          กระดาษ เป็นสิ่งจำเป็นที่มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์นับแต่อดีตกาล เป็นเครื่องมือช่วยจารึกเรื่องราวต่าง ๆ  ใช้เขียนอักษรโต้ตอบเพื่อการสื่อสาร  รับใช้ศาสนา  ความเป็นอยู่และประเพณี  หรือแม้แต่บันทึกประวัติศาสตร์เป็นมรดกให้ลูกหลานได้รู้จักและภาคภูมิต่อ ชาติพันธุ์ของตน  ก่อนยุคสมัยการใช้กระดาษ  มนุษย์พยายามทดลองค้นหาวัสดุที่มีผิวเรียบชนิดต่าง ๆ  มาใช้  เช่น  นำดินเหนียวมาปั้นเป็นแผ่น  ใช้กระดูกสัตว์  งาช้าง  กระดองเต่า  หิน  โลหะ  ซี่ไม้ไผ่  เปลือกไม้  ใบไม้และผ้าไหมเป็นต้น            ใครค้นพบวิธีทำกระดาษเป็นชาติแรก           แม้ว่าสิ่งต่าง ๆ  ที่นำมาใช้บันทึกจะเป็นวัสดุที่ทนทาน  แต่ก็ยากลำบากต่อการเก็บรักษา  สิ้นเปลืองเนื้อที่  มีน้ำหนักมาก  เคลื่อนย้ายไม่สะดวก  จึงเป็นเหตุให้มีผู้คิดค้นวัสดุอื่นขึ้นมาใช้แทน  ราว  2,000 - 8,000  ปี  ก่อนคริสต์ศักราช  ชาวอียิปต์โบราณได้ประสบความสำเร็จจากการนำต้น  ปาปิรัส  (Papyrus) มา บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ให้ชาวโลกได้รับทราบประวัติและวัฒนธรรมอียิปต์อย่างแพร่หลาย  แต่นักวิจัยรุ่นหลังยังไม่ยอมรับว่าสิ่งนี้  คือ  กระดาษ  เนื่องจากวัสดุที่ใช้มิได้เป็นแผ่นเนื้อเดียวกัน  เพียงแต่นำเยื่อมาติดซ้อน ๆ  กัน           สิ่งที่ชาวโลกยอมรับว่าเป็นกระดาษที่แท้จริง  คือ  กระดาษที่เป็นแผ่นเนื้อเดียวกัน  ค้นพบครั้งแรกในโลกที่ ประเทศจีน ประมาณ  ค.ศ.  105  (พ.ศ.  648)  และที่เชื่อกันว่า  ขุนนางไซลั่น (Is'ai Lun)  เป็นผู้คิดค้นวิธีทำกระดาษเป็นคนแรกนั้นไม่ถูกต้อง  เนื่องจากมีการค้นพบกระดาษที่มีอายุเก่าแก่กว่านั้นประมาณ  140  ปี  ก่อนคริสต์กาล  ขุนนางผู้นี้อาจเป็นผู้เสนอการทำกระดาษเป็นทางการต่อ  จักรพรรดิโฮ  (Ho)  และเป็นผู้ส่งเสริมและควบคุมรับผิดชอบการผลิตกระดาษให้กับราชสำนัก  แต่การทำกระดาษถูกเก็บเป็นความลับไว้ในแผ่นดินจีนยาวนานกว่า  500  ปี  จึงแพร่สู่เกาหลีและญี่ปุ่นเมื่อ  ค.ศ.  770  (พ.ศ.  1313)  และแพร่หลายเข้าสู่ยุโรปทางเส้นทางการค้าไหม  โดยเข้าสู่อียิปต์เมื่อคริสต์ศตวรรษที่  10  และกระจายเข้าสู่ยุโรปอย่างแท้จริงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่  12  ผ่านทางประเทศสเปนและอิตาลี  จากนั้นจึงมีการใช้กระดาษแทนหนังแกะ            โรงงานกระดาษแห่งแรกของโลก           สหรัฐอเมริกาเป็นผู้สร้างโรงงานทำกระดาษขึ้นเป็นชาติแรกเมื่อ  ค.ศ.  1690  (พ.ศ.  2233)  ณ  เมืองฟิลาเดลเฟีย  ส่วนเครื่องจักรทำกระดาษประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ  ค.ศ.  1804  (พ.ศ.  2347)  โดย  เฮนรี่และซิลี  ฟูดรินิแอร์  (Fourdrinier)  สองพี่น้องชาวฝรั่งเศส            ทำไมจึงเรียกว่ากระดาษ           คำว่า  กระดาษ  แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า  Paper  ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า  "Papyrus"  ก็คือ  ต้นปาปิรัส  ที่ชาวอียิปต์นำมาบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  นั่นเอง แต่คำว่า  กระดาษ  นี้ไม่ใช่คำไทย  หากเป็นคำที่แปลงจากคำภาษาโปรตุเกสที่เรียกว่า  Cartas  เข้าใจว่าโปรตุเกสเป็นผู้นำกระดาษแบบฝรั่งเข้ามาก่อนสมัยอยุธยา  คำว่ากระดาษ  จึงติดปากใช้กันมาตั้งแต่สมัยนั้น           สมุดไทย  สมุดข่อย  ประเทศไทยมีกระดาษใช้มาแต่โบราณกาลแล้ว  คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  แต่ขณะนั้นคนไทยยังไม่รู้จักคำว่า  กระดาษ  ก็เรียกวัสดุนี้ว่า ใบสมุด  เพราะคำว่า  สมุด  หมายถึง  เล่ม  อย่างคำว่า  สมุดไทย  เป็นต้น           สมัยต่อมาได้วิวัฒนาการมาใช้เปลือกต้นข่อยตำทำเป็นแผ่นยาว ๆ  แล้วย้อมด้วยน้ำมะเกลือให้เป็นสีดำ  ตากให้แห้ง  จึงเขียนด้วย  รงค์  เรียกว่า  สมุดข่อย  ทั้ง ยังมีการเขียนด้วยเหล็กปลายแหลมลงใบลาน  ภายหลังคนไทยภาคเหนืออาจได้รับอิทธิพลการทำกระดาษสาจากประเทศจีน  ได้คิดทำกระดาษสาจากปอสาหรือต้นสาด้วยกรรมวิธีแบบง่าย ๆ  จึงได้กระดาษสาที่มีคุณภาพพอใช้           ไม่ปรากฏหลักฐานว่าคนไทยเริ่มทำกระดาษมาแต่เมื่อใด  จะมีเพียงหนังสือฉบับเก่าที่สุดของไทยที่เขียนลงบนกระดาษ  คือ  พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ  ซึ่งเพียงเท่านี้ก็ไม่ทำให้เราทราบเวลาที่แน่ชัดได้เลย             เพราะเหตุใดจึงไม่เรียก  "ห้องสมุด"  ว่า "ห้องหนังสือ"           เนื่องจากแต่โบราณนานมา  คนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร  ตำรายา  โคลงกลอน  ฯลฯ  ลงสมุดทั้งสิ้น  สมุดนี้เรียกว่า  สมุดไทย  ทำ เป็นกระดาษจากเปลือกต้นข่อยเป็นแผ่นยาว ๆ  พับทางขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ  ลักษณะสมุดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ  ดังนั้น  จึงเรียกหอที่ใช้เก็บสมุดว่า  ห้องสมุด           ต่อมาเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพิมพ์จากตะวันตก  สิ่งที่เก็บอยู่ในห้องสมุดจึงเป็นหนังสือแทบทั้งสิ้น  แต่คำที่ใช้เรียก  ห้องสมุด  หรือ  หอสมุด  ก็มิได้เปลี่ยนตามเป็นห้องหนังสือหรือหอหนังสือ นับว่าดีแล้วไม่เช่นนั้นคงต้องเปลี่ยนชื่อห้องไปเรื่อย ๆ  ตามวัสดุที่เก็บ  คำว่า  ห้องสมุด  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติขึ้นมาใช้ตรงกับคำภาษา อังกฤษว่า  Library         โรงงานกระดาษแห่งแรกของประเทศไทย           ประมาณสงครามโลกครั้งที่หนึ่งราว  พ.ศ.  2460  ขณะ นั้นกระดาษนำเข้าจากต่างประเทศมีเข้ามาจำหน่ายน้อยและราคาแพงมาก   ครั้งแรกโรงงานที่เริ่มต้นผลิตกระดาษยังคงใช้คนงานผลิตด้วยมื อ คิดเฉลี่ยแล้วปีหนึ่งผลิตกระดาษได้เพียง  2.8  ตัน  การผลิตกระดาษด้วยแรงคนนี้เป็นการสิ้นเปลืองเวลาและได้ผลน้อย  ดังนั้นในระยะต่อมา  พ.ศ.  2465  จึง ได้เปลี่ยนเป็นการผลิตกระดาษด้วยเครื่องจักร  โรงงานกระดาษแห่งแรกของประเทศไทยสร้างด้วยเงินทุนกรมแผนที่  ณ  ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก  ท่าพายัพ  ตำบลสามเสน  จังหวัดพระนคร  (กรุงเทพมหานคร)             หลักการทำกระดาษ           คือ  การทำเซลลูโลสเส้นใยให้เป็นแผ่นหนาสม่ำเสมอ  เหนียวมีแผ่นหน้าเรียบและมีสีที่เหมาะสม  ดังนั้น  เซลลูโลสเส้นใยจึงเป็นมูลฐานของกระดาษทุกชนิด  วัตถุดิบในการนี้เดิมทีเดียวใช้  ลินิน แต่เมื่อความต้องการกระดาษมีมาก  ลินินมีไม่พอจึงได้มีการคิดค้นเพื่อจะใช้พืชอย่างอื่นเป็นวัตถุดิบแทนจนกระทั่งเมื่อประมาณ  พ.ศ. 2422  ได้มีการใช้  ไม้ เป็นวัตถุดิบเพื่อนำเยื่อกระดาษมาผลิตกระดาษนั่นเอง  พืช เส้นใยที่เหมาะสมผลิตเยื่อกระดาษ  นอกจากต้นไม้ชนิดต่าง ๆ  แล้วก็มี  สน  ปอแก้ว  ปอกระเจา  ปอสา   ปอมนิลา  หญ้าขจรจบ  หญ้าขน  ไผ่เพ็ก  ฟางข้าว  ต้นข้าวฟ่าง  ต้นข้าวโพด  เศษฝ้าย  ชานอ้อย  เศษปอ  ต้นกระเจี๊ยบแดง  ต้นหม่อน  ใบสับปะรด  ผักตบชวา  เป็นต้น             กระดาษมูลสัตว์           จากปัญหาสิ่งแวดล้อมของมูลสัตว์ที่ถ่ายเป็นปริมาณสูงมากต่อหนึ่งวัน  เช่น  ช้างกินอาหาร  วันละ  200 - 300  กิโลกรัม ต่อเชือก  ฟาร์มเลี้ยงม้า  เลี้ยงแพะ  ที่สัตว์ขับถ่ายมูลออกมามากมายในแต่ละวันมากมายจนต้องคิดเอามูลสัตว์มา ทำให้เกิดประโยชน์ด้วยแนวคิดว่ากระดาษทำมาจากเยื่อไม้  ฉะนั้น  หากนำมูลสัตว์  เช่น  มูลช้าง  มูลม้า มูลแพะ  ซึ่งเป็นมูลที่ย่อยสลายจากพืชจำพวกอ้อย  ใบไผ่  กล้วย  หญ้ามาผ่านขั้นตอนกระบวนการผลิตด้วยมือเหมือนกระดาษสาทุกประการ  เพียงแต่เติมหัวน้ำหอมลงไปก็น่าจะทำเป็นกระดาษได้  การทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก  เพราะผลิตออกมาแล้วใช้ได้ดี  มีความละเอียดเหนียวแน่นทนทาน  ปราศจากกลิ่นเหม็น  หากนำกระดาษสามาเปรียบเทียบกันจะดูไม่ออกเลยว่าชิ้นไหนเป็นกระดาษสา  ชิ้นไหนเป็นกระดาษมูลสัตว์  สามารถนำมาผลิตสินค้าตามต้องการได้  เช่น  ทำดอกไม้ประดับ  ทำกล่อง  ทำร่ม โคมไฟฟ้า  สมุดไดอารี่  ปกหนังสือ  และใช้ห่อของขวัญ    


จัดขึ้นในวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2554 (วันขึ้น 2-3 ค่ำ เดือน 3)  บริเวณศาลเจ้าพ่อศรีเทพ  ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ



หอพิศัยศัลลักษณ์ เป็นอาคารทรงหอ 4 ชั้นขนาดของ 15.80 เมตร x 17.00 เมตร สูง 22 เมตร อาคารตั้งอยู่ริมกำแพงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้พังลงก่อนเสียกรุงอยุธยาครั้งที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นตามรากฐานเดิมแล้วพระราชทานนามว่าหอพิสัยศัลลักษณ์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว ต่อมาเมื่อพื้นที่ภานในพระราชวังจันทรเกษม ถูกใช้เป็นที่ทำการมณฑลกรุงเก่า จึงทำหน้าที่เป็นหอสังเกตุการณ์และติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก อนันต์ พวงงาม.  เทคนิคการสอบสวน.  พระนคร : โรงพิมพ์มิตรสยาม, ๒๕๐๙.


รายงานการเดินทางไปราชการของคณะผู้แทนไทย ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล   ๑.     ชื่อโครงการ  โครงการบูรณะโบราณสถานในประเทศเนปาลที่ประสบเหตุแผ่นดินไหว ๒.    วัตถุประสงค์            คณะผู้แทนไทยเดินทางไปหารือร่วมกับผู้แทนจากรัฐบาลเนปาล และเอกอัครราชทูต               ณ กรุงกาฐมัณฑุ ในประเด็นการให้ความช่วยเหลือตามโครงการบูรณะโบราณสถาน               ในประเทศเนปาลที่ประสบเหตุแผ่นดินไหว ๓.     กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่   ๒๗ –  ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙ ๔.    สถานที่               ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล      ๕. รายชื่อคณะผู้แทน                       ๑. นายอนันต์ ชูโชติ                    อธิบดีกรมศิลปากร                            ๒. นางสาวปภัสมน อัมราลิขิต      ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                            ๓. นางสาวดารุณี ธรรมโพธิ์ดล     ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ         กระทรวงวัฒนธรรม                            ๔. นายอธิปัตย์ โรจนไพบูลย์         ผู้อำนวยการกองเอเชียใต้และเอเชียกลาง    กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา                            ๕. นายพงศ์ธร เหียงแก้ว              สถาปนิกชำนาญการ กรมศิลปากร                            ๖. นายสิทธิชัย พูดดี                   นักโบราณคดีปฏิบัติการ กรมศิลปากร                            ๗. นางพจมาลย เกียรติธร            ผู้แทนพระศากยวงศ์วิสุทธิ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ๖. กิจกรรม          ๒๗ กันยายน ๒๕๕๙                - เดินทางจากประเทศไทย  ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิโดยสายการบินไทย                  เที่ยวบินที่ TG ๓๒๓ เวลา ๐๗.๓๕                 - ถึงท่าอากาศยานนานาชาติ อินทิราคานธี กรุงนิวเดลี อินเดีย เวลา๑๐.๓๕ น.                  (เวลาท้องถิ่น) และเดินทางต่อไปยังกรุงกาฐมัณฑุด้วยสายการบินเจ็ทแอร์เวย์                  เที่ยวบินที่ GA ๒๐๘  เวลา๑๓.๔๕ น.                - ถึงท่าอากาศยานนานาชาติตรีภูวัน กรุงกาฐมัณฑุประเทศเนปาลเวลาประมาณ                  ๑๕.๔๕ น. (เวลาท้องถิ่น)                - เดินทางเข้าพัก ณ โรงแรม Yak and Yeti กรุงกาฐมัณฑุ                - เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองพร้อมหารือกับคณะผู้แทนของรัฐบาลเนปาล ณ ทำเนียบ-                  เอกอัครราชทูตเวลา ๑๙.๐๐          ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙                - เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. เดินทางเข้าประชุมหารือกับปลัดกระทรวงวัฒนธรรม                  และการท่องเที่ยว เนปาลและคณะ ณ กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว                  เนปาล จนถึงเวลาประมาณ ๑๒.๓๐ น.                - รับประทานอาหารเที่ยงและเดินทางไปสำรวจแหล่งโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบ                  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งฝ่ายไทยได้เสนอการสนับสนุน พร้อมหารือร่วมกับ                  คณะกรรมท้องถิ่นผู้ดูแลศาสนสถานได้แก่ โบราณสถานภายในวัดสวายัมภูวนาถ                  กรุงกาฐมัณฑุ ๓ แห่ง ประกอบด้วย สถูปประธาน สันติวิหาร และปรางค์อนันทปุระ                  และโบราณสถานภายในวัดมหาพุทธะ เมืองปาตัน หรือลลิตปูร์                 - เวลาประมาณ ๑๗.๓๐ น. ประชุมหารือกับอธิบดีกรมโบราณคดี เนปาลและคณะ                  ณ โรงแรม Yak and Yeti            ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙                - เวลาประมาณ ๘.๓๐ น. เดินทางออกจากโรงแรมที่พักเพื่อไปสำรวจแหล่งโบราณ                  สถานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพิ่มเติม ณ จัตุรัสดูบาร์                  กรุงกาฐมัณฑุ พร้อมหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโครงการอนุรักษ์พระราชวังหนุมาน                  โดกา จัตุรัสดูบาร์ กรุงกาฐมัณฑุ Hanuman Dhoka, Durbar Square                  Conservation Programme, Basantapur) ซึ่งดูแลโดยเทศบาลกรุงกาฐมัณฑุ                  (Kathmandu Metropolitan City)                - เวลาประมาณ ๑๑.๓๐ น. เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติตรีภูวัน                  กรุงกาฐมัณฑุ                - เวลาประมาณ ๑๓.๓๐ น. ออกเดินทางจากท่าอากาศนานาชาติยานตรีภูวัน                  กรุงกาฐมัณฑุ โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่TG ๓๒๐                - เวลาประมาณ ๑๘.๔๕ น. (เวลาประเทศไทย)เดินทางถึงท่าอากาศนานาชาติ                  สุวรรณภูมิ


          บ้านคูเมืองตั้งอยู่ในเขตคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งโบราณคดีมีอาณาเขต จำนวน ๓ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๗ ที่มีชื่อว่า “คูเมือง”เป็นเพราะมีร่องรอยคูน้ำล้อมรอบพื้นที่เมือง บ้านคูเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอวารินชำราบมาทางทิศใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีลำห้วยไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ เมตร และยังมีลำห้วยเล็กๆ ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ เป็น เส้นทางระบายน้ำจากลำห้วยผับมาสู่คูน้ำโบราณ           แต่เมื่อพิจารณาจากรูปแบบโบราณวัตถุและโบราณสถานที่พบสามารถอธิบายลำดับพัฒนาการการอยู่อาศัยในพื้นที่ได้ ๔ สมัย          สมัยที่ ๑ ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคสำริด-เหล็ก) พบหลักฐานการฝังศพครั้งที่ ๒ และ โบราณวัตถุเช่น ภาชนะดินเผาสีส้มและสีขาวนวลที่กำหนดอายุได้มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว           สมัยที่ ๒ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ หรือ ประมาณ ๑,๔๐๐-๑,๒๐๐ ปีมาแล้วตรงกับช่วงสมัยทวารวดี โดยหลักฐานที่พบในสมัยนี้คือเศษภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ           สมัยที่ ๓ เป็นการอยู่อาศัยต่อเนื่องจากสมัยที่ ๒ คืออยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๙ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ ปีมาแล้วตรงกับช่วงอิทธิพลเขมรในประเทศไทย ที่พบหลักฐานภาชนะดินเผาเขมรจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยจีน และพบกิจกรรมการถลุงโลหะด้วย สมัยที่ ๔ อยู่ในระยะตั้งแต่การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ของคนลาวที่เป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านในปัจจุบันเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ระยะต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา           นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญคือ“โบราณสถานโนนแก”เป็นโบราณสถานสำคัญของบ้านคูเมือง สร้างขึ้นในช่วงสมัยที่ ๓ คือช่วงสมัยอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร โดยใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ในปัจจุบันพบร่องรอยการก่อสร้างอาคารจำนวน ๔ หลัง ซึ่งจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าการปรับถมอัดพื้นที่เพื่อทำฐานรากก่อนการก่อสร้างโดยในสมัยแรกน่าจะเป็นศาสนสถานที่มีปราสาทประธานและอาคารประกอบด้านข้างทิศเหนือและสร้างกำแพงล้อมรอบ ส่วนในสมัยที่ ๒ พบการเข้ามาใช้พื้นที่ก่อสร้าง อุโบสถในพุทธศาสนาคืออาคารอีก ๒ หลังที่สร้างด้วยการนำหิน มาเรียงกันขึ้นใหม่บนซากอาคารเดิมในสมัยแรกสร้าง ปัจจุบันยังคงมีการใช้พื้นที่ในโบราณสถานโนนแก โดยการปรับปรุงดูแลรักษาโบราณสถานโนนแก ซึ่งถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ทำให้โบราณสถานแห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างมาก           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๑๒๖ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ ไร่ ๑ ตารางวาวันที่ ๕ กันยายน๒๕๔๘ ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ที่มา : รายงานการขุดค้นขุดแต่งเพื่อการบูรณะโบราณสถานโนนแก.สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี กรมศิลปากร, 2540.


เลขทะเบียน : นพ.บ.3/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 2 (11-19) ผูก 4หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger