ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,419 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.183/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 59.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 105 (110-116) ผูก 13 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา(ฎีกาธัมมจักร) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.221/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 5 x 56.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 111 (159-169) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : วินยกถา(สับวินัย) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.358/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 138 (402-410) ผูก 1ก (2565)หัวเรื่อง : อภิธมฺม สงฺเขป (อภิธัมมา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๒๙ ตุลาคม ๒๓๙๘ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล เป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๒๐ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๓๙๘
ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนากรมหมื่นพิชิตปรีชากร ต่อมาเลื่อนเป็นกรมหลวงฯ ในปีพุทธศักราช ๒๔๒๘
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงเป็นอธิบดีศาลรับสั่งชำระความฎีกา แล้วเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลอีสาน และเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านการพระนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเรื่อง พระองค์ยังได้ร่วมกับพระเจ้าพี่ยาเธอ และพระเจ้าน้องยาเธอจัดตั้งหอสมุดวชิรญาณขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๙ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เพราะประชวรพระวัณโรคภายใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้แพทย์หลวงไปประกอบถวายพระโอสถ แต่พระอาการยังทรงกับทรุดจนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๕๒ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๕๓) พระชันษาได้ ๕๕ ปี เป็นต้นราชสกุล คัคณางค์ และเป็นพระอัยกาฝ่ายพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
ชื่อผู้แต่ง นครสวรรค์วรพินิต, เจ้าฟ้า
ชื่อเรื่อง แนวสอนวิชาจรรยา ในกองโรงเรียนนายร้อยทหารบก ภาคที่ ๔ ธรรมเกี่ยวแก่หน้าที่
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ นครหลวง
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การรถไฟ ฯ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๔๕ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางพเยาว์ (วีระไวทยะ) สริกขกานท์ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๑๕
หนังสือเล่มนี้ เป็นการสอนวิชาจรรยา ซึ่งในภาคที่ ๔ คือ ธรรมเกี่ยวแก่หน้าที่ ประกอบด้วย ธรรมเกี่ยวแก่หน้าที่ กล่าวทั่วไป, หน้าที่พลเมือง, ความสัตย์สุจริต, รักษาศักดิ์ของตน และของคณะ และหลักของผู้มีหน้าที่ในราชการทหาร ซึ่งเป็นธรรมคดีที่คนทั่วไปควรนำไปปฏิบัติ
ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปปางต่างๆ ชื่อผู้แต่ง : สมพร อยู่โพธิ์.ปีที่พิมพ์ : 2514สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปาร จำนวนหน้า : 176 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญรอด รัตนอุไร ณ ฌาปนสถานคุรุสภา วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2514 และในหนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ ของกรมศิลปากร ที่มีนายสมพร อยู่โพธิ์เป็นผู้เรียบเรียงไว้ด้วย
กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ ร่วมฟังเสวนาทางวิชาการ ผ่านนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากร เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ เวลา ๑๖ .๐๐ – ๒๐.๐๐ น. รับชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี จากสำนักการสังคีต เวลา ๑๗.๓๐ – ๒๐.๐๐ น. ระหว่างวันที่ ๒ – ๘ เมษายน ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook live กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
เมืองดงละครเป็นเมืองโบราณเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี ตั้งอยู่ในตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ การทำงานโบราณคดีในเมืองดงละครเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ และ ๒๕๒๙ โดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร โดยผลจากการศึกษาพบว่า เมืองดงละครเป็นเมืองที่ขยายตัวจากชุมชนในแผ่นดินออกมาเพื่อสร้างเครือข่ายการค้าทางทะเล มีความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นในแถบลุ่มแม่น้ำบางปะกง มีอายุช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๒-๒๕๓๓ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับสั่งให้กรมศิลปากรศึกษา อนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเมืองโบราณดงละคร เพื่อให้เป็นประโยชน์ในด้านวิชาการและเศรษฐกิจ จึงเกิดโครงการอนุรักษ์เมืองดงละคร โดยฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร มีนักโบราณคดีผู้รับผิดชอบการขุดค้น คือ นายอำพัน กิจงาม และนายอาณัติ บำรุงวงศ์ โดยได้มีการได้มีการสำรวจทางโบราณคดี การขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑-๒ และขุดค้นทางโบราณคดี ๘ หลุม แบ่งเป็น หลุมภายในเมือง ๔ หลุม และขุดใกล้กับคูเมืองหรือสระน้ำอีก ๔ หลุม ระหว่างการขุดค้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงนำคณะผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ เรื่องภาษากับประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย จำนวน ๔๐๐ คน ไปทัศนศึกษาที่เมืองโบราณดงละคร ผลการศึกษาทางโบราณคดีครั้งนี้ พบว่าโบราณสถานหมายเลข ๑ เป็นศาสนสถาน เนื่องจากมีการพบเศียรพระพุทธรูปและและแผ่นทองคำ แนวสิ่งก่อสร้างที่พบสันนิษฐานว่าเป็นกำแพงแก้วล้อมรอบ ศาสนสถานขนาด ๓๒x๔๓ เมตร บริเวณกึ่งกลางโบราณสถานพบแท่นอิฐผสมศิลาแลงก่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวด้านละ ๑-๑.๒๐ เมตร คาดว่าเป็นแท่นประดิษฐานรูปเคารพ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ ส่วนโบราณสถานหมายเลข ๒ อยู่ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๑ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๕ เมตร เป็นกรอบศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบเนื้อที่ประมาณ ๙ ตารางเมตร ตรงกลางมีการขุดพบแท่งศิลาแลงรูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ ภายในบรรจุตุ้มหู แหวน หัวแหวน พื้นที่รอบแท่งศิลาแลงพบลูกปัดหินและลูกปัดแก้วจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเป็นการฝังสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศิลาฤกษ์กลางศาสนสถาน กำหนดอายุโบราณสถานราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ หลังจากการศึกษาในปีพ.ศ. ๒๕๓๓ ได้มีการศึกษาทางโบราณคดีอีกหลายครั้ง และได้ข้อมูลที่ช่วยให้ภาพรวมการใช้พื้นที่ของเมืองดงละครเด่นชัดขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลการศึกษาทางโบราณคดีของเมืองดงละคร สามารถติดตามได้จากหนังสือ “เมืองโบราณดงละคร” ของกรมศิลปากร ราคาเล่มละ ๖๕๐ บาท สั่งซื้อได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ และสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา---------------------------------------------------ที่มาข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์---------------------------------------------------อ้างอิง : ธงชัย สาโค. เมืองโบราณดงละคร. นนทบุรี : ไทภูมิ พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๘.
ในปี ๒๕๖๔ นับได้ว่าเป็นปีแห่งการสานต่องานทางโบราณคดีที่สำคัญของสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ กับโครงการขุดค้นทางโบราณคดีโบราณสถานวัดส้มสุก ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่สอง โบราณสถานสถานแห่งนี้ นับได้ว่าเป็นโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่ค้นพบในพื้นที่แอ่งที่ราบอำเภอแม่อายในปัจจุบัน ประกอบด้วยโบราณสถาน ๕ หลัง คือ เจดีย์ วิหาร และอาคารอีก ๓ หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างมากเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้คือ เป็นโบราณสถานที่มีขนาดวิหารใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีขนาดความกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๔๐ เมตร และเสาวิหารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง ๑ เมตร นอกจากนั้นหลักฐานจากปูนปั้นที่บริเวณเจดีย์ ยังแสดงให้เห็นถึงความพิเศษของวัดแห่งนี้ เพราะมีชิ้นส่วนปูนปั้นรูปช้างบางส่วนติดอยู่ที่ฐานเจดีย์ แสดงให้เห็นว่าเจดีย์วัดส้มสุกนี้ เป็นเจดีย์ที่มีช้างล้อมรอบฐาน หรือที่เรียกว่า “เจดีย์ช้างล้อม” ซึ่งเป็นเจดีย์รูปแบบพิเศษของล้านนาที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมจากสุโขทัยในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันในจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏเจดีย์ช้างล้อมไม่กี่แห่ง ได้แก่ ที่วัดเจดีย์หลวง เจดีย์วัดเชียงมั่น เจดีย์วัดพระสิงห์ เจดีย์วัดหัวหนอง(เวียงกุมกาม) โดยในอดีตเจดีย์วัดสวนดอก และเจดีย์วัดป่าแดง เคยมีช้างล้อม แต่ภายหลังถูกเปลี่ยนแปลงสภาพ และเจดีย์ช้างล้อม ๒ องค์ล่าสุด ที่ได้รับการค้นพบในห้วง ๕ ปีที่ผ่านมานี้ คือ เจดีย์ช้างล้อม กลุ่มโบราณสถานสบแจ่ม อำเภอจอมทอง และเจดีย์วัดส้มสุกแห่งนี้ การดำเนินงานโบราณคดีที่โบราณสถานวัดส้มสุก ระยะที่สอง ในปี ๒๕๖๔ จะเปิดเผยให้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในแอ่งที่ราบฝาง-แม่อาย อันเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของพื้นที่เชียงใหม่ตอนบน ที่มีบริบทสำคัญต่อล้านนามาตลอดทุกยุคทุกสมัย-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
เหรียญรูปสังข์บรรจุภายในภาชนะดินเผา พบจากการขุดศึกษาโบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ จัดแสดงห้องโบราณคดีเมืองอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เหรียญขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๓ – ๑.๕ เซนติเมตร ลักษณะบางคล้ายเกล็ดปลา ด้านหน้ามีรูปสังข์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งลวดลายนี้พบบนเหรียญเงินสมัยทวารวดี ทั้งแบบที่มีรูปสังข์หน้าเดียว และแบบที่มีรูปสังข์ – ศรีวัตสะอยู่คนละด้าน ส่วนด้านหลังเรียบไม่มีลาย เหรียญอยู่ในสภาพชำรุด และติดกันแน่นเป็นกลุ่มอยู่กับดินบริเวณส่วนคอของภาชนะดินเผาทรงกลมที่มีคอสูง กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
เหรียญรูปสังข์และภาชนะดินเผานี้ ขุดพบที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ เมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีลักษณะเป็นเนินดินที่มีวัสดุโครงสร้างของโบราณสถานได้แก่ ศิลาแลง ก้อนหินปูน และอิฐ กระจายอยู่ทั่วเนินดิน โดยพบภาชนะดินเผาดังกล่าวในลักษณะวางตั้งตรง ส่วนคอมีรอยแตก สามารถแยกออกจากลำตัวได้ ภายในมีเหรียญรูปสังข์บรรจุอยู่เต็ม เหรียญเกาะตัวกันแน่นจนไม่สามารถนำออกมาได้ ต่อมามีการนำเหรียญดังกล่าวออกจากตัวภาชนะ คงเหลือเพียงเหรียญที่ติดแน่นบริเวณส่วนคอจนกระทั่งปัจจุบัน
สันนิษฐานว่าเหรียญรูปสังข์พร้อมภาชนะดินเผานี้ ทำขึ้นสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรม หรืออาจเกี่ยวข้องกับการวางฤกษ์ศาสนสถาน การบรรจุเหรียญลงในภาชนะดินเผาแล้วฝังไว้บริเวณศาสนสถาน ยังพบที่โบราณสถานแห่งอื่นด้วย เช่น เหรียญเงินมีจารึก “ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณฺยะ” เหรียญมีสัญลักษณ์มงคล และแท่งเงินตัดบรรจุในภาชนะดินเผาพบที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๗ และเหรียญรูปสังข์บรรจุในภาชนะดินเผาร่วมกับพระพิมพ์พบที่โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง เป็นต้น
------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.
กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี. พระนคร : ศิวพร, ๒๕๐๙
วิภาดา อ่อนวิมล. “เหรียญตราในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๖”. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๑.
สมศักดิ์ รัตนกุล “การขุดแต่งโบราณสถานด้านทิศเหนือของคอกช้างดิน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” ศิลปากร ๑๑, ๒ (กรกฎาคม ๒๕๑๐) : ๗๘ – ๘๔.
สุภมาศ ดวงสกุล และคณะ. ศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างบนเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์เมืองอู่ทอง : ผลการสำรวจ ทางโบราณคดีบนเขตภูเขานอกเมืองอู่ทอง พ.ศ. ๒๕๖๒. สุมทรสาคร : บางกอกอินเฮาส์, ๒๕๖๒.
----------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
https://www.facebook.com/Uthongmuseum/posts/pfbid0ufj1FUrkPRG43G2CMUexRaeBoM21Wtjnabcfj9CfRxzDfZgLNM1YdXPRQ3pFXSdal
#น้อล หรือ #หิมพานต์มาชเมลโล่ เหล่าสรรพสัตว์ของท้องถิ่น ที่น่ารักและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้กระแสน้อลๆ กลับมามีชีวิตและได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ
ในวันนี้สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ขอนำเสนอเหล่าน้อลๆ ที่พบจากการสำรวจโบราณสถานในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
----------------------------------------------
นายสุรเชษฐ สระทองแก้ว กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน (ออกแบบ) นายจุลเกียรติ ไพบูลย์เกษม กลุ่มโบราณคดี (เรียบเรียง)
วันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจเยี่ยมและให้นโยบายหน่วยงานสังกัดสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา โดยมี น.ส. สุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นายสมพจน์ สุขาบูลย์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา นายอรรถวิทธิ์ อินต๊ะ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน น.ส. ธิดากานต์ พักตร์จันทร์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และเจ้าหน้าที่ในสังกัดให้การต้อนรับ ทั้งนี้ได้มอบนโยบายในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม และการเปิดให้เข้าชมนิทรรศการภายในอาคารจัดแสดงเครื่องทองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ครั้งแรกภายหลังการปิดปรับปรุงให้เป็นของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชน