ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ

        กระปุก         เลขทะเบียน         ๗๘ / ๒๕๔๑         แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะจีน และล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑          วัสดุ (ชนิด)         เครื่องปั้นดินเผาเขียนลายสี พร้อมฝาโลหะ         ขนาด         กว้าง ๑๕ เซนติเมตร สูงพร้อมฝา ๑๒ เซนติเมตร         ประวัติความเป็นมา ได้จากการวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่         ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ          เครื่องกระเบื้องลายคราม ทำเป็นไหสีขาวทรงกลม สีขาวขุ่นเป็นสีพื้น เขียนลายครามพันธุ์พฤกษาเกี่ยวพันกัน มีช่อดอกโบตั๋น มีความหมายถึงความร่ำรวยและเกียรติยศ  สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องกระเบื้องที่สร้างขึ้นในแหล่งเตาเจิ้งเต๋อเจิ้น มณฑลเกียงซี ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน โดยผลิตขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑  



           เนื่องในโอกาสที่องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖              กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ศรีเทพกับมรดกโลก” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ – ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ เพื่อเผยแพร่เรื่องราว คุณค่า และความสำคัญของเมืองโบราณศรีเทพ ให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกในครั้งนี้             นิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการขนาดเล็กที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย จัดแสดงเรื่องราวของเมืองศรีเทพ ประกอบด้วยเรื่อง ศรีเทพ: มรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทย, คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของเมืองโบราณศรีเทพ, แผนที่ประเทศไทย แสดงจังหวัดเพชรบูรณ์, แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ, ลำดับกาลของเมืองโบราณศรีเทพ, เมืองโบราณศรีเทพ, โบราณสถานเขาคลังนอก, โบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ โดยมีเนื้อหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญจากเมืองศรีเทพมาจัดแสดงให้ชมด้วย ได้แก่ พระสุริยเทพ พระกฤษณะ พระวิษณุ ๔ กร ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่พบที่เมืองศรีเทพ และเศียรพระพุทธรูป เศียรพระโพธิสัตว์ และชิ้นส่วนพระหัตถ์ ซึ่งเดิมได้จำหลักที่ผนังถ้ำเขาถมอรัตน์ ตำบลโคกสะอาด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โบราณวัตถุเหล่านี้ได้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี            ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ เรื่อง “ศรีเทพกับมรดกโลก” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดทำการวันพุธ  วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร)


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ขอเชิญรับชม museum talk Live ในโอกาสพิเศษ "วันฮัลโลวีน พิพิธภัณฑ์ชวนมานั่งคุยเรื่องผีๆ"  ในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 13.31 น. สามารถรับชมได้ผ่านทาง Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก โดยมีวิทยากรจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก และยังได้รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญ คุณนิชนันท์ กลางวิชัย พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรฯ  ที่ใกล้ชิดกับงานด้านชาติพันธุ์ และมีเรื่องเล่าสนุกๆ เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีๆ ของคนใกล้ตัวมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ฟังกันอีกด้วย            พิเศษ!!! กิจกรรมนี้จะมีแจกเครื่องรางของขลังด้วยนะ โปรดติดตามชมการถ่ายทอด Facebook Liveได้ทาง https://www.facebook.com/KanchanaphisekNationalMuseum


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “ชอง : ชาติพันธุ์จันทบุรี” ชอง หรือคนชอง (ช์อง) แปลว่า “คน” เป็นชื่อของกลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ชาวชองอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่มีปรากฏหลักฐานซึ่งได้กล่าวถึงคนชองไว้ในนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ แต่งเมื่อ พ.ศ. 2350 และจดหมายเหตุของรัชกาลที่ 5 ครั้งเสด็จประพาสจันทบุรี นอกจากนี้ยังมีปรากฏในเอกสารของชาวต่างชาติ ได้แก่ ปาลเลอกัวซ์ (Pallegoix, 1853) ใช้ว่า Xong และครอฟอร์ด (Crawford, 1856) ใช้ว่า Chong และพจนานุกรมภาษาสยามของหมอบรัดเลย์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2416 ยังให้นิยามของคำว่า ชอง เอาไว้ด้วย ทั้งหมดนี้น่าจะมีที่มาจาก “ชอง” เดียวกันทั้งสิ้น ชาวชอง เป็นกลุ่มชนที่จัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตร - เอเชียติค (Austro - Asiatic) กลุ่มย่อยตระกูลมอญ - เขมร (Mon - Khamer) มีลักษณะรูปร่างสันทัด ผิวค่อนข้างดำ เส้นผมหยิก ขอด รูปหน้าค่อนข้างเหลี่ยม คางและขากรรไกรค่อนข้างกว้าง จมูกไม่โด่งแต่ก็ไม่แบนราบ ริมฝีปากและสันคิ้วค่อนข้างหนา มีตาโต โดยทั่วไปมีนิสัยโอบอ้อมอารี ใจดี รักสงบ ซื่อสัตย์ และรักพวกพ้อง วิถีชีวิตแต่เดิมมีความเป็นอยู่อย่างลักษณะ คนป่า ยังชีพด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ มีการทำนาปลูกข้าวเพียงเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น ชาวชองจะเลือกตั้งถิ่นฐานเพื่อสร้างหมู่บ้านอยู่อาศัยบริเวณป่าเขา การปลูกสร้างบ้านเรือนใช้สถาปัตยกรรมแบบเรือนเครื่องปลูก มีระบบครอบครัว ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง เช่น ประเพณีและพิธีกรรมการนับถือผีบรรพบุรุษที่เรียกว่าการเล่น “ผีหิ้ง และผีโรง” ประเพณีการแต่งงาน การปกครอง การจัดระบบระเบียบของสังคม ตลอดจนกฎเกณฑ์การควบคุมความประพฤติของชนในกลุ่ม มีภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ไม่มีตัวอักษรหรือภาษาเขียน ดังนั้นชาวชองจึงไม่ได้บันทึกประวัติศาสตร์และความเป็นมาของตนเองไว้เลย ได้แต่ใช้วิธีการบอกเล่าและปฏิบัติสืบต่อกันมาเท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อชาวชองได้เป็นคนไทยตามพระราชบัญญัติของทางราชการ จึงหันมาพูดภาษาไทย และนับถือพุทธศาสนาตามแบบอย่างคนไทย วิถีชีวิตของชาวชองเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคมและสภาพแวดล้อมปัจจุบัน มีการปรับตัวและรับเอาวัฒนธรรม รวมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิต เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เครื่องมือการประกอบอาชีพ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องมือการสื่อสาร ตลอดจนการจัดระเบียบการปกครองตามรูปแบบของทางราชการ และการพัฒนาหมู่บ้านตามระบบสังคมอุตสาหกรรม ล้วนส่งผลกระทบให้วิถีชีวิตและสังคมของชาวชองเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ชาวชองอาศัยอยู่กันมากในแถบตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี บริเวณอำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันการใช้ภาษาชอง ตลอดจนวัฒนธรรมของชาวชองอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญหายเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อการสูญเสียภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตามชาวชองได้มีความพยายามฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของตนเองตั้งแต่ พ.ศ. 2545 โดยได้มีการสร้างระบบตัวเขียนภาษาชองด้วยตัวอักษรไทย และการสร้างวรรณกรรมหนังสืออ่านภาษาชองระดับต่าง ๆ มีการสอนภาษาชองเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน และมีการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมชองสำหรับเป็นแหล่งข้อมูล ทั้งนี้ภาครัฐและเอกชนได้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูและเผยแพร่วัฒนธรรมชองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้คงอยู่ได้สืบต่อไป


           สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ขอเชิญร่วมงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “กรมศิลปากรขอส่งมอบสระมะโนราคืนให้ชาวลพบุรี”  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ วันพุธที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๑๕ น. โดยมีวิทยากรได้แก่             - คุณพนมบุตร จันทรโชติ - อธิบดีกรมศิลปากร วิทยากร            - คุณจำเริญ สละชีพ - นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี วิทยากร            - ดร.พรธรรม ธรรมวิมล - ภูมิสถาปนิกชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร วิทยากร            - ผศ.สุรพงษ์ ปนาทกูล - รองประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดลพบุรี วิทยากร            - คุณนงคราญ สุขสม ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี วิทยากร/ผู้ดำเนินรายการ  และเวลา ๑๙.๐๐ น. ชมการแสดงโขน โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ตอน "อสุรผัดตามพ่อ"   ฟรี !!!! รับชมวิดีโอคุณภาพสูงได้ที่  https://youtu.be/wjLgvgnd-2k?si=dpZ93YWP7VSwmwLw


  "กล่าวถึงเมืองศรีสะเกษ" เมื่อถึงเวลาพระ "โพธิสัตว์" จะลงมาจุติเพื่อบำเพ็ญเพียรบารมี ตามธรรมเนียมเป็นหน้าที่ของพระอินทร์ ที่จะคอยช่วยเหลือจัดการให้บรรลุจุดประสงค์ตามเป้าหมาย โดยพระอินทร์แปลงร่างเป็นพญาช้างเผือกลงมาเหยียบย้ำข้าวในที่นาของหญิงหม้าย นางผู้ที่มีฝีมือในการทอผ้าและสอนวิชาการทอผ้าให้กับหญิงชาวเมืองจนเป็นที่รักใคร ช้างเผือกอินทร์แปลงได้เหยียบย้ำข้าวในที่นาของนางให้เสียหาย และทิ้งรอยเท้ามีน้ำขังไว้ ๑ รอย นางมาเห็นความเสียหายของต้นข้าวในนา นางเสียใจมาก และนางเดินหาสาเหตุที่ทำให้ข้าวในนาเสียหายจนเกิดความเหนื่อยหล้าและกระหายน้ำ นางจึงกินน้ำในแอ่งรอยเท้าพญาช้างเผือกนั้น ต่อมานางตั้งครรภ์ และได้คลอดกุมารน้อย นามว่า "คัทธนกุมาร" พร้อมดาบวิเศษศรีกัญไชยเป็นอาวุธคู่กาย กุมารน้อยเติบโตขึ้นมาด้วยความรักแสนอบอุ่นจากมารดา แต่ว่าเวลาเล่นกับเพื่อนๆมักจะโดนหยอกล้อว่าตนเป็นลูกช้าง พออายุได้ ๗ ปี คัทธนกุมารจึงอยากที่จะเจอพ่อของตน นางจึงพาคัทธนกุมารไปดูรอยเท้าของบิดาจึงรู้บิดาของตนเป็นพญาช้างจึงคิดว่าสักวันถึงเวลาอันควรจะต้องออกติดตามหาบิดาผู้ให้กำเนิดให้เจอจนได้ วันหนึ่งสองแม่ลูกออกหาขุดเผือกขุดมันในป่า มีนางยักษ์ตนหนึ่งเห็นกองไฟที่ทั้งสองจุดไว้ นางยักษ์จึงหมายจะเข้าไปจับมารดาของคัทธนกุมารกิน ขณะนั้นเองกุมารก็กระโดดขึ้นจากหลุมมัน ขึ้นมาช่วยมารดาตน ด้วยบุญญาธิการพร้อมพละกำลังดังพญาช้างสารจึงสามารถปราบนางยักษ์ได้ และหมายจะฆ่านางยักษ์เสีย นางร้องขอชีวิตจากกุมาร และได้มอบคนโฑทิพย์(น้ำในคนโททิพย์ช่วยให้ร่างกายกลายเป็นสาวเป็นหนุม) พร้อมกับนางยักษ์ได้ชี้บอกขุมทองคำให้แก่กุมาร กุมารจึงขุดทองคำและนำไปแจกจ่ายแก่ชาวเมือง ครั้นพออายุได้ ๑๖ ปี ข่าวนี้เลื่องลือถึงบุญญาธิการและพลังมหาศาลของคัทธนกุมาร เจ้าเมืองศรีสะเกษ พระองค์จึงให้ทหารไปเชิญคัทธนะมาแสดงบุญญาธิการและพลังกำลังให้พระองค์ทอดพระเนตร...คัทธนะได้แสดงพละกำลังด้วยการถอนต้นตาล ๒ ต้น และเหาะขึ้นไปในอากาศพร้อมทั้งร่ายรำลีลาสวยงาม เจ้าเมืองเห็นแล้วจึงเกิดความชอบรักใคร่เอ็นดูและได้พระราชทานตำแหน่งให้เป็น"อุปราชแสนเมือง" จากนั้นคัทธนกุมารจึงรับเอามารดามาอยู่ด้วย และใช้น้ำจากคนโฑทิพย์เนรมิตมารดาให้เป็นสาวสวย ถวายเป็นพระชายาเจ้าเมืองศรีสะเกษ...จากนั้นอีก ๓ ปี คัทธนะจึงขอมารดาและเจ้าเมืองศรีสะเกษออกเดินทางตามหาพระบิดาผู้ให้กำเนิดพร้อมอาวุธคู่กายและคนโฑทิพย์ ตามเรื่องราว"คัทธนกุมารชาดก" (ภาพเล่าเรื่องจิตรกรรมฝาผนังมุขทิศเหนือด้านทิศตะวันตก วัดภูมินทร์ อำเมือง จังหวัดน่าน) เรียบเรียง : นางสาวกรอุมา นุตะศรินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษรับชมวีดีโอ : กำเนิด "คัทธนกุมาร"เครดิต : กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร


องค์ความรู้ เรื่อง เส้นทางวัดและโบราณสถานสำคัญในอดีต ที่ยังเหลือความทรงจำ ผู้เรียบเรียง : นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์









โบราณสถานวัดด่านม่วงคำ            โบราณสถานวัดด่านม่วงคำ ตั้งอยู่ที่บ้านด่านม่วงคำ ตำบลด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร  แต่เดิมพื้นที่บริเวณบ้านด่านม่วงคำนั้น  เป็นด่านตรวจคนและสิ่งของที่ลำเลียงจากแม่น้ำโขงเพื่อเข้าเมือง อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวมีต้นมะม่วงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ “บ้านด่านม่วงคำ” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ พระอธิการอ้วนได้สร้างสิม (อุโบสถ) วัดด่านม่วงคำขึ้น โดยมีอาจารย์ไตเป็นช่างผู้ควบคุมการก่อสร้าง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๔๓            โบราณสถานวัดด่านม่วงคำเป็นสิมไม้ ส่วนฐานก่อด้วยดินดิบและแกลบข้าว ส่วนผนังอาคารเป็นผนังไม้ในแนวตั้ง บริเวณหน้าบันด้านหน้าอาคาร เป็นไม้กระดานลูกฟักตกแต่งด้วยลายดอกไม้ประดับกระจกตรงกลาง โครงสร้างหลังคาเป็นทรงจั่วมุงด้วยแผ่นไม้ (แป้นเกล็ด) และด้านหน้ามีหลังคาลาดรองรับด้วยเสาไม้           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน วัดด่านม่วงคำ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๕๓ ง วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๖.๑๗ ตารางวา     Wat Dan Muang Kham           Wat Dan Muang Kham is located at Ban Dan Muang Kham, Dan Muang Kham Sub-district, Khok Si Suphan District, Sakon Nakhon Province. This area was originally a customs gate between the town and Mekong River with mango tree growing all over this place. The ordination hall (Ubosot or Sim) of the temple was built in 1897, and permitted to establish the land in November 5, 1900.           The ordination hall (Ubosot or Sim) is a wooden building. The base part composed of mudbrick and rice husk rise high from the ground while the body constructed using wood materials. The roof part was built in gable shape, cover with wooden tiles “Pan-Gled.” Gable end of front side was decorated with wood-carved panel and floral motifs with small mirror. The entrance covered with shed roof and supported by wooden pillar.           Wat Dan Muang Kham has been registered and published in the Government Gazette, Volume 121, Special Edition 53, on May 10, 2004. The area of ancient monument is 2,024.68 square meters.    



Messenger