ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ
อาคารเก่าริมฝั่งโขงเมืองนครพนม (ตอนที่๑)
นครพนม เป็นจังหวัดชายแดนของประเทศไทยในภาคอีสานซึ่งมีพื้นที่ติดกับ สปป.ลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวกั้นแบ่งพรมแดน มีความยาวเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ ๑๕๓ กิโลเมตร ตลอดความยาวเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขงดังกล่าว จะพบอาคารเก่าสมัยอาณานิคมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตตัวเมืองนครพนม ซึ่งปัจจุบันจังหวัดนครพนมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ จนกลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดนคร ที่ใครๆหลายคนให้ความสนใจมาศึกษาเที่ยวชม
ในที่นี้จะขอเสนอเรื่องราวอาคารเก่าริมฝั่งโขงเมืองนครพนม โดยเริ่มจาก “อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนม” หลังเก่า ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมที่หลายคนได้มาเยี่ยมชมจะเกิดความประทับใจยิ่ง นอกจากความงามของอาคารภายนอกแล้ว การได้เข้าไปในตัวอาคารเพื่อนั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดในบรรยายกาศที่เงียบสงบ ยิ่งเพิ่มความประทับได้ในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย เนื่องจากปัจจุบัน อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนมหลังเก่า กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เป็น “หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม” ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา
อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนมหลังเก่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘-๒๔๖๒ สมัยพระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างคือ นายสุมังค์ ปทุมชาติ อดีตปลัดอำเภอ หัวหน้าการก่อสร้างเป็นช่างชาวญวณชื่อ นายก่าย ใช้แรงงานผู้ต้องขังในการก่อสร้าง ที่ออกแบบโดยนายแพทย์ชาวอเมริกัน ในนามคณะมิสชั่นนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ในเหตุการณ์พิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสได้ยิงปืนใหญ่จากเมืองท่าแขก ข้ามแม่น้ำโขงมายังเมืองนครพนม ทำให้อาคารศาลากลางจังหวัดชั้นสองได้รับความเสียหาย เมื่อซ่อมแซมแล้วได้ใช้งานต่อมากระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงได้ย้ายออกไปยังอาคารศาลากลางแห่งใหม่และได้ยกให้กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ จึงได้ใช้เป็นที่ทำการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม จนปัจจุบัน
ลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้เป็นแบบโคโลเนียล ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ต่อมุขตรงมุมอาคารด้านเหนือและใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่แม่น้ำโขง ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนไม่เสริมเหล็ก โครงสร้างอาคารใช้ผนังรับน้ำหนักหลังคาปั้นหยา มุงกระเบื้องดินเผาสีแดง ส่วนประกอบโครงสร้างต่างๆ ทำจากไม้ พื้นอาคารทุกชั้นปูด้วยไม้กระดานวางบนตงไม้ ตัวอาคารหลักมี ๒ ชั้น จำนวน ๑๗ ห้อง ส่วนมุขซ้ายและขวามีชั้นที่ ๓ ประตูทางเข้าด้านหน้า ๓ ทาง ประตูด้านหลัง ๒ ทาง ห้องโถงกลางอาคารมีบันไดไม้ประดับราวลูกกรงไม้ เป็นทางเดินขึ้นไปบนชั้น ๒ แยกซ้ายและขวา
กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๒๒ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๖ ไร่ ๙๒ ตารางวา โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดใน พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่านใดไปจังหวัดนครพนมต้องไม่พลาดไปชมอาคารหลังนี้นะคะ ในตอนต่อไปจะเล่าถึงจวนผู้ว่าจังหวัดนครพนมหลังเก่า ซึ่งเป็นอาคารอีกหลังหนึ่งที่น่าสนใจอย่าลืมติดตามกันนะคะ...
ข้อมูล นางสาวเมริกา สงวนวงษ์
ที่มา
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
- เกริกฤทธี ไทคูนธนภพ.สยาม ร.ศ.๑๑๒ วิกฤตแผ่นดิน พิพาทฝรั่งเศสและเสียดินแดน.กรุงเทพฯ:คอนเซพท์พริ้นท์.
วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมพิพิธภัณฑสถานวิทยาแก่บุคคลภายนอก (ปีที่ ๑๗) หัวข้อ “พิพิธภัณฑ์ในอาคารเก่า” ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร การอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ (หลักสูตร ๑๐ วัน) มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความเรื่องการอนุรักษ์และการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ในอาคารโบราณสถาน หรืออาคารเก่าที่มีคุณค่า โดยถอดบทเรียนจากการปรับปรุงอาคารหมู่พระวิมาน ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาเป็นกรณีศึกษา มีผู้เข้าอบรมจำนวน ๒๐ คน จาก ๑๘ หน่วยงาน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในอาคารโบราณหรืออาคารเก่าอันทรงคุณค่า ตลอดการอบรม ๑๐ วันผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรซึ่งล้วนเป็นผู้ที่มีบทบาทและมีส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้การปรับปรุงอาคารและการจัดนิทรรศการภายในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนางสมลักษณ์ เจริญพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SPAFA) และอดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ในการอบรมครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้กำหนดข้อปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระหว่างการอบรมอย่างเคร่งครัด
แผ่นดินเผาประติมากรรมนูนต่ำ ทำเป็นรูปบุคคล (บุรุษ) ยืนเอียงสะโพก ขาซ้ายเหยียดตรง ขาขวางอ ปลายเท้าแยกออกทางด้านข้าง แขนขวายกงอขึ้นจีบเป็นวงชิดใบหู และแขนซ้ายเหยียดโค้งพาดกลางลำตัวมือจีบเป็นวงชี้ลงเบื้องล่าง ซึ่งท่าทางดังกล่าวคล้ายกับท่ารำ ที่เรียกว่า “กริหัสตะกะ” (ท่างวงช้าง) หรือ “ลลิตะ” (ท่าเยื้องกราย) ภาพบุคคลดินเผาชิ้นนี้ ประดับตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับหลายชิ้น ศีรษะสวมศิราภรณ์ (เครื่องประดับศีรษะ) เป็นกระบังหน้าที่ประกอบด้วยตาบสามเหลี่ยมคล้ายใบไม้ ๓ ตาบ มีร่องรอยตาบสามเหลี่ยมซ้อนอยู่อีกหนึ่งชั้นด้านหลัง บริเวณต้นแขนทั้งสองข้างสวมพาหุรัดรูปตาบสามเหลี่ยมคล้ายกับที่ศิราภรณ์ นอกจากนี้ยังสวมตุ้มหูและสร้อยคอ ที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องประดับที่พบได้ทั่วไปในประติมากรรมที่พบจากเมืองโบราณสมัยทวารดี นุ่งผ้าโจงกระเบนสั้นเหนือเข่า ที่ด้านหน้ามีชายผ้ารูปหางปลา ๒ ชั้น การประดับตาบสามเหลี่ยมเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะปาละของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) และส่งอิทธิพลให้กับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ร่วมสมัยกันอย่างกว้างขวาง เช่น พุกาม ชวา และจาม เป็นต้น ภาพบุคคลฟ้อนรำชิ้นนี้ จึงอาจจะได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรม มาจากศิลปะปาละโดยตรง หรืออาจรับผ่านดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะปาละอีกทอดหนึ่ง ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามภาพบุคคลฟ้อนรำชิ้นนี้มีการลดทอนรายละเอียดของตาบรูปสามเหลี่ยมตามแบบศิลปะปาละลงอย่างมาก จนเหลือเพียงลักษณะของการใช้เครื่องมือปลายแหลมกรีดให้เป็นเครื่องประดับรูปสามเหลี่ยมเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าคงสร้างด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เมื่อพิจารณารูปแบบศิราภรณ์รูปตาบสามเหลี่ยมแล้ว ภาพบุคคลชิ้นนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา การแสดงออกถึงฝีมือช่างท้องถิ่นทวารวดีในภาพบุคคลชิ้นนี้ ยังปรากฏบนลักษณะใบหน้าที่มีคิ้วต่อเป็นปีกกา ริมฝีปากหนาแบะ ตาโปน และจมูกใหญ่ ยังแสดงให้ถึงรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดีอย่างแท้จริงเช่นกัน นอกจากนี้ชายผ้านุ่งที่เป็นรูปหางปลา ๒ ชายซ้อนกันยังชวนให้นึกถึงศิลปะเขมร ซึ่งร่วมสมัยกับทวารวดีตอนปลาย โดยเริ่มเข้ามาบทบาทในศิลปะทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ การกำหนดอายุจากชายผ้านุ่งจึงสอดคล้องกับการกำหนดอายุจากเครื่องประดับศิราภรณ์ข้างต้น ดังนั้นภาพบุคคลชิ้นนี้จึงควรสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕. เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.
พลับพลาเปลื้องเครื่อง เป็นอาคารหลังเดียวที่ตั้งอยู่นอกแนวกำแพงแก้วของปราสาทพิมาย โดยอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสะพานนาค ผังของอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๒๖.๐๐ เมตร ยาว ๓๕.๑๐ เมตร หันไปทางด้านทิศตะวันออก เป็นอาคารมีหลังคามุงกระเบื้อง ภายในอาคารมีลักษณะเป็นห้องเรียงต่อกัน ๓ แถว ในแนวทิศเหนือ-ใต้ โดยมีห้องขนาดใหญ่ ๒ ห้อง กั้นขนาบห้องยาวตรงกลาง ผนังด้านนอกของห้องยาวมีระดับลดหลั่นกัน ๓ ช่วง แสดงการแบ่งห้องเป็น ๓ ห้อง เช่นเดียวกับภายในซึ่งมีกรอบประตูกั้นเป็น ๓ ห้องเชื่อมต่อกัน สามารถเดินตัดจากด้านหน้า-ด้านหลังของอาคารผ่านทางห้องยาวนี้ ประตูห้องชั้นนอกสุดทั้ง ๒ ด้านและประตูหน้า-หลังของอาคารเท่านั้นที่มีรูเดือยสำหรับใส่บานประตูไม้ ห้องกลางเป็นห้องที่มีอากาศถ่ายเทดีที่สุด เนื่องจากมีช่องประตูและช่องหน้าต่างอยู่ในแนวตรงกัน หน้าต่างด้านทิศใต้ของห้องนี้ตรงกับหน้าต่างด้านทิศใต้ของห้องใหญ่และของตัวอาคาร นอกจากนี้ช่องประตูของห้องใหญ่ทั้ง ๒ ที่ขนาบอยู่ในทิศเหนือ-ใต้ก็อยู่ในแนวตรงกัน เพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศและการเข้ามาของแสงสว่างภายในอาคาร การวางทิศทางของผนังทึบ-โปร่งนอกจากจะสอดคล้องกับการรับแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้า-บ่ายแล้วยังเหมาะสมกับทิศทางลม เนื่องจากทิศใต้เป็นทิศที่จะมีลมพัดเข้ามาตลอด จึงเป็นผนังโปร่งเปิดให้โล่งเพื่อดึงลมเข้ามาภายในอาคาร ส่วนทิศตะวันตกเฉียงใต้นั้นเป็นทิศของลมมรสุม ในฤดูฝนมีลมพัดแรงจึงเหมาะสมที่จะทำผนังทึบในด้านนี้ การออกแบบอาคารหลังนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการคำนึงถึงทิศทางลม แสงสว่าง และการถ่ายเทอากาศภายในตัวอาคารแล้ว ยังให้ความเป็นส่วนตัวของผู้ที่อยู่ภายในอีกด้วย ห้องทั้งหมดภายในอาคารไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก แม้จะมีช่องหน้าต่างโปร่งอยู่ทั้งด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ สันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้น่าจะใช้เป็นที่พักเปลี่ยนเครื่องแต่งกายก่อนเข้าไปประกอบพิธีกรรมภายในศาสนสถาน และสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เนื่องจากได้พบทับหลังรูปเทวดาประทับเหนือหน้ากาลซึ่งคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้ง ๒ ข้าง และทับหลังภาพบุคคลหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์หรือทับหลังพิธีอัศวเมธตามรูปแบบศิลปะแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ---------------------------------------------------------เรียบเรียง/ภาพ : นางสาววิลาสินี แช่มสะอาด นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย---------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง: - ศิลปากร, กรม. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย.พิมพ์ครั้งที่ ๕. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โจเซฟ,๒๕๕๔. - ศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดีอิสระ, การสนทนา , ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔.
เนื่องในวันมาฆบูชาที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ตามปฏิทินสุริยคติ อันเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ให้กับพระอรหันตสาวก ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ภายหลังจากที่ได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ยังดินแดนต่าง ๆ จึงขอนำเรื่องราวของคติความนิยมในการสร้างประติมากรรมพระสาวกมาเผยแพร่ให้ทราบกัน พระอรหันตสาวกเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และมักได้รับ การกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งในเหตุการณ์พุทธประวัติ โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชาซึ่งอาจเป็นคติความเชื่อ ที่ส่งผลให้เกิดความนิยมในการสร้างประติมากรรมพระสาวกขึ้นซึ่งเราจะพบได้ในทุกศิลปะของไทย ในสมัยสุโขทัย ก็พบว่ามีความนิยมสร้างประติมากรรมพระสาวกเช่นกัน โดยมีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสุโขทัยแต่มีความแตกต่างในรายละเอียดเล็กน้อย คือขมวดผมเป็นก้นหอย แต่ไม่มีพระรัศมีและเกตุมาลา หน้ารูปไข่ คิ้วโก่ง จมูกงุ้ม ห่มจีวรเฉียง ชายสังฆาฏิยาวถึงหน้าท้องปลายทำเป็นริ้วคล้ายเขี้ยวตะขาบ มักแสดงอิริยาบถหลากหลาย เช่น นั่งพับเพียบประนมมือที่หน้าอก อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ ยืน หรือเดิน //พระอรหันตสาวกทั้งหลาย อาทิ พระมาลัย พระสีวลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระอานนท์ พระสารีบุตร หรือพระโมคคัลลานะ เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากที่ทำให้พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่มาจนทุกวันนี้ อีกทั้งเป็นผู้ที่มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิด การสร้างประติมากรรมพระสาวกขึ้นซึ่งยังคงสืบทอดคติความเชื่อนี้มาจนถึงปัจุบัน ---------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนประชาชนอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จากหอสมุดแห่งชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยนำเสนอหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ซึ่งเป็นหนังสือหลายหลายสาขาวิชา ได้แก่ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม ศาสนา การแพทย์และพยาบาล การพัฒนาตนเอง การท่องเที่ยว วิศวกรรม คอมพิวเตอร์ คู่มือการเตรียมตัวสอบ และด้านอื่นๆ มีจำนวนมากกว่า ๗๖๕ ชื่อเรื่อง รวม ๒,๒๙๕ เล่ม ส่งตรงถึงมือประชาชนทั่วประเทศที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและประกอบการเรียนการสอน สามารถใช้บริการอ่านออนไลน์อยู่กับบ้าน ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ผู้สนใจสามารถสมัครสมาชิกและยืมหนังสือที่ต้องการได้จากเว็บไซต์ https://www.elibrarycub.com/page/nlt-ebook.html และดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น CU eBook Store เพื่ออ่านหนังสือได้ทั้งระบบปฏิบัติการ IOS / Andriod และ Windows 10 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการใช้งาน CU ebook Store ได้ทางเฟสบุ๊กแฟนเพจของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand
ชื่อเรื่อง ปทุมชาตก (บัวหอม)
สพ.บ. 299/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า กว้าง 4.4 ซ.ม. ยาว 58.6 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง พื้นที่หนองสโน (พื้นหนองโสน)
สพ.บ. 348/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.171/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 80 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับ, มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 98 (49-66) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สงฺคีติกถา(พระอานนท์แสดงสังคายนา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.47/1-1จ
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)