เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
แหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
บ้านคูเมืองตั้งอยู่ในเขตคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งโบราณคดีมีอาณาเขต จำนวน ๓ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๗ ที่มีชื่อว่า “คูเมือง”เป็นเพราะมีร่องรอยคูน้ำล้อมรอบพื้นที่เมือง บ้านคูเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอวารินชำราบมาทางทิศใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีลำห้วยไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ เมตร และยังมีลำห้วยเล็กๆ ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ เป็น เส้นทางระบายน้ำจากลำห้วยผับมาสู่คูน้ำโบราณ
แต่เมื่อพิจารณาจากรูปแบบโบราณวัตถุและโบราณสถานที่พบสามารถอธิบายลำดับพัฒนาการการอยู่อาศัยในพื้นที่ได้ ๔ สมัย
สมัยที่ ๑ ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคสำริด-เหล็ก) พบหลักฐานการฝังศพครั้งที่ ๒ และ โบราณวัตถุเช่น ภาชนะดินเผาสีส้มและสีขาวนวลที่กำหนดอายุได้มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
สมัยที่ ๒ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ หรือ ประมาณ ๑,๔๐๐-๑,๒๐๐ ปีมาแล้วตรงกับช่วงสมัยทวารวดี โดยหลักฐานที่พบในสมัยนี้คือเศษภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ
สมัยที่ ๓ เป็นการอยู่อาศัยต่อเนื่องจากสมัยที่ ๒ คืออยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๙ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ ปีมาแล้วตรงกับช่วงอิทธิพลเขมรในประเทศไทย ที่พบหลักฐานภาชนะดินเผาเขมรจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยจีน และพบกิจกรรมการถลุงโลหะด้วย
สมัยที่ ๔ อยู่ในระยะตั้งแต่การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ของคนลาวที่เป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านในปัจจุบันเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ระยะต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา
นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญคือ“โบราณสถานโนนแก”เป็นโบราณสถานสำคัญของบ้านคูเมือง สร้างขึ้นในช่วงสมัยที่ ๓ คือช่วงสมัยอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร โดยใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ในปัจจุบันพบร่องรอยการก่อสร้างอาคารจำนวน ๔ หลัง ซึ่งจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าการปรับถมอัดพื้นที่เพื่อทำฐานรากก่อนการก่อสร้างโดยในสมัยแรกน่าจะเป็นศาสนสถานที่มีปราสาทประธานและอาคารประกอบด้านข้างทิศเหนือและสร้างกำแพงล้อมรอบ ส่วนในสมัยที่ ๒ พบการเข้ามาใช้พื้นที่ก่อสร้าง อุโบสถในพุทธศาสนาคืออาคารอีก ๒ หลังที่สร้างด้วยการนำหิน มาเรียงกันขึ้นใหม่บนซากอาคารเดิมในสมัยแรกสร้าง ปัจจุบันยังคงมีการใช้พื้นที่ในโบราณสถานโนนแก โดยการปรับปรุงดูแลรักษาโบราณสถานโนนแก ซึ่งถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ทำให้โบราณสถานแห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างมาก
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๑๒๖ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ ไร่ ๑ ตารางวาวันที่ ๕ กันยายน๒๕๔๘
ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
ที่มา
: รายงานการขุดค้นขุดแต่งเพื่อการบูรณะโบราณสถานโนนแก.สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี กรมศิลปากร, 2540.
(จำนวนผู้เข้าชม 4753 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน