ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,454 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ขอเชิญเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร (เขตในกำแพงเมือง : วัดพระแก้ว - วัดพระธาตุ) พร้อมระบบไฟส่องสว่างโบราณสถานยามค่ำคืน ตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐ น. - ๒๐.๐๐ น. เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสบรรยากาศการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ที่สวยงามในช่วงกลางคืน
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย ภายใต้ชื่อ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรมที่มีความงดงามและเป็นผลงานชิ้นเอกที่ได้รับการสร้างสรรค์จากอัจฉริยภาพด้านศิลปะอย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐานที่แสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลือและปรากฏให้เห็น
ขอเชิญชวนผู้สนใจไปชมความสวยงามยามค่ำคืนของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐ น. - ๒๐.๐๐ น. ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท
สิ่งของเครื่องใช้ในอดีตจากเอกสารจดหมายเหตุ
เครื่องรับวิทยุสาธารณะ แบบ ๔ หลอด ณ ที่ว่าการอำเภอขลุง
ใน พ.ศ.๒๔๙๔ กรมมหาดไทยได้แจ้งถึงคณะกรมการจังหวัดว่า ได้จัดซื้อเครื่องรับวิทยุเพื่อติดตั้งเป็นวิทยุสาธารณะในส่วนภูมิภาค จำนวน ๕๐ เครื่อง หากอำเภอใดยังไม่มีเครื่องรับวิทยุติดตั้ง ณ ที่ว่าการ ให้แจ้งเพื่อขอรับไปติดตั้ง
ขุนคำณวนวิจิตร คณะกรมการจังหวัดจันทบุรี ได้แจ้งว่าที่ว่าการอำเภอขลุงยังไม่มีเครื่องรับวิทยุสาธารณะติดตั้ง จึงขอรับมาใช้ ด้วยเหตุนี้ทางกรมมหาดไทยจึงได้มอบเครื่องรับวิทยุ “เมอร์ฟี่” ขนาด ๔ หลอด แบบ ที.บี.๑๕๑ ชนิดใช้กับแบตเตอรี่แห้ง พร้อมด้วยแบตเตอรี่จำนวน ๑ แท่ง รวม ๑ เครื่อง ให้ไว้เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๕ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นวิทยุสาธารณะหมายเลขทะเบียนที่ ร/๔๗๒๔
เครื่องรับวิทยุดังกล่าว ถูกนำไปติดตั้ง ณ ที่ว่าการอำเภอขลุง เพื่อใช้รับฟังข่าวที่ทางราชการสั่งปฏิบัติเป็นการด่วนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับฟังโดยทั่วกัน
สำหรับเครื่องรับวิทยุรุ่นเมอร์ฟี่ ขนาด ๔ หลอด แบบ ที.บี.๑๕๑ ชนิดใช้กับแบตเตอรี่แห้งนั้น พบว่าผลิตโดยบริษัท Murphy Radio ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๗๒ โดย Frank Murphy และ EJ Power ซึ่งผลิตเครื่องวิทยุที่ใช้ในบ้านเรือน มีโรงงานอยู่ที่เมือง Welwyn Garden City ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ภายหลังบริษัทได้มีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเป็นผู้ออกแบบและผลิตชุดวิทยุสำหรับกองทัพอังกฤษ
ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/
ผู้เขียน
นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
แนะนำ E-book หนังสือหายาก เรื่อง พระราชหัตถเลขาทรงสั่งราชการในรัชกาลที่ 5และ 6 กับเรื่องประกอบ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2454. พระราชหัตถเลขาทรงสั่งราชการในรัชกาลที่ 5 และ 6 กับเรื่องประกอบ. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2507.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 41/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
แนะนำหนังสือหมวดหมู่ปรัชญา โดย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาวิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปรัชญาปฏิบัตินิยม ในบทความที่ว่าด้วยความคิดของจอห์นดิวอี้ เป็นการประยุกต์ความคิดแบบปฏิบัตินิยม กับการศึกษา ปรัชญาปฏิบัตินิยมเป็นความคิดที่รู้จักกันแพร่หลายในวงการปรัชญาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ความคิดแนวใหม่นี้ถูกโจมตีและถูกวิพากษ์วิจารณ์มากพอสมควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะปรัชญาปฏิบัตินิยมพยายามมองโลกในแง่มุมใหม่ที่ต่างไปจากปรัชญาคลาสสิกที่เคยรู้จักกันมา
ตัวอย่างมุมมองด้านอภิปรัชญา : ชาวปฏิบัตินิยมเชื่อว่า ความเป็นจริงคือ โลกธรรมชาติ ซึ่งเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความเป็นจริงไม่ได้มีลักษณะเป็นสาระที่มีแก่นแท้แน่นอนตายตัวเหมือนในปรัชญาสสารนิยม หรือมีลักษณะเป็นความจริงสูงสุดดังที่ปรากฎในปรัชญาจิตนิยม แต่มีลักษณะเป็นกระบวนการไหล (flux) ต่อเนื่องกันไปของกระแสเหตุการณ์ ในกระบวนการนี้เองที่มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่ เผชิญปัญหา คิดแก้ปัญหา และนำไปปฏิบัติเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของตน
ทั้งนี้ทั้งนั้น การเรียนรู้ความคิดและวิธีการของปรัชญาปฏิบัตินิยมคงจะช่วยเพิ่มความหมายให้แก่ประสบการณ์ทางปรัชญาสำหรับผู้สนใจได้บ้างไม่มากก็น้อย
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 139/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 174/3 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง อู่ทอง..ที่รอการฟื้นคืน ผ่านรอยลูกปัดและพระพุทธศาสนาแรกเริ่มในลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน
ผู้แต่ง ภูธร ภูมะธน.ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 978-616-8008-01-0หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่ 959.373 ภ654อสถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนองค์การมหาชน และมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญปีที่พิมพ์ 2558ลักษณะวัสดุ 502 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง ลูกปัด -- สุพรรณบุรี สุพรรณบุรี--แหล่งโบราณคดี สุพรรณบุรี--ประวัติศาสตร์ เมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือที่จะทำให้รู้จักกับเมืองโบราณอู่ทองมากยิ่งขึ้น ทั้งประวัติความเป็นมา อารยธรรมต่างๆ พื้นที่พิเศษ แม่กลอง-ท่าจีน ลักษณะทางกายภาพของเมืองอู่ทอง ลักษณะพื้นที่ปะทะสังสรรค์ตั้งแต่พุทธกาล ลูกปัดที่เป็นของขึ้นชื่อของเมืองอู่ทอง ทั้งการสำรวจศึกษาและข้อสรุปจากนักวิชาการ รวมถึงหลักฐานและหลักธรรมของพระพุทธศาสนาแรกเริ่มที่เมืองอู่ทอง แม่กลอง และท่าจีน
ชื่อผู้แต่ง พระพุทธโฆษาจารย์
ชื่อเรื่อง คัมภีร์กังขาวิตรณี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วัฒนาพานิช
ปีที่พิมพ์ ๒๔๙๒
จำนวนหน้า ๒๔๗ หน้า
หมายเหตุ -
รายละเอียด
คัมภีร์กังขาวิตรณี อรรถถาภิกขุปาติโมกข์ เป็นหนังสือที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ได้นิพนธ์ไว้ตั้งแต่บรรพกาลและอาจารย์ในสมัยก่อนให้ใช้เป็นหลักในการศึกษารายละเอียดในพระปาติโมกข์
เลขทะเบียน : นพ.บ.504/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 168 (216-223) ผูก 10 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เนื่องในเดือนแห่งการเริ่มต้นการกสิกรรม กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๕ และ ครั้งที่ ๖ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
.....................................................................
ช่วงเช้า เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๒.๐๐ น. การเสวนาวิชาการและบรรยายนำชม เรื่อง “พืช-พันธุ์-ธัญญาหาร จากโบราณวัตถุในมิวเซียม”
วิทยากรในการเสวนาฯ
๑. นายธนโชติ เกียรติณภัทร อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
๒. นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๓. นายวิศวะ ชินโย ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้ดำเนินรายการ
วิทยากรบรรยายนำชม
๑. นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๒. นางสาวมุทิตา อร่ามรุ่งทรัพย์ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
....................................................................
ช่วงบ่าย เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. การบรรยายและสาธิต เรื่อง “ข้าวหนม-ชาข้าว-เหล้าพื้นบ้าน”
วิทยากรในการบรรยายและสาธิต
๑. นายธนพันธุ์ ขจรพันธุ์ นักวิชาการอิสระ
๒. นางสาวจนัญญา ดวงพัตรา มือกระบี่สตูดิโอ
๓. นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้ดำเนินรายการ
...................................................................
นอกจากนี้เตรียมพบกับกาชาปองชุดพิเศษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์
๑. ชุด “ขบวนแรกนาขวัญ” โดย Little Gods Studio
๒. ชุด “พระโคเสี่ยงทาย” โดย Playground Studio
หมุนละ ๑๐๐ บาท จำนวนจำกัดเฉพาะในงานนี้เท่านั้น และยังมีงานอาร์ตทอยอีกมากมาย
...................................................................
สอบถามเพิ่มเติม/สำรองที่นั่งโทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ (วันพุธ-อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น.)
***รับจำนวนจำกัด
แบบศิลปะ / สมัย สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
วัสดุ (ชนิด) ไม้ โลหะ กระจก
ขนาด กว้าง ๑๘ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเพื่อไว้ดูระหว่างการเดินทางกลับนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
เมื่อพระราชชายาเจ้าดารารัศมีกราบถวายบังคมลากลับไปเยี่ยมเมืองเชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต และทรงส่งสิ่งของจำนวนมากไปพระราชทานแด่พระราชชายาขณะเดินทาง “ถ้ำมอง” นี้ ปรากฏในพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ ดังนี้ “... ด้วยดิลกว่าจะขึ้นไปส่ง เผอิญพออ้ายฝรั่งให้เอารูปถ้ำมองมาขาย จึงนึกว่าไปตามทางจะเปล่าเต็มที อ่านหนังสือตาลาย เผื่อจะหยุดดูรูปเล่นเปนการแก้รำคาญ แต่เสียดายเวลา ไม่พอที่จะได้จดชื่อตำบนลงเปนหนังสือไทย นอกจากเมืองจีนแลญี่ปุ่น เปนที่ซึ่งเคยไปเที่ยวแล้วโดยมาก ที่เล่าถึงในหนังสือไกลบ้านก็มีมากตำบล ยังมีสวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม แลฮอลแลนด์ที่ได้ไป แต่เห็นว่าที่ส่งมาถึง ๗๙๘ มากเต็มทีอยู่แล้วไม่มีที่จะเอาไป แต่เท่านี้ก็หนักพออยู่แล้ว ไม่แน่ใจว่าจะชอบฤาไม่ เพราะมันหนักเรือกีดที่เต็มที แต่ถ้ามีเรือเป็นขั้วสมุดจะเรียกแทนก็ได้ ดุ๊ก และเจ้าชายว่าคงจะชอบจึงได้ส่งขึ้นมา แต่ถ้าพรุงพรังนักส่งให้ดิลกคืนมาเสียก็ได้ มันยังมีช่องที่จะส่งถึงได้ ก็ส่งไปด้วยความคิดถึงเท่านั้น ...”
ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอแนะนำหนังสือ นันโทปนันทสูตรคำหลวง จำหน่ายราคา ๒๖๐ บาท และหนังสือ กวีนิพนธ์คุณพุ่ม จำหน่ายราคา ๒๙๕ บาท ผู้สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) โทรศัพท์ ๐-๒๑๖๔-๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ (ในวันและเวลาราชการ) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th และสามารถติดตามข่าวสารหนังสือต่าง ๆ ของกรมศิลปากรได้ที่ facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร
กรมศิลปากร ได้ดำเนินการจัดทำ Social Media บนแพลตฟอร์ม TIKTOK เพื่อเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ท่านที่สนใจสามารถกดติดตามได้ที่ TIKTOK : กรมศิลปากร ประเดิมแพลตฟอร์มใหม่กับรายการ "เที่ยวแหล่งมรดกวัฒนธรรมไปกับกรมศิลปากร" ชมนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://www.tiktok.com/@finearts.pr/video/7312020939430989057?_r=1&_t=8i9DQ69Df3x&fbclid=IwAR0VSVSXRNSaLs-qtbBdHSo_YttjZNR8-MskzgXmC2XVuF4wiSRAeG44gkg