ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,482 รายการ
องค์ความรู้ เรื่อง ศรีวิชัยในกาลเวลา ตอน : ศรีวิชัยในความทรงจำของพระภิกษุอี้จิ้งค้นคว้า/เรียบเรียงโดย นางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรร่วมกับสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม จัดกิจกรรมเสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย วันเสาร์ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ศิลปะการร้อยมาลัย อุบะ เครื่องแขวนไทยในงานพระราชพิธี และการทำพวงมาลัยจากกระดาษทิชชู มอบเป็นของขวัญพิเศษสำหรับวันแม่ วันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ลายรดน้ำ วิจิตรศิลปกรรมเรือพระราชพิธี และการทำผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกจากลายรดน้ำ เรียนรู้ พัฒนา สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำรองที่นั่งหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร ๐ ๒๔๒๔ ๐๐๐
องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง : ตามหาเมืองเงินยาง ตอน 3เรียบเรียงโดย : นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี. จากตามหาเมืองเงินยางในตอน 1 และ 2 จะพบว่าตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานสิงหนวัติในพงศาวดารภาคที่ 61 ชี้ถึงที่ตั้งเมืองเงินยางต่างกัน โดยตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ชี้ว่าเงินยางน่าจะเป็นพื้นที่บริเวณไม่ไกลจากดอยตุง ซึ่งเมืองที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ เวียงพางคำ บริเวณตัวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ส่วนตำนานสิงหนวติ ในพงศาวดารภาคที่ 61 ชี้ถึงที่ตั้งเมืองเงินยางว่าน่าจะเป็นเมืองเชียงแสน ในตัวอำเภอ เชียงแสน คราวนี้มาดูเอกสารอีกฉบับที่กล่าวถึงเมืองเงินยาง คือ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน. พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน กล่าวถึงเมืองเงินยาง ดังนี้1. ชื่อพงศาวดารเขียนชัดเจนว่าเป็น เงินยาง-เชียงแสน (มีคำว่า “เชียงแสน” ต่อท้าย) / ประเด็นชื่อเมืองมีความเหมือนกันกับตำนานสิงหนวัติที่ชื่อเมืองมีคำว่า เชียงแสน กำกับตั้งแต่ต้น) 2. ลวจังกราช โอปาติกกะลงมา โดยมีบันไดพาดลงมาจากสวรรค์ ลงมาที่หินเลาและหินกอง (ถ้าดูจากคำที่แสดงภูมิสัญฐานพื้นที่ จะเห็นว่า มีก้อนหินหรือภูเขาหิน ซึ่งตั้งเป็นข้อสังเกตว่า แนวเขาดอยตุงต่อเนื่องไปทางทิศเหนือคือดอยนางนอน เป็นเทือกเขาหินปูน ดังนั้นอาจมีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำแม่สาย ในเขต อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) / ประเด็นที่ตั้งเมืองมีความเหมือนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ที่เมืองน่าจะอยู่บริเวณไม่ไกลจากดอยตุง3. พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน กล่าวแตกต่างจาก ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานสิงหนวติเล็กน้อย โดยกล่าวว่า ลวจังกราชลงบันไดเงินมาประทับอยู่ใต้ต้นพุดซา แต่พื้นเมืองเชียงใหม่และสิงหนวติ กล่าวว่ามาอยู่ใต้ต้นไม้ตัน ซึ่งความในตอนนี้มีความหมายตรงกันคือต้นพุดทรา หรือที่ล้านนาเรียกว่า “มะตัน” แต่ความน่าสนใจอยู่ที่การเลือกใช้คำในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ที่น่าจะมีนัยยะของการเลือกใช้คำพ้องเสียงที่ต้องการให้สัมพันธ์กับการพุทธศาสนา จึงอาจเลือกคำว่า พุด (พุทธ) – ซา หรืออาจแสดงนัยยะของคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาคกลาง (ที่อาจแสดงให้เห็นว่าพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนเรียบเรียงขึ้นในสมัยหลังที่มีปฏิสัมพันธ์กับภาคกลางมากขึ้นแล้ว)4. พื้นที่ที่ลวจังกราชโอปาติกกะลงมาชื่อว่า “เชียงสา” ต่างจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานสิงหนวัติกุมาร ที่เรียกว่า “เชียงราว หรือ เชียงลาว” แต่สอดคล้องที่ว่า ในรัชกาลนี้มีการเรียกชื่อเมืองว่า “เงินยาง” ต่อมา5. มีการกล่าวถึงเมืองเงินยางในอีกชื่อหนึ่งว่า “เหรัญนคร” โดยกล่าวว่า ลวะจังกราช เสวยเมืองเหรัญนครและไปนมัสการดอยตุงทุกปี และให้พวกทำมีละ(ลัวะ) เป็นผู้รักษาเจดีย์ (ความในตอนนี้ทำให้นึกย้อนถึง คราวที่ตำนานสิงหนวัติกล่าวถึงปู่เจ้าลาวจกถวายตัวเป็นข้าเฝ้าพระธาตุบนดอยตุงจนเมื่อตายจึงไปจุติเป็นเทวดาบนสวรรค์ จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่า ลาวจกอาจเป็น ทำมีละ หรือ ลัวะ)6. จากเนื้อหาจะเห็นว่า ลวะจังกราช โอปาติกกะลงมาในพื้นที่บ้านเมืองของชาวยวน โดยต่อมาอีก 6 ปี ชาวยวนได้ยกให้ลวะจังกราชเป็นใหญ่7. เนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ปูยักษ์กัดกินข้าวและทำร้ายชาวเมือง โดยปูได้หนีลงแม่น้ำละว้า (ชื่อแม่น้ำมีนัยยะบอกถึงกลุ่มคนในพื้นที่) และล่องไปถึงแม่น้ำของ(น้ำโขง) ความตอนนี้แสดงให้ว่า พื้นที่เมืองเงินยางของลวะจังกราชน่าจะอยู่ค่อนมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (เมื่อพิจารณาย้อนทวนทิศทางจากแม่น้ำโขงที่อยู่ทางทิศตะวันออก ไปหาน้ำแม่สายซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ตำแหน่งของเมืองเงินยางจากความในตอนนี้จึงน่าจะเป็นเวียงพางคำ ไม่ใช่เชียงแสน8. มาจนกระทั่ง 10 รัชกาล ถึงยุค ลาวเคียง จึงมีการสร้างกำแพงเมือง โดยมีเขตแดนด้านทิศเหนือถึงน้ำแม่ละว้า ทิศตะวันออกเอาแม่น้ำเป็นแดน โดยให้ราษฏรทำพื้นที่ให้ราบเสมอดีทุกแห่ง ถ้าพิจารณาจากภาพถ่ายทางอากาศ จะเห็นว่า พื้นที่ตั้งแต่ตัวอำเภอแม่สาย ต่อเนื่องมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นบริเวณกว้างเป็นที่ราบผืนใหญ่ ถ้าพิจารณาตามนี้พอทำให้คิดได้ว่า เงินยาง ที่ลาวเคียงสร้างอาจเป็นเมืองใดเมืองหนึ่งในแอ่งแม่สายนี้ โดยเมืองที่เข้าข่าย คือ “เวียงพางคำ”9. ในตอนที่ลาวเคียงสร้างเมือง มีการขุดฝังเสาอินทขีล จึงพอเห็นเค้าลางว่าวงศ์ลวะจังกราช มีความเกี่ยวข้องหรืออาจมีเชื้อสายลัวะ10. มีความเปลี่ยนแปลงชื่อนำหน้ากษัตริย์ โดยใช้คำว่า “ขุน” (ขุนเงิน) จึงเป็นข้อคำถามว่า ธรรมเนียมการใช้คำว่าขุนนำหน้ากษัตริย์เกิดขึ้นมาด้วยเหตุใด (คำนำหน้าที่ถูกเปลี่ยนไปแต่ละห้วงเวลาน่าจะมีนัยยะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมบางอย่าง อย่างเช่น มังราย ไม่ใช้คำว่า ลาว นำหน้าเช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นนัยยะนี้)11. มาปรากฏคำเรียกว่า “เมืองเงินยางเชียงแสน” ครั้งแรกในสมัยขุนเจือง เนื้อความกล่าวถึงทัพแกวยกทัพมาต่อสู้กับเมืองเงินยางเชียงแสน (ถ้าถือตามเนื้อหานี้ ชื่อ “เงินยางเชียงแสน” ปรากฏขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) และบ่งชี้ว่า “เงินยาง” และ “เชียงแสน” คือเมืองเดียวกันจากชื่อ12. ตำนานแสดงให้เห็นว่าพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 เมืองใหญ่แยกเป็น 2 สาย คือ เมืองเงินยางและ ภูกามยาว โดยบทบาทสำคัญน่าจะเป็นภูกามยาวเพราะขุนเจืองปกครอง (แต่ต่อมาขุนเจืองปกครองควบ 2 เมือง) 13. ขุนเจืองตายในปี 1705 โดยสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิในเมืองเหรัญนครเชียงแสน (เห็นได้ว่าในสมัยขุนเจือง เมืองเงินยางถูกเรียกทั้งในชื่อ เงินยางเชียงแสน และ เหรัญนครเชียงแสน)14. พอถึงรัชกาลขุนแพง (หลานขุนเจือง) ไม่มีการสืบวงศ์กษัตริย์ต่อ (จะเห็นได้ว่ายังคงใช้ “ขุน” นำหน้านามกษัตริย์) เลยไปเอาเชื้อสายเมืองพะเยามาครอง15. พญามังรายเอาช่างฆ้อง 300 ครัวมาไว้ที่เมืองเชียงแสน (แสดงให้เห็นว่าเชียงแสนน่าจะเป็นเมืองสำคัญและอาจเป็นเมืองต้นวงศ์ของพญามังราย / นั่นคือ เชียงแสนคือเมืองเงินยางที่สืบมา) . ถ้าดูจากเนื้อหาที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนจะเห็นว่ามีความปะปนกันระหว่างเนื้อหาที่ชี้ว่าเมืองเงินยางคือบริเวณใกล้ดอยตุง-น้ำแม่สาย จากการที่ระบุเชิงเปรียบเทียบทิศทางของเมืองเงินยางว่าอยู่ใกล้น้ำแม่ละว้าทางทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง (จากเหตุการณ์ปูยักษ์อาละวาดแล้วหนีลงไปตามน้ำแม่ละว้าไปลงน้ำโขง) รวมถึงการกล่าวถึงการสร้างกำแพงเมืองในสมัยลาวเคียงโดยมีเขตแดนด้านทิศเหนือถึงน้ำแม่ละว้า(น้ำแม่สาย) ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าเงินยางในแนวคิดแรกนี้อาจเป็น “เวียงพางคำ” ส่วนเนื้อหาที่ย้อนแย้ง คือ การกล่าวถึงชื่อเมืองเป็นชื่อเดียวว่า “เงินยางเชียงแสน” และ “เหรัญนครเชียงแสน” ในพุทธศตวรรษที่ 17 สมัยขุนเจือง แสดงให้เห็นว่า เงินยางกับเชียงแสน คือพื้นที่เดียวกัน รวมถึงเนื้อความที่กล่าวถึงพญามังรายเอาช่างฆ้อง 300 ครัวมาไว้ที่เมืองเชียงแสน แสดงการให้ความสำคัญกับเมืองเชียงแสนมากอย่างมีนัยยะ (ตอนหนึ่งในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงการที่พญามังรายให้รื้อองค์ประกอบวิหารจากเมืองเชียงแสนมาประกอบสร้างใหม่ที่เวียงกุมกาม ซึ่งถ้าเราตั้งคำถามว่าทำไมไม่เป็นวิหารจากเมืองอื่น นั่นก็อาจเพราะเมืองเชียงแสนเป็นเมืองต้นวงศ์ ที่วงศ์ลวจังกราชของพญามังรายอยู่สืบเนื่องมายาวนานจนถึงสมัยพญามังรายก่อนย้ายไปยังเชียงใหม่) . ถ้าสรุปจากเอกสารประวัติศาสตร์ทั้งสามฉบับ คือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานสิงหนวติ และพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ก็ต้องกล่าวว่า การที่เมืองเงินยางจะเป็น เวียงพางคำ หรือ เมืองเชียงแสน นั้นยังไม่เป็นที่สรุปได้ (ถ้าเป็นการแข่งกีฬาก็ต้องบอกว่าผลเสมอกัน) แต่ทั้งนี้มีข้อมูลทางโบราณคดีที่น่าสนใจที่ผู้เขียนอยากนำมาบอกเล่าเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อมูลจากเอกสารประวัติศาสตร์ นั่นคือข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองเชียงแสนในปี 2543 และ 2552-2557 ที่กรมศิลปากรได้ขุดตัดผ่ากำแพงเมืองเชียงแสนเพื่อตรวจสอบชั้นดินทับถมของคันกำแพงเมือง จากการขุดทางโบราณคดีพบว่า กำแพงเมืองเชียงแสนที่เราเห็น แท้จริงมีกำแพงเมืองสมัยแรกอยู่ด้านใน จากการส่งตัวอย่างอิฐและดินหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน ปี 2543 ดำเนินการโดยคุณศิริพงษ์ สมวรรณ นักศึกษาภาคฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปี 2557 โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ค่าอายุกำแพงเมืองเชียงแสนสมัยแรกราวพุทธศตวรรษที่ 10-12 (พ.ศ.900-1200) และกำแพงเมืองสมัยที่สองที่ครอบทับอยู่มีช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 (พ.ศ.1800-2000) ค่าอายุดังกล่าวมีนัยยะอย่างไร. หากเชื่อว่าปีพุทธศักราชในเอกสารประวัติศาสตร์อาจพอมีเค้าความจริง การสถาปนาเมืองเงินยางในปี 1181 และการที่พญาแสนภูฟื้นเมืองเชียงแสนอีกครั้ง (“แสนภูสร้างเมืองทับเวียงรอยเดิม”) ก็สอดคล้องกับค่าอายุกำแพงเมืองเชียงแสนสมัยแรก และการสร้างเมืองครอบทับเมืองรอยเดิมในปี 1871 ก็สอดคล้องกับค่าอายุกำแพงเมืองสมัยที่สองที่ครอบทับอยู่ เมื่อดูข้อมูลดังนี้ ก็ต้องบอกว่า การที่เมืองเงินยาง คือ เมืองเชียงแสน มีความเป็นไปได้ไม่น้อย เพราะหลักฐานการมีขึ้นของกำแพงเมืองสมัยแรกค่อนข้างใกล้เคียงกับช่วงเวลาการเกิดขึ้นของเมืองเงินยางในต้นพุทธศตวรรษที่ 12 รวมถึงการที่แสนภูเสริมสร้างกำแพงเมืองทับกำแพงเดิมที่มีอยู่ ก็น่าจะเป็นการที่พญาแสนภูกลับมารื้อฟื้นเมืองที่เป็นต้นวงศ์ (หากไม่คิดว่าเนื้อความในตำนานสิงหนวติที่กล่าวถึงพญาแสนภูฟื้นเมืองเงินยางเชียงแสนเป็นความจริง การวิเคราะห์ตามเหตุและผลว่าเหตุใดจึงต้องฟื้นเมืองเชียงแสน ก็พอเห็นเค้าลางของความสำคัญของเมืองนี้ในอดีต) . ทั้งนี้สิ่งที่นำมาบอกเล่าแก่ทุกท่านครั้งนี้ก็ยังมิได้ถือเป็นข้อยุติว่า เงินยาง คือเมืองใด ระหว่างเชียงแสนและเวียงพางคำ (แม้ตอนนี้จะเริ่มพอเห็นเค้าความเป็นไปได้ที่เมืองเชียงแสน) เพราะต้องไม่ลืมว่า เรายังไม่มีการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีคันกำแพงเมือง ชั้นดินทับถมและโบราณวัตถุภายในเมืองเวียงพางคำมาก่อน ดังนั้นเราจึงยังไม่มีชุดข้อมูลของเวียงพางคำ การที่จะสรุปว่า เมืองเงินยาง คือ เมืองเชียงแสน จึงอาจยังเร็วเกินไป ในอนาคตการศึกษาทางโบราณคดีเวียงพางคำ เป็นหนึ่งในแผนงานศึกษาที่สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ วางไว้เพื่อค่อยๆประกอบภาพของพัฒนาการบ้านเมืองยุคแรกในแอ่งที่ราบเชียงราย-เชียงแสน อันเป็นรากฐานและที่มาของอาณาจักรล้านนา ...และหากวันนั้นมาถึง ผมคงได้นำเรื่องราวและข้อมูลมาบอกเล่าทุกท่านอีกครั้ง
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา เรื่อง "ศุภวารดิถี ปีใหม่สุขสราญ" ในกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ปีที่ ๖ ครั้งที่ ๑ ซึ่งจะมีเนื้อหาการเสวนาว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมและประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับการขึ้นปีใหม่ แนวปฏิบัติทางศาสนาที่เกี่ยวกับการขึ้นปีใหม่ ตลอดจนเรื่องราวของคำอวยพรและบัตรอวยพรปีใหม่ วิทยากรโดย นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์: ภาษาและวรรณกรรม) และนางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ (อดีตผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ดำเนินรายการโดยนางอัจฉรา จารุวรรณ (บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ) ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ โถงกลาง ชั้น ๑ อาคาร ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
นอกจากนี้ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand ได้ในวันและเวลาดังกล่าว
ชื่อเรื่อง เวสาทิเอกูนวีสติวคฺค(คัมภีร์เวสาทิเอกูนวิสติวรรล)
สพ.บ. อย.บ.15/21ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวด พระวินัย คำสอน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 154/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/10เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : โรคภัยไข้เจ็บ ชื่อผู้แต่ง : เสนอ อินทรสุขศรีปีที่พิมพ์ : 2515สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรุงสยามการพิมพ์จำนวนหน้า : 94 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้พิมพ์แจกเป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท โกศล ตระกูลแพทย์ ต.ม. เรื่องราวในหนังสือเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงที่แขนและขา เชื้อรา เป็นต้น มีวิธีการสังเกตอาการ สัญญาณอันตรายของแต่ละโรคนั้นๆ พร้อมบอกเคล็ดลับยาอายุวัฒนะ 7 ขนานไว้ในเล่มนี้อีกด้วย
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖"๑๙๒ ปี ชาตกาล พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ"เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๓--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นโอรสของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านกับแม่เจ้าสุนันทา ประสูติเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๗๔ (จุลศักราช ๑๑๙๓ ตรงกับรัชกาลที่ ๓)--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ รับราชการเรื่อยมาจนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๓๙๘ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาราชวงษ์ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ เจ้าอุปราชเกิดโรคลมปัจจุบันถึงแก่อนิจกรรม จึงมีพระบรมราชานุญาตแต่งตั้งให้เจ้าราชวงศ์ว่าราชการในตำแหน่งเจ้าอุปราชเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๘ (พุทธศักราช ๒๔๓๒) --- จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ เจ้าอนัตวรฤทธิเดช ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ร.ศ.๑๑๐ เวลา ๑๑ ทุ่ม กรมการเมืองน่านได้พร้อมกันทำขวดใส่ศพไว้ตามธรรมเนียม ในการนั้นเจ้าอุปราชหอหน้าและพระยาสุนทรนุรักษ์ข้าหลวงใหญ่ประจำเมือง และเจ้าราชวงศ์เสนาอำมาตย์ได้กะเกณฑ์ไพร่พลบ้านเมืองให้สร้างพระเมรุหลวงหลังใหญ่ที่ข่วงดอนไชยลุ่ม วัดหัวเวียง ต่อมาได้อัญเชิญพระบรมศพของเจ้าอนัตวรฤทธิเดชลงจากหอคำราชโรงหลวงเพื่อไปถวายพระเพลิงเมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๕๕ (พุทธศักราช ๒๔๓๖) --- ปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ ภายหลังเสร็จจากงานพระเมรุเจ้าอนันตวรฤทธิเดชแล้ว เจ้าอุปราชหอหน้าก็เสด็จลงไปทูลเกล้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ที่กรุงเทพฯ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ในการนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้แต่งตั้งเจ้าอุปราชหอหน้าเป็นเจ้านครเมืองน่าน พระราชทานนามว่า “เจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชกุลเชษฐมหันต์ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน” แล้วพระราชทานเครื่องยศ คือพานหมากคำ เครื่องในคำทั้งมวล กระโถนคำ คนโทคำ พระมหามาลาหมวกจิกคำ กับเสื้อผ้าเครื่องครัวทั้งมวล ครั้นเสร็จราชกิจแล้วก็กราบทูลลาพระมหากษัตริย์เจ้ากลับขึ้นมาเมืองน่าน จากนั้นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้ปกครองบ้านเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โอบอ้อมอารี เป็นที่นิยมนับถือทั้งในหมู่เจ้านายและราษฎร อีกทั้งมีความจงรักภักดีปฏิบัติราชการด้วยความเข้มแข็งอย่างสม่ำเสมอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาเลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระเจ้านครเมืองน่าน มีนามตามจาฤกในสุพรรณบัตร์ว่า “พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐ์มหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภารักษ์ วิบูลยศักดิกิติไพศาล ภูบาลพิตร์ สถิตย์ ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน” เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๖--- พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถึงแก่พิราลัย ในวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๖๑ ด้วยโรคชรา อายุได้ ๘๗ ปี
ชื่อผู้แต่ง อนุมานราชธน, พระยา
ชื่อเรื่อง เล่าเรื่องในไตรภูมิ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สามมิตร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๘๕ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระธรรมนาถมุนี [ใส ถาวโร ป.ธ.6]ณ เมรุวัดหน้าพระบรมธาตุ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๑๔
หนังสือเล่าเรื่องในไตรภูมิ เล่มนี้ เป็นถ้อยคำสำนวนโบราณ อ่านเข้าใจยาก เลยนำมาเขียนใหม่เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนรกสวรรค์ บาป-บุญ คุณ-โทษ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการศึกษาด้านวรรณคดีแล้ว ยังมีคุณค่าทางปรัชญาและจิตวิทยาอีกด้วย