โบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่
โบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่
โบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านเวียงคุกกลาง ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ไม่ปรากฏประวัติหรือตำนานการสร้างแต่อย่างใด โบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมล้านนา ก่อด้วยอิฐ ประกอบด้วย ชั้นฐานเขียงซ้อนลดหลั่นกันในผังสี่เหลี่ยม ชั้นเรือนธาตุอยู่ในผัง ย่อมุมไม้ยี่สิบประดับด้วยซุ้มจระนำ ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มโค้งยื่นออกมาจากผนังทั้งสี่ด้าน สันนิษฐานว่ามีการประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นภายในซุ้มจระนำ คล้ายคลึงกับวัดเทพพล บ้านเวียงคุก ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ถัดขึ้นมาเป็นเรือนธาตุชั้นซ้อนในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ แต่ไม่ปรากฏการประดับซุ้มจระนำแล้ว ส่วนยอดของเจดีย์หักหาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ในสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ สำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น ได้ขุดแต่งโบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่ พบร่องรอยการเตรียมฐานรากของอาคารโดยการปรับถมพื้นด้วยเม็ดแลงบดอัดประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๒๙ ง วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๔ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๖๖.๙๓ ตารางวา
The Stupa of Wat Phra That Ya Pho Kae
Wat Phra That Ya Pho Kae is located at Ban Wiang Khuk Klang, Wiang Khuk Sub-district, Mueang Nong Khai District, Nong Khai Province. The stupa was built as castle-shaped in Lanna style, using brick materials. It is supported by plain bases which narrow down its size at each higher floor. The indented-corner body contains a niche on each side, which presumed that this spot may use to have the standing Buddha images inside, a trait similar to Wat Thep Phon, Ban Wiang Khuk Klang, Wiang Khuk Sub-district, Mueang Nong Khai District, Nong Khai Province. Above the body is a lotus pedestal, and the top which was gone missing. The stupa can be dated to 17th - 18th century CE, in the period of Lan Xang Kingdom.
The excavation was managed by the 8th Regional Office of The Fine Arts Department, Khon Kaen in 2004. Traces of groundwork by landfilling with crumbling laterites were found.
Wat Phra That Ya Pho Kae has been registered and published in the Government Gazette, Volume 118, Special Edition 29, on March 26, 2001. The area of ancient monument is 267.72 square meters.
(จำนวนผู้เข้าชม 128 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน