ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ

           ชื่อเรื่อง : ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย วิถีชีวิต      ผู้เขียน : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ      สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชิ่ง       ปีพิมพ์ : ๒๕๖๐      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๒๘๓-๓๕๖-๔     เลขเรียกหนังสือ : ๓๐๖.๐๙๕๙๓ ศ๕๒๘ป      ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติไทย ซึ่งการรวบรวมและจัดพิมพ์เผยแพร่ภาพถ่ายเริ่มขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว "ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย วิถีชีวิต" เป็นหนังสือภาพที่ได้มีการพิจารณาภาพประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทย ทุกกิจกรรมของสังคม และทุกช่วงเวลาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จนถึงช่วงระยะเวลาก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ รวมทั้งครอบคลุมเกือบแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทย ตั้งแต่ภาพในกรุงเทพฯ และภาพจากหัวเมืองชนบทที่ห่างไกลความเจริญ เช่น ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สกลนคร อุบลราชธานี เป็นต้น โดยนำเสนอภาพถ่ายวิถีชีวิตจำนวนกว่า ๓๐๐ ภาพ แบ่งเป็น ๑๐ หมวดหลัก ประกอบด้วย การกสิกรรม การประกอบอาชีพ การศึกษา การติดต่อสื่อสารและคมนาคม การสาธารณสุข การศาลและยุติธรรม กีฬา การละเล่นและดนตรี เรือนพักอาศัย กลุ่มคน และประเพณี เช่น ภาพการตำข้าวด้วยตะลุมพุกและสากกับการสีข้าวด้วยโม่และเครื่องสีฝัด ภาพเรือค้าขายบริเวณสี่แยกคลองมหานาค กรุงเทพมหานคร ภาพการทำเหมืองแร่ดีบุกแบบเหมืองขุดในภาคใต้ ภาพเรือขุดลอกคลองสมัยรัชกาลที่ ๗ ภาพรถหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภาพการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ ๒๔๔๕ ภาพการพิจารณาความที่ศาลมณฑลนครไชยศรี พ.ศ. ๒๔๔๔ ภาพบ้านเรือนเครื่องผูกแบบล้านนา และภาพการแห่ลูกแก้ว (แห่นาค) นครลำพูน เป็นต้น โดยมีการจัดทำคำอธิบายพร้อมภาพประกอบเพื่อเป็นประโยชน์สามารถใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติไทยในอดีตได้อย่างชัดเจน     


รายงานการเดินทางไปราชการต่างประเทศ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา  ๑. ชื่อโครงการ โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ International Conference on Early State and Cultural Relationship of Mainland Southeast Asia 2016  ๒. วัตถุประสงค์           ๑. เพื่อจัดตั้งศูนย์วิจัยศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ เชิงสหวิทยาการเพื่อการศึกษาทางด้านวัฒนธรรมในระดับภูมิภาค เพื่อสนับสนุนกระบวนการศึกษาวิจัยในลักษณะสหวิทยาการอย่างเป็นระบบ โดยต้องการให้เป็นศูนย์อันเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม ๒. เพื่อสร้างและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภาคีการวิจัยเชิงสหวิทยาการ เพื่อการศึกษาวัฒนธรรมในระดับภูมิภาค โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายและดำเนินการวิจัย ๓. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ทางวิชาการ และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และสารสนเทศ ในภูมิภาคอาเซียน ๓. กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ (จำนวน ๒ วัน)  ๔. สถานที่ ๑. ปราสาทบาเสต จังหวัดพระตระบอง ๒. ศูนย์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาเลียนแบบเครื่องปั้นดินเผาเขมรโบราณ จังหวัดกำปงชนัง ๓. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา (National Museum of Cambodia) กรุงพนมเปญ  ๕. หน่วยงานผู้จัด ศูนย์วิจัยสหวิทยาการ เฉลิมพระเกียรติ ๕ รอบ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (CRMA Research Center)  ๖. หน่วยงานสนับสนุน สำนักงานกองทุนสนันสนุนการวิจัย (สกว.)  CEEVEN ประเทศเวียดนาม EWCC Project ประเทศญี่ปุ่น  ๗. กิจกรรม           การสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ ในระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๓ พฤศิจกายน ๒๕๕๙ ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก           การศึกษาดูงานแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทย ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี, วัดแก้วพิจิตร, โบราณสถานเมืองศรีมโหสถ, สระแก้ว, พระพุทธบาทคู่ สระมรกต จังหวัดปราจีนบุรี           การศึกษาดูงานแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในประเทศกกัมพูชา ในระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ ปราสาทบาเสต, ศูนย์หัตถกรรมผลิตเครื่องปั้นดินเผากำปงชนัง และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา ๘. คณะผู้แทนไทย ๑. พ.อ.รศ.ดร.สุรัตน์  เลิศล้ำ       โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ๒. พ.อ.หญิง ปิยนุช  รัตนวิชัย     โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ๓. ดร.นันทนา  ชุติวงศ์             ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๔. ผศ.ดร.จีราวรรณ  แสงเพ็ชร์    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๕. นายภาณุวัฒน์  เอื้อสามาลย์   กรมศิลปากร ๙. สรุปสาระของกิจกรรม           ๑. กิจกรรมนี้เป็นการไปศึกษาดูงาน ภายหลังการจัดประชุมสัมมนา ซึ่งกำหนดเป้าหมาย ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา มีคณะเดินทางจำนวน ๒๔ คน (ไทย ๕ คน เวียดนาม ๑๔ คน กัมพูชา ๓ คน ออสเตรเลีย ๑ คน และมาเลเซีย ๑ คน)  ออกเดินทางออกจากประเทศไทย ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เวลาประมาณ ๐๘.๓๐ น. ณ ด่านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยรถตู้โดยสาร มุ่งหน้าไปกรุงพนมเปญ ระหว่างทางได้แวะทัศนศึกษาที่ปราสาทบาเสต จังหวัดพระตระบอง และศูนย์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา จังหวัดกำปงชนัง จากนั้นค้างคืนที่กรุงพนมเปญ ๑ คืน รุ่งขึ้นวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ภาคเช้า เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา และภาคบ่ายคณะคนไทยเดินทางกลับ โดยเครื่องบินโดยสารจากสนามบินนานาชาติ กรุงพนมเปญ ถึงท่าอากาศยานดอนเมือง ประเทศไทย เวลาประมาณ ๑๘.๒๐ น.           ๒. การทัศนศึกษา ปราสาทบาเสต ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระตระบอง เป็นปราสาทที่อยู่ระหว่างการบูรณะ ประกอบด้วยปราสาทประธาน ปราสาทบริวาร บรรณาลัย โคปุระ มีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ ปราสาทแห่งนี้มีขนาดไม่ใหญ่โตมากนักเมื่อเทียบกับปราสาทอื่นๆ ในประเทศกัมพูชา แต่มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นตัวแทนของยุคสมัยทางศิลปะที่เรียกว่า ศิลปะเกลียงหรือคลัง หรือศิลปะแบบประตูพระราชวังหลวง อายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (ราว พ.ศ. ๑๕๕๐ – ๑๖๐๐) มีลักษณะทับหลังเป็นแบบหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยและมีการแบ่งเสี้ยว ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นศิลปะแบบบาปวนในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตรรษที่ ๑๗ (ราว พ.ศ. ๑๖๐๐ – ๑๖๕๐) ซึ่งเป็นทับหลังแบบหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย แต่ไม่มีการแบ่งเสี้ยว  ปัจจุบันได้มีการบูรณะที่ส่วนมณฑปของปราสาทประธาน และปราสาทบริวารแล้วเสร็จจำนวน ๑ หลัง  นอกนั้นยังคงอยู่ในสภาพปรักหักพังดังเดิม ซึ่งจะมีโครงการบูรณะเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป           ๓. การทัศนศึกษา ศูนย์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ตั้งอยู่ที่จังหวัดกำปงชนัง ศูนย์แห่งนี้ได้รับการสนันสนุน จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา โดยเลียนแบบเทคนิควิธีการผลิตแบบโบราณ  ทั้งกระบวนการจัดหาและผสมดิน การปั้นและขึ้นรูปทรง และการเผาในเตาแบบดั้งเดิมโดยใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้ใกล้เคียงกับเครื่องถ้วยเขมรโบราณ ทั้งประเภทจาน ชาม กระปุก แจกัน คนโท ประติมากรรมรูปบุคคลและสัตว์  มีทั้งประเภทน้ำเคลือบสีขาว เคลือบสีเขียว และเคลือบสีน้ำตาล ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้นำมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน           ๔. การทัศนศึกษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา ได้เข้าพบ Mr. Kong Vireak  ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา ซึ่งอนุญาตให้คณะเข้าชมถ่ายภาพโบราณวัตถุที่จัดแสดงได้เป็นกรณีพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตัวอาคารออกแบบประยุกต์สถาปัตยกรรมเขมรสมัยกรุงพนมเปญ ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุเนื่องในอารยธรรมเขมรโบราณ ส่วนมากเป็นประติมากรรมศิลาและสำริด จัดเป็นหมวดหมู่ตามยุคสมัย ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการค้นพบและศึกษาอยู่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากการศึกษาโบราณคดีในประเทศกัมพูชาเน้นงานอารยธรรมเขมรซึ่งมีความโดดเด่นและพบแพร่หลายมากกว่า ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม           ๑. ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้แพร่หลายมากกว่านี้ เนื่องจากยังมีผู้สนใจหลายท่านประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ แต่ไม่ทราบช่องทางการติดต่อเพื่อขอเข้าร่วมกิจกรรม           ๒. ควรขยายระยะเวลาในการศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศเพิ่มอีกสัก ๑ หรือ ๒ วัน เพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน           ๓. ควรมีเป้าหมายในการจัดกิจกรรมให้ต่อเนื่องกันไปทุกปี เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้แก่กันอยู่เสมอ                                                                                      (นายภาณุวัฒน์  เอื้อสามาลย์)                                                                                     นักโบราณคดีชำนาญการ                                                                                 ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ                                                                                       ๑๔ / ธ.ค. / ๒๕๕๙  


หินชนวน ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (พ.ศ. ๑๙๖๐) พบที่ริมตระพังสอ เมืองโบราณสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๖๐ ขุดได้จากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานบริเวณตระพังสอ ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ภายในเมืองเก่าสุโขทัย           ปัจจุบันเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่าวัดสรศักดิ์ มีขนาดกว้าง ๑๐๓ ซม. สูง ๑๔๕ ซม. ลักษณะเป็นใบเสมาขนาดใหญ่ สภาพเกือบสมบูรณ์ จารึกข้อความเพียงด้านเดียว จำนวน ๓๕ บรรทัด ข้อความในศิลาจารึกกล่าวถึง นายอินทสรศักดิ์ขอพระราชทานที่ดินจากออกญาธรรมราชา เพื่อสร้างพระอารามถวายเป็นพระราชกุศลในปีพ.ศ. ๑๙๕๕ นิมนต์พระมหาเถรธรรมไตรโลกมาจำพรรษา มีการสร้างมหาเจดีย์มีช้างรอบ ประกอบด้วยพระเจ้าหย่อนตีน พระวิหาร และหอพระ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงพิธีการเฉลิมฉลองวัด และการพระราชทานที่นาของหมู่บ้านต่างๆ ให้กับวัด (การกัลปนา) ด้านที่ ๒ เป็นภาพลายเส้นรูปพระพุทธรูปลีลา (พระเจ้าหย่อนตีน) ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระสาวก และเทวดาประนมมือขนาบข้าง ขอบโดยรอบสลักเป็นลายเกล็ดพระยานาค ลายกลีบบัว ส่วนฐานสลักเป็นลายกนก ภาพ - ข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง


สาระสังเขป  :  รวมบทอาเศียรวาทที่สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแด่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณในงานรับพระสุพรรณบัตร์ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2464ผู้แต่ง           :  มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระโรงพิมพ์       :  ม.ป.ท.ปีที่พิมพ์       :  2464ภาษา           :  ไทยรูปแบบ         :  PDFเลขทะเบียน  :  น.32บ.2803จบเลขหมู่         :  895.911                      ม113อ


เลขทะเบียน : นพ.บ.3/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 2 (11-19) ผูก 1หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เลขทะเบียน : นพ.บ.49/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 30 (308-325) ผูก 8หัวเรื่อง :  บาลียมก --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง : โบราณคดีล้านนา ผู้แต่ง : สายันต์ ไพรชาญจิตร์ ปีที่พิมพ์ : 2540 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : สมาพันธ์


ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น ยาสันนิบาต, ยาสะอึก, ยาตัดราก, ยาแก้อับแก้จน, ยาแก้สเลด, แก้คุณผีคุณคน, ยาพิมเสน, ยาแท่งทอง ฯลฯ


ชื่อเรื่อง : ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ และประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาคหนึ่ง ภาคสอง และภาคสาม ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เกษมสัมพันธ์การพิมพ์ จำนวนหน้า : 74 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเรื่องตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2471 ได้มีชาวต่างชาติขออนุญาตนำไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส และภาษาดัช เมื่อทรงเห็นว่ามีผู้นิยมมากจึงทรงชำระเรื่อง และทำรูปเล่มสมบูรณ์ เมี่อ พ.ศ.2472 เนื้อหากล่าวถึง เรื่องตำนานเครื่องมโหรี เครื่องตำนานกลองแขก เรื่องตำนานปี่ซอและคน เครื่องมโหรีและเครื่องปี่พาทย์ของไทย เป็นต้น เนื้อหาส่วนถัดมาเป็นเรื่องประชุมบทเพลงไทยเดิม รวบรวมบทลำนำเนื้อร้องของเพลงไทยต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 ภาค 65 บท


ชื่อเรื่อง : เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2537 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ชวนพิมพ์


ชื่อเรื่อง : นครศรีธรรมราชในอดีต   ผู้แต่ง : นครศรีธรรมราช   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๕   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : กรุงสยามการพิมพ์                  จุดมุ่งหมายของหนังสือ " นครศรีธรรมราชในอดีต" เล่มนี้ นอกจากจะเป็นบันทึกเหตุการณ์หรืออนุทินกิจกรรมในครั้งที่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้ร่วมเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีอายุได้สองปีแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านต่างๆของนครศรีธรรมราช เช่น เศรษฐกิจ สังคม และการปกครองในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยได้รวบรวมบทความจากนักประวัติศาสตร์ไทยหลายท่่าน ทั้งที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ หรือเมื่อครั้งประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง "ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมนครศรีธรรมราช"


ชื่อเรื่อง                     พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   บรรณานุกรมเลขหมู่                      013.351 ศ528พ สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุปีที่พิมพ์                    2513ลักษณะวัสดุ               86 หน้า หัวเรื่อง                     บรรณานุกรม                   ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมจัดทำบรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ เท่าที่สามารถคันคว้ารบรวมได้ในระยะเวลาอันจำกัด