ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,542 รายการ

ห้องท่านจันทร์ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่         หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ต้นราชสกุลรัชนี และหม่อมพัฒน์ รัชนี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ สำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ทรงมีความสนพระทัยและเชี่ยวชาญด้านวรรณคดี กวีนิพนธ์ต่างประเทศ เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยได้ตั้งต้นเรียนภาษาไทยใหม่ โดยทรงฝึกฝนการแต่งฉันทลักษณ์ไทยทุกประเภททำให้ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านกวีนิพนธ์เป็นอย่างยิ่ง และมีนามแฝงในการนิพนธ์ว่า “พ.ณ ประมวญมารค” นอกจากนี้ ทรงเป็นผู้รอบรู้ทั้งทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ และผู้เชื่อมโยงงานกวีในอดีตกับปัจจุบันของไทย เผยแพร่ให้กวีชาติอื่นได้รู้จักงานกวีไทยจนได้รับเกียรติให้เป็นกวีโลกและรัตนกวีตะวันออก         หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เสด็จมาประทับ ณ จังหวัดเชียงใหม่กว่า ๒๐ ปี และสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ที่จังหวัดเชียงใหม่ สิริชันษา ๘๑ ปี โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๕          กรมศิลปากร พระประยูรญาติ พระสหาย และคณะศิษย์ของหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ได้ร่วมกันจัดตั้งห้อง “ท่านจันทร์” เพื่อเป็นอนุสรณ์และเผยแพร่เกียรติคุณดังกล่าว ปัจจุบันห้องท่านจันทร์ ตั้งอยู่ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ จัดแสดงผลงานด้านวรรณกรรม กวีนิพนธ์ ต้นฉบับเอกสารงานวิชาการ ผลงานศิลปะ รางวัลเชิดชูพระเกียรติคุณต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องใช้ โต๊ะทำงาน ตู้หนังสือ เครื่องแต่งกาย รูปถ่าย เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา ค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นต้นฉบับผลงานของหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี รวมทั้งระลึกถึงท่านในฐานะปราชญ์คนสำคัญด้านกวี ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีของประเทศไทยภาพ : หอจดหมายเหตุห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่เอกสารอ้างอิง๑. สุรินทร์ มุขศรี. ๒๕๓๖. “เชิญมาใช้ห้องขวัญ ‘ท่านจันทร์’ เอย : เปิดห้องท่านจันทร์ที่เชียงใหม่.” ศิลปวัฒนธรรม. ๑๔, (๙-๑๒ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๓๖), ๔๖-๔๗.๒. นิรนาม.  ๒๕๓๕.  หนังสือที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี.  กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิฆเนศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ๓๐ เมษายน ๒๕๓๕).


เลขทะเบียน : นพ.บ.554/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : วิสุทธิยา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : รายงานการลูกเสือแห่งสยาม ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2467 สถานที่พิมพ์ : - สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมตำรา จำนวนหน้า : 170 หน้าสาระสังเขป : เป็นรายงานลูกเสือแห่งสยาม มีทั้งการฝึกตามหลักสูตร การเดินทางค้างแรม การทำสาธารณประโยชน์ พร้อมทั้งทำเนียบสภากรรมการจัดการลูกเสือ ทั้งกรุงเทพฯ มณฑลต่างๆ




วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙) เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ณ สี่แยกท่าเรือ บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  ถึงหญิงใหญ่ ลายพระหัตถ์สมเด็จกรมพระยา     ดำรงราชานุภาพประทาน ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่.  พิมพ์ครั้งที่ ๒. นครหลวงฯ:      บรรณกิจเทรดดิ้ง, ๒๕๑๕.           พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นหนังสือที่รวบรวมจดหมายโต้ตอบของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีถึงหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่ ระยะเวลานานกว่า ๑๐ ปี ในช่วงระหว่างที่พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ และเสด็จไปประทับที่ปีนัง หลังจากที่ทรงถูกคณะราษฎรควบคุมพระองค์ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕


ชื่อเรื่อง                         ทุกนิบาตปาลิ องคฺตรนิกาย (ทุกกนิปาตชาดก) อย.บ.                            389/12 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                  68 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57.8 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา



          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "เล่าเรื่องโบราณคดี ผ่านเมืองโบราณศรีเทพ" วิทยากร นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรศาลหลักเมืองกำแพงเพชร ...ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรเป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรที่ประชาชนให้ความเคารพสักการะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเมืองโบราณกำแพงเพชรทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระแก้ว ริมถนนหมายเลข 101 (สุโขทัย – กำแพงเพชร) ..ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรปรากฏในพระราชนิพนธ์ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปี พ.ศ. 2449 และ พ.ศ. 2450 ตามลำดับ ดังนี้.เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเสด็จประพาสต้น ความว่า.“...ชื่อวัดนี้ไม่ปรากฏ ถ้าเรียกตามลพบุรีก็เป็นวัดหน้าพระธาตุ ถ้าจะเรียกตามกรุงเก่าก็เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งยอมรับว่าจะเรียกวัดพระแก้วก็ได้นั้น เพราเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้เป็นแน่ ออกจากวัดไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ในระหว่างวัดกับวัง...”.เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเที่ยวเมืองพระร่วง ความว่า.“...ในกำแพงเพชรเมืองนี้ ที่ซึ่งจำเป็นต้องไปก่อนคือ หลักเมือง ซึ่งได้ไปบวงสรวงตามธรรมเนียม แต่ผู้ที่ไปดูอย่าได้คิดหาหลักเลย เพราะไม่มีหลักศิลา และรูปยักษ์ที่ตั้งไว้เป็นเครื่องหมายเดี๋ยวนี้ เชื่อว่าไม่ใช่ของที่ตั้งอยู่เดิม...”..จากการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ของศาลหลักเมืองในปีงบประมาณ 2549 พบหลักฐานทางโบราณคดี ดังนี้.ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผามุงหลังคาประเภทดินขอ.ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย แหล่งเตาบ้านบางปูน แหล่งเตาบ้านเกาะน้อย/ป่ายาง เมืองศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22..ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร..ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรมีการบูรณะปรับปรุงอาคารหลายครั้งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีดังนี้. พ.ศ. 2472 หลวงมนตรีราช ได้สร้างอาคารศาลหลักเมืองขึ้นเป็นศาลาทรงไทยทำด้วยไม้.พ.ศ. 2484 หลวงปริวรรต วรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย) ข้าหลวงประจำจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้นายฉกาจ กุลสุ ปั้นเศียรเทพารักษ์ขึ้นใหม่.พ.ศ. 2526 นายเชาว์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้ปรับปรุงอาคารบริเวณสถานที่ตามรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน .วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ทรงเจิมเสาหลักเมืองเสาใหม่.วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ทำพิธีเชิญเสาหลักเมือง และเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล.วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้สำรวจความเสียหาย และทำการบูรณะอนุรักษ์เสาหลักเมืองเดิม พร้อมจัดทำเสาหลักเมืองจำลองใหม่จากไม้สักทองขนาดความสูง 2.29 เมตร ความกว้างฐาน 64 เซนติเมตร โดยอัญเชิญเสาหลักเมืองจำลองมาวางไว้ ณ ศาลารายชื่อผู้จัดสร้างศาลหลักเมือง ...เอกสารอ้างอิง :คณะกรรมการปรับปรุงศาลหลักเมือง. (2527). ที่ระลึกงานเฉลิมฉลองศาลหลักเมืองจังหวัดกำแพงเพชร. นครสวรรค์: สยามศิลป์. เทศบาลเมืองกำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร 2563. เอกสารประกอบการประเมินผล ศาลเจ้าบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2563 ของศาล(เจ้า)หลักเมืองกำแพงเพชร. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2564). เที่ยวเมืองพระร่วง. นนทบุรี: ศรีปัญญา.มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2549). ครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: จังหวัดกำแพงเพชร.ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. (2550). การดำเนินงานขุดค้น ขุดแต่ง ขุดตรวจทางโบราณคดี พื้นที่บริเวณวัดพระแก้ว วัดพระธาตุ และศาลหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร งบกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549. กำแพงเพชร: อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร.


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นต้น, คาถาธมฺมปท)อย.บ.                           244/17หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                58 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ; ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “สามเมือง แก้วแหวน ปูชนียบุคคลแห่งวงการพลอยของจันทบุรี : ผู้คิดค้นการเผาพลอยคนแรกของไทย” จันทบุรีมีชื่อเสียงเกี่ยวกับธุรกิจการค้าอัญมณีเลื่องลือไปทั่วโลก นอกจากจะเป็นถิ่นกำเนิดของพลอยหลากสีที่มีคุณภาพ ยังเป็นศูนย์รวมของช่างพลอยมากฝีมือและประสบการณ์ ด้วยภูมิปัญญาด้านงานช่างอัญมณีที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่น ทั้งกรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพสีสันของพลอย การเจียระไนด้วยทักษะฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงการประกอบตัวเรือนอย่างวิจิตรบรรจง ทำให้พลอยเมืองจันท์เป็นที่ชื่นชอบและได้รับการยอมรับในตลาดค้าพลอยทั่วโลกว่าเป็นพลอยที่มีความสวยงามและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามพลอยที่มีสีสันสวยงามนี้ เกิดจากภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการเผาพลอยที่มีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จากความช่างสังเกตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นนวัตกรรมเตาเผาที่เหมาะสมกับพลอยหลากหลายชนิด และส่งผลให้ชื่อเสียงของคุณสามเมืองและพลอยเมืองจันท์เป็นที่รู้จักในระดับสากล จากหนังสือเรื่อง “ไม้ขีดไฟก้านแรก” ได้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของคุณสามเมือง แก้วแหวน ปูชนียบุคคลแห่งวงการพลอยของจันทบุรีว่า คุณสามเมืองเริ่มทำอาชีพค้าขายพลอยหลังลาออกจากการรับราชการตำรวจเมื่ออายุ 30 ปี ด้วยการลองผิดลองถูกทั้งการซื้อขายและการปะพลอย ต่อมาวันหนึ่งได้โกลนพลอยสตาร์เม็ดหนึ่งแตก แต่ถูกคิดค่าจ้างปะติดแพง จึงเกิดความคิดในการปะพลอยเอง โดยใช้ความร้อนและน้ำประสานทองเป็นตัวเชื่อม จากการปะพลอยนี้เองคุณสามเมืองได้สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสีพลอย โดยเนื้อพลอยจะใสขึ้นกว่าเดิม และมีสีจางลงเล็กน้อยเมื่อถูกความร้อนมาก ๆ ความสงสัยจุดประกายเล็ก ๆ ขึ้นในใจเป็นครั้งแรกว่าความร้อนต้องเป็นสาเหตุหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของสีพลอยเป็นแน่ จากความช่างสังเกตมาประจวบกับเหตุเพลิงไหม้ตลาดเมืองจันทบุรีครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2511 สร้างความเสียหายให้ร้านค้าพลอยเป็นจำนวนมาก พลอยก้อนในร้านถูกเผาไหม้จมดิน และมีผู้นำมาขายให้ คุณสามเมืองสังเกตเห็นชัดว่าพลอยทุกเม็ดมีเนื้อใสหมด ทำให้เชื่อมั่นว่าความร้อนสามารถทำให้พลอยเปลี่ยนสีได้ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าการเผาพลอยอย่างจริงจัง ผ่านการลองผิดลองถูก และได้รับความร่วมมือในการผลิตเตาเผาด้วยถ่านหินซึ่งทนความร้อนสูงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ทำให้สามารถเผาพลอยจนกระทั่งทำให้หม่าหรือความขุ่นในเนื้อพลอยหายไปกลายเป็นพลอยที่มีสีสันสวยงาม โดยพลอยเม็ดแรกที่เผาสำเร็จเป็นพลอยแซปไฟร์สีน้ำเงิน จึงกล่าวได้ว่าผู้คิดค้นวิธีการเผาพลอยขึ้นคนแรกในวงการพลอยเมืองไทย คือ “คุณสามเมือง แก้วแหวน” นั่นเอง คุณสามเมืองได้พัฒนาการเผาพลอยด้วยเตาเผาแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพลอยแต่ละชนิด โดยพบว่าเตาน้ำมันเหมาะกับการเผาพลอยสีน้ำเงิน เนื่องจากมีคาร์บอนมาก เตาไฟฟ้าเหมาะสำหรับเผาพลอยแดง เพราะไม่มีคาร์บอนมาสันดาปให้เกิดสีม่วง และเตาแก๊สเป็นเตาสารพัดประโยชน์ที่ปรับให้ใช้ได้กับพลอยทุกสี เพราะสามารถปรับระดับความร้อนได้หลากหลาย โดยมีเพื่อนในวงการพลอยร่วมกันค้นคว้าและสนับสนุน ซึ่งใช้เวลาเกือบ 3 ปี จนเป็นผลสำเร็จในช่วง พ.ศ. 2523 - 2524 จากการพัฒนาเตาแก๊สที่ได้นั้น ทำให้สามารถเผาบุษราคัมได้สีดีที่สุด หลังจากนั้นมีการนำบุษราคัมที่ผ่านการเผานี้ไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา สร้างความสนใจแก่นักอัญมณีศาสตร์ในกรรมวิธีการผลิตเป็นอย่างมาก มีการนำตัวอย่างกลับไปทดลองในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติได้ให้ความสนใจและเดินทางมาทำข่าวถึงจันทบุรี ต่อมาได้มีการรับรองคุณภาพพลอยที่เผาด้วยความร้อน (Heat Treatment) และมีการตีพิมพ์เนื้อหาการปรับปรุงคุณภาพพลอยจากการเผาของจันทบุรี ลงในวารสาร Gems & Gemology Volume XVIII, Winter 1982 คุณสามเมืองจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “King of Orange Sapphires” และเป็นที่รู้จักในระดับสากลตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันพลอยสีที่ขายกันทั่วโลกราวร้อยละ 80 ล้วนผ่านการปรับปรุงคุณภาพจากจันทบุรี ทำให้จันทบุรีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากภูมิปัญญาในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พลอยสีที่คุณสามเมืองได้สร้างไว้เป็นคุณูปการ และถ่ายทอดส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดมาเพื่อเป็นสมบัติของชาติ เป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรีและชาวไทย อ้างอิง : เมธี จึงสงวนสิทธิ์. จันทบูร = Chining Moon. จันทบุรี: ไชน์นิ่งมูน, 2560. สามเมือง แก้วแหวน. ไม้ขีดไฟก้านแรก. กรุงเทพฯ: บีสแควร์ พริ้นท์ แอนด์ดีไซน์, 2564. Keller, Peter C. “The Chanthaburi - Trat Gem Field, Thailand.” Gems & Gemology. (Winter 1982): pp. 186 - 196. [Online]. Retrieved 26 September 2023, from: https:// www.gia.edu/doc/WN82.pdf ผู้เรียบเรียง : นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อเรื่อง                     ข้อสังเกตวิชาโหราศาสตร์ ของอายัณโฆษผู้แต่ง                       ธนกิจวิจารณ์ (ประยูร ธชาลุภัฏ)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   จิตวิทยานามธรรมเลขหมู่                      133.5 ธ135ขสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 แพร่พิทยาปีที่พิมพ์                    2512ลักษณะวัสดุ               264 หน้าหัวเรื่อง                     โหราศาสตร์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกข้อสังเกตในวิชาโหราศาสตร์ เดิมได้เขียนลงในหนังสือพิมพ์รายเดือนศิลปิน เมื่อพุทธศก 2485 เป็นคราวแรกแต่ไม่จบ  


          นายจรวย พงษ์ชีพ หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดำน้ำหยด” เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2476เป็นเกษตรกรสวนผลไม้ชาวอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นบุคคลต้นแบบผู้ริเริ่มนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาการทำสวนผลไม้ ผลงานชิ้นแรกที่ทำให้นายจรวยเป็นที่รู้จัก คือ การแก้ปัญหาเงาะขี้ครอก หรือเงาะที่ไม่ติดผล โดยค้นพบว่าน้ำยาเร่งดอกสับปะรดเพื่อให้สับปะรดออกผลตามฤดูกาลนั้น สามารถนำมาใช้กับเงาะเพื่อแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นผู้ริเริ่มการผสมข้ามพันธุ์ผลไม้หลายชนิด เช่น เงาะไทยกับเงาะอินโดนีเซีย ทุเรียนพันธุ์ทองย้อยกับทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง ซึ่งทำให้ได้ทุเรียนที่มีรสหวาน เมล็ดลีบ และทนต่อโรค             ผลงานชิ้นสำคัญที่ทำให้นายจรวยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในระดับชาติและนานาชาติ คือ การพัฒนาชลประทานระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นวิธีการให้น้ำแบบประหยัดและให้ผลตอบแทนสูงสุด เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ตามความต้องการ และช่วยประหยัดเวลาในการให้น้ำ โดยนายจรวย  เกิดการจุดประกายความคิดมาจากความบังเอิญที่พบว่าบริเวณต้นเงาะที่ให้ผลผลิตมากเป็นพิเศษนั้นมีท่อน้ำวางผ่านและมีรูรั่ว จึงได้เริ่มต้นคิดค้นและพัฒนาระบบการให้น้ำแบบน้ำหยดมาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรชาวสวนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยชื่อ “ดำน้ำหยด” ที่เป็นที่รู้จักนั้น “ดำ” มาจากชื่อเล่นของนายจรวย และในช่วงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจึงได้ขนานนามว่า “ดำน้ำหยด” จนเรียนกันติดปากถึงทุกวันนี้            ระบบน้ำหยดที่นายจรวยได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นนั้นจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้า โดยพื้นที่นั้นจะต้องมีแหล่งน้ำสำหรับใช้กับระบบสปริงเกอร์ มีการวางและต่อระบบน้ำ การประกอบระบบพ่นน้ำ และติดตั้งมอเตอร์ปั๊มน้ำ หากแหล่งน้ำอยู่ไกลก็อาจใช้เครื่องสูบน้ำแทน ภายหลังมีการพัฒนาระบบหัวฉีดหรือหัวจ่ายน้ำแบบต่างๆ เพื่อการประยุกต์ใช้กับพืชและระบบน้ำแต่ละชนิดให้เหมาะสม ทั้งนี้การให้น้ำโดยระบบน้ำหยดเพื่อให้พืชได้ผลผลิตที่ดี จำเป็นต้องมีการคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน เช่น ปริมาณน้ำที่พืชแต่ละชนิดต้องการ ระบบการสูบจ่ายน้ำ ประเภทและคุณภาพของดิน ตลอดจนสภาพภูมิอากาศร่วมด้วย           นายจรวย พงษ์ชีพ ได้รับการยกย่องจากมูลนิธิธารน้ำใจให้เป็นคนไทยตัวอย่างด้านการเกษตร ประจำปี พ.ศ. 2522 และได้รับการประสาทปริญญาเทคโนโลยีการเกษตร มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชศาสตร์) จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2529   แหล่งข้อมูลอ้างอิง ข้อควรรู้สักนิดก่อนติดสปริงเกอร์. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2566, จาก: https://www.baanlaesuan.com/45192/maintenance/sprinkler วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2544. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก.  ดำน้ำหยด ผู้พิชิตน้ำแห่งเมืองขลุง.  ระยอง: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก, ม.ป.ป.    เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี