ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ

         กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมงาน ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ชมนิทรรศการ “ผลงาน ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร” นิทรรศการ “สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์” ร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ ชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สินค้าท้องถิ่น ของที่ระลึก และหนังสือกรมศิลปากร ลดราคาพิเศษ ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖ เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรครบรอบ ๑๑๒ ปี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จึงกำหนดจัดงาน ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของกรมศิลปากรในการอนุรักษ์ สืบทอด และต่อยอดมรดกศิลปวัฒนธรรมให้ประชาชนได้รับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของมรดกศิลปวัฒนธรรม  โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย            - นิทรรศการผลงาน ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร           - นิทรรศการ สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์ โดยสำนักช่างสิบหมู่            - การเสวนาวิชาการ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ เรื่อง โบราณคดีเมือง : การดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบด้านโบราณคดีจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน และเรื่อง แนวทางการขออนุญาตสร้างอนุสาวรีย์ วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เรื่อง นาค : ความเชื่อความศรัทธาในวัฒนธรรมไทย และเรื่อง สังคีตปริทัศน์- คิวอาร์โค้ด ลงทะเบียนร่วมฟังเสวนา -            - การแสดงนาฏศิลป์-ดนตรี โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ชมการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย -  ยกรบ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖ และชมการแสดงกำเนิดวงสากลในประเทศไทย “เล่าขานตำนานเพลงไทยโดยวงกรมศิลปากร” ในวันที่ ๒๘ และ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖            - การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สินค้าท้องถิ่น ของที่ระลึก และหนังสือที่จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร ลดราคาพิเศษ            ผู้สนใจสามารถเข้าชมงาน ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมลุ้นรับของที่ระลึกจากกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


แผนปฏิบัติการด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก แผนปฏิบัติการด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมศิลปากร พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งภายในประกอบด้วยกิจกรรม/โครงการที่เป็นงานเชิงยุทธศาสตร์และงานประจำของการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล


เลขทะเบียน : นพ.บ.504/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 168  (216-223) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



          กรมศิลปากร ขอเชิญชวนประชาชนเลือกซื้อหนังสือกรมศิลปากร แบบออนไลน์ ได้ทางเว็บไซต์ของศูนย์หนังสือกรมศิลปากร bookshop.finearts.go.th ศูนย์รวมหนังสือทางมรดกศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี พิพิธภัณฑ์ งานช่าง วรรณกรรม ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี ที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์            การสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ของกรมศิลปากร ทางเว็บไซต์ bookshop.finearts.go.th มี ๕ ขั้นตอน ดังนี้           ๑. ลงทะเบียน           ๒. กรอกข้อมูลและยืนยันในอีเมล์           ๓. สั่งซื้อหนังสือ           ๔. ชำระเงิน           ๕. รอรับหนังสือ           ผู้สนใจสามารถเลือกซื้อหนังสือออนไลน์ของกรมศิลปากร “สะดวกง่าย แค่ปลายนิ้ว” ทางเว็บไซต์ bookshop.finearts.go.th ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารหนังสือออกใหม่ ส่วนลดพิเศษ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Page : ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร    “หนังสือดี ราคาถูก เลือกซื้อง่าย จ่ายสะดวก รอรับสบายๆได้ที่บ้าน”


         พัดรองที่ระลึกงาน “เถลิงพลับพลาสวนดุสิต” พ.ศ. ๒๔๔๒          ภายหลังกลับจากเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๐ มีพระราชประสงค์สร้างพระราชนิเวศน์สำหรับแปรพระราชฐาน เนื่องด้วยนายแพทย์ประจำพระองค์ชาวตะวันตกได้กราบบังคมทูลว่า ภายในพระบรมมหาราชวังมีอาคารปลูกสร้างแออัด บังทิศทางลม สถานที่คับแคบ อากาศไม่ถ่ายเท ทำให้ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัดเป็นเหตุให้ทรงประชวรอยู่บ่อยครั้ง จึงมีพระราชดำริว่าควรปลูกสร้างที่ประทับในฤดูร้อน สำหรับทรงสำราญพระราชอิริยาบถและพระราชดำเนินด้วยพระบาท แทนการเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมือง           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรพื้นที่สวนและทุ่งนาทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระนคร แล้วพอพระราชหฤทัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลจัดซื้อที่ดินด้วยเงินพระคลังข้างที่ โดยวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๒ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตัดต้นไม้บนที่ดินเป็นปฐมฤกษ์ก่อนการปรับสภาพพื้นที่ ตัดถนน ขุดคลอง ทำสวน และปลูกพลับพลาที่ประทับขึ้นก่อนเป็นการชั่วคราว เพื่อประทับร่วมกับมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และพระราชธิดา พร้อมพระราชทานนามว่า “สวนดุสิต”          ต่อมาได้มีหมายกำหนดการจัดงานเถลิงพลับพลารวมและงานปีสวนดุสิตระหว่างวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ถึง ๔ มีนาคม ๒๔๔๒ ประกอบด้วย พระราชพิธีเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหารเพล งานพระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ พระราชทานสิ่งของแก่ราษฎรที่มารอเฝ้า พระราชทานข้าวกระทงกับผ้าอาบน้ำให้กับคนทำงานในสวนดุสิต งานประกวดเครื่องชิ้นโต๊ะที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการนำมาจัดตกแต่งพลับพลา การตั้งร้านขายเครื่องบริโภคต่างๆ อีกทั้งมีการละเล่นมหรสพรื่นเริง อาทิ พิณพาทย์ แตรวง การแสดงลิเก ซึ่งพระองค์ได้เสด็จประทับแรมที่สวนดุสิตครั้งแรกด้วย          “สวนดุสิต” ตามพระราชประสงค์นั้น ต้องการให้เป็นพระราชนิเวศน์สำหรับประทับพักผ่อนพระราชอิริยบถส่วนพระองค์ คล้ายกับพระราชอุทยานในพระราชวังของยุโรป ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ ปลูกพืชพันธุ์นานาชนิด และให้ความสงบร่มเย็น พระองค์จึงทรงเสาะแสวงหาพันธุ์ไม้นานาชนิดมาปลูกในสวนดุสิตเพื่อให้กลายเป็นสวนป่า และมีพระราชหัตถเลขาถึงผู้กำกับดูแลการปลูกต้นไม้และจัดการสวนอยู่บ่อยครั้ง           “…ต้นหางนกยูงริมถนนดวงตวันเอนเข้ามาหาถนนหมดทุกต้น ตลอดทั้งแถวหากว่าไม่ดามไว้เผลอๆไปโตขึ้นอีกนิดหนึ่งจะดัดไม่ไป ขอให้รีบไปดามเสียให้ได้โดยเร็วฟากข้างวังก็ไม่ได้ปลูกถ้าไม่ปลูกเสีย ในเวลานี้คงจะโตไม่เท่ากันถ้าหากว่าจะปลูกได้ก็ให้เร่งปลูก ถ้าไม่ปลูกไม่ไหว…” โดยมีความพยายามทดลองปลูกพันธุ์ไม้จากต่างประเทศ อาทิ องุ่นจากทวีปแอฟริกาที่ไม่เจริญงอกงาม และต้นลิ้นจี่ซึ่งออกผลยาก แต่คราวติดลูกเต็มต้น จึงได้มีการเล่นละครทำขวัญ ทั้งนี้ยังมีการปลูกครอบคลุมสองฟากถนนรอบพื้นที่สวนดุสิต ซึ่งล้วนเต็มไปด้วยเหล่าไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งต้นประดู่ ต้นสารภี ต้นกระดังงา ต้นชะบา ต้นมะม่วง ต้นขนุน รวมมากกว่า ๑๐๐ ชนิด           ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับ ณ สวนดุสิตบ่อยครั้งขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานสร้างหมู่พระที่นั่งและอาคารเป็นการถาวร คือ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต พระที่นั่งอัมพรสถาน พระตำหนักสวนหงส์ พระตำหนักสวนสี่ฤดู พระตำหนักสวนนกไม้ เป็นต้น          ทั้งนี้ความสงบร่มเย็นจากการปลูกพันธุ์ไม้นานาชนิดของสวนดุสิต ได้ปรากฎเป็นเอกลักษณ์ใน “พัดรองที่ระลึกงานเถลิงพลับพลาสวนดุสิต” พ.ศ. ๒๔๔๒ มีลักษณะเป็นพัดหน้านาง กรุด้วยผ้ากำมะหยี่ลายดอกไม้นานาพันธุ์ นมพัดรูปกลีบบัว ตรงกลางดุนลายพระราชลัญจกรพระโพธิสัตว์สวนดุสิตประทับห้อยพระบาท (ลลิตาสนะ) บนบัลลังก์ดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม พระหัตถ์ขวาทอดลงข้างพระวรกาย และมีประภามณฑลด้านหลัง ด้ามไม้ สันงากลึง อันเป็นผลงานการออกแบบของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นอกจากนี้ยังทรงออกแบบพลับพลาที่เสวย (พระเสาวคนธกุฎี) ในสวนแง่เต๋งของวังสวนดุสิตจำนวน ๒ หลัง อีกด้วย ปัจจุบันคือ ศาลาวรสภาภิรมย์ ตั้งอยู่ภายในพระราชวังสวนดุสิต และศาลาสำราญมุขมาตย์ ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร     อ้างอิง ณัฏฐภัทร  จันทวิช. ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๒๙ บัณฑิต จุลาสัย และคณะ. วังสวนดุสิต. กรุงเทพฯ : มติชน. ๒๕๕๗ สมคิด จิระทัศนกุล. งานออกแบบสถาปัตยกรรมไทย ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ๒๕๖๓ ภัทรพล เปี้ยวนิ่ม. พระราชวังสวนดุสิต ทุ่งนาและสวนผลไม้สุดสายตาในอดีตที่กลายเป็นพระราชวังใหญ่ใจกลางพระนคร. เข้าถึงเมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://siam-renaissance.com/contents/nobleman/พระราชวังสวนดุสิต/




องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน” วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ และบรรดาลูกเสือ เนตรนารี บุคลากรทางการลูกเสือ ตลอดจนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า คือ เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณูปการต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งด้านการคมนาคม การแพทย์และสาธารณสุข ด้านการปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปและวัฒนธรรมไทย ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ด้วยคุณูปการดังกล่าว ทางราชการจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ในสถานที่ต่างๆหลายแห่ง ที่สำคัญ คือ พระบรมราชานุสาวรีย์บริเวณหน้าสวนลุมพินี ซึ่งรัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” และจัดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


        การแบ่งยุคสมัยด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือ ในการแบ่งตามเกณฑ์นี้จะให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลัก โดยอ้างอิงจากเครื่องมือที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ได้ในแต่ละยุคสมัย ในเริ่มต้นมนุษย์จะเริ่มประดิษฐ์เครื่องมือจากไม้และหิน ต่อมาจึงเป็นโลหะ ในรูปแบบง่าย ๆ  แล้วจึงสั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้ ก่อนจะพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถผลิตเครื่องมือให้ซับซ้อนขึ้นได้ การแบ่งยุคด้วยเครื่องมือจะสามารถแบ่งได้ดังนี้         ๑. สมัยหิน กำหนดอายุได้ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มนำหินมากะเทาะเพื่อให้มีเหลี่ยมคมจนสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้ สมัยหินได้ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงย่อย ๆ โดยจัดจำแนกตามความแตกต่างของรูปแบบเครื่องมือหิน คือสมัยหินเก่า สมัยหินกลาง และสมัยหินใหม่         ในสมัยหินเก่า หรือกำหนดอายุประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในพื้นที่ประเทศไทยปรากฎเครื่องมือหินที่เรียกว่า “เครื่องมือสับตัด” (Chopper – Chopping tools) สันนิษฐานว่านำไปใช้งานโดยการสับ ตัด ขุด ทุบ เป็นต้น ส่วนสะเก็ดของหินที่ถูกกะเทาะออกมา มีการนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหินใช้ในการตัด ฟัน เฉือนเรียกว่า “เครื่องมือสะเก็ดหิน” (Flake tools) ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่นที่ แหล่งโบราณคดีถ้ำวิมานนาคิน อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ, แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่, แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่, แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดลำปาง เป็นต้น           ในสมัยต่อมาประมาณ ๑๐,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ถูกเรียกว่าสมัยหินกลาง เทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือหินก็ได้พัฒนาขึ้นมา มีการคัดเลือกประเภทของหินที่จะนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ และพัฒนาเทคนิคการกะเทาะให้ดียิ่งขึ้น สามารถกะเทาะหินให้มีรูปร่างเหมาะสมแก่การใช้งาน มีความละเอียด และขนาดที่เล็กลง เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้หลากหลายขึ้น เช่น เจาะ ขูด เป็นต้น เรียกว่า “เครื่องมือหินแบบหัวบิเนียน” (Hoabinhian tool)  ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่นที่ แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, แหล่งโบราณคดีถ้ำปุงฮุง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน, แหล่งโบราณคดีถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี          และช่วงท้ายของยุคหินในช่วงประมาณ ๖,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จะถูกนับให้เป็นสมัยหินใหม่ เทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือหินถูกพัฒนาขึ้นไปอีก มีการนำเครื่องมือหินมาขัดให้ผิวเรียบ เพื่อให้เกิดมีความแข็งแรงมากขึ้น และสะดวกต่อการใช้งานในการตัดต้นไม้ และทำเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เรียกว่า “เครื่องมือหินขัด” ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่น แหล่งโบราณคดีหนองแช่เสา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี, แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีโคกเจริญ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นต้น         ๒. สมัยสำริด สมัยสำริดเริ่มขึ้นเมื่อการปรากฏของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทสำริด ซึ่งคือโลหะผสมโดยมีทองแดงและดีบุกเป็นส่วนผสมหลัก โดยในพื้นที่ประเทศไทยพบร่องรอยการถลุง และผลิตเครื่องมือ เครื่องประดับสำริด กำหนดอายุได้ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตสำริด เช่น เบ้าหลอมดินเผา ขวานสำริด กระพรวนสำริด กำไลสำริด เป็นต้น แหล่งโบราณคดีสำคัญสมัยสำริด ได้แก่แหล่งโบราณคดีบ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น, แหล่งโบราณคดี บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี, แหล่งโบราณคดี แหล่งโบราณคดีบ้านพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น          ๓. สมัยเหล็ก เทคโนโลยีในการผลิตโลหะมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก จากเดิมที่สามารถถลุงได้เฉพาะสำริด ได้พัฒนาวิทยาการให้สามารถถลุงโลหะได้ดียิ่งขึ้นจนสามารถถลุงโลหะเหล็กได้ สมัยเหล็กในพื้นที่ประเทศไทยปรากฏขึ้นในช่วงประมาณ ๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตเหล็ก เช่น ขวานเหล็ก ใบหอกเหล็ก กำไลเหล็ก เป็นต้น แหล่งโบราณคดีสำคัญสมัยเหล็ก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีนิลกำแหง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย พัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ภาพการเก็บและคัดเลือกหินมากะเทาะเพื่อใช้เป็นเครื่องมือภาพการนำหินมากะเทาะเพื่อผลิตเป็นเครื่องมือภาพตัวอย่างการใช้เครื่องมือหิน (มัดหินกับกิ่งไม้เพื่อทำเป็นขวานหิน)ภาพลายเส้นเครื่องมือหินของเครื่องมือหินแบบหัวบิเนียน ที่มา : กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. “โบราณคดีสำหรับเยาวชน เล่ม ๒ ยุค สมัยทางโบราณคดี.” (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)), 2560, น. 38.ภาพการนำแร่มาแต่งและถลุงภาพการนำแร่ที่ถลุงแล้วมาหลอมในเบ้าหลอมและเทใส่แม่พิมพ์ภาพเครื่องมือขวานสำริด--------------------------------------------- ผู้เรียบเรียง :  นายพรหมพิริยะ พรหมเมศ  ผู้ช่วยนักโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี --------------------------------------------- บรรณานุกรม กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. “โบราณคดีสำหรับเยาวชน เล่ม ๒ ยุค สมัยทางโบราณคดี.” (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)), 2560. --------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : เฟสบุ๊ก สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี https://www.facebook.com/100064881662778/posts/pfbid0X8hjeBweJG9gH1UQ9PBzizkySSTwhwCVwrpfVHMq78hmTn8ouEY5Kstk7buHQpCVl/?mibextid=WiMSqg





             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จัดกิจกรรม ๑๐๐ ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอเชิญชมนิทรรศการ Black & White Palace เมื่อครั้ง... วังนี้สี "ขาวดำ" "ภาพหนึ่งภาพแทนคำบอกเล่านับพัน" พบกับนิทรรศการภาพถ่ายเก่าที่จะพาย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่พระราชวังแห่งนี้ยังถูกย้อมด้วยสีเพียงขาวและดำ จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2567 - 5 มกราคม 2568 ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล อาคารทิมดาบด้านทิศใต้ และพระนารายณ์ราชนิเวศน์              พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี เปิดให้บริการ วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท ติดตามข้อมูลข่าวสารรายละเอียดกิจกรรม ได้ที่ Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museum สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3641 1458 “ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน” เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๖ โดยรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุ ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล ภาพถ่ายเก่าจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้บันทึกภาพรูปแบบ การจัดแสดงเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ ช่วยพาเราย้อนกลับไปเมื่อช่วง แรกตั้งพิพิธภัณฑ์แม้ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุได้ว่าภาพใดคือภาพถ่ายที่เก่าที่สุดของเมืองลพบุรี แต่สันนิษฐานว่าเป็นภาพเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเมืองลพบุรี โดยภาพที่สามารถระบุศักราชชัดเจนคือ ภาพจากฟิล์มกระจกของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ถ่ายขณะที่ราษฎรเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ตลาดท่าโพธิ์ เมืองลพบุรีเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ซึ่งเป็นครั้งเดียวกันกับการเสด็จประพาสเขาสมอคอน และวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 


            วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้ นางเสริมกิจ ชัยมงคล รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร ร่วมแสดงความยินดี พร้อมทั้งบริจาคเงินสบทบทุน มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก สภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันก่อตั้งสถาบันการประชาสัมพันธ์ ปีที่ ๖๓ โดยมีนางสาวกัญญ์ณาณัฏฐ์ ภาธรสืบนุกูล หัวหน้าส่วนบริหารการฝึกอบรม เป็นผู้รับมอบ ณ อาคารที่ทำการสถาบันการประชาสัมพันธ์ เขตพญาไท กรุงเทพฯ


            อุทยานประวัติศาสตร์ พิมาย ขอเชิญชมการแสดงดนตรี ซิมโฟนีออร์เคสตรา ผสมผสานดนตรีพื้นถิ่นโคราช "ดนตรีกล่อมปราสาท" ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในวันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 เวลา 17.00 - 20.00 น. จัดโดย มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ไทยพีบีเอส มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เทศบาลตำบลพิมาย ที่ทำการปกครองอำเภอพิมาย