ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,549 รายการ
แก้วตาขวัญใจ: Kaew Ta Khwan Chai (Love Light in My Heart)
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๒
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๒ ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช ๒๔๙๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยเป็นเพลงจังหวะวอลซ์
Royal Composition Number12
The twelfth royal musical composition was written in 1949, in waltz, with lyrics in English and Thai composed by His Royal Highness Prince Chakrabhand Pensiri.
วันศุกร์ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ โดยมีนางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร
อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ
๗ สิงหาคม ๒๕๖๒ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตรัง กำหนดจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน (กิจกรรมที่ ๒) ตามโครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี ๒๕๖๒" โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง" เทคนิคการทำหนังสือเล่มเล็ก" ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง "เทคนิคการทำหนังสือเล่มเล็ก" วิทยากรโดยอาจารย์อาจารีย์ ณ สงขลา และ เรื่อง "ภาพวาดในหนังสือเล่มเล็ก" วิทยากรโดยอาจารย์นาฎลดา เดชอรัญ โดยนางตรีทิพย์ บัวริน ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ และนายธีราธร ชมเชย หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกีรยติ ฯ ตรัง ให้เกียรติกล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันพร้อมมอบเกียรติบัตรและของที่ระลึกแก่วิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น ๗๑ คน (๑๕โรงเรียน)
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระปรีชาสามารถเป็นอย่างเอก ทั้งด้านอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทรงมีความรู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดีถึง 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาคาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย และภาษาละติน พระนิพนธ์ของพระองค์ที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไปทั้งภาษาไทยและภาษาต่าง ประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 25 เรื่อง ดังนี้
ด้านพระราชวงศ์ จำนวน 12 เรื่อง ได้แก่
1. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์พระนามพระราชโอรสธิดา และพระราชนัดดา
2. แม่เล่าให้ฟัง
3. พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5
4. เวลาเป็นของเวลามีค่า
5. เจ้านายเล็ก ๆ – ยุวกษัตริย์
6. ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้า Postcard Games
7. เจ้าฟ้าทหารเรือ
8. ตราแผ่นดิน ตราราชสกุลและสกุล อักษรพระนามและนามย่อ
9. สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และงานศิลปะ Prince Mahidol and Art
10. จดหมายเหตุชาวบ้านข่าวสมเด็จย่าสวรรคต จากหนังสือพิมพ์ Popular Chronicle From The Press The Demise of the Princess Mother
11. ส่งเสด็จสมเด็จย่า ประมวลเรื่องจากหนังสือพิมพ์
12. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา
ด้านพระนิพนธ์แปล จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
1. นิทานสำหรับเด็ก
2. ราชาภิเษกพระเจ้ากรุงสเปน Le Couronnement Espagnol The Spanish Coronation (ฉบับพิมพ์รวมเล่ม 3 ภาษา)
ด้านสารคดีท่องเที่ยว จำนวน 10 เรื่อง ได้แก่
1. โหลในเมืองจีน
2. ยูนนาน
3. สายธารอารยธรรมจีน 7 ธานีแห่งอาณาจักรกลาง
4. จากโคริโอสู่โคเรีย 8 วัน ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
5. ภูฐาน เกาะเขียวบนแผ่นดิน Bhutan : Green Island On Land
6. ตุรกี ดินแดนจักรพรรดิโรมันและสุลต่านออตโตมัน Turkey : Land Of The Roman Emperors And Ottoman Sultans
7. ที่ไซบีเรียหนาวไหม Is it Cold in Siberia?
8. จีนตะวันออกขึ้นเขา ลงทะเลสาบ เข้าวัด Eastern China : Mountains Lakes Temples
9. ซินเจียงและกานซู ภาพจากดินแดนสุดหล้าฟ้าเขียว Xinjiang And Gansu : Pictures From Far Away Places
10. จีนอีสานและเสฉวนจากแดนแมนจูสู่ภูง่อไบ๊
นอกจากนี้ ยังมีพระนิพนธ์ที่เป็นบทความเกี่ยวกับการใช้ภาษาฝรั่งเศสในคอลัมน์ Du bon etdu mauvais usage ซึ่ง ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในวารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศส ระหว่างพุทธศักราช 2521 – 2527 รวม 22 ตอน และบทความอื่น ๆ ที่เป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทย รวมทั้งพระนิพนธ์คำนำในหนังสือต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก พระนิพนธ์เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถด้านภาษาของสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เป็นอย่างดียิ่ง
ที่มา : จดหมายข่าวสำนักราชเลขาธิการ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2550 – มกราคม 2551) หน้า 88 - 92.
แนะนำการมาเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
ประกอบด้วยข้อมูลการเดินทาง ความเป็นมาของเมืองศรีเทพ โบราณสถานที่ทรงคุณค่าและสถานที่ที่น่าสนใจหลายแห่ง
***บรรณานุกรม***
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถและละคอนเรื่องพระศรีเมือง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานรับพระราชทานเพลิงศพ นายอรุณ จันทรางศุ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระขโนง วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พุทธศักราช2510
พระนคร
โรงพิมพ์พระจันทร์
2510
รายงานผลการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรนอร์เวย์
๑. ชื่อโครงการ
การเดินทางสำรวจสภาพในพิพิธภัณฑสถานไทย ณ เมืองนอร์ดแคปป์ และสำรวจพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เมืองเบรวิก ราชอาณาจักรนอร์เวย์
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อสำรวจพื้นที่จัดแสดงบริเวณหินพระปรมาภิไธยย่อ จปร. และพิพิธภัณฑสถานไทย ณ เมืองนอร์ดแคปป์ ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สำหรับนำมาจัดทำแบบปรับปรุงนิทรรศการในพื้นที่ดังกล่าว
๒.๒ เพื่อสำรวจสภาพความเสียหายของแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประดิษฐาน ณ เมืองเบรวิก เพื่อนำกลับมาเป็นข้อมูลในการออกแบบปรับปรุงซ่อมแซมแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ
๓. กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๖ – ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
๔. สถานที่ เมืองนอร์ดแคปป์ และ เมืองเบรวิก ราชอาณาจักรนอร์เวย์
๕. หน่วยงานผู้จัด กรมศิลปากร และกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล
๖. หน่วยงานสนับสนุน เทศบาลเมืองพอร์สกรุนน์ (เมืองเบรวิกขึ้นกับเทศบาลเมืองพอร์สกรุนน์)
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวนอร์ดแคปป์ เขตเทศบาลเมือง Honningsvag
๗. กิจกรรม
วันจันทร์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
๐๗.๒๕ น. - เดินทางถึงกรุงออสโล โดยเที่ยวบิน TG ๙๕๔
- เดินทางไปเมือง Brevik สำรวจพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ และหารือกับผู้รับเหมาท้องถิ่น
๑๖.๓๐ น. - เดินทางกลับกรุงออสโล
วันอังคารที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
- สำรวจวัสดุก่อสร้างในพื้นที่
- เยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ และโอเปร่าเฮาส์
วันพุธที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๙
๐๗.๕๕ - เดินทางจากกรุงออสโล ไปเมือง Tromso โดยเที่ยวบิน SK ๔๔๐๙
๑๐.๒๕ - เดินทางจากเมือง Tromso ไปยังเมือง Honningsvag โดยเที่ยวบิน WF ๙๔๐
๑๑.๔๘ - เดินทางถึงเมือง Honningsvag
บ่าย - สำรวจพิพิธภัณฑสถานไทย ณ Nordkapp
วันพฤหัสที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙
๑๐.๐๐ น. - ประชุมสรุปงาน
๑๖.๐๐ น. - ออกเดินทางจาก Honningsvag ไปยังเมือง Alta (โดยรถยนต์)
วันศุกร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
๐๗.๓๐ น. - เดินทางจากเมือง Alta กลับกรุงออสโล โดยเที่ยวบิน SK ๔๔๐๙
๑๐.๒๐ น. - เดินทางถึงกรุงออสโล
บ่าย - สำรวจวัสดุก่อสร้างในพื้นที่
วันเสาร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๙
- เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ในกรุงออสโล
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๙
๑๔.๑๕ น. - เดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยเที่ยวบิน TG ๙๕๕
๘. คณะผู้แทนไทย
นางสาววิมลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ มัณฑนากรชำนาญการพิเศษ
นายวุฒินันท์ จินศิริวานิชย์ มัณฑนากรชำนาญการ
นายดิษพงษ์ เนตรล้อมวงศ์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
นายภราดร เชิดชู ประติมากรชำนาญการ
นายณรงค์ฤทธิ์ ทองแสง สถาปนิกปฏิบัติการ
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
๙.๑ การสำรวจพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เมืองเบรวิก
คณะทำงานได้ดำเนินการสำรวจ รังวัด ถ่ายภาพ สภาพความเสียหายของแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ได้ทำการก่อสร้างประกอบติดตั้งแล้วเสร็จ ณ เมืองเบรวิก ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเมื่อระยะเวลาล่วงเลยผ่านมา ๖ ปี จากสภาพอากาศที่มีความแตกต่างจากประเทศไทยมาก อีกทั้งพื้นที่ตั้งอยู่ติดริมทะเล มีไอทะเลกัดกร่อน ทำให้ส่งผลต่อเนื้อหินและวัสดุประสานเนื้อหินต่างๆที่เตรียมไปจากประเทศไทย เกิดการชำรุด เปื่อย หลุดร่อน เป็นบางจุด จึงต้องดำเนินการสำรวจความเสียหายทั้งหมด เพื่อวางแนวทางและจัดทำแบบปรับปรุงซ่อมแซมโดยเร็ว โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ตลอดจนหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องจากเมืองเบรวิก และเทศบาลเมืองพอร์สกรุนน์ ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ได้ร่วมสำรวจและหารือเรื่องสภาพความเสียหายทั้งหมด พร้อมทั้งได้แสดงความตั้งใจที่จะร่วมมือดำเนินการให้สำเร็จ
การสำรวจสภาพความเสียหายของพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และส่วนแท่นฐาน โดยการรังวัด ถ่ายภาพ ส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบพกพา พบว่าพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีสนิมจับตามสภาพกาลเวลา ซึ่งเป็นลักษณะตามธรรมชาติ ไม่ได้เกิดความเสียหายกัดกร่อนหรือมีชิ้นส่วนแตกหักแต่อย่างใด ส่วนแท่นฐานนั้น มีสภาพความเสียหายพอสมควร ประมาณ ๓๐% เนื่องจากเมื่อครั้งการก่อสร้างประกอบติดตั้งได้ใช้หินและวัสดุยาแนวหรือวัสดุประสานเนื้อหินต่างๆ รวมทั้งกรรมวิธีการก่อสร้างจากประเทศไทย ใช้ช่างไทยเดินทางไปประกอบติดตั้งทั้งหมด โดยได้ทำการก่อสร้างประกอบติดตั้งแล้วเสร็จ ณ เมืองเบรวิก ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเมื่อระยะเวลาล่วงเลยผ่านมา ๖ ปี จากสภาพอากาศของเมืองเบรวิกที่มีความแตกต่างจากประเทศไทยมาก ในรอบปีมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ -๓๐ ถึง ๒๐ องศาเซลเซียส อีกทั้งพื้นที่ตั้งอยู่ติดริมทะเล มีไอทะเลกัดกร่อน ทำให้ส่งผลต่อเนื้อหินและวัสดุประสานเนื้อหินต่างๆที่เตรียมไปจากประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลเกิดการชำรุด เปื่อย หลุดร่อน เป็นบางจุด โดยปูนยาแนวนั้นหลุดร่อนออกเกือบทั้งหมด อันเป็นความเสียหายเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ (หากเป็นวัสดุและกรรมวิธีการก่อสร้างแบบเดียวกันนี้ ที่ทำการก่อสร้างในประเทศไทย กว่าสภาพความเสียหายจะปรากฏก็ใช้ระยะเวลาประมาณ ๑๐ ปีขึ้นไป) ซึ่งด้วยสภาพอากาศ ณ เมืองเบรวิคที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงนี้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อหินและวัสดุประสานดังกล่าวภายใต้ระยะเวลาที่เร็วขึ้นกว่าการก่อสร้างในประเทศไทย จึงต้องดำเนินการสำรวจความเสียหายทั้งหมด เพื่อกำหนดแผนการทำงาน วางแนวทางและจัดทำแบบปรับปรุงซ่อมแซมเสนอตามแผนงานต่อไป
๙.๒ การสำรวจพื้นที่พิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์
คณะทำงานได้เดินทางไปสำรวจ รังวัด ถ่ายภาพ และเก็บข้อมูลพื้นที่ในอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่แหลมเหนือ หรือนอร์ดแคปป์ (Nordkapp) ซึ่งเป็นที่ตั้งของหินสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. และพิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์ รวมทั้งได้สำรวจพื้นที่ภายในและภายนอกอาคารของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตลอดจนได้สำรวจพื้นที่บริเวณ Hornvika ซึ่งเป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่งเพื่อปีนหน้าผาและเสด็จพระราชดำเนินต่อมายังบริเวณแหลมเหนือ ทั้งหมดนี้เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาในการปรับปรุงการจัดแสดงทั้งบริเวณหินพระปรมาภิไธยและภายในพิพิธภัณฑ์
อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเป็นอาคารขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมด้านเหนือสุดของแผ่นดินประเทศนอร์เวย์ (ละติจูดที่ ๗๑ องศาเหนือ ๑๐ ลิปดา ๒๑ ฟิลิปดา) ภายในอาคารประกอบด้วยโถงต้อนรับซึ่งเป็นที่ตั้งของหินพระปรมาภิไธย จปร. เชื่อมไปสู่ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของที่ระลึก ลานชมทัศนียภาพนอกอาคาร และมีชั้นใต้ดินลงไปอีกสามชั้น ทำทางเดินเป็นอุโมงค์ยาวเพื่อนำนักท่องเที่ยวลงไปยังห้องรับรองขนาดใหญ่ (เรียกว่า Grotto) ซึ่งเดิมเจาะเป็นช่องแสงเปิดออกสู่ด้านหน้าของผาเพื่อชมทัศนียภาพของท้องทะเล (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุง) ตลอดเส้นทางเดินลงสู่ห้องรับรองจะมีห้องฉายภาพยนตร์และพื้นที่จัดนิทรรศการเล่าเรื่องต่างๆ ทั้งภูมิศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้ โดยห้องพิพิธภัณฑสถานไทยก็ตั้งอยู่บนเส้นทางดังกล่าว
หินสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ตั้งอยู่ในโถงต้อนรับภายใน ถัดจากประตูทางเข้าอาคาร มีขอบยกพื้นและตั้งเสาสแตนเลสกรุผนังกระจกใสเป็นรั้วกั้นโดยรอบก้อนหิน เป็นพื้นที่จุดหมายตาสำคัญของโถงต้อนรับ ในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวโยนเหรียญลงไปในบ่อหินเป็นจำนวนมาก เงินจำนวนนี้จะถูกรวบรวมและนำไปมอบให้องค์กรการกุศลเพื่อเด็กยากไร้ทั่วโลก ตามโครงการ Children of the Earth ซึ่งก่อตั้งโดยศูนย์ท่องเที่ยวนอร์ดแคปป์เอง ด้วยเหตุนี้ทางศูนย์ฯ จึงนำป้ายข้อมูลของโครงการดังกล่าวและตู้รับบริจาคอีกตู้หนึ่ง มาติดไว้ใกล้กันที่ผนังด้านหลังหินพระปรมาภิไธย ทำให้เรื่องราวของหินและประวัติศาสตร์การเสด็จฯ เยือนนอร์ดแคปป์ถูกลดความสำคัญลงและกลับกลายให้ผูกโยงกับการรับบริจาคโดยปริยาย
พิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์ ตั้งอยู่เยื้องกับโบสถ์ขนาดเล็ก (St Johannes Kappel) ก่อนจะถึงห้องรับรอง บริเวณปลายอุโมงค์ เป็นห้องนิทรรศการขนาดเล็ก มีพื้นที่จัดแสดงภายในประมาณ ๒๐ ตารางเมตร หน้าห้องมีป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์และตู้จัดแสดงเรือสุพรรณหงส์จำลอง ภายในห้องด้านซ้ายมือประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดครึ่งพระองค์ พร้อมด้วยแท่นพานพุ่ม โต๊ะวางของถวายและแท่นกราบ ที่ผนังด้านในมีตู้จัดแสดงสามตู้ ตู้กลางจัดแสดงวัสดุอุปกรณ์ในวันเปิดพิพิธภัณฑ์ (สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เปิดเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒) มีตู้กระจกสองตู้จัดแสดงวัตถุสิ่งของจากประเทศไทย ประกอบด้วยเหรียญกษาปณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และงานประณีตศิลป์เครื่องถ้วยและเครื่องโลหะ ผนังโดยรอบตกแต่งด้วยแผงไม้แกะสลักย้อมสีและปิดทอง กรุกระจกเงาและไม้อัดสัก จัดแสดงภาพจดหมายเหตุเล่าเรื่องการเสด็จประพาสและพระราชวงศ์ของไทย
การจัดแสดงห้องพิพิธภัณฑ์นี้ เดิมทีเป็นการติดตั้งในห้องที่กั้นล้อมหินพระปรมาภิไธย ซึ่งเป็นบริเวณที่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เสด็จฯ เปิด ในปี ๒๕๓๒ แต่ต่อมามีการปรับปรุงขยายพื้นที่โถงต้อนรับ ห้องดังกล่าวถูกรื้อถอนออกไปให้เป็นโถงต้อนรับขนาดใหญ่ ซึ่งมีหินจปร. ตั้งอยู่กลางโถง และมีการหารือกันระหว่างกำหนดพื้นที่จัดแสดงใหม่ที่ห้องด้านล่าง ครุภัณฑ์และวัตถุจัดแสดงจึงถูกเคลื่อนย้ายลงมา โดยมีเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร (นายสุเทพ วิริยะบุศย์ และนางสาววิมลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ เป็นมัณฑนากรผู้ออกแบบ) เดินทางไปร่วมกำหนดรูปแบบและตำแหน่งการจัดวางใหม่ โดยให้ช่างท้องถิ่นดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๐ ทั้งบริเวณหินจปร.และห้องพิพิธภัณฑ์นี้ได้รับการดูแลโดยศูนย์บริการท่องเที่ยวนอร์ดแคปป์และมีการปรับปรุงซ่อมแชมเล็กน้อยอยู่เป็นระยะ ผ่านการหารือและประสานงานกับฝ่ายรัฐบาลไทย ผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล
ในการประชุมสรุปงานร่วมกันระหว่างคณะเดินทางกับท่านเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงออสโล และอัครราชทูตที่ปรึกษา รวมทั้งเจ้าหน้าที่คนไทยที่บริหารงานอยู่ภายในศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีความเห็นตรงกันที่จะให้มีการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์และบริเวณหินแกะสลัก จปร. ครั้งใหญ่ โดยต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเนื้อหา การจัดหาวัตถุและสื่อจัดแสดงและเทคนิคการจัดแสดง โดยเน้นวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารเรื่องราวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริบททางประวัติศาสตร์และพื้นที่ รวมทั้งต้องพยายามฟื้นฟูการเชื่อมโยงเรื่องราวจากหินพระปรมาภิไธยกับพิพิธภัณฑสถานไทยที่ตั้งอยู่ห่างกัน และไม่ลืมที่จะสร้างความต่อเนื่องกลมกลืนของประสบการณ์โดยรวมสำหรับผู้ชม ทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศซึ่งมีพื้นฐานการรับรู้และความคาดหวังที่แตกต่างกัน
สรุปรายการปรับปรุงและแผนการดำเนินงานเบื้องต้น
๑. งานปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบหินแกะสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร.
- ขอย้ายแผงนิทรรศการของโครงการ Children of the Earth และตู้บริจาค ไปไว้บริเวณอื่น (ตามที่ทางศูนย์เห็นเหมาะสม)
- ติดตั้งภาพพระบรมฉายาลักษณ์กับคณะตามเสด็จและช่างผู้แกะสลักหิน อัดขยายขนาดใหญ่พร้อมข้อมูลการเสด็จเยือนในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ. ๒๔๕๐) และส่งเรื่องราวต่อไปยังห้องพิพิธภัณฑ์
- ปรับปรุงระบบแสงสว่าง โดยติดตั้งดวงโคมส่องสว่างที่ฐานหินโดยเฉพาะด้านที่แกะสลักพระปรมาภิไธย เพื่อให้เกิดแสงเงาที่สวยงามและเห็นรอยแกะสลักที่ชัดเจนขึ้น (ต้องขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่เดินสายไฟใต้พื้นมาที่ด้านข้างแท่นหิน)
๒. งานปรับปรุงห้องพิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์
- บริเวณผนังหน้าห้องพิพิธภัณฑ์และด้านตรงข้าม จัดแสดงข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับการเสด็จประพาส อาทิ แผนที่เส้นทางการเสด็จเยือนนอร์เวย์ ประกอบภาพถ่ายหรือเอกสารจดหมายเหตุ เพื่อเชิญชวนและทำความเข้าใจผู้ชมเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์
- ภายในห้อง ดำเนินการปรับปรุงทั้งกายภาพและเนื้อหานิทรรศการ ซึ่งภัณฑารักษ์จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาและสื่อจัดแสดงทั้งหมดก่อนแล้วจึงนำมาออกแบบกายภาพนิทรรศการต่อไป โดยโครงสร้างทางกายภาพและสิ่งจัดแสดงที่จะยังคงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ได้แก่
๑) คงโครงสร้างผนังและพื้นเดิมของห้องพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากของการปรับแก้งานระบบที่ซ่อนอยู่ภายในผิวอาคาร (ได้แก่ระบบป้องกันความชื้น ระบบระบายน้ำ ระบบทำความร้อน ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของอาคาร
๒) พระบรมรูปฯ ให้ประดิษฐานไว้ดังเดิม โดยออกแบบแท่นฐานใหม่และจัดพื้นที่ถวายของให้เป็นสัดส่วน และน่าจะปรับตำแหน่งพระบรมรูปไปฝั่งตรงข้าม เพื่อให้พระพักตร์ผินไปทางประตูทางเข้า
๓) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เสด็จเปิดพิพิธภัณฑ์
๔) ป้ายจำลองพระนาม “สิรินธร” ซึ่งทางศูนย์ท่องเที่ยวได้เก็บรักษาไว้และยังอยู่ในสภาพดี
๓. ขั้นตอนการดำเนินงานโดยสังเขป
-เนื่องจากในปี ๒๕๖๐ จะเป็นวาระครบรอบ ๑๑๐ ปี การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ทางสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ เห็นควรที่จะปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาของปี ๒๕๖๐ เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว อย่างไรก็ดี ทางศูนย์บริการนักท่องเที่ยวนอร์ดแคปป์ มีข้อเสนอแนะว่าการดำเนินการก่อสร้างติดตั้งนิทรรศการควรให้แล้วเสร็จก่อนเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วง High Season ของทุกปี โดยจะเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก และอีกปัจจัยหนึ่งคือเส้นทางขนส่งวัสดุอุปกรณ์เข้าพื้นที่ จำเป็นจะต้องรอเข้าสู่เดือนพฤษภาคม ให้หิมะละลายไปพอสมควรและรถใหญ่สามารถวิ่งได้โดยสะดวก ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมในการเข้าพื้นที่ น่าจะเป็นสัปดาห์ที่สามและสี่ของเดือนพฤษภาคม โดยมีขั้นตอนการเตรียมแบบของบประมาณและการเตรียมงาน ดังนี้
สิงหาคม ๒๕๕๙
สรุปเนื้อหาเบื้องต้น กำหนดรูปแบบรายการและประมาณราคาโดยสังเขป เพื่อให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถนำไปของบประมาณประจำปี รวมทั้งขอสนับสนุนจากภาคเอกชน
กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๙
จัดทำบทนิทรรศการอย่างละเอียด จัดทำแบบนิทรรศการและประมาณราคาโดยละเอียดเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๐
จัดทำโครงสร้าง วัสดุ สื่อและอุปกรณ์นิทรรศการ ทั้งหมดในประเทศไทย
เมษายน ๒๕๖๐
ส่งวัสดุอุปกรณ์ทางเรือไปยังประเทศนอร์เวย์
พฤษภาคม ๒๕๖๐
ขนส่งวัสดุอุปกรณ์เข้าพื้นที่ บริษัทผู้รับจ้างเข้าติดตั้งและทดสอบนิทรรศการ
ตรวจสอบทะเบียนครุภัณฑ์และวัตถุส่งคืน พร้อมขนส่งไปยังพื้นที่เป้าหมาย
ตรวจสอบความเรียบร้อยเพื่อเตรียมเปิดให้บริการ
มิถุนายน ๒๕๖๐
ทดลองเปิดให้บริการ
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑๐.๑ กรณีการสำรวจพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ
งานก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ในต่างประเทศเป็นงานละเอียดอ่อน ทั้งในแง่การออกแบบ การติดต่อ ประสานงาน การวางแผนดำเนินงาน ในกรณีการก่อสร้าง ณ เมืองเบรวิก ราชอาณาจักรนอร์เวย์ นี้ ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดี เพราะถือได้ว่าเป็นพระพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ กลางแจ้งในต่างประเทศแห่งแรกๆ ที่ออกแบบโดยกรมศิลปากร แทบจะไม่มีกรณีศึกษาเทียบเคียงก่อนหน้า ปัญหาที่พบเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันมากกับประเทศไทย ทำให้วัสดุและกรรมวิธีการก่อสร้างแบบประเทศไทยไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ราชอาณาจักรนอร์เวย์ และด้วยงบประมาณอันจำกัดเมื่อครั้งดำเนินการก่อสร้าง (๕๐๐,๐๐๐ บาท) ทำให้ต้องเลือกใช้หินในประเทศไทย และต้องใช้วิธีการประกอบหินเป็นชิ้นเล็กๆ เพราะหากใช้หินชิ้นใหญ่สลัก จะมีราคาสูง ซึ่งด้วยสภาพหินและจำนวนรอยต่อ รอยยาแนวต่างๆที่มีมาก เนื่องจากเป็นการประกอบหินชิ้นเล็ก ทำให้ฝน หิมะ ไอทะเลต่างๆ กัดกร่อนทะลุเข้าไปภายในเนื้อหินตามแนวรอยต่อเหล่านี้ได้โดยง่าย เกิดการเร่งระยะเวลาความเสียหายให้เกิดขึ้นโดยเร็วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ในการก่อสร้างภายหน้าที่มีโครงการใกล้เคียงกับกรณีศึกษานี้ จึงเสนอการวางแนวทางในการดำเนินงานโครงการให้มีการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ตั้งและเตรียมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่ เช่น สามารถเลือกใช้หินหรือใช้วัสดุการก่อสร้างจากประเทศที่ตั้งได้ แม้ราคาจะสูงกว่าในประเทศไทย แต่ก็จะทำให้โครงการมีสภาพที่สมบูรณ์ขึ้น อยู่ได้นาน ยืดระยะเวลาความเสื่อมสภาพได้ และงานก่อสร้างในต่างประเทศนั้น เป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ ทั้งด้านวิชาช่างและการติดต่อประสานงาน ซึ่งกรมศิลปากรได้มีส่วนรับผิดชอบโครงการโดยตลอด จึงเห็นควรให้มีการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่บุคลากรภายใน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
๑๐.๒ กรณีการสำรวจพิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์
การเดินทางไปสำรวจครั้งนี้ ทำให้คณะเดินทางได้ศึกษาตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์ในอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศและมีโอกาสหารือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจหลักและวิธีการในการพัฒนาทั้งด้านการวางแผน งานกายภาพ และงานบริหารจัดการ
-การวางแผนและการประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
หากพิจารณาจากประวัติการก่อตั้งและรูปแบบการบริหารจัดการ พิพิธภัณฑ์นี้มีลักษณะแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ทั่วไปในหลายๆ ด้าน ทั้งการที่พิพิธภัณฑ์ถูกสร้างด้วยงบประมาณของประเทศไทย แต่ต้องไปติดตั้งในต่างประเทศ ทั้งการดูแลและบริหารจัดการก็เป็นของหน่วยงานในอีกประเทศหนึ่ง ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ (ตั้งแต่รัฐบาลประเทศถึงระดับท้องถิ่นและองค์กรหน้างาน) รวมทั้งพิจารณาหากลไกของการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เมื่อเปิดใช้งานแล้ว เพื่อให้พิพิธภัณฑ์สามารถดำเนินงานได้ในระยะยาว ไม่สร้างความลำบากให้กับผู้ดูแลอาคารและสนับสนุนกิจการของพื้นที่ไปพร้อมกัน
-การติดตั้งและบริหารกายภาพพื้นที่
การติดตั้งนิทรรศการในพื้นที่ห่างไกลและมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากประเทศไทย จำเป็นต้องคิดวางแผนงานด้านกายภาพอย่างรอบคอบ พิพิธภัณฑสถาน ณ นอร์ดแคปป์ถือเป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนที่สุด ทั้งในเรื่องตำแหน่งที่ตั้งของอาคารในพื้นที่ห่างไกล การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก รวมทั้งสภาพอากาศที่หนาวจัดรุนแรงเกือบทั้งปี ส่งผลต่อการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ หรือสื่อนิทรรศการต่างๆ และขั้นตอนการดำเนินงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งในช่วงการขนส่ง ติดตั้ง และการบำรุงรักษาในระยะยาว นอกจากนี้ยังต้องศึกษาไปถึงมิติอื่นๆ เช่นกฎหมายเทศบัญญัติ นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มาตรฐานวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบทางกายภาพของพิพิธภัณฑ์ด้วย
-การบริหารจัดการ “พิพิธภัณฑ์”
พิพิธภัณฑ์ของไทยที่ตั้งอยู่ต่างประเทศมีบทบาทที่แตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ในประเทศที่มีวิธีการบริหารจัดการแบบปกติ เมื่อก่อสร้างหรือปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ณ ช่วงส่งมอบพื้นที่จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างเจ้าของเรื่อง (รัฐบาลไทย) กับเจ้าของพื้นที่ (รัฐบาลนอร์เวย์ และศูนย์ท่องเที่ยวนอร์ดแคปป์) ในการทำให้พิพิธภัณฑ์นี้อยู่ในสภาพที่ให้บริการผู้ชมได้เต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายหลากหลายกลุ่มที่มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันแต่สะท้อนวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งได้ ตลอดจนต้องวางกรอบของการจัดกิจกรรม (ทั้งฝ่ายอาคาร บริษัทนำเที่ยว นักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ หรือชาวไทยในนอร์เวย์ เป็นต้น) ภายใต้ระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสม พร้อมทั้งตั้งมาตรการการจัดการกับอนาคตทั้งปัญหากายภาพและการจัดการ รวมทั้งความยั่งยืนของพิพิธภัณฑ์ โดยกำหนดหน้าที่ของภาคส่วนต่างๆ ไว้อย่างรัดกุม
เลขทะเบียน : นพ.บ.2/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 10หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม