ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,550 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.166/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับ, มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 98 (49-66) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิทานพระศรีอริยเมตไตร --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.47/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ค/1-43  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.216/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 111 (159-169) ผูก 1ก (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.357/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 138  (402-410) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังคปริจเฉท อภิธรรมปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


       เข้าสู่ปลายเดือนตุลาคมกับการเฉลิมฉลองของชาวตะวันตกในเทศกาลฮาโลวีน  ซึ่งตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี เรียกวันนี้ว่า “วันปล่อยผี” ขอกล่าวถึง “นัต” ผีกึ่งเทพของประเทศพม่า ที่มีการเคารพบูชากันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน หลายท่านอาจเพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก หากกล่าวถึง “เทพทันใจ” ที่จะดลบันดาลพรที่ปรารถนาให้สัมฤทธิ์ผลอย่างรวดเร็วทันใจ ที่เป็นที่รู้จักของคนไทย คือ“นัตโบโบยี” เป็นนัตตนหนึ่งที่ได้รับการเคารพนับถือเป็นอย่างมากในพม่า วันนี้เชิญชวนทุกท่านมาทำความรู้จัก "นัต" ให้มากยิ่งขึ้น        ภายใต้ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาในสังคมพม่า ปรากฏการบูชาผีอย่างเข้มข้นในเวลาเดียวกัน หิ้งนัตถูกตั้งบูชารองลงมาจากหิ้งพระเกือบทั่วทุกบ้านเรือน ชี้ให้เห็นว่า นัตเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพม่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระพุทธศาสนา    “นัต”(ภาษาพม่า: နတ်) มาจากคำว่า “นาถ” ในภาษาบาลี หมายถึง “ผู้เป็นที่พึ่ง” ณ ที่นี้คือ วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ทรงอิทธิฤทธิ์ เป็นที่พึ่งพิงและปกป้องคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขได้  นัตจึงไม่ใช่วิญญาณธรรมดาสามัญ มีสถานะกึ่งผีกึ่งเทพ แต่ไม่เทียบเท่ากับเทพ ส่วนใหญ่มักเป็นบุคคลที่เสียชีวิตผิดธรรมชาติ เสียชีวิตด้วยภัยร้ายแรง และจำเป็นต้องมีฤทธานุภาพในการคุ้มครองปกปักรักษาด้านต่าง ๆ จึงถือว่ามีคุณสมบัติที่จะเป็นนัตได้       การจัดระบบนัตเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม ได้อัญเชิญพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากเมืองมอญมายังพุกาม ด้วยความช่วยเหลือจากพระเถระชินอรหันต์ พระองค์มีพระราชโองการให้กวาดล้างพระพุทธศาสนา นิกายอารี และความเชื่อนอกรีตต่างๆ รวมถึงการยกเลิกพิธีบูชานัตที่เขาโปปา ทรงจัดระบบนัตแล้วรวบรวมไว้ที่พระเจดีย์ชเวชิโกง นัตบางตนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนัตหลวง เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาพระเจดีย์  เป็นการจัดระเบียบและตั้งศูนย์รวมจิตใจใหม่ให้ชาวพม่า  ภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา  โดยแต่งตั้ง “ตะจามิง” พระอินทร์ หรือ ท้าวสักกะ ขึ้นเป็นประมุขของนัตทั้งปวง และแบ่งนัตเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่   “นัตพุทธ” คือ นัต 37 ตน ตามคัมภีร์มหาสมยสูตร และอาฏนาฏิยสูตรของพระพุทธศาสนา    “นัตใน” คือ นัต 37 ตน ที่ถูกกำหนดให้อยู่ภายในเขตกำแพงพระเจดีย์ชเวชิโกง นัตบางตนปรากฏชื่อในคัมภีร์ศาสนาพุทธและฮินดู    “นัตนอก” คือ นัต 37 ตน ที่ถูกกำหนดให้อยู่นอกเขตกำแพงพระเจดีย์ชเวชิโกง       นัตที่ได้รับการนับถืออย่างมาก อาทิ “มิงมหาคีรี” นัตหลวงแถบเมืองตะกอง เป็นนัตบ้านนัตเรือนดูแลความปลอดภัยในบ้าน หรือ “ชเวพีญญีนอง”  นัตหลวงสองพี่น้อง เมืองมัณฑะเลย์ มีฐานะเป็นนัตครู ร่างทรงทั้งหลายต้องเคารพบูชา และมีเทศกาลบูชาทุกปี  เป็นต้น       คลังกลางฯ เก็บรักษานัตที่สำคัญองค์หนึ่ง คือ พระนางโปปาแมด่อ เจ้าแม่ผู้ดูแลเขาโปปา ตามตำนานพระนาง คือ พระนางแหม่วรรณะ  ภรรยาของหม่องพยะตะ  และเป็นมารดาของนัตหลวงสองพี่น้อง ชเวพีญญีนอง  เป็นเครือญาติกับมิงมหาคีรีนัต พระนางบำเพ็ญเพียรและสร้างคุณงามความดี รวมถึงสร้างสถานที่บำเพ็ญเพียร ณ ภูเขาโปปา จนกระทั่งเป็นผู้ได้รับพรพิเศษ ขอสิ่งใดก็สัมฤทธิ์ผล  เมื่อเสียชีวิตจึงกลายเป็นนัตที่มีคนเคารพนับถือ ชาวพม่านิยมขอพรในเรื่องความสำเร็จความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และขอให้อยู่เย็นเป็นสุข       ความเชื่อที่ฝังรากลึกเรื่องการบูชานัตของชาวพม่ายังมิหมดไป  เพราะนัตยังสามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน อันจะเห็นได้จาก การยังคงมีพิธีบวงสรวงบูชานัต และอัญเชิญเข้ามาประทับทรง สืบมาจนถึงปัจจุบัน      เผยแพร่โดย  รัตนรัตน์ กุลสาคร  ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ ภาพโดย กิตติยา  เชื้อทอง  นายช่างภาพปฏิบัติงาน กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร


ชื่อผู้แต่ง          แม้นมาส ชวลิต ชื่อเรื่อง            การระวังและซ่อมแซมหนังสือ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      กรุงเทพการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๖ จำนวนหน้า      ๘๐ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงว่าที่อำมาตย์ตรี ขุนพิทักษ์ประชารมย์ (อัสว์ ลีละหุต) ณ ฌาปนสถานวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๖                       หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการซ่อมแซม และเก็บรักษาหนังสือ ประกอบด้วย การระวังรักษาหนังสือ, หน้งสือที่ควรซ่อม, เตรียมการซ่อมหนังสือ, การซ่อมหนังสือ, การเข้าเล่ม และนิตยสาร และอนุสาร


ชื่อเรื่อง : ปฏิมากรรมแห่งศิลปคันธาระ ชื่อผู้แต่ง : มานิต วัลลิโภดม. ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากรจำนวนหน้า : 20 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องปฏิมากรรมแห่งศิลปคันธาระ ของกรมศิลปากร ที่มีนายมานิต วัลลิโภดม เป็นผู้เขียน ซึ่งได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้เนื่องในพิธีหล่อพระประธานประจำพระอุโบสถ ณ วัดเวฬุวัน หมู่บ้านหนองถ้ำ ตำบลนิคม อำเมือเมือง จังหวัดลพบุรี ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2512




          วันจันทร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นางกมลชนก ชวนะเกรียงไกร ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สถาปนิก วิศวกร และผู้ควบคุมงาน ประชุมคณะกรรมการตรวจรับการจ้างงาน (ประจำงวดงานที่ ๑๔) ในโครงการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมตรวจเยี่ยมหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี



          วันเสาร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จัดกิจกรรมบรรยายทางวิชาการในหัวข้อ การค้าของเมืองถลาง ตีความจากจดหมายสมัยกรุงธนบุรี - รัตนโกสินทร์ตอนต้น การค้าระหว่างเมืองถลาง - ปีนัง โดยนายกานต์ รับสมบัติ  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง และ "ภารา" มาตราชั่งน้ำหนัก โดยนายธัชวิทย์ ทวีสุข ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง            ผู้สนใจสามารถติดตามรับฟังการบรรยายได้ทาง Facebook Live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป  


รูปพระสุภูติมหาเถร สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔ เป็นของอยู่ในพิพิธภัณฑสถานมาแต่เดิม ได้มาจากไหนไม่ปรากฏ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้อง ธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ----------------------------------------------   ประติมากรรมรูปบุคคล เงยศีรษะขึ้น ใบหน้ากลม คิ้วโก่ง ดวงตาเหลือบต่ำ จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา แสดงอาการยิ้มเล็กน้อย ใบหูยาว รูปร่างอ้วนครองจีวรแบบห่มดอง*แสดงการคาดผ้ารัดอก มีท้องพลุ้ย มือซ้ายโอบหน้าท้อง ส่วนมือขวายกขึ้น (กิริยากวักเรียกฝน) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว รูปแบบดังกล่าวจึงทำให้ประติมากรรมพระสุภูติมีลักษณะบางประการคล้ายกับประติมากรรมพระมหากัจจายนเถระ    ประวัติของพระสุภูติปรากฏในคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินีอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน กล่าวถึงประวัติพระสุภูติว่า   ครั้งหนึ่งพระสุภูติจาริกถึงกรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้อาราธนาให้พระสุภูติประทับอยู่ ณ เมืองราชคฤห์ พร้อมทั้งสัญญาว่าจะสร้างกุฏิถวายให้ แต่เนื่องจากทรงมีพระราชกิจหลายอย่าง ทำให้ทรงลืมข้อสัญญาดังกล่าว ครั้นถึงฤดูฝนปรากฏว่าฝนไม่ตก พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงระลึกขึ้นได้ว่าพระองค์ลืมสร้างกุฏิถวายพระสุภูติ ทรงมีรับสั่งให้สร้างกุฏิที่มุงหลังคาด้วยใบไม้ถวาย เมื่อพระสุภูติเข้าไปอาศัยด้านในแล้วฝนก็ยังตกเพียงเล็กน้อย พระสุภูติจึงกล่าวคาถามีใจความว่า ตนพ้นจากภยันตราย มีอาคารกำบังแล้ว ขอให้เทพเทวดาบันดาลให้ฝนตก เมื่อกล่าวคาถาจบลง เมฆฝนก็ก่อตัวขึ้น เกิดเป็นฝนห่าใหญ่ตกทั่วเมืองราชคฤห์    จากประวัติของพระสุภูติข้างต้น จึงทำให้ประติมานของรูปเคารพพระสุภูติมีลักษณะการแสดงอิริยาบถที่สัมพันธ์กับ “เบื้องบน” หรือ “ท้องฟ้า” เช่น การแหงนหน้ามองด้านบน หรือชูแขนข้างหนึ่งขึ้นในท่ากวักมือเรียกเป็นต้น ในงานพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ พระสุภูติจึงเป็นประติมากรรมองค์สำคัญที่ใช้ประกอบพิธี    อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงมีพระบรมราชาธิบายถึงพระสุภูติในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ไว้ว่า การประดิษฐานพระสุภูติในพระราชพิธีจะตั้งไว้อยู่กลางแจ้ง ตรงกันข้ามกับคาถาที่ใช้สวดในพระราชพิธี คือ “คาถาสุภูโต” ที่มีเนื้อความตามสุภูติเถรคาถา ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงเรียบเรียงขึ้นใหม่ และใช้มาตลอดนับตั้งแต่รัชกาลของพระองค์ในคราวที่ฝนแล้ง ดังมีประกาศให้พระอารามต่าง ๆ สวดคาถาสุภูโต และงานพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ไม่ได้มีกำหนดตายตัวว่าจะต้องจัดกี่วัน ขึ้นอยู่กับว่าฝนจะตกหรือไม่ และตกมากน้อยเพียงใด หากฝนตกไม่มากก็ยังคงทำพิธีต่อไป อีกทั้งพระราชพิธีพิรุณศาสตร์มิได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หากแต่จัดขึ้นในคราวที่เกิดภาวะแล้งขาดแคลนน้ำฝนเท่านั้น   * ห่มดอง หมายถึง วิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าและมีผ้ารัดอก (ตามความหมายใน ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖ หน้า ๑๓๑๙) ---------------------------------------------- อ้างอิง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธี ๑๒ เดือน. พระนคร: แพร่พิทยา, ๒๕๑๔. จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ (กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๘. . รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๘. มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.   --------------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูล :  นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ