ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,555 รายการ

        ชื่อเรื่อง : วิวัฒน์หนังสือไทย      ผู้เขียน : สำนักหอสมุดแห่งชาติ      สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร      ปีพิมพ์ : ๒๕๖๒      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ :    ๙๗๘-๖๑๖-๒๘๓-๔๓๗-๐      เลขเรียกหนังสือ : ๐๗๐.๕๐๙๕๙๓ ศ๕๒๘ว      ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑สาระสังเขป : อักษรเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกภาษาพูดของมนุษย์ สำหรับชาติไทยเราก็มีภาษาและอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชาติที่เรียกว่า อักษรไทย ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประดิษฐ์ "ลายสือไทย" ขึ้นเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ อาจพัฒนามาจากอักษรปัลลวะของอินเดียตอนใต้ ลายสือไทยจึงนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบันทึกเรื่องราวต่างๆ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ หนังสือไทย โดยหอสมุดแห่งชาติถือว่าเป็นคลังหนังสือของชาติ จึงได้จัดทำและพิมพ์เผยแพร่สูจิบัตรนิทรรศการเรื่อง "วิวัฒน์หนังสือไทย" ขึ้น มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ นิทรรศการวิวัฒน์หนังสือไทย มีการนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของหนังสือ เริ่มต้นตั้งแต่กำเนิดอักษรไทย กำเนิดตัวพิมพ์และการพิมพ์ไทย โรงพิมพ์ไทย หนังสือสำคัญ หนังสือต้องห้าม หนังสือพิมพ์ในอดีต รวมทั้งจัดแสดงวรรณกรรมที่นำมาเผยแพร่ผ่านสื่อบันเทิง ประวัติความเป็นมาของหอสมุดแห่งชาติในอดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญทางประวติศาสตร์ผ่านการพิมพ์ในยุคสมัยต่างๆ และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โบราณราชประเพณีแห่งราชอาณาจักรไทย และ ส่วนที่ ๒ บรรณนิทัศน์หนังสือที่นำมาจัดแสดงนิทรรศการวิวัฒน์หนังสือไทย ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสาระสำคัญ พร้อมภาพประกอบของหนังสือแต่ละรายการ เช่น กระบวนพยุหยาตราสถลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จำลองจากต้นฉบับหนังสือสมุดไทยของหอสมุดแห่งชาติ คู่กรรม ตำราคิดเลข ประมวลภาพเหตุการณ์ปฏิบัติการถ้าหลวง : บันทึกวาระแห่งชาติ วรรณคดีสาร หนังสือจดหมายเหตุ Bangkok Recoeder เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของหนังสือไทยอันทรงคุณค่าของชาติ


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                             บาลีหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   18 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว  57.5 ซม.บทคัดย่อ                     เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534 


          ถ้ำเบื้องแบบ เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์รุ่นแรก ๆ ที่ได้รับการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขุดค้นครั้งสำคัญในปี ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ ทำให้พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก เช่น โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ภาชนะดินเผา ลูกปัดหอย ขวานหินขัด รวมทั้งเครื่องมือหินกะเทาะและเครื่องมือสะเก็ดหินกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น           แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ลักษณะเป็นถ้ำตั้งอยู่บนเขาหินปูนขนาดเล็ก มีระดับความสูงระหว่าง ๓๐ - ๗๒ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในปี ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ดำเนินการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ ในโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน ตามแผนงานแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน ผลการขุดค้นพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโพรงถ้ำและเพิงผา ๓ ตำแหน่ง ได้แก่           (๑) ถ้ำใหญ่ (ถ้ำสูง) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๑ เป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่สุด จากหลังคาถ้ำมีช่องแสงสูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๒ เมตร มีห้องโถงใหญ่ทับถมด้วยดิน มีช่องแสงขนาดใหญ่ตอนบน ซอกชั้นใกล้เพดานถ้ำทะลุออกสู่ช่องแสงอีกด้านหนึ่งของภูเขาและยอดเขา หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกมนุษย์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีร่องรอยการขัดฝนบริเวณฟันหน้า นอกจากนั้นยังพบกระดูกและฟันสัตว์ เช่น หมูป่า อ้น กวาง เต่า ตะพาบ นก และปูนาพันธุ์, เปลือกหอย เช่น หอยบก หอยทะเล หอยน้ำจืด และหอยน้ำกร่อย, เมล็ดพืช ,ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา รูปทรงที่พบ เช่น ภาชนะก้นกลม หม้อมีสัน ชามมีสัน ภาชนะทรงจอกปากผาย ภาชนะทรงพาน หม้อสามขา แท่นรองหม้อ แท่นพิงรูปเขาสัตว์ กระสุนดินเผา เครื่องมือหิน เครื่องมือสะเก็ดหิน ลูกปัดหอย และกำไลหินหรือจักรหิน           (๒) ถ้ำล่าง (ถ้ำพระ) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๒ เป็นเพิงผากึ่งโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑.๘๐ เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอย ได้แก่ หอยบก หอยน้ำจืด หอยทะเล เมล็ดพืชป่า ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เช่น หม้อสามขา หม้อมีสัน แท่นรองหม้อ แท่นพิงรูปเขาสัตว์ นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือหินลักษณะพิเศษ คือ หินทุบผ้าเปลือกไม้ ซึ่งเครื่องมือลักษณะนี้ใช้สำหรับทุบเปลือกไม้ ใยไม้ เพื่อเอามาทำเป็นผ้า           (๓) ถ้ำหลังเขา (ถ้ำผี) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๓ เป็นเพิงผาเพดานต่ำ มีลักษณะเป็นช่องโพรงถ้ำเปิด ปากทางเข้าถ้ำเป็นเพิงผา มีเพดานต่ำก่อนเข้าถึงโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๕ เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน แผ่นหินลับ ขวานหินขัด และเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ           จากหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นว่าในอดีต ถ้ำเบื้องแบบเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีวิถีการดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บของป่ามาเป็นอาหาร มีวัฒนธรรมการทำและใช้เครื่องมือหินกะเทาะและเครื่องมือหินขัดร่วมกัน มีการทำภาชนะดินเผา รู้จักการทำเครื่องประดับจากหินและเปลือกหอย เช่น กำไลหินหรือจักรหิน ลูกปัดหอย การทำผ้าด้วยเปลือกไม้ นอกจากนั้นยังพบหลักฐานที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ไฟในการหุงต้มอาหาร เนื่องพบร่องรอยของคราบอาหารไหม้ติดอยู่บนภาชนะดินเผา และพบร่องรอยของกระดูกสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารถูกทำให้สุกด้วยการเผาไฟ ผลการหาค่าอายุของแหล่งโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากการนำตัวอย่างถ่าน กระดูกสัตว์ และกระดูกมนุษย์ ด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอน (C-14) สามารถกำหนดอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบได้ประมาณ ๖,๕๐๐ – ๔,๒๐๐ ปีมาแล้ว ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช https://www.facebook.com/nakonsrifad14/posts/608790486387203?__tn__=K-R


เลขทะเบียน : นพ.บ.2/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  38 หน้า  ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 9หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.49/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 30 (308-325) ผูก 6หัวเรื่อง :  บาลียมก --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




คู่มือการสอนสังคมศึกษาชั้นประถมปีที่ 5 เรื่องสถานที่และวัตถุสำคัญของชาติ


ชื่อเรื่อง : ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ ชื่อผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2501 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การพิมพ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 58 หน้า สาระสังเขป : ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ เล่มนี้ นำเสนอ เนื้อหาในหมวดโบราณคดี ว่าด้วยราชประเพณีโบราณ ซึ่งประกอบด้วย ประเพณีนำริ้วตรวจทางเสด็จพระราชดำเนิน ประเพณีลงสรงโสกันต์ ประเพณีพระราชทานเบี้ยหวัดและเงินเดือนแก่เจ้านายในพระราชวังบวร ประเพณีพระราชทานเบี้ยหวัดพระราชวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวช ประเพณีพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่พ่อค้าต่างประเทศ ประเพณีเสด็จพระราชทานพระกฐินพระอารามหลวงกรุงศรีอยุธยา และประเพณีพระสงฆ์รามัญสวดพระปริตทำน้ำพระพุทธมนตร์ในพระราชวังชั้นใน


ชื่อเรื่อง : เมขลา - รามสูร ผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : การพิมพ์พาณิชย์


ชื่อเรื่อง : ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม   ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลียงเซียงจงเจริญ   หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.ต.สิทธิ์  การสุุทธิ์                     พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ได้ทรงอธิบายลักษณะเจ้านายประเภทต่างๆ โดยละเอียดและเปรียบเทียบกับลักษณะของประเทศใกล้เคียง                ให้ความรู้เกี่ยวกับราชประเพณีและรัฐประศาสโนบายในสมัยรัชกาลที่ ๕


ชื่อเรื่อง                     ตำราโรคหู คอ จมูกผู้แต่ง                       หลวงโกศลเวชศาสตร์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   แพทย์ศาสตร์ เลขหมู่                      616.2 ก961ตสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ปีที่พิมพ์                    2472ลักษณะวัสดุ               430 หน้า หัวเรื่อง                     โรคหู คอ จมูกภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมตำราโรคหู คอ จมูก และการตรวจโรค


ชื่อผู้แต่ง          คณะศิษยานุศิษย์ ชื่อเรื่อง           จาตุรงคบท พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     ม.ป.ท สำนักพิมพ์       ม.ป.พ ปีที่พิมพ์          2493 จำนวนหน้า      96  หน้า คณะศิษย์กรุงเทพ ฯ พิมพ์หนังสือเป็นที่ระลึกงานสมโถชสัญญาบัตรสมณศักดิ์  เรื่อง  จาตุรงคบท  ว่าด้วยทางบรรลุความเจริญมีองค์  4  คือ  ชีวิตสมบัติ,  สมรรถภาพ,  สหกรณ์,  ประโยชน์,  ซึ่งเรียงไว้ตั้งแต่พุทธศักราช  2473 



ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2503 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางยุพิน ไตรภักดิ์               เป็นหนังสือที่พิมพ์ตามต้นฉบับเดิมซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เป็นตำนานเมืองและการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ของเมืองนครศรีธรรมราช