ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก กระเษียร ศรุตานนท์ ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514. สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วัดเทพศิรินทราวาสจำนวนหน้า : 302 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก กระเษียร ศรุตานนท์ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส พระนคร ในวันที่ 14 มีนาคม 2514
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๒ - ๘ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจสามารถเข้าชมฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือติดตามชมการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook live กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๕ เป็นวันมหามงคล วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พี่บรรณ ฯ ขอนำความรู้เกี่ยวกับการกราบบังคมทูล มาฝากนะคะ โดยเฉพาะคำที่ใช้ผิดกันมาก ซึ่งบางหน่วยงานมีการใช้คำลงท้ายว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ" ซึ่งการใช้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ ไม่ต้องมี ขอเดชะ ต่อท้าย ดังตัวอย่างนี้ค่ะ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
ขอบคุณข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษา
จัดทำโดย
นางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร
บรรณารักษ์ชำนาญการ
สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๒-๔ มิถุนายน ๒๕๖๕
พระพิมพ์ลีลา
สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ประมาณ ๖๐๐ ปีมาแล้ว)
ได้จากกรุที่มุมกำแพงแก้ว วิหารพระอัฏฐารส โบราณสถานวัดสะพานหิน เมืองเก่าสุโขทัย
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพิมพ์ดินเผารูปทรงคล้ายใบหอก กดประทับรูปพระพุทธเจ้า ตามแบบศิลปะสุโขทัย มีพุทธลักษณะสำคัญคือ พระรัศมีเป็นเปลวแหลม พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระอังสากว้าง ครองจีวรห่มเฉียง พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นแสดงอภัยมุทรา (ปางประทานอภัย) พระกรขวาแนบพระวรกาย พระบาทขวายกขึ้นแสดงอิริยาบถลีลาบนฐานเขียง
พระพุทธรูปลีลา เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของงานศิลปกรรมสุโขทัย และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปรากฏทั้งงานประติมากรรมปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรม งานประติมากรรมสัมฤทธิ์ และพระพิมพ์ โดยสัมพันธ์กับเรื่องราวทางพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดา อีกทั้งรูปแบบของพระพุทธรูปลีลายังปรากฏในฐานะอดีตพุทธเจ้า เช่น ลวดลายบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๐* หรือรูปพระสาวกที่ฐานเจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยก็แสดงอิริยาบถลีลาด้วยเช่นกัน
สำหรับแรงบันดาลใจของการสร้างพระพุทธรูปลีลานั้น น่าจะได้รับอิทธิพลงานศิลปะลังกา มีตัวอย่างคือจิตรกรรมฝาผนัง วิหารติวังกะ (Tivanka Pilimage) สมัยโปลนนารุวะ (ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘) นอกจากนี้การสร้างพระพุทธรูปลีลายังปรากฏในบ้านเมืองต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูปลีลาบนแผ่นทองจังโก พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน และพระพุทธรูปลีลา ณ วัดพระธาตุช้างค้ำ วัดพญาภู จังหวัดน่าน
*ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
--------------------------------------------------------
อ้างอิง :
กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.
----------------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เวียนบรรจบครบรอบความสัมพันธ์ทางพระราชไมตรี ๑๓๕ ปี ระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นสมัยเมจิ กับรัฐบาลไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ทางการค้าแลการเดินเรือเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๐ ทว่าโดยแท้จริง ชาวญี่ปุ่นรู้จักเราในนาม “ชิยามุโระ” (สยาม?) หรือ “ชามุโรโกกุ” (อยุธยา) มาแล้วกว่า ๖๐๐ ปี แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีของสองอาณาจักรที่มีต่อกันตั้งแต่ระดับราชสำนักถึงการพาณิชย์ในระดับรัฐบาล เพจคลังกลางฯ จึงขอใช้โอกาสนี้ เสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่อง ...๑๓๕ ปีแห่งพระราชไมตรีทางการค้า สนธิสัญญา กับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยาม แลกรุงญี่ปุ่น
โดยการค้าระหว่างอาณาจักรช่วงยุคแรก เกิดขึ้นระหว่างกรุงศรีอยุธยากับ “ริวกิว” อาณาจักรอิสระที่ตั้งอยู่ในเกาะโอกินาวะ มีสินค้าที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนค้าขาย เช่น สุรา ผ้าฝ้าย ผ้าไหม พริกไทย ไม้ฝาง ตลอดจนสินค้ากลุ่มเครื่องปั้นดินเผา ดังมีหลักฐานการขุดค้นบริเวณปราสาทซูริ และปราสาทนาคิจิน ไม่ว่าจะเป็นตลับเคลือบขาวเขียนลายสีน้ำตาล และเศษสังคโลกเคลือบเขียวจากจังหวัดสุโขทัย แต่ส่วนใหญ่เป็นไหสี่หูจากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งแต่ละที่ก็มีวิธีการใช้งานแตกต่างกัน อย่างภาชนะที่พบบริเวณปราสาทซูริน่าจะนำมาใช้ประกอบพิธีกรรมด้วยพบอยู่ในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงใช้บรรจุกระดูกเจ้าเมืองในอดีต ส่วนภาชนะที่พบบริเวณใจกลางปราสาทนาคิจิน สันนิษฐานว่าภาชนะเหล่านี้น่าจะถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น ยังเคยขุดพบภาชนะที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ เช่น ไหประทับลายดอกไม้ ซึ่งเทคนิคการกดประทับแสดงให้เห็นว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้ผลิตจากเตาบ้านบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี หรือหม้อซุงโกะรุกุ (สวรรคโลก?) กำหนดอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง สอดรับกับที่ช่วงเวลาหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นมีการสร้างเครื่องปั้นดินเผาเลียนแบบศิลปะอยุธยา เรียกว่า ภาชนะกลุ่มเตาซะซุมะ
จนเมื่อมีการทำสนธิสัญญาระหว่างกันเมื่อปี ๒๔๓๐ แล้ว ได้เกิดความร่วมมือกันในหลายด้านโดยลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดกรมช่างไหมในกระทรวงเกษตรและพาณิชย์ สมัยรัชกาลที่ ๕ การก่อตั้งโรงเรียนประจำสำหรับผู้หญิง ภายหลังสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงแวะสังเกตการณ์กิจการด้านการศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้จ้างครูมาอยู่ประจำที่โรงเรียนนั้นถึง ๓ คน นอกจากนี้ ยังมีนายช่างญี่ปุ่น “มิกิ ซาคาเอะ” ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงรัก ได้เข้ามาปฏิบัติราชการในสำนักพระราชวัง รับหน้าที่ซ่อมแซมงานศิลปกรรม ตลอดจนเครื่องราชูปโภคต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งภายหลังได้บรรจุเป็นครูมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงในด้านศาสนา เมื่อประเทศไทยได้รับมอบพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประสานขอพระราชทานพระบรมสาริกธาตุนั้น ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานที่วัดนิทไทจิ เมืองนาโงยา แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีของสองอาณาจักรที่เจริญวัฒนาสืบมา อย่างไรก็ดี แม้ญี่ปุ่นจะกำลังเข้าสู่ปีที่ ๔ ของยุคเรวะและประเทศไทยอยู่ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐ ก็ตาม ความสัมพันธ์ของสองอาณาจักรก็จะยังแนบแน่น มั่นคงไม่เสื่อมคลายเฉกเช่นที่ผ่านมา
ภาพที่ ๑ ตัวอย่างชั้นดินและเครื่องปั้นดินเผาจากการขุดค้นทางโบราณคดี ภาพที่ ๒ ตัวอย่างไหสี่หูและภาชนะกระเบื้องเคลือบที่พบในประเทศญี่ปุ่น ภาพที่ ๓ ตัวอย่างไหสี่หูญี่ปุ่นที่นำเข้าจากประเทศไทย
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
พะหมี หรือผะหมี เป็นการเล่นปริศนาคำทาย พระเจนจีนอักษรอธิบายว่าคำนี้เป็นคำมาจากภาษาจีน คำว่า ผะ หมายถึง การตี ทำให้แตก หมี หมายถึง คำอำพราง รวมความแล้วผะหมีก็คือการตีปัญหาให้แตก หรือการเล่นทายปริศนานั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงวังจัดงานฤดูหนาวขึ้น ในปี 2462 ณ พระราชวังอุทยานวังสราญรมย์ มีการจัดออกร้าน ค้าขาย การแสดงต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นคือร้านพะหมี โดยมีพระสมัคร์ราชกิจ (หม่อมหลวงสายัณห์ อิศรเสนา) เป็นเจ้าหน้าที่ ลักษณะภายในร้านเป็นห้องโถง ตรงกลางห้องจัดเป็นห้องรับแขกสวยงาม มีฝาห้อง 3 ด้าน สำหรับแขวนกระดานชนวนที่เป็นคำถาม และด้านที่ติดถนนมีผ้าม่านรูดปิดเปิด โดยด้านในตรงกลางทำช่องเหมือนช่องขายตั๋วรถไฟ มีทางเข้าออกของเจ้าหน้าที่ ผู้ใดที่จะเล่นสามารถเดินดูข้อความบนกระดานชนวน เมื่อคิดคำตอบและแน่ใจว่าจะทายก็นำกระดานชนวนแผ่นนั้นยื่นให้กับเจ้าหน้าที่พร้อมกับเสียค่าธรรมเนียม 1 บาท เจ้าหน้าที่จะทวนคำทาย เลขลำดับคำทายและให้ผู้เล่นตอบ เมื่อถึงเวลาเปิดซองคำเฉลยระหว่างนั้นจะมีเสียงตีกลองรัว ถ้าตอบถูกหลังเสียงรัวกลองจะมีเสียงดัง ตุ้ง พร้อมแสงไฟสว่างและของรางวัลยื่นออกมา แต่ถ้าทายผิดหลังเสียงรัวกลองจะมีเสียงดัง แก๊ก ของไม้กลองที่ตีโดนข้างกลอง และไฟจะมืดลง สำหรับคำทายนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงให้พระบรมวงศานุวงศ์หลายท่านช่วยตั้งปัญหามาสำรองไว้มากมาย มีทั้งคำโคลง และร้อยแก้ว ยกตัวอย่างเช่น คำทาย : เป็นชื่อ 2 พยางค์ พยางค์ที่ 1 หมายถึง สิ่งที่คนบูชากราบไหว้ พยางค์ที่ 2 หมายถึง รุ่งเรืองพรายแสง คำตอบ : พระร่วง เป็นต้น ในส่วนของรางวัลนั้นเป็นประเภทของชำร่วยมีราคา นอกจากนี้พระองค์ทรงตั้งคำทายพิเศษไว้ว่า “ใครเก่งที่สุดในโลก” มีของรางวัลเป็นนาฬิกาข้อมือเรือนทองคำ ซึ่งคำถามนี้ได้รับความสนใจมากมายและได้ค่าธรรมเนียมสูงสุด จนกระทั่งก่อนงานจบ นายสนิทหุ้มแพร (บุญมา หิรัณยะมาน) ได้ตอบคำทายนี้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกโกรธที่โดนถามซ้ำจากเจ้าหน้าที่ จึงตอบว่า “บอกว่าไม่รู้ ไม่รู้ ยังถามอยู่ได้” และนั่นก็คือคำตอบที่ถูกต้อง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเกี่ยวกับคำทายนี้ว่า “การที่ฉันตั้งกระทู้พะหมี ถามว่า “ใครเก่งที่สุดในโลก” ครั้งนี้ก็เพราะจะลองดีพวกถืออวดดี อวดว่า อะไรๆ ฉันก็รู้ทั้งนั้น บางท่านก็ตอบว่าพระพุทธเจ้าก็มี ฉันและใครๆ ก็คงไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า พระพุทธเจ้าจะเคยสู้รบกับพระเยซูหรือพระมะหะหมัดมาบ้างแล้วหรือไม่ ฉะนั้นจะมีทางรู้ได้อย่างไร? ...บรรดาคนที่ถูกยกย่องว่าเป็นผู้รู้ หรือนักปราชญ์ นั้นดูจะพูดคำว่า ไม่รู้ ไม่ได้เอาเสียเลย... นับเป็นเรื่องที่ฉันมีความรำคาญใจมานานแล้ว”
ภาพ : การเล่นพะหมี
ภาพ : การอธิบายกติกาการเล่นพะหมี
---------------------------------------------------------
รายการอ้างอิง
พระราชนิพนธ์ ปริศนาคำโคลงและความเรียง. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2481.
สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2524.
วัฒนะ บุญจับ. “พะหมี : ปริศนาแบบสหวิทยาบูรณาการ,” วชิราวุธานุสรณ์สาร 30, 2 (6 เมษายน 2554): 29-42.
---------------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย : นางสาวพีรญา ทองโสภณ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ--------------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
หนังสือเรื่อง “ลูกเจ้าพระยาในกระแสการเปลี่ยนแปลง” เป็นการ รวบรวมชีวประวัติบุตรธิดาของเจ้าพระยาที่ได้รับการสถาปนาในสมัย รัชกาลที่ ๕ – รัชกาลที่ ๗ อันเป็นสมัยของการปฏิรูประบบราชการและ การปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อให้ประเทศไทย หรือ “สยาม” ในเวลานั้น ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โดยที่ “ลูกเจ้าพระยา” หลายท่าน มีโอกาสได้ไปศึกษาหรือดูงานในต่างประเทศ และนำความรู้กลับมาพัฒนา บ้านเมือง จนสามารถวางรากฐานของกิจการสำ คัญ ๆ หลายประการ อันส่งผลมาถึงปัจจุบัน
เครื่องประดับทองคำรูปหน้ายักษ์ พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เครื่องประดับทองคำ ขนาดกว้าง ๑.๑ เซนติเมตร สูง ๑.๙ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าเป็นรูปใบหน้ายักษ์ สวมเครื่องประดับศีรษะยอดแหลม ขอบกระบังหน้าเป็นสันนูน คิ้วหนาตกแต่งด้วยขีดเป็นร่อง ระหว่างคิ้วเหนือจมูกมีรอยย่น ตาโปนกลมโต จมูกกลมใหญ่ แก้มป่อง หูสั้นมีปลายแหลม ริมฝีปากหนา อ้าปากเห็นฟันซี่ใหญ่ที่ขีดเป็นร่อง เหนือริมฝีปากด้านซ้ายและขวามีลายขีดเป็นร่องอาจเป็นหนวด ด้านหลังทำเป็นห่วงกลม และมีเดือยเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่ด้านล่าง กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
ประติมากรรมรูปยักษ์ ปรากฏมาแล้วตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ และมีพัฒนาการทางรูปแบบศิลปะของแต่ละยุคสมัยเรื่อยมา ทั้งยังส่งอิทธิพลให้ศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น สำหรับงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี นอกจากเครื่องประดับทองคำรูปหน้ายักษ์ชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปยักษ์ทำจากดินเผาหรือปูนปั้นตามเมืองโบราณสมัยทวารวดีต่าง ๆ พบทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมนูนสูงสำหรับประดับศาสนสถาน บางชิ้นสันนิษฐานว่าเป็นทวารบาลผู้พิทักษ์ศาสนสถาน เช่น เศียรยักษ์ปูนปั้นพบที่เมืองโบราณอู่ทอง เศียรยักษ์พบที่หน้าบริเวณที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดลพบุรี ทวารบาลดินเผารูปยักษ์ พบที่โบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
เครื่องประดับรูปหน้ายักษ์ชิ้นนี้แม้มีขนาดเล็ก แต่ก็มีรายละเอียดที่คมชัด งดงาม เป็นหลักฐานที่แสดงถึงแสดงถึงความชำนาญและฝีมือของช่างสมัยทวารวดี ที่ทำเครื่องประดับทองคำนี้เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว นอกจากนี้ที่เมืองโบราณอู่ทอง ยังพบเครื่องประดับทำด้วยทองคำอีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ เครื่องประดับรูปกินรี ตุ้มหู แหวน จี้และลูกปัด เป็นต้น
---------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรุงเทพฯ : อมรินพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๔
เฉิดฉันท์ รัตน์ปิยะภาภรณ์. “การศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบของ “ยักษ์” จากประติมากรรมที่พบในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๑.
----------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
https://www.facebook.com/Uthongmuseum/posts/pfbid02N59fbeRwJEM4L17dYF8JozvoiBZ57S2FvYmosk25J1yGQ5DoGT8cob846HbqKT19l
----------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. พรรณไม้และบทบาทของพรรณไม้ในวรรณกรรมของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส, 2564. 406 หน้า. ภาพประกอบ. 330 บาท.
ให้ความรู้เรื่องประวัติของสุนทรภู่ คำเรียกพรรณไม้ในวรรณกรรมของสุนทรภู่ ที่ระบุชนิดและไม่ระบุชนิดของพรรณไม้ การแบ่งประเภทพรรณไม้ในตำนานและจินตนาการ พรรณไม้ที่มีในธรรมชาติ การนำพรรณไม้มาใช้ในความเปรียบแบบอุปมาอุปไมย แบบอุปลักษณ์ แบบเกินจริงในวรรณกรรมของสุนทรภู่ บทบาทของพรรณไม้ที่มีต่อองค์ประกอบของเรื่อง ต่อเนื้อหา ต่อการดำเนินเรื่อง ต่อตัวละคร ต่อฉาก ต่อการใช้ภาษาในวรรณกรรมของสุนทรภู่ และเรื่องพรรณไม้ในวรรณกรรมสุนทรภู่กับการสะท้อนตัวตนของสุนทรภู่
895.9112
ช221พ ( ห้องหนังสือทั่วไป 2 )
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 30/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา