ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ


***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก นายเรือเอก หนู แจ่มผล.  สงครามโลก:  การยุทธที่ยุตลันดฺ  วันที่ ๓๑ พฤศภาคม ค.ศ.๑๙๑๖.  พระนคร : โรงพิมพ์กรมอุทกศาสตร์, ๒๔๗๘.


ชื่อเรื่อง                     คู่มือครูชั้นประถมปีที่หนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ : ภาพผนัง จำนวน 50 ภาพ พร้อมด้วยคำอธิบายวิธีใช้ สำหรับหนังสือ "ไปโรงเรียน"ผู้แต่ง                       กระทรวงศึกษาธิการประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   การศึกษาเลขหมู่                      372.19 ศ615คสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์                    2498ลักษณะวัสดุ               104 หน้าหัวเรื่อง                     การเรียนการสอน                               ประถมศึกษา -- การศึกษาและการสอนภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                        กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกภาพแขวนผนัง จำนวน 50 ภาพ พร้อมด้วยคำอธิบายวิธีใช้ สำหรับหนังสือ "ไปโรงเรียน" เพื่อใช้เป็นคู่มือครูและอุปกรณ์การเรียนการสอน  


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   ๑. ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางคศิลป์และดนตรีแบบบูรณาการ                    ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ การจัดงานเผยแพร่แลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ – ดนตรีกับสาธารณรัฐ                    ประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์        ๒. วัตถุประสงค์     ๒.๑ เพื่อเข้าร่วมงานเผยแพร่แลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ – ดนตรีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว     ๒.๒ เพื่อศึกษาดูงานด้านสังคมและวัฒนธรรม ณ นครเวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว     ๒.๓ เพื่อหารือกับอธิบดีกรมมรดก เกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วย          การดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑสถาน          ระหว่างประเทศไทย – สปป. ลาว     ๓. กำหนดการ   ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ๔. สถานที่    ๔.๑ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์           ๔.๒ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์หอพระแก้ว พิพิธภัณฑ์วัดสีสะเกด         วัดศรีเมือง พระธาตุหลวง วัดองค์ตื้อ    ๔.๓ โรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว    ๔.๔ กรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สปป. ลาว ๕. หน่วยงานผู้จัด  สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ๖. หน่วยงานสนับสนุน   - ๗. กิจกรรม      ๗.๑ เข้าร่วมงานเผยแพร่แลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ – ดนตรีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว     ๗.๒ ศึกษาดูงานด้านสังคมและวัฒนธรรม ณ นครเวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว     ๗.๓ หารือกับอธิบดีกรมมรดก เกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วย          การดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑสถาน          ระหว่างประเทศไทย – สปป. ลาว     ๘. คณะผู้แทนไทย            ๘.๑ นายอนันต์ ชูโชติ               อธิบดีกรมศิลปากร          ๘.๒ นางสาวรสนันท์  สรรสะอาด   นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ          ๘.๓ นางสาวดวงใจ  พิชิตณรงค์ชัย ภัณฑารักษ์ชำนาญการ          ๘.๔ นางสาวสิริอร  อ่อนทรัพย์     นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ   ๙. สรุปสาระของกิจกรรม วันแรก (ส.๑๔ พ.ค. ๒๕๕๙)           กรุงเทพฯ – เวียงจันทน์ เวลา ๐๙.๓๐ น.                        คณะพร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ  เคาน์เตอร์การบินไทย                                                แถว A เวลา ๑๑.๒๐ น.                        ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยสายการบินไทยเที่ยวบินที่ TG 570 เวลา ๑๒.๓๐ น.                        - เดินทางถึงสนามบินนานาชาติวัดไต นครเวียงจันทน์ สปป. ลาว                                           - รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านครัวลาว                                          - ออกเดินทางไปยังโรงแรมที่พัก Sabaidee@Lao Hotel                                                Pangkham Road, Sisaket Village, Chanthabouly Dist,             Vientiane, Laos   Tel : (856 21) 265 141-2, 265 152 Fax: (856 21) 265 143   Email: rsvn@sabaideeatlaohotel.com เวลา ๑๗.๐๐ น.                         เดินทางไปยังสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ    ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ วันที่สอง (อ.๑๕ พ.ค. ๒๕๕๙)          เวียงจันทน์ เวลา ๐๗.๐๐ น.                        รับประทานอาหารเช้า เวลา ๐๘.๓๐ น.                        ศึกษาสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในเวียงจันทน์                                               ณ พิพิธภัณฑ์หอพระแก้ว พิพิธภัณฑ์วัดสีสะเกด วัดศรีเมือง                                               พระธาตุหลวง วัดองค์ตื้อ เวลา ๑๑.๐๐ น.                        เข้าชมการฝึกซ้อมการแสดงนาฏศิลป์- ดนตรี ณ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว เวลา ๑๒.๐๐                           รับประทานอาหารกลางวัน      เวลา ๑๗.๐๐ น.                       เดินทางไปยังหอวัฒนธรรมแห่งชาติลาวเพื่อเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง เวลา ๑๙.๓๐ น.                       เข้าร่วมงานการแสดงนาฏศิลป์ดนตรีไทย ณ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว เวลา ๒๑.๓๐ น.                        เดินทางกลับโรงแรมที่พัก วันที่สาม (จ.๑๖ พ.ค. ๒๕๕๙)         เวียงจันทน์ – กรุงเทพฯ เวลา ๐๗.๐๐ น.                        รับประทานอาหารเช้า เวลา ๑๐.๐๐ น.                        เดินทางไปยังโรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว เพื่อชมการสาธิตการแสดงและ                                                  การบรรเลงระหว่างไทย – ลาว เวลา ๑๒.๐๐ น.                          รับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๔.๐๐ น.                        เข้าพบหารือกับอธิบดีกรมมรดก เกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑสถานระหว่างประเทศไทย – สปป.ลาว   รายละเอียดการหารือมีดังนี้ ๑. ผู้แทนจากกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สปป. ลาว ประกอบด้วย               ๑.๑ ดร. บุนเที่ยง สิริปะพัน อธิบดีกรมมรดก               ๑.๒ นายสำราน หลวงอภัย  รองอธิบดีกรมมรดก (ดูแลงานด้านฝ่ายบริหารและบุคลากร)               ๑.๓ ดร.ทองลิด  หลวงโคตร ผู้อำนวยการกองโบราณคดี               ๑.๔ นายสุรินทร เพชรชมพู  หัวหน้าแผนกคุ้มครองพิพิธภัณฑสถาน ๒. นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับกรมมรดกว่าสืบเนื่องจากกรมศิลปากร ได้ดำเนินโครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางคศิลป์และดนตรีแบบบูรณาการ โดยการจัดงานเผยแพร่แลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ – ดนตรีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว          ณ  หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์ ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านการแสดงนาฏศิลป์ - ดนตรี และเป็นการเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรม และร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปีความสัมพันธ์ไทย-ลาว และ ๔๐ ปี แห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการแสดงของคณะนาฏศิลป์จากกรมศิลปากรนั้น มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะนาฏศิลป์กรมศิลปากร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนการสาธิตการแสดงกับโรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว ในการนี้ อธิบดีกรมศิลปากรจึงขอใช้โอกาสอันดีที่ได้เดินทางเยือนสปป. ลาว เข้าเยี่ยมคารวะอธิบดีกรมมรดก และหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม ด้วยกรมศิลปากร ประเทศไทย และกรมมรดก สปป.ลาว มีหน้าที่การทำงานที่คล้ายคลึงกัน         ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิทยาการโบราณคดี โบราณสถาน และพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างใกล้ชิด และทั้งสองหน่วยงานมีนักวิชาการที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานในด้านดังกล่าว หากทั้งสองฝ่ายได้มีการจัดทำความตกลงร่วมกันก็จะสามารถทำให้ความร่วมมือเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยผ่านมิติและบริบทของการดำเนินงานศึกษาวิจัยร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมากรมศิลปากรและกรมมรดกได้ร่วมกันพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน และได้รับทราบว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอต่อรัฐบาลของ สปป. ลาว กรมศิลปากรหวังว่าบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายลาว เพื่อจะได้จัดให้มีการลงนามร่วมกันในเร็ววันนี้ ซึ่งกรมศิลปากรจะขอเรียนเชิญอธิบดีกรมมรดก และคณะเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อลงนามความตกลงร่วมกัน  และเมื่อมีการลงนามร่วมกันเป็นที่แล้วเสร็จ นักวิชาการของทั้งสองฝ่ายจะได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งกิจกรรมตามแผนงานจะเป็นการแลกเปลี่ยนการศึกษาวิจัยในพื้นที่ของทั้งสองประเทศ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การดำเนินความร่วมมือระหว่างไทย – ลาว เป็นไปตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ที่มุ่งเน้นให้พัฒนาการทำงานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจักได้ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน             ๓. ดร. บุนเที่ยง สิริปะพัน อธิบดีกรมมรดก แสดงความขอบคุณอธิบดีกรมศิลปากรที่ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยือนกรมมรดกด้วยตนเอง กรมมรดก สปป. ลาว แบ่งการทำงานออกเป็น ๔ แผนก ได้แก่  -  แผนกคุ้มครองโบราณวัตถุ      -  แผนกคุ้มครองพิพิธภัณฑสถาน                    -  แผนกคุ้มครองมรดกสถาน (historical monument)                          -  แผนกคุ้มครองมรดกนามธรรม (intangible cultural heritage) แผนกต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรม ผลงานที่โดดเด่นของกรมมรดกคือการดำเนินงานร่วมกับองค์กรยูเนสโก ในการปกป้องคุ้มครอง แหล่งมรดกโลกหลวงพระบาง และวัดพู จำปาสัก รวมไปถึงมรดกโลกทางธรรมชาติ คือ ทุ่งไหหิน ที่เมืองเชียง ปัจจุบันนี้ทางแผนกวัฒนธรรม แขวงบ่อแก้ว และ กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม ได้มีมาตรการอนุรักษ์และประกาศให้ เมืองเก่าสุวรรณโคมคำ เป็นปูชนียสถานแห่งชาติ เป็นสถานที่อนุรักษ์และหวงห้าม เป็นอุทยานแห่งการศึกษาหาความรู้ แหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของนักค้นคว้า นักศึกษา นักอนุรักษ์นิยม และรักษาวัฒนธรรมอันหลากหลาย                ในปี ๒๕๕๙ นี้ นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีของ สปป. ลาว ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน งานด้านวัฒนธรรมจะเน้นในเรื่อง Promotion, Preservation and Protection               ในส่วนของความร่วมมือด้านวัฒนธรรมมีความคิดเห็นเช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ควรเน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านก่อน เพราะมีประเพณี วัฒนธรรม ที่คล้ายคลึงกัน มากกว่าที่จะไปมีความร่วมมือกับฝรั่งต่างชาติอย่างชาวยุโรป ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและที่ตั้งของประเทศก็อยู่ห่างไกลกัน และมีความยินดีที่จะจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกับประเทศไทย เพื่อให้งานด้านอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเป็นรูปธรรม               ดร.ทองลิด หลวงโคตร ผู้อำนวยการกองโบราณคดี  แจ้งให้ทราบว่ากรมมรดกได้เคยนำเสนอกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอความเห็นชอบให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน กับประเทศไทย และได้เตรียมคณะจะเดินทางไปลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ที่ประเทศไทยแล้ว แต่เนื่องจากตรงกับวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นวันชาติของ สปป. ลาว จึงทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเดินทางออกไปก่อน อีกทั้งยังมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลของ สปป. ลาว ชุดใหม่ ดังนั้น กรมมรดกจึงทำให้ต้องดำเนินการนำเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในเบื้องต้นได้รับทราบว่ากระทรวงการต่างประเทศน่าจะให้ความเห็นชอบ หากกรมมรดกได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการต่างประเทศ จะประสานให้ฝ่ายไทยทราบในโอกาสแรก              ดร. บุนเที่ยง สิริปะพัน อธิบดีกรมมรดก ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าในปัจจุบันนี้กรมมรดกยังคงขาดแคลนบุคลากรในการทำงาน และงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงาน การดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศในลักษณะการแลกเปลี่ยนความร่วมมือจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งประเด็นนี้ทางฝ่ายลาวยังต้องมีการพิจารณากันต่อไป   ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม        ๑๐.๑ การจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีในต่างประเทศ จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศนั้นๆ  สำหรับการจัดการแสดงฯ ที่ สปป. ลาว ในครั้งนี้ กรมศิลปากรได้ประสานการทำงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์  หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์  และโรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจนทำให้การจัดการแสดงราบรื่นและประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม        ๑๐.๒ จากการศึกษาสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมของ สปป. ลาว ทำให้เห็นว่าโบราณสถานส่วนใหญ่จะเป็นวัด ซึ่งยังคงมีประชาชนเข้าใช้ประกอบศาสนกิจอยู่เป็นประจำ จึงทำให้ต้องดูแลรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่อยู่ตลอดเวลา เพื่อความสวยงามและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยี่ยมชม        ๑๐.๓ จากการหารือกับกรมมรดก เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมกับ สปป. ลาว นั้น ฝ่ายไทยควรจัดเตรียมงบประมาณให้มีความพร้อมเนื่องจากฝ่ายลาวยังเป็นประเทศที่ยังคงต้องการความช่วยเหลือทั้งด้านงบประมาณเครื่องมือและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี รวมทั้งบุคลากรค่อนข้างมาก   นางสาวสิริอร  อ่อนทรัพย์  นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ  


เลขทะเบียน : นพ.บ.1/4กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า  ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 8หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เลขทะเบียน : นพ.บ.49/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 30 (308-325) ผูก 5หัวเรื่อง :  บาลียมก --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          ในอดีตจังหวัดลำปางเป็นหนึ่งในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยที่มีการให้สัมปทานกิจการทำป่าไม้แก่บริษัทต่างชาติ และบ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ก็เป็นหนึ่งในหลักฐานที่เหลืออยู่ของอิทธิพลของชาวตะวันตกในล้านนาในสมัยนั้น           บ้านหลังนี้เป็นบ้านของนายหลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ (Louis Thomas Leonowens) บุตรชายของนางแอนนา เลียวโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออายุได้ ๗ ปีหลุยส์ได้ติดตามมารดาเข้ามาในสยาม และหลังจากสำเร็จการศึกษาในยุโรปแล้วก็ได้กลับเข้ามาในสยามอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๒๗ ปี หลุยส์เริ่มเข้าสู่วงการค้าไม้ พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนของบริษัท บริติชบอร์เนียว (The British Borneo Company Limited) ในการเจรจาขอรับอนุญาตทำป่าไม้ประจำเมืองระแหง (ปัจจุบันคืออำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก) ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๙ เขาได้ลาออกจากบริษัทบริติชบอร์เนียวเพื่อเปิดบริษัทค้าขายทั่วไปของตัวเองที่เชียงใหม่ และได้ย้ายบริษัทมาตั้งที่ลำปางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ พร้อมทั้งได้รับสัมปทานทำป่าไม้ด้วย ดังนั้น บ้านหลังนี้จึงปลูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทั้งที่พักของนายหลุยส์และอาคารสำนักงานของเขาที่ลำปาง (หลุยส์ยังเปิดสำนักงานนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่กรุงเทพฯ ด้วย) เมื่อหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์เสียชีวิตที่อังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๖๒ กรมป่าไม้จึงได้รับมอบโอนกิจการทำไม้ของบริษัท บริติช บอร์เนียว จำกัด และบริษัทหลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ รวมถึงบ้านหลังนี้ด้วยใน พ.ศ. ๒๔๘๒ บ้านหลังนี้จึงกลายเป็นอาคารที่ทำการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในระยะหนึ่ง และต่อมาได้กลายเป็นบ้านพักสำหรับพนักงาน จนกระทั่งพนักงานลดจำนวนลงจึงไม่มีผู้พักอาศัยอีกและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ลักษณะเป็นบ้านกึ่งปูนกึ่งไม้สองชั้น แบบเรือนปั้นหยา สไตล์โคโลเนียล ชั้นล่างก่อปูนแข็งแรง ส่วนชั้นบนเป็นเรือนไม้ มีจุดเด่นคือ ห้องโถงที่ทำเป็นมุขเจ็ดเหลี่ยมยื่นออกไปด้านหน้า ติดหน้าต่างบานเกล็ดไม้โดยรอบ บริเวณโดยรอบบ้านมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น และยังมีอาคารสำนักงานอีกหนึ่งหลัง เป็นอาคารถือปูนชั้นเดียว อาคารหลังนี้แต่เดิมใช้เป็นที่เก็บตู้เซฟของบริษัทของนายหลุยส์           ปัจจุบันบ้านหลังนี้อยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านพักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ลำปาง ถนนป่าไม้ เขตชุมชนท่ามะโอ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง เขตเทศบาลนครลำปาง โดยทาง ออป. ร่วมกับภาคเอกชน ชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่าได้เริ่มโครงการบูรณะซ่อมแซมเพื่อให้ตัวบ้านคงสภาพดีดังเดิมให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๐ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามของชุมชนในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ชุมชน ผ่านกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ตลาดนัด และการจัดเสวนาวิชาการ โดยบ้านหลุยส์ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ชุมชนใช้ในการจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย ภาพ : หลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ภาพ : บ้านหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ ภาพ : ห้องโถงชั้นล่าง ภาพ : ฝ้าเพดานห้องโถงชั้นบนกรุด้วยแผ่นไม้เรียงกันอย่างสวยงาม ภาพ : ชั้นบนเป็นเรือนไม้ เหนือบานประตูมีการแกะสลัก ฉลุลายไม้อย่างประณีต --------------------------------------- เรียบเรียงโดย นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เอกสารอ้างอิง วิลาส นิรันดร์สุขศิริ. ร้อยปีหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ กับแผ่นดินสยาม. ศิลปวัฒนธรรม ๒๖ (มีนาคม ๒๕๔๘): ๑๓๑-๑๓๗ กิตติชัย วัฒนานิกร. นายห้างป่าไม้ สีสันชีวิตอดีตล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่: สันติภาพแพ็คพริ้นท์, ๒๕๕๘. จังหวัดลำปาง โดยชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า. ท่ามะโอ เรโทร แฟร์ บ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์. ลำปาง: ชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า, จังหวัดลำปาง, ๒๕๖๑. (อัดสำเนา)




นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  สาส์นสมเด็จ  (ภาคที่ 47).  พระนคร : กรมศิลปากร, 2501.        หนังสือสาส์นสมเด็จนี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศราสุวัดติวงศ์ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพ เมื่อทรงว่างภาระทางราชการงานเมือง  และทรงพักผ่อนอย่างเงียบ ๆ สาส์นสมเด็จนี้มีอยู่มากด้วยกัน สำหรับภาคนี้เป็นภาคที่ 47


ชื่อเรื่อง : มูลบทบรรพกิจ ผู้แต่ง : ศรัสุนทรโวหาร, พระยา ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี สำนักพิมพ์ : กรุงธน


ผู้แต่ง : ธนิต  อยู่โพธิ์   สถานที่พิมพ์ : พระนคร   สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร   ปีที่พิมพ์ : 2508   เรื่องย่อ   ให้รายละเอียดเกี่ยวกับธรรมจักรรูปแบบต่างๆ อาทิ ธรรมจักรศิลา วัดคลองขวาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ธรรมจักรหินทรายแดง วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี ธรรมจักรสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16 ในพิพิธภัณฑ์พระนครธรรมจักรหินปูนระเบียงวิหารคตพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น


ชื่อเรื่อง                     วรรณคดีบางเรื่อง ของสุนทรภู่และนายมีผู้แต่ง                       สุนทรโวหาร (ภู่)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9112082 ส798วศสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์บริษัทคณะช่างปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               188 หน้า หัวเรื่อง                     กวีนิพนธ์ไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางศรฤทธิ์รณชัย (มาลัย ทศานนท์)


ชื่อผู้แต่ง          คณะศิษยานุศิษย์ ชื่อเรื่อง           คารม - อาจารย์ พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     ม.ป.ท สำนักพิมพ์       ม.ป.พ ปีที่พิมพ์          2518 จำนวนหน้า      66  หน้า           คณะศิษย์กรุงเทพ ฯ พิมพ์ถวาย  ที่ระลึกคราวเลื่อนสมณศักดิ์จากพระอรรถโมลีพระราชาคณะชั้นสามัญขึ้นเป็นชั้นราช  มีราชทินนามว่า “พระราชรัตดิลก”  คณะศิษย์จึงรวบรวมเรื่องของท่าน  ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง  เพื่อที่จะได้แจกแก่บรรดาศิษย์และญาติมิตรที่มาแสดงมุทิตาตามธรรมเนียม