ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
เมื่อ พ.ศ. 2545 กรมศิลปากรดำเนินงานโบราณคดีในพื้นที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ พบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่างๆ มากมาย แต่โบราณวัตถุชิ้นพิเศษ ที่ขุดพบในครั้งนั้น คือประติมากรรมหินอ่อน ที่มีรูปแแบบศิลปะทางวัฒนธรรมชาติตะวันตก โดยพบบริเวณวิหารหลวง จำนวน 3 ชิ้น สภาพแตกหัก รายละเอียดดังนี้
ชื้นที่ 1 ชิ้นส่วนรูปครึ่งคนครึ่งสัตว์ เพศหญิง มีหน้าอกนูน ที่คอประดับด้วยเชือกหรือขนสัตว์ถักเปีย ขนาดกว้าง 39 สูง 33.5 เซนติเมตร
ชื้นที่ 2 ชิ้นส่วนท่อนล่างของสัตว์ มีกรงเล็บขนาดใหญ่ ขนาดกว้าง 35.5 สูง 37 เซนติเมตร
ชื้นที่ 3 ชิ้นส่วนรูปสัตว์ มีเกล็ด ส่วนกลางประดับด้วยลายพรรณพฤกษาใบไม้ม้วนแบบตะวันตก ขนาดกว้าง 51.2 สูง 28.5 เซนติเมตร
จากการเปรียบเทียบรูปแบบ โดยเฉพาะชิ้นส่วนรูปอกและรูปขาสัตว์ สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมรูป แอนโดรสฟิงซ์ (Andro-Sphinx) ที่เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโต ประติมากรรมรูปแบบนี้ นิยมประดับตามพื้นที่พระราชวังหรือสถานที่สำคัญในยุโรป ที่กรุงศรีอยุธยาก็นำประติมากรรมจากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นของใหม่และหายาก มาประดับ ณ สถานที่สำคัญเช่นกัน ดังหลักฐานที่ขุดพบบริเวณวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์
------------------------------------------------
แหล่งข้อมูล :
โครงการการขุดแต่งและออกแบบเพื่อการบูรณะวัดพระศรีสรรเพชญ์ พ.ศ. 2545
------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
https://www.facebook.com/AY.HI.PARK/posts/pfbid02bk1rm1ojGBxFCM7fZmb6cENQCwCRcUHYREQ1FXWD8b8JLTBza2ARZEmoTMLaj673l
------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
หนังสือ พระประธาน พระสมเด็จ ญสส. พระธรรมคำสั่งสอน และพระธรรมเทศนา. กรุงเทพฯ: เอส. ออฟเซ็ท กราฟฟิคดีไซน์, 2564. 216 หน้า. ภาพประกอบ.
อธิบายความหมายของพระประธาน ข้อความในพระเครื่อง ประวัติพระเครื่อง พระประธาน พระสมเด็จ ญสส. พระบูชา พิมพ์พระพุทธเจ้าปิดตา พิมพ์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พิมพ์หลวงปู่ทวด พิธีผสมชนวนมวลสาร พิธีพุทธาภิเษกชนวนมวลสาร พิธีหลอมชนวนโลหะผสม พิธีถวายสังฆทาน มีพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเทศนาและพระโอวาทธรรมเพื่อผู้อ่านที่สนใจได้ศึกษาเป็นคติธรรม
294.31218
ห144 (ห้องหนังสือทั่วไป1)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 30/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 138/7เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 173/6ขเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 4 สมเด็จกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ โปรสให้พิมพ์ขึ้นอีกเมื่อปีมะเมีย 2473 ชื่อผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2473สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า : 166 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมพระราชหัตถเลขา (จดหมายที่พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งเองหรือเขียนเองและลงพระนามด้วยพระราชหัตถ์ไปถึงผู้ใดผู้หนึ่ง) ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหาสำคัญ อาทิ พระราชหัตถเลขาถึง เสอร ชยอน เบาว์ริง ลงวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1855 เรื่องทรงอนุญาตให้เรือรบยิงสลูตเคารพแดนในแม่น้ำเป็นครั้งแรก พระราชหัตถเลขาถึงพระยาวิชิตชลธี ลงวันจันทร์ เดือน 9 ขึ้น 6 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1223 เรื่องมีผู้ยื่นเรื่องราวกล่าวโทษพระยาตาก ว่ากล่าวคำหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 11/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
กลับมาอีกครั้งกับกิจกรรรม “ ฮีต ๑๒ ฮอยฮีตคองวัฒนธรรม” เปิดศักราชใหม่ด้วยประเพณีบุญใหญ่ของชาวอีสาน “บุญเดือนสี่ : บุญผะเหวด” โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ร่วมกับพันธมิตรเครือข่าย ทุกท่านจะได้พบกับกิจกรรม ดังนี้
- “ธุงผะเหวด” ลวดลายวิจิตร และการบรรยายความรู้เกี่ยวกับ “ธุงผะเหวด” จากกลุ่มช่างทอธุงบ้านบัวเจริญ ตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ทุงอีสาน -ทุงบ้านบัวเจริญ อุบลราชธานี และความรู้เกี่ยวกับประเพณีบุญผะเหวดของชาวอีสาน โดยพระวิทยากร พระปกรณ์ ชินวโร วัดมณีวนาราม และขอเชิญร่วมขบวนแห่ธุงผะเหวดโบราณที่ม่วนซื่นสวยงาม
- วาดงานศิลป์บนผืนธุงผะเหวด โดยนักศึกษาคณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
- สาธิตการทำธุงใยแมงมุม ที่มีรูปแบบและสีสันอันหลากหลาย
- ตลาดอุบลฮักคราฟท์ ได้นำผลิตภัณฑ์ออแกนิค และงานฝีมือต่างๆจากชุมชนคนอุบลฯ อุบล"ฮัก"คราฟท์-Ubon Hugs Crafts มาให้เลือกชม ชิม ช็อป
ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. ทั้งนี้ หากไม่สามารถไปร่วมกิจกรรมได้ สามารถรับชมถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กเพจ Ubon Ratchathani National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี https://www.facebook.com/UbonNationalMuseum อย่าลืมกดถูกใจ กดติดตาม จะได้ไม่พลาดกิจกรรมดีๆ
๓ มีนาคม ๒๕๖๖
วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก (World Wildlife Day)
วันอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก หรือ วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก ตรงกับวันที่ ๓ มีนาคม ของทุกปี โดยข้อเสนอของประเทศไทย ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมไซเตสครั้งที่ ๑๖ เมื่อวันที่ ๓ - ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ กรุงเทพมหานคร เนื่องในวาระครบรอบ ๔๐ ปี วันลงนามรับรองอนุสัญญาไซเตส ๓ มีนาคม ๒๕๑๖ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตสทั้ง ๑๗๘ ประเทศ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษยชาติ
ซึ่งในปีนี้ พ.ศ. ๒๕๖๖ ครบรอบ ๕๐ ปี ของการรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) มีการจัดงานภายใต้แนวคิดหลัก "ร้อยมือ ร่วมรักษ์ พิทักษ์สรรพชีวิต - Partnerships for Wildlife Conservation" โดยตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี ที่ผ่านมา “พันธมิตร (Partnerships)” ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานอนุสัญญาประสบผลสำเร็จลุล่วงด้วยดีเสมอมา ทั้งนี้ ก็ด้วยความตั้งใจของภาคีสมาชิก (Parties) และการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ (UN agencies) องค์กรภาคเอกชน (private sector) องค์กรการกุศล (philanthropies) และองค์กรพัฒนาเอกชน (non-governmental organizations) ตลอดจนความร่วมมือในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การทำให้ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ยังคงอยู่ต่อไป ด้วยการผนึกกำลังในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าและพืชป่าอย่างยั่งยืน รวมถึงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมายและการลดลงของประชากรสัตว์ป่าและพืชป่า ดังนั้น วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก จึงถือเป็นการเฉลิมฉลองให้กับอนุสัญญาไซเตสที่เปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงกลุ่มพันธมิตรทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน และสร้างการมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าและความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน
การรักษาไว้ซึ่งกลุ่มพันธมิตรที่มีอยู่เดิมไปพร้อมกับการสร้างพันธมิตรใหม่ ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของทุกชีวิตบนโลก ความเป็นอยู่ของมนุษยชาติในฐานะชนิดพันธุ์หนึ่งนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของจำนวนประชากรสัตว์ป่าและพืชป่า และความเฟื่องฟูของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยค้ำจุนให้โลกใบนี้มีสุขภาวะที่ดีและเป็นแหล่งพึ่งพิงให้ทุกชีวิตต่อไป การที่จะเป็นเช่นนั้นได้ จำเป็นต้องอาศัยความพยายามในการทำงานร่วมกันจากหลายภาคส่วน อันเป็นการเปิดโอกาสกับผู้คนที่กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น และนี่จึงเป็นสิ่งที่วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ต้องการมุ่งเน้นและเป็นที่มาของแนวคิดหลัก (Theme) ประจำปีที่ว่า “Partnerships for Wildlife Conservation”
ขณะนี้ หอสมุดฯ ยังเปิดทำการอยู่ แวะมาอ่านกันได้นะคะ
อ้างอิง
กรมประชาสัมพันธ์. วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก (World Wildlife Day). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖,
จาก: https://www.prd.go.th/.../category/detail/id/31/iid/161979
กองคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา. วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖,
จาก: https://portal.dnp.go.th/Content/citesdnp?contentId=1227
World Wildlife Day Thailand. ประวัติที่มา Background. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖,
จาก: https://wildlifedaythailand.org/about.php
จัดทำโดย
พัชมณ ศรีสัตย์รสนา
บรรณารักษ์ชำนาญการ
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
เลขทะเบียน : นพ.บ.504/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 168 (216-223) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี
เรียบเรียง/ภาพ : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เดิมเรียก ศาลเทพารักษ์หลักเมือง ตั้งอยู่ในตัวเมืองเก่าสุพรรณบุรี พื้นที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีเคารพนับถือกันมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว เจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี เป็นประติมากรรมศิลาสลักรูปทิพยบุคคล 2 องค์ เป็นรูปพระวิษณุตามพระมติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงสันนิษฐานไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2479
ศาลหลักเมืองสุพรรณบุรีนี้ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาแล้วตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสรุปเรื่องราวที่ชาวเมืองสุพรรณบุรีนับถือเจ้า ผี และปลูกศาลให้พำนัก จนกลายเป็นศาลเทพารักษ์ต่างๆ ในหนังสือโบราณคดี เรื่องที่ 4 “ห้ามไม่ให้เจ้ามาเมืองสุพรรณ” และในหนังสือ “สาส์นสมเด็จฯ” ว่า คงเป็นอุปนิสัยของชาวเมืองที่ติดมาช้านาน โดยเชื่อว่าเจ้า ผี สามารถบันดาลให้ตนเองอยู่เย็นเป็นสุข หรือทำร้ายเมื่อทรงพิโรธ จึงพากันกราบไหว้และเส้นสรวงเป็นอย่างดี เพื่อให้ เจ้า ผี หรือ เทพารักษ์มีความพอใจ มิให้เบียดเบียน ที่กล่าวว่า “เทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณบุรี” ดุร้าย ก็น่าจะเอาคติการนับถือเจ้า ผี ไปปนกับเทพารักษ์ก็เป็นได้ ต่อมาจึงเคารพบูชาเป็นหลักของเมือง เช่นเดียวกับเสาไม้แก่นลงอาคมปักไว้กลางเมือง เหมือนเมืองอื่นทั่วไป
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สุพรรณบุรี เป็นทรงไทยอยู่ใต้อาคารหลังใหญ่แบบก๋งจีน ประกอบไปด้วย ศาลทรงไทยที่ประดิษฐานองค์เจ้าพ่อหลักเมือง เป็นศาลทรงไทยรูปพระอุโบสถ มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน คันทวย ทรงคล้ายโบสถ์ หน้าบันมีช้างสามเศียร ด้านซ้ายมีราชสีห์ ด้านขวาคือคชสีห์ชูฉัตร 5 ชั้น หมายถึงกระทรวงมหาดไทยและกลาโหมในสมัยก่อน
ภายในศาลทั้ง 3 ด้าน แสดงภาพเขียนศิลปะจีน เป็นเทพธิดาบรรเลงทิพยสังคีต ด้านหลังศาลมีภาพแกะสลักนูนต่ำ เรื่องราวของเทพทั้ง 8 (โป๊ยเซียน) ที่มารวมกลุ่มบันดาลความสุข โชคลาภและอำนวยพรให้ผู้เข้ามาสักการบูชา ด้านข้างทั้ง 2 ของศาลแกะสลักภาพนูนต่ำเป็นรูปลูกพญามังกร และภาพวาดแสดงสัญญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลคบไฟที่สืบทอดกันมาเป็นพันกว่าปี ในปลายเดือน 6 ของปฏิทินเกษตร เพื่อรำลึกถึงบรรพชนและขอพรปีใหม่จะมีการถือคบไฟแห่แหนไปในทุ่งกว้าง และดื่มเหล้าจาจิ่ว โดยเทใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเวียนกันดื่มด้วยหลอดก้านปอ ครบทุกคน ตามความเชื่อของชาวเมืองสุพรรณบุรีมาช้านานว่า เจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีทั้ง 2 องค์ โปรดปราณความรื่นเริง
ปัจจุบันศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สุพรรณบุรี เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ชาวสุพรรณบุรีนับถือกันมาก มีพิธีแห่อันเชิญเจ้าพ่อและงานทิ้งกระจาดทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7
กรมศิลปากรได้ ประกาศ ขึ้นทะเบียนโบราณสถานศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
อ้างอิง :
คู่มือสุพรรณบุรี. นนทบุรี : สื่อเสรี, 2544.
เลขหมู่ 915.937 ค695
ตรี อมาตยกุล. เรื่องจังหวัดสุพรรณบุรี. พระนคร : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลไทยวัฒนาพานิช แผนกการพิมพ์, 2500.
เลขหมู่ 915.9593 ต181รพ
พระมหาอดิศร ถิรสีโล. ประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์, 2547.
เลขหมู่ 959.373 พ358ป
49 ปี แห่งความมุ่งมั่น จารึกไว้...ในแผ่นดิน. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์, 2556.
เลขหมู่ 915.9373 ส733
สุพรรณบุรี 400 ปี ยุทธหัตถี. สุพรรณบุรี : ม.ป.พ., ม.ป.ป.
เลขหมู่ 959.373 ส829
สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี. ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สุพรรณบุรี . [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.finearts.go.th/fad2/ (วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565)
สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม