ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

กรมศิลปากร. จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม พระพุทธศักราช 2460.                กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2560.               จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม พระพุทธศักราช 2460 นี้ เป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้เป็นครั้งที่ 2 นับแต่จังหวัดเพชรบุรี ประจวลคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง ภูเก็ต ตรัง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เป็นเวลารวม 42 วัน ซึ่งผู้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน คือ มหาเสวกโท พะยาศรีวรวงศ์ (หม่อมราชวงศ์จิตร สุทัศน์) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมุรธาธร โดยใช้นามแฝงว่า "สักขี"


           บรรยากาศประชาชนเข้าชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ เรื่อง “ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๓ มีผู้สนใจเข้าชมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน           สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ กรมศิลปากรได้คัดเลือกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสำคัญกว่า ๓๐๐ รายการ และสื่อมัลติมีเดียมาจัดแสดง แบ่งออกเป็น ๖ หัวข้อ ดังนี้ ๑. สองสมเด็จปฐมบทแห่งสาส์นสมเด็จ ๒. สองสมเด็จกับการพิพิธภัณฑสถาน ๓. สองสมเด็จกับงานด้านดนตรี นาฏศิลป ๔. สองสมเด็จกับงานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประกอบด้วย งานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ความรูเรื่องเมืองนครปฐมโบราณ โบราณคดีทักษิณ และเครื่องปั้นดินเผาภาคเหนือ ๕. สองสมเด็จกับงานด้านภาษาและหนังสือ ๖. สองสมเด็จกับงานด้านศิลปกรรม             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ เรื่อง “ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม จนถึงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


ผู้แต่ง : พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา), หลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2498 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงจรูญบุรกิจ (จรูญ ณ สงขลา)             รวบรวมเนื้อหาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์


ไม้และเมล็ดพืชที่พบร่วมกับฐานสิ่งก่อสร้างอิฐจากการขุดค้นที่คลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร           จากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่คลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ ได้พบหลักฐานสำคัญ คือ ฐานสิ่งก่อสร้างอิฐที่อยู่บนฝั่งตะวันออกและตะวันตกของคลอง ซึ่งสามารถกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์จากตัวอย่างอิฐพบว่า มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๕ ฐานสิ่งก่อสร้างอิฐดังกล่าวมีการปักเสาไม้ขนาบเป็นแนว และการวางลำต้นของพืช และแผ่นไม้แทรกในชั้นการเรียงตัวของอิฐในลักษณะการเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างฐานสิ่งก่อสร้างอิฐนั้น จึงมีการนำส่งตัวอย่างไม้และเมล็ดพืชที่พบให้กรมป่าไม้ทำการวิเคราะห์ จำนวน ๑๑ ตัวอย่าง           ผลการวิเคราะห์พบว่า เสาไม้ที่ใช้ในการปักขนาบส่วนฐานสิ่งก่อสร้างอิฐ เป็นไม้ราชพฤกษ์(Cassia sp.) กระบก(Irvingia malayana Oliv. Ex A.Benn.)และไม้ยืนต้นซึ่งไม่สามารถระบุชื่อทางพฤกษศาสตร์ ส่วนลำต้นของพืชและแผ่นไม้ที่วางแทรกในชั้นการเรียงตัวของอิฐ แบ่งเป็นพืชหลายประเภท ได้แก่ ท่อนลำต้นของไม้สกุลไม้ราชพฤกษ์ (Cassia sp.) ตาล (Borassus sp.) และแผ่นไม้สัก (Tectona grandis L.f) ส่วนเมล็ดพืช ได้แก่ เมล็ดต้นหูกวาง (Terminalia catappa L.) เมล็ดของไม้วงศ์มะเกลือ(Diospyros sp.) ด้วยตัวอย่างที่มีจำกัดนี้ ทำให้ไม่สามารถระบุได้ถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในอดีตของบริเวณคลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น)ได้แน่ชัด แต่มีข้อน่าสังเกตว่า การเลือกใช้ไม้สักในการก่อสร้างนับแต่อดีต เป็นภูมิปัญญาของคนไทยในการเลือกประเภทไม้ที่คงทนต่อการฝังอยู่ใต้ดินในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยยังพบการใช้เสาเข็มไม้สักปักแทรกเป็นระยะในชั้นอิฐผสมปูนตำก่อนชั้นอิฐของส่วนฐานรากอาคารสิ่งก่อสร้างที่ขุดค้นพบบริเวณสนามด้านข้างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) ซึ่งปัจจุบัน คือ พื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร----------------------------------ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดี----------------------------------





ชื่อเรื่อง                     สุภาษิตสอนสตรีผู้แต่ง                       สุนทรโวหาร (ภู่), พระ,2329-2398ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   คติชนวิทยา นิทานพื้นเมืองเลขหมู่                      398.9  ส798สตสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 กรุงเทพการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2510ลักษณะวัสดุ               30 หน้า หัวเรื่อง                     สุภาษิตและคำพังเพย         ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   เนื้อหาภายในประกอบด้วยสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป สุนทรภู่แต่งเมื่อราวระกว่าง พ.ศ.2380 จน พ.ศ. 2383  


องค์ความรู้ เรื่อง "โบราณสถานวัดหนองพลวง"  จัดทำโดย สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี




ชื่อผู้แต่ง           กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง            อตีตังสญาณหรือเครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์       ศิวพร ปีที่พิมพ์            ๒๕๑๑              จำนวนหน้า       ๔๐ หน้า หมายเหตุ  -                อตีตังสญาณ ตามความหมายในพระพุทธศาสนา หมายถึง ญาณ คือ ความหยั่งรู้เรื่องราวในอดีต เป็นความรู้อย่างหนึ่งของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก  แต่ ความหมายในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี คือ เป็นความรู้ถอยหลังเข้าไปในอดีตกาล   โดยนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีแต่ก่อนได้อาศัยจดหมายเหตุ เอกสาร พงศาวดาร ตำนานและจารึก ตลอดจนหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถาน


สัตตัปปกรณาภิธรรม สหัสสนัย อภิธัมมัตถสังคหะ ชบ.ส. ๑๓ เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๑๘ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.19/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)