ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ




  16 ธันวาคม “วันกีฬาแห่งชาติ” วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นนักกีฬาตัวแทนของชาติไทยในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 (IV SEAP GAMES) และทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภท โอเค (OK) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2510 ด้วยพระปรีชาสามารถทางการกีฬาและพระจริยาวัตรในการที่ทรงเป็นนักกีฬาที่ดี จนปรากฏเป็นที่เลื่องลือและจารึกไว้ในประวัติศาสตร์วงการกีฬาโลก คณะกรรมการโอลิมปิกสากล จึงได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองดุษฎีกิตติมศักดิ์ของโอลิมปิกสูงสุด (ทอง) นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในโลกที่ทรงได้รับเกียรติยศด้านการกีฬาอันสูงสุดดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถด้านการกีฬาของพระองค์ และเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวไทยเห็นคุณค่าและความสำคัญของการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงได้มีมตินำเสนอคณะรัฐมนตรีลงความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2529 กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันกีฬาแห่งชาติ”   ประวัติการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ (Thailand National Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาหลากหลายชนิดระหว่างภูมิภาคในประเทศไทย เดิมเรียกว่า “กีฬาเขตแห่งประเทศ ไทย” จัดโดยองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.; ปัจจุบันคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย; กกท.) จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2510 ที่กรุงเทพมหานคร โดยการแบ่งเขตการแข่งขันเป็น 5 เขต ต่อมาใน พ.ศ. 2527 ในการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2527 คณะกรรมการ อสกท. มีมติให้เปลี่ยนไปใช้ชื่อการแข่งขันใหม่ว่า “กีฬาแห่งชาติ” พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการแข่งขันเพื่อเป็น การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการกีฬาของชาติ และในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 ประจำปี พ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนการแข่งขันจากระบบเขตเป็นในนามจังหวัดโดย ตรง เรียกการแข่งขันแบบ “คัดเลือกตัวแทนภาค” โดยแบ่งออกเป็น 5 ภาค ปัจจุบันกีฬาแห่งชาติจัดการแข่งขันมาแล้ว 48 ครั้ง และมีกำหนดจัดการแข่งขัน 1 ปี ต่อครั้ง ซึ่งครั้งที่ 49 นี้ จัดขึ้นที่จังหวัดจันทบุรี ระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม 2567   การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 “จันท์เกมส์”           การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 หรือ “จันท์เกมส์” จัดขึ้นที่จังหวัดจันทบุรี ระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม 2567 มีการแข่งขันทั้งหมด 54 ชนิดกีฬา แบ่งเป็นกีฬาบังคับ 2 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา และว่ายน้ำ กีฬาสากล 50 ชนิดกีฬา กีฬาอนุรักษ์ 2 ชนิดกีฬา และกีฬาสาธิต 5 ชนิดกีฬา โดยมีสัญลักษณ์นำโชคเป็นกระต่ายยิ้มร่าเริงถือคบเพลิง ชื่อ “น้องชมจันท์” และมีคำขวัญการแข่งขัน ว่า “สานสัมพันธ์ สานไมตรี กีฬาดีที่เมืองจันท์” โดยจังหวัดจันทบุรี ได้กระจายสนามแข่งขันครอบคลุมทั่วทั้ง 10 อำเภอ เพื่อให้ชาวจันทบุรีได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งนี้ และอีกหนึ่งความพิเศษในการเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ คือ การจัดทำเหรียญรางวัลประดับด้วยอัญมณี เพื่อมอบให้แก่นักกีฬาที่ชนะการแข่งขันทุกชนิดกีฬา   แนวความคิดสัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 จันท์เกมส์ 1. น้ำตก แทน น้ำตกที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามของจังหวัดจันทบุรี    คลื่นทะเล แทน แหล่งทรัพยากร ธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวที่งดงาม    ลู่การแข่งขัน แทน การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ณ จังหวัดจันทบุรี ที่สร้างความสามัคคี และมิตรภาพที่งดงาม 2. พระจันทร์ และอัญมณี เป็นเลข ๑ ไทย แทนการรวมน้ำใจกันเป็นหนึ่งของชาวจังหวัดจันทบุรี ในการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 “จันท์เกมส์” 3. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ไทยที่กู้เอกราชของชาติ โดยมีจุดเริ่มต้นที่จังหวัดจันทบุรี และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจันทบุรี 4. สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ     เรียบเรียงโดย นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ                  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี  สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี  กรมศิลปากรแหล่งข้อมูลเอกสารอ้างอิง การกีฬาแห่งประเทศไทย.  ใต้ร่มเงาแห่งพระบารมี 16 ธันวา วันกีฬาแห่งชาติ.  กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2531. การกีฬาแห่งประเทศไทย.  พระมหากษัตริย์นักกีฬา.  กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2549. กิตติ โล่ห์เพชรัตน์.  ดนตรี กีฬา ศิลปะ พ่อหลวงของแผ่นดิน.  กรุงเทพฯ: ก้าวแรก, 2559. คู่มือผู้ชมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 จันท์เกมส์.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ12 ธันวาคม 2567, จาก:                                               https://www.changames49.com/downloads/GuideChanGames49.pdf จันทบุรีประกาศความพร้อมทุกภาคส่วน มหกรรมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 “จันท์เกมส์”.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม       2567, จาก: https://www.thairath.co.th/sport/worldsport/others/2828145 บุญเติม แสงดิษฐ.  วันสำคัญ.  กรุงเทพฯ: พชรการพิมพ์, 2541.    





กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


ข้อแนะนำการส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรบุคคลทั่วไป ๑. กรอกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ทางราชการจัดให้ (ศก.๖) ๒. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ให้เหตุผลส่งหรือนำไปเพื่ออะไร ไว้ที่ใดโดยละเอียด ๓. ในกรณีที่นำติดตัวไปเอง ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออนุญาต ๑ ชุด ในกรณีที่ส่งไปถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ ๔. ให้แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร องค์การ (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับจากทางราชการ)  สมาคม   หมายถึง ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทางราชการ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา คือ พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือเลขาธิการสมเด็จพระสังฆราช  เป็นผู้ลงนามรับรอง  หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ว่าจะส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรเพื่อสักการบูชา เพื่อศึกษาวิจัย เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือโบราณคดี ในกรณีที่เจ้าอาวาสวัด  รองเจ้าอาวาสวัดฯ  หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด  รับรอง    ต้องมีเอกสาร  ดังนี้             ๑.  ทำหนังสือจากวัดถึงอธิบดีกรมศิลปากร             ๒. สำเนาใบสุทธิประวัติเดิม – ปัจจุบัน             ๓.  สำเนาใบแต่งตั้งสมณศักดิ์  หรือหลักฐานยืนยันชื่อลงนามในหนังสือรับรอง ในกรณีที่ข้าราชการรับรอง    (ต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่  ระดับ ๔  ขึ้นไป)             ๑.  ทำหนังสือจากผู้รับรองถึงอธิบดีกรมศิลปากร  รับรองผู้ขออนุญาตส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร             ๒. สำเนาบัตรข้าราชการ  ด้านหน้า – หลัง   อนึ่ง    เอกสารที่เป็นสำเนา  ให้ผู้รับรองลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ   ภาพถ่ายของวัตถุ               ใช้ภาพสี  ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว  จำนวน  ๒  ภาพ  ต่อวัตถุ  ๑  รายการ   ถ่ายภาพเฉพาะด้านหน้าให้   ชัดเจน  หากมีพลาสติกห่อหุ้มให้เอาออกก่อนถ่ายภาพ   นำวัตถุที่จะส่งหรือนำออกทุกชิ้นไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ  ในวันที่ยื่นคำร้อง (ศก.๖)   ณ  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  (อาคารกรมศิลปากรใหม่)  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ  ๑๐๓๐๐             ระยะเวลาออกใบอนุญาต         ๒   วันทำการ             เวลาทำการตรวจพิสูจน์            เช้า    เวลา  ๑๐.๐๐  น.                                                   บ่าย   เวลา  ๑๔.๐๐  น.   ฝ่ายบริหารงานทั่วไป   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทรศัพท์, โทรสาร  ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓   ขั้นตอนและวิธีการ   การขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร   ๑.   ผู้ขออนุญาต  ต้องกรอกในคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต   ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ ๒.  ผู้ขออนุญาต  จะต้องนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้นไปให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   หากไม่สามารถนำไปให้ตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตสามารถทำหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลต่ออธิบดีขอให้มีการตรวจพิสูจน์  ณ สถานที่ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ  ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด ๓.  เจ้าหน้าที่จะผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น  ที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ สรุปความ เห็นอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรได้ ๔.  ภายใน ๑ - ๒ วันทำการ  ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตไปรับใบอนุญาต   พร้อมชำระค่าธรรมเนียม       ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ       ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๓๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท       ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุ  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ   ๕๐  บาท ๕.  เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรสีชมพู)  เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำไปผูกกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่วที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น ๖.   ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุไปผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้องตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต


    "จดหมายเหตุ ถนนสายสำคัญเมืองอุบลราชธานี" เล่มนี้ทางหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ได้รวบรวมข้อมูลจากคุณสุวิชช คูณผล ปราชญ์เมืองอุบลฯ และจัดทำเพื่อจ่ายแจกให้กับประชาชนผู้สนใจที่มาเยี่ยมชมงาน "โครงการการอนุรักษ์สืบสานและพัฒนาการด้านวัฒนธรรมเมืองดอกบัวงาม" ณ หอประชุมไพพระยอม มหาวิทยาลัยราชภัฎ อุบลราชธานี" ซึ่งจัดโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อ 30 เม.ย.-2 พ.ค.2553        เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเมืองอุบลราชธานีโดยย่อ และที่มาของการตั้งชื่อถนนสายสำคัญๆ ในเมืองอุบลราชธานี ตลอดจนภาพถ่ายถนนสายสำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน


ข้อแนะนำการส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรบุคคลทั่วไป ๑. กรอกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ทางราชการจัดให้ (ศก.๖) ๒. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ให้เหตุผลส่งหรือนำไปเพื่ออะไร ไว้ที่ใดโดยละเอียด ๓. ในกรณีที่นำติดตัวไปเอง ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออนุญาต ๑ ชุด ในกรณีที่ส่งไปถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ ๔. ให้แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร องค์การ (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับจากทางราชการ)  สมาคม   หมายถึง ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทางราชการ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา คือ พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือเลขาธิการสมเด็จพระสังฆราช  เป็นผู้ลงนามรับรอง  หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ว่าจะส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรเพื่อสักการบูชา เพื่อศึกษาวิจัย เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือโบราณคดี ในกรณีที่เจ้าอาวาสวัด  รองเจ้าอาวาสวัดฯ  หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด  รับรอง    ต้องมีเอกสาร  ดังนี้             ๑.  ทำหนังสือจากวัดถึงอธิบดีกรมศิลปากร             ๒. สำเนาใบสุทธิประวัติเดิม – ปัจจุบัน             ๓.  สำเนาใบแต่งตั้งสมณศักดิ์  หรือหลักฐานยืนยันชื่อลงนามในหนังสือรับรอง ในกรณีที่ข้าราชการรับรอง    (ต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่  ระดับ ๔  ขึ้นไป)             ๑.  ทำหนังสือจากผู้รับรองถึงอธิบดีกรมศิลปากร  รับรองผู้ขออนุญาตส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร             ๒. สำเนาบัตรข้าราชการ  ด้านหน้า – หลัง   อนึ่ง    เอกสารที่เป็นสำเนา  ให้ผู้รับรองลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ   ภาพถ่ายของวัตถุ               ใช้ภาพสี  ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว  จำนวน  ๒  ภาพ  ต่อวัตถุ  ๑  รายการ   ถ่ายภาพเฉพาะด้านหน้าให้   ชัดเจน  หากมีพลาสติกห่อหุ้มให้เอาออกก่อนถ่ายภาพ   นำวัตถุที่จะส่งหรือนำออกทุกชิ้นไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ  ในวันที่ยื่นคำร้อง (ศก.๖)   ณ  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  (อาคารกรมศิลปากรใหม่)  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ  ๑๐๓๐๐             ระยะเวลาออกใบอนุญาต         ๒   วันทำการ             เวลาทำการตรวจพิสูจน์            เช้า    เวลา  ๑๐.๐๐  น.                                                   บ่าย   เวลา  ๑๔.๐๐  น.   ฝ่ายบริหารงานทั่วไป   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทรศัพท์, โทรสาร  ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓   ขั้นตอนและวิธีการ   การขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร   ๑.   ผู้ขออนุญาต  ต้องกรอกในคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต   ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ ๒.  ผู้ขออนุญาต  จะต้องนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้นไปให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   หากไม่สามารถนำไปให้ตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตสามารถทำหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลต่ออธิบดีขอให้มีการตรวจพิสูจน์  ณ สถานที่ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ  ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด ๓.  เจ้าหน้าที่จะผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น  ที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ สรุปความ เห็นอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรได้ ๔.  ภายใน ๑ - ๒ วันทำการ  ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตไปรับใบอนุญาต   พร้อมชำระค่าธรรมเนียม       ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ       ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๓๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท       ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุ  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ   ๕๐  บาท ๕.  เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรสีชมพู)  เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำไปผูกกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่วที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น ๖.   ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุไปผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้องตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต


   พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  (พระแก้วมรกต)  มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ในสมัยนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างเครื่องทรงถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน อย่างละสำรับ  และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดูกาล  ครั้นถึงรัชกาลที่  3  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาวถวายอีกสำรับหนึ่ง  พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  จึงทรงเครื่องทรง  3  อย่าง  ตามฤดูกาลมาจนถึงทุกวันนี้           ในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบ  200  ปี  สำนักพระราชวังได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  ทั้ง  3  ฤดู  เฉพาะในส่วนที่ชำรุดเนื่องจากได้ใช้งานต่อเนื่องมาโดยตลอด  ต่อมาในภายหลังพบว่าเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรชำรุดมากขึ้น  ควรจะต้องซ่อมแซมอีก  แต่ด้วยความที่เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรชุดนี้เป็นยอดฝีมือของ ช่างโบราณช่วงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  จึงไม่สามารถหาช่างฝีมือซ่อมแซมให้เหมือนเดิมหรือทำให้เกิดความกลมกลืนทั้ง ในด้านวัตถุและฝีมือได้  กรมธนารักษ์  สำนักพระราชวัง  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ได้พิจารณาเห็นพ้องต้องกันว่า  สมควรอนุรักษ์และรักษาเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรชุดเดิมไว้ให้ เป็นศิลปกรรมและมรดกอันล้ำค่ามิให้ชำรุดมากขึ้นกว่าเดิม  และได้ดำริจัดสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรชุดใหม่ขึ้นเพื่อใช้ ประกอบพระราชพิธีผลัดเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรตามโบราณราช ประเพณีขึ้นเพื่อเป็นการทดแทน  ถวายเป็นพุทธบูชา  และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาส มหามงคลพระราชพิธีกาญจนาภิเษก  พุทธศักราช  2539           การจัดสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรชุดใหม่ได้แล้วเสร็จ  และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวายตามลำดับ  ดังนี้           วันที่  25  พฤศจิกายน  2539  ทูลเกล้าฯ  ถวายเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรฤดูหนาว           วันที่  23  มีนาคม  2540  ทูลเกล้าฯ  ถวายเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรฤดูร้อน           วันที่  20  กรกฎาคม  2540  ทูลเกล้าฯ  ถวายเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรฤดูฝน           พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรนั้นกระทำกัน  3  ครั้งในแต่ละปี  ในสมัยก่อนพระมหากษัตริย์ทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีเปลี่ยน เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระราชทานแก่เจ้านายและขุนนางที่เฝ้าฯ  อยู่ภายในพระอุโบสถเท่านั้น  แต่ในรัชกาลปัจจุบัน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาเสด็จฯ  มาพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์แก่ประชาชนที่มาคอยเฝ้าฯ  รับเสด็จรอบ ๆ  พระอุโบสถด้วย           พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  ในแต่ละปีมีกำหนดเวลา  ดังนี้           วันแรม  1  ค่ำ  เดือน  4  เสด็จฯ  ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นฤดูร้อน           วันแรม  1  ค่ำ  เดือน  8  เสด็จฯ  ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อนเป็นฤดูฝน           วันแรม  1  ค่ำ  เดือน  12  เสด็จฯ  ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนเป็นฤดูหนาว   (ที่มา : จดหมายข่าวสำนักราชเลขาธิการ  ปีที่  21  ฉบับที่  1  ตุลาคม  2549 - มกราคม  2550  หน้า  68 - 69.)


     เพลงดนตรีประวัติ ศาสตร์ เป็นบทร้อยกรองบรรยายเรื่องราวในประวัติศษสตร์ของชนชาติไทย ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการแต่งเป็นคำกลอนสำหรับขับร้อง และบรรเลงทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เพื่อให้ความรู้ความเป็นมาของชนชาติไทย และปลูกจิตสำนึกความรักชาติแก่ประชาชน...  





ชื่อเรื่อง                     ประชุมพงศาวดาร เล่ม 20 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 33 และ 34)ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียเลขหมู่                      959.3 ป247 ล.20สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์                    2510ลักษณะวัสดุ               366 หน้าหัวเรื่อง                     ไทย – ประวัติศาสตร์                              พงศาวดารภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                        เนื้อหาภายในประกอบด้วย ประชุมพงศาวดาร เล่ม 20 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 33 และ 34) : บุรพภาคพระธรรมเทศนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว