ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

๑. ชื่อโครงการ                         การแสดงเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในงานเทศกาลรามายณะนานาชาติ ครั้งที่ ๒   ๒.วัตถุประสงค์         ๒.๑ เพื่อเผยแพร่การแสดงโขนซึ่งเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย และเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประจำชาติ ให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบในหมู่ประเทศอาเซียน และประเทศที่มีวรรณกรรม เรื่อง รามายณะ               ๒.๒ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมโดยใช้วรรณกรรมเรื่อง รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงสายใยและความรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน               ๒.๓ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจด้านวัฒนธรรม  ประวัติศาสตร์   ศาสนา  และอารยธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ๓. กำหนดเวลา             ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๙   ๔. สถานที่             ๔.๑ Kamani Auditorium เมืองนิวเดลี             ๔.๒ Ramlila Ground เมืองลัคเนาว์             ๔.๓ เมืองอโยธยา             ๔.๔ Indira Gandhi National Centre for the Arts เมืองนิวเดลี   ๕. หน่วยงานผู้จัด             กระทรวงการต่างประเทศ   ๖. หน่วยงานสนับสนุน             กระทรวงวัฒนธรรม     ๗. กิจกรรม วันอาทิตย์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๑๓.๐๐ น. ๑๔.๓๐ น.   ๑๗.๕๕ น. (เวลาท้องถิ่น)  ๒๐.๕๕ น. ๒๓.๐๐ น.        - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร          - เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เคาร์เตอร์ B๑๗  เช็คอิน Group และผ่าน          กระบวนการตรวจคนเข้าเมือง      - เดินทางออกจากประเทศไทย โดยสายการบินไทย TG ๓๑๕      - คณะนาฏศิลป์เดินทางถึงท่าอากาศยาน Indira Gandhi      - เข้าพักและรับประทานอาหารมื้อค่ำ ณ Hotel Forest Green วันจันทร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๗.๓๐ น. ๑๑.๐๐ น. ๑๔.๐๐ น. ๑๕.๐๐ น. ๑๙.๓๐ น. ๒๓.๐๐ น.      - รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมที่พัก      - ซ้อมการแสดงที่ Kamani Auditorium      - รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - เตรียมพร้อมการแสดงที่ Kamani Auditorium      - แสดงโขน ตอนลักสีดา (๓๐ นาที) ณ Kamani Auditorium      - เข้าพักและรับประทานอาหารมื้อค่ำ ณ โรงแรมที่พัก วันอังคารที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๖.๐๐ น. ๐๗.๐๐ น.   ๐๙.๐๕ น.   ๑๐.๑๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๔.๐๐ น. ๑๖.๐๐ น. ๑๙.๓๐ น. ๒๑.๐๐ น.      - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากที่พัก      - ถึงท่าอากาศยาน Indira Gandhi เมืองนิวเดลี เช็คอิน Group        และผ่าน กระบวนการตรวจสัมภาระ      - เดินทางออกจากท่าอากาศยาน Indira Gandhi เมืองนิวเดลี        โดยเที่ยวบินภายในประเทศ เที่ยวบินที่ ๖E ๑๘๔      - ถึงท่าอากาศยาน Chaudhary Charan Singh เมืองลัคเนาว์      - เข้าพักและรับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ Hotel Gomti      - ทัศนศึกษา ณ Bara Imambara      - ทัศนศึกษา ชมเมืองโดยรอบ      - รับประทานอาหารมื้อค่ำ ณ ร้านอาหาร Dastarkhwan      - เข้าพัก ณ โรงแรมที่พัก วันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๘.๓๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. ๑๓.๓๐ น. ๑๙.๐๐ น.      - รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมที่พัก      - รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากที่พัก      - เข้าพบผู้จัดงาน และ ประชุมจัดเตรียมการแสดง ณ Ramlila Ground      - เข้าพักและรับประทานอาหารมื้อค่ำ ณ โรงแรมที่พัก วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๘.๓๐ น. ๑๐.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น.   ๑๕.๐๐ น. ๒๐.๓๐ น. ๒๒.๐๐ น. ๒๔.๐๐ น.                  - รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมที่พัก      - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากที่พัก      - ทัศนศึกษาชมเมืองโดยรอบ           และ รับประทานอาหารกล่องมื้อกลางวันขณะเดินทาง      - เตรียมพร้อมการแสดง ณ Ramlila Ground      - แสดงโขน ตอนลักสีดา (๖๐ นาที) ณ Ramlila Ground      - รับประทานอาหารมื้อค่ำ ณ Ramlila Ground      - เข้าพัก ณ โรงแรมที่พัก วันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๘.๐๐ น. ๐๙.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. ๑๕.๐๐ น. ๒๐.๐๐ น. ๒๒.๐๐ น. ๒๑.๐๐ น. ๐๑.๐๐ น.          - รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมที่พัก      - ออกเดินทางจากโรงแรมที่พัก ไปเมืองอโยธยา โดยรถ      - รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ Hotel Krishna Place      - เตรียมพร้อมการแสดง ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เมืองอโยธยา      - แสดงโขน ตอนลักสีดา (๖๐ นาที)      - รับประทานอาหารมื้อค่ำ ณ Hotel Krishna Place      - ออกเดินทางจากเมืองอโยธยา โดยรถ      - เข้าพัก ณ Hotel Gomti เมืองลัคเนาว์                   วันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๖.๐๐ น. ๐๗.๓๐ น.   ๑๐.๔๐ น.   ๑๑.๔๕ น. ๑๔.๐๐ น. ๑๔.๔๕ น. ๑๖.๐๐ น.   ๒๐.๐๐ น. ๒๒.๐๐ น.        - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากที่พัก      - ถึงท่าอากาศยาน Chaudhary Charan Singh เมืองลัคเนาว์        เช็คอิน Group และผ่านกระบวนการตรวจสัมภาระ      - เดินทางออกจากท่าอากาศยาน Chaudhary Charan Singh เมืองลัคเนาว์            โดยเที่ยวบินภายในประเทศ เที่ยวบินที่ ๖E ๑๔๗      - ถึงท่าอากาศยาน Indira Gandhi เมืองนิวเดลี      - เข้าพักและรับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ Hotel Forest Green      - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากที่พัก      - เดินทางถึง Indira Gandhi National Centre for the Arts        เตรียมการแสดง และรับประทานอาหารกล่อง      - แสดงโขน ตอนลักสีดา (๓๐ นาที)      - เข้าพักที่โรงแรมที่พัก           วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๗.๓๐ น. ๑๑.๐๐ น. ๑๒.๐๐ น. ๑๔.๐๐ น. ๑๔.๐๙ น.     ๑๔.๓๐ น.   ๑๗.๐๐ น. ๑๘.๐๐ น. ๑๙.๓๐ น.   ๒๓.๓๐ น.      - รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมที่พัก      - รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากที่พัก ทัศนศึกษา ณ Sarojini Nagar      - คณะนาฏศิลป์เดินทางถึงสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี      - คณะข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย        ณ สาธารณรัฐอินเดีย ร่วมลงนามถวายความอาลัย        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และร่วมถ่ายภาพ      - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี        ทัศนศึกษา ณ Janpath      - รับประทานอาหารมื้อค่ำ ณ โรงแรมที่พัก      - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากที่พัก      - ถึงท่าอากาศยาน Indira Gandhi เคาร์เตอร์ H เช็คอิน Group        และผ่านกระบวนการตรวจสัมภาระ      - เดินทางออกจากสาธารณรัฐอินเดีย โดยสายการบินไทย TG ๓๑๖       วันจันทร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๕.๒๕ น. ๐๖.๓๐ น.      - คณะนาฏศิลป์เดินทางถึงท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ      - คณะนาฏศิลป์เดินทางถึงสำนักการสังคีต กรมศิลปากร                                   ๘. คณะผู้แทนไทย  ประกอบด้วยข้าราชการ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร  จำนวน ๑๒ คน             ๘.๑ นายเจตน์  ศรีอ่ำอ่วม                        นาฎศิลปินอาวุโส/หัวหน้าคณะเดินทาง             ๘.๒ ว่าที่ ร.ต.เอกสิทธิ์  เนตรานนท์            นาฏศิลปินชำนาญงาน             ๘.๓ นายธรรมนูญ  แรงไม่ลด                   นาฏศิลปินชำนาญงาน             ๘.๔ นายปรัชญา  ชัยเทศ                        นาฏศิลปินชำนาญงาน             ๘.๕ นายภีระเมศร์  ทิพย์ประชาบาล          นาฏศิลปินชำนาญงาน             ๘.๖ นางสาวเอกนันท์  พันธุรักษ์               นาฏศิลปินชำนาญงาน             ๘.๗ นางสาวปภาวี จึงประวัติ                   นาฏศิลปินชำนาญงาน             ๘.๘ นายบุญสร้าง  เรืองนนท์                   ดุริยางคศิลปินอาวุโส             ๘.๙ นายพรศักดิ์  คำส้อม                        ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน             ๘.๑๐ ว่าที่ ร.ต.ชัยพฤกษ์  สิทธิ                 ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน                                   ๘.๑๑ นายนิรันดร์  หรุ่นทะเล                   ดุริยางคศิลปินปฎิบัติงาน             ๘.๑๒ นายปกรณ์  หนูยี่                           คีตศิลปินปฎิบัติงาน   ๙. สรุปสาระของกิจกรรม                              กระทรวงการต่างประเทศ และ สำนักงานปลักกระทรวงวัฒนธรรม สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ ร่วมมือกับสภาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอินเดีย สาธารณรัฐอินเดีย (ICCR : Indian  Council  for  Cultural  Relations) ในการจัดงานเทศกาลรามายณะนานาชาติ ครั้งที่ ๒ ณ เมืองนิวเดลลี  เมืองลัคเนาว์ และเมืองอโยธยา ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๙  เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศเอเชียที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมรามายณะ ให้เป็นที่รู้จัก ชื่นชอบ อย่างกว้างขวางในกลุ่มชนสาธารณรัฐอินเดีย และกลุ่มประเทศเอเชียผ่านการแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์นานาชาติของประเทศต่างๆ  โดยทางสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงเพื่อมาเผยแพร่ในเทศกาลรามายณะ คือ การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนลักสีดา   ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม                   ๑.  การจัดงานโครงการเทศกาลรามายณะควรมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อีกทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ                   ๒. คณะผู้ปฏิบัติงานจำนวน ๑๒ คน มีหน้าที่แสดงบนเวทีทุกคน เมื่อต้องมีการประสานงานกับสถานที่ เวทีการแสดงทั้ง ๔ เวที ที่มีลักษณะแตกต่างกัน และด้วยเวลาการทำงานของทางอินเดีย มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเวลาที่ไม่แน่นอน เมื่อประสานเตรียมความพร้อมของเวทีทั้งหมด อาทิเช่น การใช้พื้นที่ แสง เสียง และลำดับพิธีการ ลำดับการแสดง จึงทำให้เหลือเวลาเตรียมความพร้อมของการแสดงน้อยลง                   ๓. การเดินทางปฏิบัติงานในครั้งนี้ ได้มีการประสานงานขอล่าม เพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากทางสถานทูตไทย ทำให้การปฏิบัติงานราบรื่น ทั้งในส่วนของการแสดง และการเดินทางภายในประเทศ จนถึงการเดินทางกลับประเทศไทย


          พุทธศาสนิกชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ต่างมีความเชื่อตาม “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก” ว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังคงพระชนม์ชีพอยู่ เคยเสด็จมาโปรดสรรพสัตว์ยังดินแดนแถบนี้ และมีพุทธทำนายไว้หลายประการเกี่ยวกับบ้านเมืองต่าง ๆ รวมทั้งทรงประทับรอยพระบาทไว้เป็นที่สักการะบูชาแก่สรรพสัตว์และมวลมนุษย์ทั้งหลาย ดังตำนาน เรื่องเล่า เกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทสำคัญต่าง ๆ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น พระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน พระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พระพุทธบาทเวินปลา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พระพุทธบาทเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร           ในปี 2557 สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี (ขณะนั้น) ได้ดำเนินงานสำรวจแหล่งโบราณคดีในเขตพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี และได้พบรอยสลักคล้ายกับรอยเท้ามนุษย์บนพื้นหินในบริเวณเขตพื้นที่ภูถ้ำพระยายืน ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จำนวน 2 รอย เป็นรอยเท้าข้างซ้ายและรอยเท้าข้างขวา ไม่มีลวดลายใด ๆ ประดับ โดยมีรอยเท้าขวาอยู่หน้า รอยเท้าซ้ายอยู่หลัง ระยะห่างกันประมาณ 125 เมตร ซึ่งแสดงการก้าวเดินของเท้าทั้งสองข้างนั่นเอง ปลายเท้าค่อนข้างเสมอกัน มุ่งไปทางทิศเหนือ รอยเท้ามีขนาดใกล้เคียงกัน คือ รอยเท้าข้างซ้ายยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ปลายเท้ากว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ส้นเท้ากว้างประมาณ 10 เซนติเมตร รอยเท้าข้างขวายาวประมาณ 42 เซนติเมตร ปลายเท้ากว้างประมาณ 16 เซนติเมตร ส้นเท้ากว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรอยจมลึกลงไปในพื้นหินประมาณ 2 เซนติเมตร           สภาพภูมิประเทศเป็นลานหินกว้างบนภูเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 250 เมตร มีต้นไม้ขึ้นเป็นหย่อม ๆ ใกล้เคียงมีเพิงผาหินทางทิศเหนือและลำห้วยแซะทางทิศตะวันตก           จากการสอบถามชาวบ้านในพื้นที่ ทราบความว่ารอยเท้าทั้ง 2 รอยนี้มีมานานแล้ว ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อใดหรือใครมาสร้างไว้ แต่มีผู้ศรัทธาขึ้นมาสักการะบูชาอยู่เสมอ และเรียกบริเวณนี้ว่า “ภูถ้ำพระยายืน” ดังนั้นในเบื้องต้นจึงสันนิษฐานว่า รอยสลักรูปเท้าทั้งสองรอยนี้ ผู้สร้างน่าจะสลักขึ้นเพื่อให้เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองในอิริยาบถก้าวเดิน ศิลปะกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน (ลาว-ล้านช้าง) ซึ่งเน้นความเรียบง่าย ในช่วงพุทธศตวรรคที่ ๒๓ ข้อมูล : วสันต์ เทพสุริยานนท์ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี อ้างอิง : สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน โครงการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อศึกษาแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตอนกลาง ปีที่ 2 พ.ศ. 2557. เอกสารอัดสำเนา. 2557. : นาคฤทธิ์. พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง. เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์, 2545.


เลขทะเบียน : นพ.บ.1/3กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า  ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 7หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เลขทะเบียน : นพ.บ.48/22ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 30 (308-325) ผูก 4หัวเรื่อง :  บาลีกถาวัตถุ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่องเงาะป่า ผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2516 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : คุรุสภาลาดพร้าว



ชื่อเรื่อง : ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ชื่อผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทย จำนวนหน้า : 166 หน้า สาระสังเขป :ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ ได้รวมเนื้อหาหลายๆ เรื่องไว้ด้วยกัน ทั้งเรื่องราชการแผ่นดิน ราชการในพระองค์ หมายประกาศพระราชบัญญัติ และเรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไป ตัวอย่างเช่น ประกาศว่าด้วยพระราชทานสัญญาบัตร เรื่องพระราชทานพระกฐินแลทรงสร้างปราสาทกรุงเก่า เรื่องข้อห้ามสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ เรื่องแขกเรียกเมืองมะกะเมืองมะดินะว่าเมืองกบินลพัสดุ์ คำพิพากษาเรื่องตัดทุ่นล้อมวง เป็นต้น


ชื่อเรื่อง : มอญที่เกี่ยวกับไทย ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศิวพร


นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.   สาส์นสมเด็จ (ภาคที่ 7).  พระนคร : กรมศิลปากร, 2503.                  หนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาคที่ 7 นี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพเมื่อทรงวางจากภาระทางราชการการเมือง และทรงพักผ่อนอย่างเงียบ ๆ พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นี้ เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปในหมู่นักศึกษา โบราณคดี ศิลปและวรรณคดี และการปกครอง สาส์นสมเด็จนี้มีอยู่มากมายด้วยกัน ภาคนี้เป็น ภาคที่ 7


ชื่อเรื่อง : ไทยดำรำพัน   ชื่อผู้แต่ง : ม.ศรีบุษรา   ครั้งที่พิมพ์ : -   สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : ศิริพรการพิมพ์   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๒          ไทยดำรำพันเนื้อเรื่องว่าด้วยประวัติความเป็นมาของชาวไทยดำ ไทยขาว การอพยพของชาวไทยดำ ชาวไทยขาว เข้ามาในสยามประเทศ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยดำในประเทศไทย การพูด การเจรจา และการใช้ภาษาของชาวไทยดำ


ชื่อเรื่อง                     วรรณคดีบางเรื่อง ของสุนทรภู่และนายมีผู้แต่ง                       กรมพระยาดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9112 ส521สสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               74 หน้า หัวเรื่อง                     สักวาภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางสารีรัฐวินิจ (คำปัน บัวศรี)