ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.357/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 138  (402-410) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังคปริจเฉท อภิธรรมปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ๘ พฤศจิกายน ๒๔๓๖ (๑๒๘ ปีก่อน) – วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗)        พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ” (พระนามเดิม : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ เสด็จดำรงราชสมบัติ ๙ ปี สวรรคตวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔ พระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๑๐๓ - ๑๐๔.)     Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๗ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖          เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง : พระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม 2511 - กันยายน 2512 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : สำนักราชเลขาธิการ จำนวนหน้า : 312 หน้า สาระสังเขป : สำนักราชเลขาธิการได้ประมวลพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2511 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ นำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุปรวมพระราชกรณียกิจมีกำหนดการ 497 ครั้ง 25 จังหวัด จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9


          อุทยานประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่าภูพระบาทได้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อราว 3,000 – 2,500 ปีมาแล้ว จากการพบภาพเขียนสีบนเพิงผาและผนังถ้ำมากกว่า 54 แห่งบนภูเขาแห่งนี้ นอกจากนี้ยังพบการดัดแปลงเพิงหินธรรมชาติให้เป็นพื้นที่ใช้งานในวัฒนธรรมทวารวดี เขมรโบราณ จนถึงวัฒนธรรมล้านช้าง ซึ่งหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ แสดงให้เห็นพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของ ภูพระบาทได้เป็นอย่างดี          วัฒนธรรมล้านช้างปรากฏขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ศูนย์กลางของวัฒนธรรมอยู่ที่เมืองเชียงดงเชียงทอง หรือหลวงพระบาง โดยมีแม่น้ำคานไหลสู่แม่น้ำโขงและมีพูสี (ภูศรี) เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองตามคติศูนย์กลางจักรวาล ซึ่งนิยมสร้างพระธาตุเจดีย์บนยอดเขา ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาดินแดนของล้านนา สุโขทัย อยุธยา และล้านช้าง มีการนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน สำหรับอาณาจักรล้านช้างนั้นพงศาวดารล้านช้างได้กล่าวว่า พระยาฟ้างุ้มลี้ภัยไปยังอินทปัตต์นคร (พระนครหลวงของกัมพูชา) และกลับมาพร้อมพระมหาเถรปาสมันต์ โดยอัญเชิญพระบางพระพุทธรูปองค์สำคัญมาด้วย และได้ประดิษฐานไว้ที่เมืองเวียงคำ จนถึงรัชกาลพระยาวิชุนราชจึงอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงดงเชียองทอง นับเป็นจุดเริ่มต้นของพุทธศาสนานิกายเถรวาทในอาณาจักรล้านช้าง          ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 สมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาราช ได้มีการติดต่อทางพุทธศาสนาครั้งสำคัญระหว่างล้านช้างและล้านนา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านภาษา อักษร และงานศิลปกรรมทางศาสนา เกิดการสร้าง ปฏิสังขรณ์วัด และพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วัดเชียงทอง เมืองหลวง พระบาง พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย และพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม          ในรัชกาลของพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชถือเป็นยุคทองของล้านช้าง บ้านเมืองมีความสงบสุข และมีความเจริญทางพุทธศาสนาอย่างมาก มีการสร้างศาสนสถานและพระพุทธรูป รวมทั้งมีการแต่งวรรณคดีทางศาสนาคือ อุรังคธาตุนิทาน ภายหลังพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์ บ้านเมืองเกิดความแตกแยกกลายเป็นสามนครรัฐ คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก ระยะนี้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย จากนั้นเมื่อกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรล้านช้างคือ เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยพำนักในกรุงเทพฯ และกลับไปครองนครเวียงจันทน์ ส่งผลให้ศิลปกรรมของวัฒนธรรมล้านช้างในยุคนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ ต่อมาเจ้าอนุวงศ์เกิดความขัดแย้งกับราชสำนักในกรุงเทพฯ จนเกิดสงครามยืดเยื้อ ท้ายที่สุดเจ้าอนุวงศ์ถูกสำเร็จโทษ ส่วนเมืองเวียงจันทน์ได้ถูกทำลายลง ถือเป็นการสิ้นสุดลงของสมัยล้านช้าง โดยภูพระบาทได้พบหลักฐานการเข้ามาใช้พื้นที่ของผู้คนในวัฒนธรรมล้านช้าง 3 แห่ง ดังนี้           1. ถ้ำช้าง มีลักษณะเป็นเพิงหินขนาดใหญ่ 2 ก้อนซ้อนกัน ตั้งอยู่บนลานพื้นหินที่ยกตัวสูงขึ้น โดยพบภาพจิตรกรรมฝาผนังทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวถ้ำ เขียนสีแดงเป็นลวดลายช้าง ลายเส้นดูอ่อนช้อย สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงวัฒนธรรมล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 23          2. เจดีย์ร้าง ผู้คนในท้องถิ่นเรียกเจดีย์ดังกล่าวว่า อูปโมงค์ ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมก่อผนังอิฐทึบ 3 ด้าน มีประตูทางเข้า 1 ด้าน ตั้งอยู่บนลานหิน สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท รูปแบบของอาคารคล้ายคลึงกับอูบมุง มาจากคำว่าอุโมงค์ ในศิลปะล้านช้างที่มักก่อหลังคาเป็นทรงจั่ว และมีการประดับหลังคาด้วยช่อฟ้าปราสาทกลางหลังคา และลักษณะดังกล่าวยังคล้ายคลึงกับเจดีย์ครอบพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทบัวบานอีกด้วย รูปแบบเช่นนี้มีลักษณะเป็นคันธกุฎี หรือกุฎิส่วนพระองค์ของพระพุทธเจ้า ถูกระบุในวินัยว่าเป็นสถานที่สำราญพระสรีระของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ จึงสร้างให้พอดีกับพระพุทธรูปองค์เดียว           3. วัดพระพุทธบาทบัวบก ตามประวัติว่าแต่เดิมมีอุบมง (มณฑป) ขนาดเล็กสร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2463 พระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ได้ธุดงค์มาพบจึงได้ปฏิสังขรณ์สร้างพระธาตุครอบใหม่ดังปรากฏในปัจจุบัน โดยเสร็จสิ้นราวพ.ศ. 2479 ซึ่งนำรูปแบบทางศิลปกรรมมาจากองค์พระธาตุพนม คือ เป็นพระธาตุทรงเหลี่ยมฐานกว้างด้านละ 8.50 เมตร สูงประมาณ 45 เมตร ส่วนฐานชั้นล่างก่อเป็นห้อง สามารถเข้าไปนมัสการรอยพระพุทธบาทได้ ส่วนยอดพระธาตุทรงบัวเหลี่ยมสูงเพรียว ประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น ในส่วนยอดประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบในรอยพระพุทธบาทเดิม          จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมล้านช้างมีความสำคัญต่อพื้นที่ภูพระบาทอย่างมาก ดังปรากฏในรูปแบบของภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ รวมถึงงานศิลปกรรมอย่างเจดีย์ และพระธาตุที่สะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมในสมัยวัฒนธรรมล้านช้างบนพื้นที่ภูพระบาทได้เป็นอย่างดี---------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวนิชา คำสิงห์ ผู้ช่วยนักโบราณคดีอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ภาพโดย นายจักรชัย พรหมวิชัย นายช่างศิลปกรรมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท--------------------------------------------------------บรรณานุกรม กรมศิลปากร, ตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ อ.ต. หลวงประชุม บรรณสาร (พิณ เดชะคุปต์) วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2483 ณ สุสานวัดมกุฎกษัตริยาราม , 2483. จักรพันธ์ เพ็งประไพ, การสำรวจสภาพปัจจุบันของแหล่งโบราณคดีและภาพเขียนสีในเขตอุทยาน ประวัติศาสตร์ภูพระบาท (เอกสารประกอบการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ, มปป). ประภัสสร์ ชูวิเชียร, ศิลปะลาว (กรุงเทพฯ: มติชน, 2557). สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, ลำดับกษัตริย์ลาว (กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545).


องค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เรื่อง เครื่องถ้วยชิ้นเด่น ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : โถลายเขียนสี----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร https://web.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum/posts/4734908723302182


        ก้าวเข้าสู่วาระ ๑๕๐ ปีชาตกาลเจ้าดารารัศมี พระธิดาเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ และพระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับวันที่ ๒๖ สิงหาคม วันนี้ เพจคลังกลางฯ ขอนำเสนอเกี่ยวกับคุณูปการของพระองค์ด้านศิลปวัฒนธรรม รวมถึงแสดงตัวอย่างผ้าที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ที่สำคัญ คือ “ลุนตยา”         ผ้าลุนตยาอะฉิก เป็นผ้าที่ได้รับความนิยมในสังคมล้านนา สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องแต่งกายชนชั้นสูงของราชสำนักพม่า เป็นผ้าทอร้อยกระสวย ลักษณะเป็นลายคลื่นซ้อนกันเจ็ดชั้น แฝงคติสัญลักษณ์จักรวาลทางพุทธศาสนา คือเขาสัตตบริภัณฑ์และห้วงมหาสมุทรล้อมรอบเขาพระสุเมรุ โดยชาวล้านนานิยมนำมาเย็บต่อผ้าเชิงซิ่นตีนจก อันเป็นผ้าทออัตลักษณ์ภาคเหนือ สำหรับใช้นุ่งแบบกรอมเท้า ทั้งนี้ นอกจากนิยมใช้ในกลุ่มชนชั้นสูงแล้ว ยังถูกนำมาใช้ประกอบการฟ้อนรำพื้นเมือง ดังเมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๖๙ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงได้ประดิษฐ์ฟ้อนขึ้นใหม่ให้แตกต่างไปจากการฟ้อนของล้านนา คือ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา หมายถึงการเริงระบำรำฟ้อนในวิมานพระอินทร์ โดยดัดแปลงท่าฟ้อนร่วมกับครูชาวพม่า จนกลายเป็นลีลาการฟ้อนที่มีการแต่งกายอย่างพม่า นุ่งผ้าลุนตยาและใช้ผ้าคล้องคอประกอบการแสดง         ทั้งนี้ ภายในห้องคลังผ้าของคลังกลางฯ ยังมีตัวอย่างผ้านุ่งลุนตยา ปรากฏอยู่บนผ้าปักกาละกัต (Kalaga) หรือ ကန့်လန့်ကာ ในภาษาพม่า หมายถึงม่าน ซึ่งนิยมใช้เป็นฉากสำหรับแขวนผนัง ถือเป็นหนึ่งในงานประณีตศิลป์ของราชสำนักพม่า ผ่านการสร้างสรรค์ชั้นสูงด้วยเทคนิคการปักทองเรียกว่า ရွှေချည်ထို (อ่านว่า Shwe Che Hto) หรือเทคนิคด้ายปักทอง โดยช่างผู้สร้างผลงานจะต้องมีความรู้และชำนาญด้านการผูกลาย ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เข็มปักผ้า เพ่งสมาธิในการยึดตรึงวัสดุแต่ละส่วนอย่างละเอียดจนได้เป็นกาละกัตขนาดใหญ่ ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าวมีหลักฐานว่ามีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยปยู และเป็นที่นิยมสูงสุดช่วงราชวงศ์คองบอง อันมีศูนย์กลางของช่างฝีมือดีอยู่ในบริเวณเมืองมัณฑะเลย์          โดยลักษณะของผ้าปักนี้ มักปักลายด้วยด้ายสีทอง (ดิ้น) และเส้นไหม มีการบุลายดุนนูน ตกแต่งด้วยลูกปัด มุก เลื่อม กระจก หรือประดับอัญมณี โดยผ้ากำมะหยี่สำหรับปูพื้นด้านหลัง มักจะเป็นผ้าสีแดงหรือสีดำเพื่อขับเน้นลวดลาย หรือฉากหลังที่วิจิตรงดงาม นิยมปักเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก พระราชพิธี และลวดลายมงคล โดยแสดงฐานันดรศักดิ์ของบุคคลบนลวดลายผ้า หมายถึงเทวดาและชนชั้นสูง ทั้งนี้ ผ้าปักทองยังเป็นส่วนหนึ่งของศิราภรณ์และพัสตราภรณ์ของราชสำนัก ทั้งปรากฏในการทำชุดหุ่นเชิดของพม่า ซึ่งผ้าปักดังกล่าวก็ยังคงได้รับความนิยมในรูปแบบสินค้าของที่ระลึกของเมียนมาร์ รวมถึงภาคเหนือของไทยอีกด้วย         ภาพที่ ๑ (ซ้าย) การแสดงฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา (ขวา) พระราชชายา เจ้าดารารัศมี         ภาพที่ ๒ (ซ้าย) ๑. ผ้าปักพุทธประวัติ ตอน ประสูติ / ๒. ผ้าปักพุทธประวัติ ตอน ออกมหาภิเนษกรมณ์ (ขวา) เจ้าฟ้าเสือห่มฟ้าเมืองแสนหวี และเจ้านางยุ่นจี่ ด้านหลังเป็นผ้าปัก “กาละกัต” ขนาดใหญ่แขวนอยู่ (ขอบคุณภาพถ่ายเก่าจาก หอภาพถ่ายล้านนา : Chiang Mai House of Photography by Associate Professor Kanta Poonpipat Foundation)         ภาพที่ ๓ (ซ้าย) ๑. ผ้าปักลายพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ / ๒ - ๓ ผ้าปักเรื่องสุวรรณสามชาดก             เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ และพลอยไพลิน ปุราทะกา ผู้ช่วยภัณฑารักษ์/ เทคนิคภาพโดย  พลอยไพลิน ปุราทะกา ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


          วันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ วัดชุมพลนิกายาราม ราชวรวิหาร  ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธี            ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้กรมศิลปากร ตามที่ขอพระราชทานไปทอดถวายที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดชุมพลนิกายาราม ราชวรวิหาร  ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวันศุกร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๙.๐๐ น.กรมศิลปากร ได้จัดการแสดงโขน เรื่อง “รามเกียรติ์ ตอนศึก โรมคัลทศกัณฐ์พ่าย” สมโภชองค์พระกฐิน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ ชื่นชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย ณ โรงเรียนวัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร           และถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ในวันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน  ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. พร้อมทั้งบริจาคปัจจัยนำเข้าสมทบถวายบำรุง พระอารามหลวง ณ วัดชุมพลนิกายาราม ราชวรวิหาร รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๒,๗๗๗,๕๕๘.๕๐ บาท (สองล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยห้าสิบแปดบาทห้าสิบสตางค์) นอกจากนี้    กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์หนังสือ ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ ๒๘ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนังสือที่ระลึกในโอกาสที่กรมศิลปากรนำผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย และเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชนผู้ร่วมกิจกรรมกับกรมศิลปากร มีเนื้อหาว่าด้วยความเป็นมาของวัดชุมพลนิกายาราม ราชวรวิหาร ประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานที่สำคัญ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนภารกิจของกรมศิลปากรในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นความรู้ให้ผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม           กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงประเภทหนึ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้แก่หน่วยงานราชการ องค์กร คณะบุคคล หรือบุคคลผู้ประสงค์ขอรับพระราชทานเชิญไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง ทั้งกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดในช่วงกฐินกาล โดยการทอดกฐิน เป็นประเพณีสำคัญทางศาสนาที่พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติและสืบทอดมายาวนาน ช่วงเวลาในการทอดกฐินกำหนดระยะเวลา ๑ เดือน หลังวันออกพรรษา ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี ถือเป็นการทำนุบำรุงสืบทอดพระพุทธศาสนา และบำเพ็ญกุศลอันยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดอานิสงส์ทั้งพระสงฆ์และฆราวาส             สำหรับวัดชุมพลนิกายาราม เดิมชื่อว่าวัดชุมพล สันนิษฐานว่าสร้างใน พ.ศ. ๒๑๗๕  สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ในบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระบรมราชชนนี เพื่อเป็นพระอารามสำหรับพระราชวังบางปะอิน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผาติกรรมพระนารายณ์ราชนิเวศน์ พร้อมกับปฏิสังขรณ์วัดเสนาสนาราม วัดกวิศราราม และวัดชุมพล พร้อมทั้งพระราชทานนามพระอารามเสียใหม่ว่า “วัดชุมพลนิกายาราม” และอัญเชิญพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ประดิษฐาน ณ หน้าบันพระอุโบสถ หน้าบันวิหาร และเบื้องหลังพระประธานในพระอุโบสถ ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดระเบียบพระอารามหลวงเสียใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ วัดชุมพลนิกายารามถูกจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดชุมพลนิกายารามเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๘  และได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน วัดชุมพลนิกายารามและสะพานข้ามคลองบ้านเลน จำนวน ๒๐ไร่ ๒ งาน ๙๑ ตารางวา เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗


          “กู่พระโกนา” โบราณสถานสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ภายในวัดกู่พระโกนา ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นปราสาทในวัฒนธรรมขอมโบราณประกอบด้วยปราสาท ๓ องค์ เรียงกันในแนวเหนือ – ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เฉพาะปราสาทประธานองค์กลางที่ปรากฏร่องรอยของมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า มีบรรณาลัยหรือที่เก็บคัมภีร์สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ๑ หลัง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วสร้างด้วยศิลาแลง มีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก            กู่พระโกนามีภาพสลักประดับตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทงดงามน่าชม เช่น ลายบัวแปดกลีบที่อกเลาประตูหลอก ลายก้านขด / ลายก้านต่อดอกที่เสาซุ้มประตูปราสาท เป็นต้น ถึงแม้โบราณสถานแห่งนี้จะพังทลายตามกาลเวลาและมีการซ่อมแซมในสมัยหลัง แต่ยังมีภาพสลักเล่าเรื่องที่งดงามปรากฏอยู่ ได้แก่ “ภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์” หรือวิษณุอนัตศายินปัทมนาภะ ซึ่งเป็นเรื่องราวการบรรทมของพระวิษณุเหนือพญาอนันตนาคราชเพื่อสร้างโลก ณ เกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนมอันเป็นที่ประทับของพระองค์ โดยตามความเชื่อของฮินดูกล่าวว่า เมื่อโลกถึงกลียุคพระศิวะจะทำลายล้างโลก จากนั้นพระวิษณุ (พระนารายณ์) จะสร้างโลกใหม่โดยกระทำโยคะนิทราจนบังเกิดเป็นดอกบัวทองผุดจากพระนาภี (สะดือ) ภายในดอกบัวมีพระพรหมประทับอยู่และจะทำหน้าที่สร้างโลกต่อไป            ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่กู่พระโกนาพบบนทับหลังด้านทิศตะวันออกของปราสาทองค์เหนือ ซึ่งปัจจุบันปราสาทดังกล่าวมีการสร้างอาคารครอบไว้ ทับหลังของปราสาทองค์นี้มีความพิเศษพบได้น้อยมากในดินแดนไทย กล่าวคือ เป็นทับหลังซ้อนกัน ๒ ชิ้น สลักแยกกัน ชิ้นที่ ๑ อยู่ด้านล่างมีขนาดใหญ่ สลักภาพบุคคลที่กึ่งกลางทับหลังซึ่งลบเลือนไปแล้วแต่ยังปรากฏท่อนพวงมาลัย / พวงอุบะ และลายพรรณพฤกษา ชิ้นที่ ๒ อยู่ด้านบนมีขนาดเล็กกว่าสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ โดยลักษณะทับหลังที่มี ๒ ชิ้น ซ้อนกันแบบนี้นิยมในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ แต่พบว่าทับหลังปราสาทบางองค์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ก็ยังคงปรากฏอยู่ ดังเช่นปราสาทองค์เหนือที่กู่พระโกณาแห่งนี้           ทับหลังชิ้นที่ ๒ ปราสาทองค์เหนือดังกล่าว สลักภาพพระวิษณุ (พระนารายณ์) ๒ กร พระกรซ้ายถือดอกบัว พระกรขวาหนุนพระเศียรขณะบรรทมตะแคงขวาเหนือพญาอนันตนาคราช ๕ เศียร (ช่างสลักให้เห็นเพียง ๓ เศียร อีก ๒ เศียรถูกบังไว้) ที่พระนาภี (สะดือ) มีก้านดอกบัวผุดออกมาและมีพระพรหมประทับอยู่บนนั้น แต่น่าเสียดายที่ภาพสลักส่วนนี้ชำรุด บริเวณปลายพระบาทของพระวิษณุมีพระลักษมีชายาของพระองค์ประทับอยู่ นอกจากนี้ที่ด้านปลายทั้ง ๒ ข้าง สลักรูปหงส์ข้างละ ๒ ตัวอีกด้วย จากลักษณะของนาคเศียรโล้นและรูปแบบการแต่งกายของพระวิษณุ รวมถึงรูปแบบของทับหลังชิ้นที่ ๑ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ศิลปะแบบบาปวน ร่วมสมัยกับปราสาทสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ ปราสาทสด๊กก็อกธม จ.สระแก้ว ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์           พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ณ ปราสาทกู่พระโกนานี้ นับเป็นทับหลังและภาพสลักที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย อีกทั้งพบเพียงแห่งเดียวในจังหวัดร้อยเอ็ด มีความสมบูรณ์งดงามด้วยรูปแบบศิลปะ และยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อครั้งแรกสร้าง มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างยิ่ง ทั้งนี้กรมศิลปากรเล็งเห็นถึงความสำคัญ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกู่พระโกนาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ เนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ ๒ งาน ๑๖ ตารางวา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติสืบไป ------------------------------------------------------- ผู้เรียบเรียง: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ------------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง:  กษมา เกาไศยานนท์. “รูปเคารพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในประเทศไทย.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๘. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่โบราณสถานวัดกู่พระโกนา. อุบลราชธานี: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี, ๒๕๔๕. (เอกสารอัดสำเนา) อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. ------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล: สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี https://www.facebook.com/835594323191791/posts/pfbid0eWSusfL7zKKPXf4dBPAgcXKjDR3zk6nwNSnNm38Gz1zKvY9KdSCqXAFQJiYEdVFjl/?d=n -------------------------------------------------------   *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร


แนะนำหนังสือให้อ่าน ปรีชา พันธเสน. คู่มือสอบชุดวิชา กฎ ข้อบังคับ และระเบียบ กองทัพเรือ และกระทรวงกลาโหม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล, 2562. 376 หน้า. ภาพประกอบ. 300 บาท. รวบรวมกฎ ข้อบังคับ และระเบียบของกองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมสอบเลื่อนฐานะนายทหารประทวน สอบเลื่อนยศนายทหารสัญญาบัตร และผู้ที่ต้องการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ของกองทัพเรือ ติดตามอ่านได้ในเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ 343 ป467ค (ห้องหนังสือทั่วไป1)


เดือนนี้แอดฯจะพาทุกท่านมารู้จักกับสัตว์ผสมหน้าตาประหลาด ปนเท่ ปนน่ารัก นามว่า วยาล หรือยาฬ ฮั่นแน่ !! เชื่อว่าหลายท่านอาจจะยังไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อของเจ้าสัตว์ตัวนี้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักมันให้มากขึ้น อย่าแอบสับสนกับสิงห์นะ อีกไม่กี่วันก็จะเข้าสู่ปีใหม่แล้ว แอดฯขออวยพรให้ปีใหม่ 2566 หรือ 2023 เป็นปีที่ดีของมิตรรักแฟนเพจทุกท่าน คิดสิ่งใดก็ขอให้สมหวังทุกประการเลย ปล. อุทยานฯศรีเทพของเราเปิดให้บริการทุกวัน ไม่มีวันหยุดจ้าา และในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 65 - 2 ม.ค. 66 เที่ยวชมอุทยานฯ ฟรี!! ทั้งชาวไทยและต่างชาติ และในราวปลายเดือน ม.ค.2566 เตรียมพับกบ เอ๊ย!! พบกับ!! ห้องนิทรรศการโฉมใหม่ พร้อมด้วยโบราณวัตถุที่คุณอาจจะยังไม่เคยเห็น แล้วพบกันน้าาาา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 138/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 173/6ก เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.504/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 168  (216-223) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อเรื่อง                                        สพ.บ.424/7 พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ) สพ.บ.                                          424/7 ประเภทวัดุ/มีเดีย                            คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                                      พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                                  52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม. หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนา                                                  เทศน์มหาชาติ บทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาต ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี