ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
องค์ความรู้ : สำนักการสังคีต
เรื่อง ดนตรีในงานสมโภชพระทวารชั้นใน
ภาพที่ ๑ “ประตูสนามราชกิจ” หรือ “ประตูย่ำค่ำ” ลักษณะประตูเป็นยอดปรางค์
บานประตู ๒ ตอน เปิดเวลา ๐๖.๐๐ น. และปิดเวลา ๑๘.๐๐ น. จึงเป็นเหตุให้เรียกว่าประตูย่ำค่ำ
เวลาจัดงานสมโภชพระทวารชั้นในจะเริ่มต้นสมโภชจากประตูนี้
ที่มาภาพ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
“พระทวาร” เป็นคำที่ใช้เรียก “ประตู” ในพระบรมมหาราชวัง จากคติของไทยที่มีมาแต่โบราณสมัยนั้น เชื่อกันว่าทุกประตูในพระบรมมหาราชวังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาผู้รักษาประตู คอยพิทักษ์รักษาอยู่ เพื่อป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาสู่พื้นที่ในพระบรมมหาราชวังได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีธรรมเนียมการแขวนเครื่องแขวนดอกไม้สดต่าง ๆ ตามพระทวาร พระบัญชรและพระแกลเพื่อบูชาเทวดาที่รักษาอยู่ สำหรับพระทวารชั้นในซึ่งเป็นประตูเข้าออกพื้นที่เขตพระราชฐานชั้นในของพระบรมมหาราชวังนั้น คนในวังต่างให้ความเคารพเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากธรรมเนียมที่ชาววัง และพนักงานในเขตพระราชฐานชั้นในทุกคนต่างยึดถือกันมาอย่างเคร่งครัด คือ “การไม่เหยียบธรณีประตูวัง” กล่าวคือ ประตูหรือพระทวารชั้นในของพระบรมมหาราชวัง จะมีประตูบานใหญ่ ๒ บาน และในประตูบานใหญ่นั้น จะมีประตูเล็กเปิดปิดได้อีกบานหนึ่ง ซึ่งโดยมากจะปิดประตูบานใหญ่ ไว้เสมอและเปิดเฉพาะประตูบานเล็กสำหรับให้เป็นทางเข้าออก แต่ด้วยเหตุที่ประตูบานเล็กอยู่ในประตูบานใหญ่จึงมีธรณีประตู ซึ่งธรณีประตูนี้ผู้ที่จะเข้าออกต้องเดินก้าวข้ามให้พ้นและพึงระวังไม่เหยียบธรณีประตูเป็นอันขาด หากผู้ใดกระทำผิดพลาดหรือเผลอเหยียบธรณีประตูเข้า จะถูกโขลนหรือเจ้าหน้าที่ผู้รักษาประตูวังตำหนิและในบางครั้งอาจสั่งให้กราบธรณีประตูเพื่อเป็นขอขมาโทษทันที
วรรณกรรม เรื่องสี่แผ่นดิน บทประพันธ์ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้บรรยายถึงธรรมเนียมการเดินเข้าประตูวังและบรรยากาศของประตูวังโดยรอบ ในฉากที่แม่แช่มกำลังพาแม่พลอยเข้าวังเป็นครั้งแรก ณ ประตูศรีสุดาวงศ์ ซึ่งเป็นประตูทางเข้าออกของผู้คนในพระราชสำนักฝ่ายใน ดังนี้
เวลาเข้าประตูละก็ ต้องข้ามธรณีประตูให้พ้นเทียวนะ อย่าไปเหยียบหรือเอาเท้าไปเเตะเข้า เดี๋ยวจะเกิดเรื่อง...ธรณีประตูนั้น ทำด้วยไม้เหลี่ยมค่อนข้างใหญ่ แต่ไม่ใหญ่ถึงกับจะข้ามไม่พ้น มีรอยคนมาปิดทองไว้บ้างเป็นระยะ ๆ และใกล้ ๆ ขอบประตูนั้น ก็มีธูปปักอยู่ที่ริมขอบประตู (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, ๒๕๕๔: ๑๓)
แต่แล้วในขณะที่แม่พลอยกำลังเดินเข้าประตูวัง ได้เกิดความประหม่า จึงเผลอเหยียบธรณีประตูวังเข้า โขลนที่เฝ้าประตูวังจึงเรียกให้มารับโทษ โดยการกราบไปที่ธรณีประตูวังเพื่อเป็นการ ขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาประตูวัง จากข้อมูลข้างต้นจะให้เห็นได้ว่า “ประตูวัง” ถือเป็นสิ่งที่ชาววังให้ความเคารพ อีกทั้งยังมีการปิดทองและปักธูปที่บริเวณธรณีประตูเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาประตูวังอีกด้วย
ภาพที่ ๒ “ประตูราชสำราญ” เป็นประตูที่ใช้ เข้า – ออก เขตพระราชฐานชั้นใน
จากภาพจะสังเกตเห็นร่องรอยปรากฏที่บริเวณบานประตู
สันนิษฐานว่าเป็นรอยการปิดทองคำเปลวเพื่อสักการะบูชาเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาประตูวัง
ที่มาภาพ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ภาพที่ ๓ “ประตูศรีสุดาวงศ์” เป็นประตูที่ใช้ เข้า – ออก เขตพระราชฐานชั้นใน
ที่ผนังบริเวณด้านข้างประตู มีหิ้งเล็กติดอยู่ เวลาชาววังและพนักงานในเขตพระราชฐานชั้นใน
เดินเข้า – ออก จะพนมมือไหว้ที่หิ้งดังกล่าว
ที่มาภาพ : ธำมรงค์ บุญราช
นอกจากข้อปฏิบัติเรื่องการข้ามธรณีประตูวังแล้ว ยังมีธรรมเนียมอีกประการ คือ การถอดรองเท้าก่อนข้ามธรณีประตูวัง สำหรับธรรมเนียมนี้ เห็นจะปฏิบัติกันแต่สามัญชนเท่านั้น หากเป็น พระบรมวงศานุวงศ์ หรือพระอนุวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าเป็นต้นไป ไม่ต้องถอดรองเท้าก่อนก้าวข้ามธรณีประตู ดังที่ ท่านหญิงฤดีวรวรรณ วรวรรณ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ บันทึกท่านหญิง ม.จ. ฤดีวรวรรณ ซึ่งกล่าวถึงตอนที่ท่านหญิงเสด็จเข้าไปอยู่ในความดูแลของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี ในพระบรมมหาราชวัง ความว่า
“อย่าเดินเหยียบธรณีนั้น” หม่อมแม่เตือนขึ้นขณะเมื่อเรากำลังจะเดินผ่านประตูซึ่งมีขอบสูงขึ้นมาจากพื้น “ต้องแน่ใจว่าข้ามพ้นนะจ๊ะ”... “ทำไมจึงเหยียบไม่ได้คะ” ฉันถามอย่างไม่สนใจนัก “เพราะว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องพระบรมมหาราชวังอยู่ที่นั่น” คำพูดของหม่อมแม่ทำให้ฉันจ้องมองไปที่ธรณีประตูนั้น และพยายามก้าวขาสั้น ๆ ของฉันออก ๆ ไปให้กว้างมากที่สุด แต่ก็ยังไม่พ้นดีนัก “สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะลงโทษหรือเปล่าจ๊ะ” ฉันถามในขณะที่หันกลับไปมองหน้า หม่อมแม่ หม่อมแม่ยิ้ม “ไม่หรอก ถ้าลูกไหว้คำนับสวย ๆ” หม่อมแม่ให้ความมั่นใจ ฉันรีบพนมมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันและก้มลงกราบอย่างงาม ๆ เมื่อฉันมองไปที่หม่อมแม่ เห็นท่านถอดรองเท้าก่อนก้าวข้ามธรณีประตู เมื่อข้ามพ้นแล้วจึงสวมใส่รองเท้าใหม่อีกครั้ง “ทำไมต้องทำอย่างนั้นจ๊ะ ในเมื่อลูกไม่ต้องทำ” หม่อมแม่ยิ้มและให้ความกระจ่างแก่ฉัน “ลูกเป็นหม่อมเจ้าหญิง ข้ามธรณีได้โดยไม่จำเป็นต้องถอดรองเท้า คนสามัญทำอย่างนั้นไม่ได้” (ฤดีวรวรรณ วรวรรณ, ๒๕๔๘: ๒๐-๒๑)
ปัจจุบันธรรมเนียมการให้สามัญชนถอดรองเท้าก่อนก้าวข้ามธรณีประตูพระบรมมหาราชวังไม่ปรากฏอีกแล้ว คงไว้แต่ธรรมเนียมการก้าวข้ามธรณีประตูให้พ้นเท่านั้น จากความเชื่อและธรรมเนียมเกี่ยวกับการให้ความเคารพเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาประตูวังนี้ ส่งผลให้เกิดประเพณีวัง คือ “การสมโภชพระทวารชั้นใน” ซึ่งในอดีตบรรดาโขลนจะจัดการสมโภชเป็นประจำทุกปี ดังที่ เกรียงไกร วิศวามิตร์ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ เรื่องเล่าในวัง ความว่า “ประตูวังนี้เป็นที่นับถือของโขลนมีการสมโภชกันทุกปี” (เกรียงไกร วิศวามิตร์, ๒๕๕๐: ๕๙) นอกจากนี้ มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ยังได้อธิบายถึงพิธีสมโภชพระทวาร ไว้ในหนังสือการบรรเลงปี่พาทย์ในงานพระราชพิธี ความว่า
พระทวารอันเป็นเขตพระราชฐานชั้นในนั้น ในสมัยโบราณ ทุก ๆ ปี จะต้องมีการสมโภชทั่วทุกพระทวาร วิธีสมโภชก็เสมือนการสังเวยเทพยดาอารักษ์ผู้รักษาพระทวารนั้น (มนตรี ตราโมท, ๒๕๐๑: ๖๙ - ๗๐)
การสมโภชพระทวารชั้นในแต่เดิมจะต้องมีการนำวงดนตรีไทย ได้แก่ “วงปี่พาทย์” เข้าไปบรรเลงเพลง “สาธุการ” เพลงหน้าพาทย์ที่หมายถึงการเคารพบูชาพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบการสมโภชนั้นด้วย โดยวงปี่พาทย์จะต้องตามไปบรรเลงในทุก ๆ ประตูในเขตพระราชฐานชั้นใน เริ่มตั้งแต่ประตูสนามราชกิจ หรือที่ชาววังเรียกกันว่า “ประตูย่ำค่ำ” ดังที่ มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้อธิบายถึงการบรรเลงดนตรีในพิธีสมโภชพระทวารชั้นใน ความว่า
การสมโภชนั้น กระทำทีละประตู ขึ้นต้นด้วยประตูสนามราชกิจข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เวียนไปโดยรอบ วงปี่พาทย์ก็จะต้องคอยตามไปบรรเลงทุก ๆ ประตู การบรรเลงใช้เพลงสาธุการครั้งเดียว เหมือนกันทุกประตู (มนตรี ตราโมท, ๒๕๐๑: ๖๙ - ๗๐)
ภาพที่ ๔ “ประตูสนามราชกิจ” หรือ “ประตูย่ำค่ำ”
เป็นประตูใช้สำหรับ เข้า - ออก เขตพระราชฐานชั้นใน อยู่ระหว่างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
กับกำแพงแก้วของหมู่พระมหามณเฑียรบริเวณพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง
เวลาจัดงานสมโภชพระทวารชั้นใน เริ่มต้นสมโภชจากประตูนี้
ที่มาภาพ : ธำมรงค์ บุญราช
ปัจจุบันงานสมโภชพระทวารชั้นใน ยังคงมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายในจัดเครื่องบวงสรวงสังเวยทุกพระทวารพร้อมกันเป็นประจำทุกปี โดยจัดปีละหนึ่งครั้ง แต่ไม่ปรากฏการนำวงปี่พาทย์เข้าไปบรรเลงสมโภชเป็นประจำทุกปีเหมือนในอดีตอีกแล้ว แต่จากข้อมูลที่ผ่านมานั้น ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดและความเชื่อของคนไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตถึงเรื่องการนำเสียงของดนตรีมาใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อสมโภชบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยใช้เสียงของเพลงหน้าพาทย์เพื่อสื่อความหมายในพิธีกรรมและทำหน้าที่ประดุจบทสวดมนต์เพื่อบูชาเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ได้อัญเชิญมาในพิธีต่าง ๆ
ภาพที่ ๕ วงปี่พาทย์พิธีในพระราชพิธีสรงมูรธาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ตั้งวง ณ บริเวณประตูมังกรเล่นลม เขตพระราชฐานชั้นใน พระบรมมหาราชวัง
สันนิษฐานว่าการตั้งวงปี่พาทย์ในงานสมโภชพระทวารชั้นในในอดีตนั้น น่าจะตั้งในลักษณะเดียวกันนี้
ที่มาภาพ : ธำมรงค์ บุญราช
ภาพที่ ๖ ประตูพรหมโสภา ประตูพระบรมมหาราชวังชั้นใน อยู่ด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งจักรี
มหาปราสาท สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏ
วิทยมหาราช เป็นประตูยอดปรางค์ ใช้เป็นประตูทางเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันมิได้เปิดใช้
ที่มาภาพ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ภาพที่ ๗ ประตูดุสิตศาสดา ประตูพระบรมมหาราชวังชั้นใน เป็นประตูยอดปรางค์มีพรหมพักตร์
ที่มาภาพ : ธำมรงค์ บุญราช
ภาพที่ ๘ ประตูมังกรเล่นลม ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บริเวณถนนทรงบาตร
ลักษณะของประตูเป็นรูปเก๋งจีน ที่บานประตูเขียนภาพเทพธิดาจีนหรือนางกำนัล
ถือพานบูชาเครื่องดอกไม้ธูปเทียน
ที่มาภาพ : ธำมรงค์ บุญราช
ภาพที่ ๙ ประตูกลมเกลาตรู ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บริเวณถนนทรงบาตร
ลักษณะของประตูเป็นช่องวงกลม ที่บานประตูเขียนภาพทวารบาลจีนหรือเซี่ยวกาง
เทวดาผู้รักษาประตูซึ่งทำหน้าที่ป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาสู่พื้นที่นั้น ๆ ตามความเชื่อของจีน
ที่มาภาพ : ธำมรงค์ บุญราช
----------------------------------------------
บรรณานุกรม
เกรียงไกร วิศวามิตร์. เรื่องเล่าในวัง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นิวไวเต็ก จำกัด, ๒๕๕๐.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. สี่แผ่นดิน. เล่ม ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
2000, ๒๕๕๔.
มนตรี ตราโมท. การบรรเลงปี่พาทย์ในงานพระราชพิธี. พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบำรุงจิตรเจริญ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๑. ม.ป.ท., ๒๕๐๑.
ฤดีวรวรรณ วรวรรณ. บันทึกท่านหญิง ม.จ. หญิงฤดีวรวรรณ. แปลโดย พงษ์ลดา อิทธิเมฆินทร์.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, ๒๕๔๘.
------------------------------------------------
ผู้เขียน : ดร. ธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต
Wiang Nong Lom Culture Heritage Public Relations Media Project
Mae Chan District and Chiang Saen District, Chiang Rai Province
วันประถมศึกษาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน
เป็นวันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อการศึกษาของไทย ที่ได้ทรงวางรากฐานให้กับการศึกษาของชาติ เนื่องจากทั้งสองพระองค์ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประถมศึกษา และพระราชทานตราพระราช บัญญัติด้านการประถมศึกษาเอาไว้ ทำให้เกิดเสรีภาพทางการศึกษา และเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย จวบจนกระทั่งทุกวันนี้
การประถมศึกษาของไทยอาศัย บ้าน วัด วัง เป็นสถานศึกษามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย จนถึงสมัยรัตน โกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงริเริ่มวางรากฐานการประถมศึกษา ของไทยขึ้น โดยจัดตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2414 และตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรที่วัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. 2427 และขยายการศึกษาไปตามหัวเมืองต่างๆ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ได้ทรงรับภารกิจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา สืบเนื่องจากพระราชบิดา ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างในปี พ.ศ.2453 ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงให้จัดสร้างโรงเรียนเพาะช่างขึ้นในปี พ.ศ.2456 ทรงจัดตั้งโรงเรียนเบญจมราชาลัยเพื่อฝึกหัดครูในปี พ.ศ.2456 ทรงตั้งโรงเรียนพาณิชยการ เมื่อปีพ.ศ.2465
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ขึ้นเพื่อบังคับให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อให้เด็กทุกคนรู้หนังสือ จึงทรงตราพระราฃบัญญัติประถมศึกษาออกบังคับเป็นเขต ๆ ไป เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 เพื่อกำหนดให้เด็กที่มีอายุ 7-14 ปีบริบูรณ์ เข้าเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน นับเป็นการเริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษา โดยพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2464
ด้วยเหตุนี้กระทรวงศึกษาจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันประถมศึกษาแห่งชาติ และได้จัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติเป็นประจำมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2491-2508 ต่อมาโรงเรียนประถมศึกษาได้ถูกโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่นั้นมางานวันประถมศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วันศึกษาประชาบาล
ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2523 ได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาขึ้น จึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลกลับมาสังกัดคณะกรรมการการศึกษา การจัดงานวันศึกษาประชาบาลจึงสิ้นสุดลง และกลับมาจัดวันประถมศึกษาแห่งชาติขึ้นใหม่ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 วันประถมศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนจากวันที่ 1 ตุลาคม มาเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่พระองค์เป็นผู้วางรากฐานและสนับสนุนการประถมศึกษาอย่างดี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ๒๕๖๗ ในวันเสาร์ที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น มีกิจกรรมร่วมสนุกแจกของรางวัลมากมาย และชมนิทรรศการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แล้วรับของรางวัล
เนื่องในโอกาสที่เมืองโบราณศรีเทพได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ขอนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุจากเมืองศรีเทพที่เก็รักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ เรื่อง "์ศิวลึงค์จากปรางค์สองพี่น้อง เมืองโบราณศรีเทพ" ซึ่งจัดแสดงประกอบนิทรรศการตามรอยศรีเทพ เมืองมรดกโลก
...เรายังมีโบราณวัตถุจากเมืองศรีเทพอีกหลายชิ้น โปรดติดตามต่อไป...
องค์ความรู้ เรื่อง กุหลาบ...สัญลักษณ์แห่งความรัก
เรียบเรียง นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์
ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุทำให้เราทราบว่า การสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทางรถไฟนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการก่อสร้างที่ต้องบุกเบิกขนอุปกรณ์ก่อสร้างเข้าไปในพื้นที่ที่ไม่มีเส้นทางคมนาคมประเภทอื่นที่เหมาะสมนอกจากทางน้ำ ดังตัวอย่างการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือที่บริเวณเมืองพิจิตร ที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุชุด กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ดังนี้
เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 122 (พ.ศ. 2446) พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงษ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (พระยศและตำแหน่งในขณะนั้น – สะกดตามต้นฉบับ) ทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า ทรงได้รับรายงานจากเจ้ากรมรถไฟว่า การก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือซึ่งต้องขนส่งเครื่องเหล็กก่อสร้างไปทางเรือนั้นไม่สะดวก เนื่องจากติดแก่งสะพานหิน 2 แห่ง บริเวณใต้เมืองพิจิตรลงมา เจ้ากรมรถไฟเสนอให้ระเบิดศิลาใต้น้ำเป็นช่องเล็กๆ พอให้เรือสามารถแล่นผ่านไปได้ ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งกรมขุนนริศรานุวัดติวงษ์ทรงเห็นว่าการระเบิดศิลานี้จะเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะการก่อสร้างทางรถไฟเท่านั้น หากจะเป็นประโยชน์ต่อการสัญจรของประชาชนด้วย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น กรมรถไฟจะออกแต่ค่าแรง ส่วนค่าสิ่งของจะขอให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติโอนเงินเหลือจ่ายในกระทรวงโยธาธิการไปจ่าย เนื่องจากการบำรุงรักษาแม่น้ำลำคลองเป็นหน้าที่ของกระทรวงโยธาธิการที่ต้องทำอยู่แล้ว ซึ่งในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับว่า ทรงทราบเรื่องแล้ว และทรงเห็นว่าเป็นการดีควรจะระเบิด
หากพูดถึงการระเบิดหินในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อน อาจมีข้อสงสัยว่าจะระเบิดกันอย่างไร ใช้ระเบิดประเภทไหน แม้ว่าในเอกสารเรื่องนี้จะไม่ได้กล่าวถึงการดำเนินการระเบิดหินหลังจากที่มีพระราชหัตถเลขาแล้ว แต่ในเอกสารเรื่องเดียวกันนี้ได้ปรากฏหลักฐานการขออนุญาตสั่งเครื่องระเบิดของกรมรถไฟเพื่อใช้ในการสร้างรถไฟสายเหนือเมื่อเดือนสิงหาคม ร.ศ. 122 (ก่อนมีลายพระหัตถ์เรื่องขอระเบิดศิลาราว 2 เดือน) เครื่องระเบิดนี้ประกอบด้วย แก๊บดีโตเนเตอร์ (Blasting cap / Detonator) 25 หีบ หีบละ 10,000 ดอก ดินนาไมต์ (Dynamite) 200 หีบ หีบละ 50 ปอนด์ และฝักแค 50 ถัง ถังละ 250 ขด ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า การขออนุญาตสั่งเครื่องระเบิดจำนวนมากเช่นนี้ นอกเหนือจากการระเบิดหินเพื่อประโยชน์ในการวางรางรถไฟแล้ว เครื่องระเบิดส่วนหนึ่งอาจจะนำมาใช้ระเบิดหินในแม่น้ำด้วย
-------------------------------------------
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
-------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง:
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ร.5 ยธ. 5.9/17 เรื่อง ระเบิดแก่งสพานหินใต้เมืองพิจิตรเพื่อการรถไฟสายเหนือ [ 5 ส.ค. – 31 ต.ค. 122 ].
-------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล: เฟสบุ๊ก หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ พะเยา https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchiveshttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/pfbid02Tm14Y8xMd8Nzfdb9ewQ5A4AmMAGpWUbcyPMBX8TFnbjfod4vVnLmtWdvUTKa8wNVl
ประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ (The Standing Shiva) หรือ Golden Boy และประติมากรรมรูปสตรีพนมมือ (The Kneeling Female) เดินทางถึงประเทศไทยแล้วในเวลา 7.00 น. ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสภาพกล่อง ซึ่งอยู่ในกระบวนการทางศุลกากร โดยมี น.ส.นิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมตรวจสอบ
สำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง "นรสิงหาวตาร" เนื่องในงานนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” วิทยากรโดย อาจารย์สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างประณีตศิลป์ ครูช่างผู้สร้างสรรค์ผลงานเฉลิมพระเกียรติอย่างมากมาย และนางประภาพร ตราชูชาติ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (วิจัยและพัฒนาศิลปกรรม) ผู้ดำเนินรายการ พบกับการพูดคุยในเรื่องราวเกี่ยวกับ "นรสิงหาวตาร" คืออะไร? ตำนานอวตาร รูปแบบทางด้านศิลปกรรม และเทคนิคงานหล่อแบบโบราณ ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 เวลา 11.00 น. ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม
งานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” จัดระหว่างวันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม ภายในงานพบกับการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ การสาธิตงานศิลปกรรม การเสวนาทางวิชาการ การทำกิจกรรม Workshop และ Art Market ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องจอง ไม่ต้องสำรองที่นั่ง ติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทางเฟซบุ๊กเพจ “สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร” หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2482 1362
เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีรหัสเอกสาร ภ หจภ (๓) กษ ๑.๑/๘