ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ค/1-42  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.216/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 111 (159-169) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.357/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 138  (402-410) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังคปริจเฉท อภิธรรมปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๐๔ (๑๖๐ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นเอก]        พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับเจ้าจอมมารดาเขียน (สกุลเดิม สิริวันต์) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ มีพระโอรส-ธิดา ๓๕ พระองค์ สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๔ พระชันษา ๗๐ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล วรวรรณ ณ อยุธยา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๗๐.)    Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๒๕ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖   เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


ชื่อผู้แต่ง       ฉันท์ ขำวิไล ชื่อเรื่อง          กาพย์เห่เรือ พุทธประทีปบูชา พยุหยาตรา ทางชลมารค ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   ธนบุรี สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์         ๒๕๑๕ จำนวนหน้า     ๘๒ หน้า หมายเหตุ       อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายเส็ง เหรียญสุวรรณ และนางลม้าย บุรณศิริ ณ เมรุวัดธาตุทอง ถนนสุขุมวิท วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕                       หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงกาพย์เห่เรือ และหลักทางพระพุทธศาสนาในวันวิสาขบูชา รวมถึงบทวรรณคดี เนื้อหาประกอบด้วย ประสูติ, ตรัสรู้, นิพพาน, พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, พระรัตนตรัย, กาพย์เห่เรือ, ขบวนแห่ทางชลมารค, ชมดอกไม้, ชมนก, ชมปลา, บทเฉลิมพระเกียรติ, คำร้องวิสาขบูชา และนิราศพระอภัยมณี


ชื่อเรื่อง : พระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม 2513 - กันยายน 2514 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : สำนักราชเลขาธิการ จำนวนหน้า : 298 หน้า สาระสังเขป : สำนักราชเลขาธิการได้ประมวลพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2513 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2514 พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ นำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุปรวมพระราชกรณียกิจมีกำหนดการ 554 ครั้ง จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9




          กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ ร่วมฟังเสวนาทางวิชาการ ผ่านนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากร เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.  ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ เวลา ๑๖ .๐๐ – ๒๐.๐๐ น. รับชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี จากสำนักการสังคีต เวลา ๑๗.๓๐ – ๒๐.๐๐ น. ระหว่างวันที่ ๒ – ๘ เมษายน ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook live กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


สรงน้ำพระ ทำบุญ ใส่บาตร เสริมสิริมงคลในช่วง "สงกรานต์ ๒๕๖๕ วันปีใหม่ไทย”         หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ขอเชิญชวนชาวโคราชมากราบนมัสการและสรงน้ำ “พระชัยเมืองนครราชสีมา” เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ไทย ๒๕๖๕ ซึ่งองค์จำลองประดิษฐานอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมานะคะ         พระชัยเมืองนครราชสีมา เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ลักษณะประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเตี้ย มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี ปรากฏอยู่ตามองค์พระหลายแห่งถ้าอยากทราบว่าอักษรต่าง ๆ บนองค์พระนั้นมีความหมายอย่างไร ขอเชิญอ่านได้ในบทความนี้ ขอขอบคุณบทความ พระพุทธรูป สัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย พระชัยเมืองนครราชสีมา จารึกอักษร ขอม ภาษา บาลี โดย นายเทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิ เชี่ยวชาญด้านภาษาตะวันออก / อ่านถ่ายถอด นายบุญเลิศ เสนานนท์ นักภาษาโบราณ ข้าราชการบำนาญ กรมศิลปากร / ผู้เขียนบทความ ขอขอบคุณภาพ National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร Museum Thailand   จัดทำโดย พัชมณ ศรีสัตย์รสนา บรรณารักษ์ชำนาญการ


          ซากเรือบ้านคลองยวน สำรวจพบที่บ้านเลขที่ ๑๑๙/๒ หมู่ที่ ๘ บ้านคลองยวน ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนางพรพิมล มีนุสรณ์ เจ้าของบ้านเล่าว่าได้พบซากเรือไม้ในที่ดินของตนเองระหว่างการขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำใช้ทำสวนปาล์มและได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีโดยการก่อพื้นเทปูนมุงหลังคาคลุมซากเรือลำนี้ไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕ นอกจากหลักฐานตัวเรือแล้ว บริเวณที่พบซากเรือก็นับว่ามีความสำคัญทางโบราณคดีด้วยเช่นกัน เนื่องจากตั้งอยู่ไม่ห่างจากคลองท่าชนะ (๓ กิโลเมตร) ซึ่งเป็นคลองที่ไหลออกสู่อ่าวไทย ณ บริเวณที่เรียกว่าแหลมโพธิ์ ต.พุมเรียง อ.ไชยา จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในพื้นที่แหลมโพธิ์บ่งชี้ว่า บริเวณนี้เป็นชุมชนเมืองท่าสำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ ดังสะท้อนผ่านหลักฐานการค้านานาชาติ เช่น ลูกปัดโบราณ เครื่องถ้วยจีนและเปอร์เซียที่พบ          จากการตรวจสอบพบว่า บริเวณหลังบ้านของ นางพรพิมล เป็นพื้นที่สวนปาล์ม มีการขุดสระน้ำสำหรับใช้ภายในสวน ภายในมีซากของไม้เรือโบราณถูกเก็บรักษาอยู่ภายในโรงเปิดโล่งมีหลังคาคลุม ซากเรือดังกล่าวประกอบด้วยไม้ ๘๔ ชิ้น เป็นไม้กระดานขนาดยาว ไม้ที่ทำเป็นทรงแหลมสำหรับหัวเรือ และเศษไม้ที่ไม่สามารถระบุส่วนได้          ไม้กระดานเรือแต่ละแผ่น มีการเจาะรูที่ด้านสันของไม้ตลอดความยาว อีกทั้งยังพบลูกประสักหรือสลักไม้สวนอยู่ในรูบางส่วน นอกจากนี้ที่แผ่นกระดานเปลือกเรือด้านในมีการทำปุ่มสันทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้านูนออกมาจากระดับพื้นกระดาน ยาวตลอดความยาวของแผ่นเปลือกเรือ          นอกจากไม้เรือแล้ว ในบริเวณที่เป็นที่เก็บซากเรือยังพบว่าเศษเชือกสภาพเปื่อยยุ่ยอยู่ที่พื้นและปะปนอยู่กับซากเรือ คาดว่าน่าจะเป็นเชือกที่มากับเรือ จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปตรวจหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ สภาพของซากเรือยังอยู่ในสภาพที่แข็งแรง แต่เนื่องจากไม่ได้รับการอนุรักษ์อย่างถูกวิธีตัวเรือจึงเริ่มเสื่อมสลายผุพังไปตามกาลเวลา เมื่อวิเคราะห์จากลักษณะของซากเรือลำนี้โดยคร่าวเป็นเรือที่ต่อด้วยเทคนิค Lashed-Lug หรือ เชือกรัดสันรูเจาะ เป็นเทคนิคแบบโบราณที่มีมานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี พบแพร่กระจายอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทะเล          กองโบราณคดีใต้น้ำจึงได้ขอให้ นางพรพิมล มีนุสรณ์ มอบซากเรือโบราณให้แก่กองโบราณคดีใต้น้ำ เพื่อนำกลับไปอนุรักษ์และศึกษาวิเคราะห์ยังกองโบราณคดีใต้น้า จังหวัดจันทบุรี เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการถ่ายรูปไม้เรือทุกชิ้นที่พบจากนั้นทยอยลำเลียงขึ้นบนรถบรรทุกเพื่อนำมาเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานการวิเคราะห์ชนิดไม้และการหาค่าอายุ          หลังจากที่นำซากเรือบ้านคลองยวนกลับมาเก็บรักษาที่สำนักงานกองโบราณคดีใต้น้ำแล้ว ได้นำตัวอย่างไม้เรือส่งไปวิเคราะห์ตรวจหาชนิดของไม้ที่นำมาใช้ในการต่อเรือ ณ สํานักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ โดยส่งตัวอย่างชิ้นไม้จำนวน ๓ ชิ้น ประกอบด้วย เปลือกเรือ ๑ ชิ้น และลูกประสัก ๒ ชิ้น          ผลการตรวจพิสูจน์พบว่า ไม้เปลือกเรือบ้านคลองยวนนั้นทำจากไม้ในสกุลตะเคียน (Hopea sp.) แต่ไม่ทราบชนิด และลูกประสักทำจากไม้ตะแบกเลือด (Terminalia mucronata Craib & Hutch.)          นอกจากการตรวจหาชนิดไม้แล้ว กองโบราณคดีใต้น้ำยังนำตัวอย่างจากตัวเรือไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี Accelerator Mass Spectrometry (AMS) ณ ห้องปฏิบัติการในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยส่ง ๓ ตัวอย่าง ประกอบด้วย ไม้เปลือกเรือ เศษเชือก และลูกประสัก ซึ่งผลของค่าอายุที่ได้บ่งชี้ว่า เรือบ้านคลองยวนมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (คริสต์ศตวรรษที่ ๙)รูที่สันไม้กระดาน (dowel & lashing holes)          เปลือกเรือแต่ละแผ่นที่พบมีการเจาะรูที่ด้านสันของไม้กระดานยาวไปตลอดแนวของไม้เปลือกเรือและพบมีลูกประสักเสียบอยู่ในรูที่ถูกเจาะ จากการพินิจแล้วพบว่า การเจาะรูสันเปลือกเรือมีรูปแบบที่ซ้ำกันชัดเจน กล่าวคือ เจาะเพื่อใช้ยึดลูกประสัก ๔ รู สลับกับรูร้อยเชือกที่ด้านบนของกระดานทะลุกออกด้านสัน ๒ รู เป็นเช่นนี้ตลอดแนวสันเปลือกเรือ ถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเรือบ้านคลองยวน ที่ไม่อาจพบได้ในการต่อเรือไม้สมัยใหม่           ลูกประสักที่พบ มีลักษณะเป็นไม้ทรงกระบอกยาว ๔ เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ ขนาด คือ ๗ และ ๑๐ มิลลิเมตร พบว่าลูกประสักที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐ มิลลิเมตร จะใช้กับส่วนไม้ที่ต่อกับหัวเรือเท่านั้น แผ่นไม้เปลือกเรือบ้านคลองยวนนั้น หนา ๓.๕ – ๔ เซนติเมตร กว้าง ๒๗ เซนติเมตร (ส่วนที่กว้างที่สุด) ฝั่งกราบขวามี ๕ แผ่น ส่วนกราบซ้ายมี ๓ แผ่น (เท่าที่เหลือ) เมื่อพิจารณาจากกระดานเปลือกเรือแผ่นที่ ๕ ของกราบขวาพบว่า ที่ด้านสันของเปลือกเรือยังมีการเจาะรูรับลูกประสักอยู่ สิ่งนี้บ่งชี้ว่ากระดานเปลือกเรือแผ่นที่ ๕ ยังไม่ใช่แผ่นสุดท้าย ที่ส่วนปลายของไม้เปลือกเรือแต่ละแผ่นจะมีการทำให้เป็นรูปทรงแหลม เพื่อให้สามารถเข้าไม้ได้อย่างพอดีกับไม้หัวและท้ายเรือ          ไม้เปลือกเรือของเรือบ้านคลองยวนไม่ได้สมบูรณ์ตลอดลำเรือ ส่วนที่คาดว่าจะเป็นท้ายเรือได้ขาดหายไปจึงไม่อาจสรุปได้ว่าไม้เปลือกเรือแต่ละชั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวยาวตลอดลำเรือหรือไม่ แต่จากข้อมูลของเรือประเภทเดียวกันที่พบในต่างประเทศ เช่น แหล่งเรือ Punjurhajo บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียนั้น พบเปลือกเรือเป็นไม้แผ่นเดียวยาวตลอดลำเรือ จึงพอสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีลักษณะเหมือนกันสันรูเจาะ (lug)           เปลือกเรือแต่ละแผ่น ทำขึ้นด้วยการถากไม้ให้เป็นแผ่นกระดานและรูปทรงตามที่ช่างต้องการเพื่อให้เข้ากับรูปทรงของเรือ และจะเว้นสันรูเจาะ หรือ lug ไว้ตลอดความยาวของเรือ เป็นลักษณะอันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเรือประเภทนี้ โดยสันรูเจาะเหล่านี้มีไว้สำหรับรองรับกงเรือที่จะถูกนำมาเสริมในภายหลัง มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใกล้เคียงกัน คือ ยกสูงกว่าส่วนเรียบของแผ่นกระดานประมาณ ๑.๕ – ๒ เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาน ๒๐ เซนติเมตร ในส่วนที่กว้างที่สุด และจะค่อย ๆ แคบลงเรื่อย ๆ ไปทางหัวและท้ายเรือ สันที่แคบที่สุดกว้างเพียง ๔ เซนติเมตร แต่ละสันจะเว้นระยะห่างกันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ยกเว้นบริเวณกึ่งกลางลำเรือบนกระดานกระดูกงูและเปลือกเรือแผ่นที่ ๑ และ ๒ ของทั้งสองกราบจะเว้นช่วงห่างมากกว่าส่วนอื่น คือ ห่างประมาณ ๑๒๐ เซนติเมตรไม้กระดานกระดูกงู (keel plank)          ไม้ส่วนที่เป็นแกนกลางของเรือบ้านคลองยวนหรือที่มักเรียกกันว่ากระดูกงูนั้น มีลักษณะเป็นกระดูกงูที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเปลือกเรือไปด้วยหรือที่เรียกว่า keel plank ซึ่งกระดูกงูแบบนี้เป็นลักษณะเฉพาะของเรือที่ต่อแบบต่อเปลือกก่อนแล้วนำกงมาเสริมทีหลัง หรือ shell-based          เมื่อวางกระดูกงูบนพื้นราบพบว่าปลายกระดานกระดกขึ้นสูงจากพื้นประมาณ ๕๐ เซนติเมตร พิจารณาจากลักษณะแล้วคาดว่าเรือบ้านคลองยวนเป็นเรือที่มีหัวและท้ายเชิดขึ้นและท้องเรือแอ่น          ส่วนสันรูเจาะบนกระดูกงูมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างไปจากสันรูเจาะบนกระดานแผ่นอื่น กล่าวคือ ระหว่างสันรูเจาะแต่ละสันจะมีสันแคบ ๆ กว้างประมาณ ๑๐ – ๑๒ เซนติเมตร เชื่อมต่อไปตลอดความยาวของกระดูกงู ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าช่างจงใจทำสันแคบ ๆ นี้ไว้เพื่ออะไร เบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจทำไว้เพื่อเสริมความแข็งแรงตามแนวยาวของเรือหัวเรือและท้ายเรือ (wing-end)          หัวและท้ายของเรือบ้านคลองยวนมีรูทรงและลักษณะที่โดดเด่นอย่างมาก ซึ่งเรือกว่า wing-end กล่าวคือ ช่างจะแกะไม้เป็นรูปทรงคล้ายตัว V และนำมาซ้อนกัน 2 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะมีการเจาะรูเพื่อใส่ลูกประสักเตรียมไว้          การเข้าไม้หัวและท้ายเรือ ช่างจะนำ wing ชั้นที่ ๑ มาวางบนกระดูกงู หัวเรือและกระดูกงูจะได้ระยะเสมอกันพอดี แขนของ wing จะต่อชนกับกระดานแผ่นที่ ๑ พอดี ด้านบนของแขนจะเว้นช่องว่างไว้เพื่อให้ไม้กระดานแผ่นที่ ๒ มาต่อชนกันส่วนโคนของแขนรูปตัว V เมื่อชั้นที่ ๑ สามารถต่อเข้ากับกระดูกงู ไม้กระดานแผ่นที่ ๑ และ ๒ ได้แล้ว จึงนำเอา wing ชั้นที่ ๒ มาวางซ้อนบนชั้นที่ ๑ แล้วนำกระดานชั้นที่ ๓ และ ๔ มาต่อแบบเดียวกับชั้นที่ ๑          เป็นที่น่าสังเกตว่าหัวและท้ายเรือแบบ wing-end นั้น มีขนาดค่อนข้างใหญ่และทำจากไม้ชิ้นเดียว เป็นไปได้ว่าช่างในสมัยนั้นอาจนำไม้จากบริเวณของโคนต้นมาผ่าตามแนวขวางแล้วจึงแกะให้เป็นรูปตัว V ดังสังเกตได้จากวงปีไม้ที่มีลักษณะเป็นวงวางตัวขวางกับแนวเรือ ส่วนกลางลำต้นจะนำไปทำไม้กระดาน---------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร


พระพิมพ์รูปพระโพธิ์สัตว์ (นางตารา) สมัยพุกาม พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ กองตำรวจรักษาของโบราณประเทศพม่า ส่งมาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร -----------------------------------------------   ดินเผากลมรูปพระโพธิสัตว์ทรงยืนตริภังค์* แสดงวรทมุทรา (ปางประทานพร) พระเกศารวบขึ้นเป็นพระเมาลี รอบพระเศียรแสดงศิรประภา หรือรัศมี (สื่อถึงเป็นผู้มีพระธรรมเป็นแสงสว่าง) พระพรหาขวาแนบพระวรกาย ยกพระกรหันฝ่าพระหัตถ์ขวาออก พระหัตถ์ซ้ายทรงก้านดอกบัวอุตปละ (utpala) หรือ บัวสาย พระวรกายท่อนล่างแสดงการทรงพระภูษายาวจรดข้อพระบาท ด้านข้างของพระโพธิ์สัตว์มีจารึกอักษรเทวนาครี และสถูป พระพิมพ์ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในรายการพระพิมพ์ที่กองแผนกตรวจรักษาของโบราณประเทศพม่าส่งมาแลกเปลี่ยนกับราชบัณฑิตยสภาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยส่งพระพิมพ์มาแลกเปลี่ยนทั้งหมด ๑๖ รายการ (ประกอบด้วยพระพิมพ์ที่พบจากเมือง PAGAN จำนวน ๔ รายการ และพระพิมพ์ที่พบจากเมือง HMAWZA จำนวน ๑๒ รายการ) ทั้งนี้ราชบัณฑิตยสภาได้ส่งพระพิมพ์ไปยังประเทศพม่า จำนวน ๒๗ รายการ  สำหรับพระพิมพ์ชิ้นนี้ Charles Duroiselle ระบุว่าเป็นพระพิมพ์ที่ขุดค้นพบในบริเวณเมือง HMAWZA (ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีอาณาจักรศรีเกษตร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยตีความว่าเป็นรูปพระโพธิ์สัตว์ตาราซึ่งสอดคล้องกับแสดงการถือดอกบัวอุตปละ และจารึกที่ปรากฏคือจารึกคาถา “เยธฺมา เหตุปฺปภวา” และกำหนดอายุไว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ จากรูปแบบของพระพิมพ์ชิ้นนี้แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียเหนือ (แบบปาละ) ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสมัยพุกาม (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙) เช่น การยืนตริภังค์ การแสดงพระกรสองข้างตรงข้ามกัน เป็นต้น  พระโพธิ์สัตว์ตาราเป็นพระโพธิ์สัตว์เพศหญิง เป็นเทพีองค์สำคัญในพุทธศาสนามหายาน กล่าวคือ เป็นเทพีแห่งความกรุณา และเป็นผู้ปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่มนุษย์ โดยพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นศักติของพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ภาคปรากฏของพระนางตารานั้น มีหลายวรรณะและหลายลักษณะ (บางตำรากล่าวว่ามีทั้งหมด ๒๑ วรรณะ) แต่ที่รู้จักอย่างแพร่หลายนั้นได้แก่ ตาราวรรณขาว (สิตตารา) และตาราวรรณเขียว (ศยามตารา)    *ตริภังค์ หมายถึง ท่ายืนเอียงกายสามส่วน อันได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเอียงจากเท้าถึงสะโพก ส่วนที่สองเอียงจากสะโพกถึงไหล่ ส่วนที่สามเอียงจากไหล่ถึงศีรษะส่วนใหญ่พบในศิลปะอินเดีย (อ้างอิงจาก กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐ หน้า๒๐๐) ------------------------------------------------ อ้างอิง : กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐. เชษฐ์ ติงสัญชลี. มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของรูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียม เพรส, ๒๕๖๕. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมามหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ ๒.๑.๑/๑๘๐. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร. เรื่อง แลกเปลี่ยน พระพิมพ์ดินเผาระหว่างกองตำรวจรักษาของโบราณประเทศพม่ากับราชบัณฑิตยสภา (๒๒ เมษายน ๒๔๗๔-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๕). H. Hargreaves, editor. Annual Report of the Archaeological Survey of India for the year 1927-1928. Calcutta: Government of India Central Publication Branch, 1931. ------------------------------------------------ เรียบเรียงข้อมูล :  นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ





          วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๗.๓๐ น. กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิธีเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ๑๓ ตุลาคม โดยกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก จัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย และจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมในพิธีสวดพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลในครั้งนี้ ณ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ


           การเสด็จประพาสส่วนพระองค์อย่างสามัญชนของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปะปนไปกับราษฎร โดยมิให้ผู้ใดรู้จักและไม่มีหมายกำหนดการล่วงหน้า จะประทับ ค้างแรมที่ใดก็สุดแล้วแต่พระราชประสงค์ เป็นเรื่องราวที่แสดงถึง ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร ซึ่งยัง คงอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรไทยสืบมาตราบจนถึงทุกวันนี้ การเสด็จประพาสส่วนพระองค์นี้ เรียกว่า “การเสด็จประพาสต้น” เป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๕ เพื่อทอดพระเนตรสภาพบ้านเมือง ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการดำเนินพระบรมราโชบายในการพัฒนาชาติบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขแก่ปวงอาณาประชาราษฎร