ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

ทัศนีย์ ศุภเมธี.  เมืองธนบุรี.  กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูธนบุรี, 2529.


โบราณสถานวัดพระบาทคอแก่ง           วัดพระบาทคอแก่ง ตั้งอยู่ที่บ้านพระบาท ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ตามประวัติวัดระบุว่า วัดแห่งนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๕ โดยมีนายอุ่นเป็นผู้พบรอยพระพุทธบาท จึงชักชวนชาวบ้านสร้างเพิงครอบรอยพระพุทธบาทไว้  ต่อมามีพระภิกษุและแม่ชีจันเดินทางมาจากเวียงจันทน์ เพื่อมากราบนมัสการรอยพระพุทธบาท จึงได้ชักชวนชาวบ้านสร้างเสนาสนะเพิ่มเติม  และตั้งขึ้นเป็นวัด ชื่อ “วัดพระพุทธบาท (เวินกุม)” ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระบาทคอแก้ง หรือ พระพุทธบาทโคกซวก           สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ รอยพระพุทธบาท ซึ่งถือเป็น “อุเทสิกเจดีย์” ชนิดหนึ่ง คือ สิ่งที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแก่พระพุทธเจ้าหรือแทนองค์พระพุทธเจ้า สภาพเดิมสันนิษฐานว่าเป็นแอ่งหินธรรมชาติ ต่อมาจึงมีการตกแต่งให้เป็นรอยพระพุทธบาทในภายหลัง สภาพปัจจุบันมีการตกแต่งรอยพระพุทธบาทด้วยปูนปั้น ลักษณะเป็นรอยพระบาทข้างขวา ทาด้วยสีทอง บริเวณนิ้วพระบาทประดับลายก้นหอย และลายกลีบบัว บริเวณฝ่าพระบาทประดับลายธรรมจักร และสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ กำหนดอายุสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๔            ปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาของประชาชนในท้องถิ่น และบริเวณใกล้เคียง โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓  วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ Wat Phra Bat Ko Kaeng           Wat Phra Bat Kho Kaeng is located at Ban Phra Bat, Phra Phutthabat Sub-district, Si Chiang Mai District, Nong Khai Province. According to the record, it was built in 1672 after Buddha’s footprint were found by Mr. Un. Under his suggestions, more religious buildings were constructed as people came to visit the temple more often. This temple was later named Wat Phra Phutthabat (Woen-Kum), Wat Phra Bat Kho Kaeng, or Phra Phutthabat Khok Suak.           The most important feature of this temple is Buddha’s footprint of Lan Xang culture (17th - 19th century CE), a symbolic representation of the Buddha, inside a pillar hall Mandapa.It is supposedly a natural rock pool made into an imprint of Buddha’s right foot. The footprint was decorated with stucco, painted in gold, and adorned with Dharmachakra at the center, while the fingers were carved with whorl and lotus petal shape.            Wat Phra Bat Kho Kaeng has been registered and published in the Government Gazette, Volume 53, on September 27, 1936.             



รัก : Rak (Love)  เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 47           เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 47 ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช 2537 สมเด็จ         พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงสำหรับกลอนสุภาพ 3 บท ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อพระชนมายุ 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลงนี้ให้วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ บรรเลงทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์ตลอดเดือนธันวาคม พุทธศักราช 2537 ต่อมาเมื่อทรงแก้ไขแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นำไปแยกและเรียบเรียงเสียงประสานเมื่อทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์  ในงานพระราชทานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๓๘ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แจกคำร้องเพลงพระราชนิพนธ์ “รัก” แก่แขกผู้ได้รับเชิญ   ทุกโต๊ะไว้ล่วงหน้า ต่อมาก็เชิญแขกผู้ได้รับเชิญ อาทิ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยและนายทหารตำรวจชั้นผู้ใหญ่ขึ้นไปร้องเพลงพระราชนิพนธ์บนเวทีทีละโต๊ะจนทั่วถ้วน ถึงกับทรงบรรเลงดนตรี  นำด้วยพระองค์เองต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำออกอากาศทางสถานีวิทยุ จ.ส. 100 เมื่อต้นปี 2538   Royal Composition Number 47           The forty-seventh royal musical composition was written in December 1994 at Her Majesty the Queen's request that a melody be made for a 3-verse poem written by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn when she was 12. His Majesty gave the tune to the Aw Saw Wan Suk Band to be played every Friday and Sunday for the whole month of December 1994. Later after revising, he give it to Mr. Manrat Srikaranonda to be arranged for the performance when His Majesty joined the Aw Saw Wab Suk Band at the banquet on New Year's Eve of 1995 at Borom Phiman Mansion in the Grand Palace. His Majesty had the lyrics of the composition "Rak" distributed to guests at every table beforehand. The guests, privy councilors, cabinet, ministers, such as former prime minister Chuan Leekpai and senior police officers were then invited to sing on stage table by table, personally led by His Majesty on his saxophone. The composition was later broadcasted on Cho So 100 Radio in early 1995.


วันที่ ๒๐-๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ คณะกรรมาธิมาการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านศิลปะและวัฒนธรรม ลงพื้นที่"ติดตามความคืบหน้าและแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการขอขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์พิมายเพิ่มเติม" ณ บริเวณพื้นที่เมืองพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


         เนื้อหาประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของหจช.อุบลราชธานี หน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบ ความรู้เกี่ยวกับจดหมายเหตุ กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ ขั้นตอนการทำลายหนังสือ ราชการ ตัวอย่างหนังสือนำส่งเอกสารซึ่งต้องใช้ทุกหน่วยงาน และตารางกำหนดอายุการเก็บเอกสาร



สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดการประชุมสัมมนาถวายความรู้แด่พระสังฆาธิและฆราวาสผู้สนับสนุนวัด โครงการดูแลรักษาทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติของพระสังฆาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ วันที่ ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ


   สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เป็นพระอัครมเหสีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงมีพระราชปฏิพัทธ์อย่างยิ่ง ได้ประสบอุปัทวเหตุเสด็จทิวงคต พร้อมพระราชธิดา คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี ด้วยสาเหตุเรือล่ม ขณะล่องไปพระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓           สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นพระราชธิดา องค์ที่ ๕๐ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๐๓ เมื่อทิวงคตพระชนมายุย่าง ๒๑ พรรษา ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระนางเธอฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๓ เป็นการสถาปนาพระอิสริยยศพระมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระองค์แรกในรัชกาล ในกาลต่อมา ผู้คนมักขานพระนามว่า “พระนางเรือล่ม”           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความวิปโยคอย่างใหญ่หลวง เมื่อสูญเสียพระมเหสีอันเป็นที่รักยิ่ง ทรงสร้างสิ่งอนุสรณ์ไว้ ณ สถานที่ต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ ที่น้ำตกพริ้ว จังหวัดจันทบุรี  ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้น ทรงพระอนุสรณ์คำนึงว่า  เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังดำรงพระชนม์อยู่ได้เคยกราบบังคมทูลปรารภว่า สตรีไทยนั้นไร้ที่ศึกษาอบรม จะมีอยู่ก็แต่เพียงในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสตรีชาวบ้านมิอาจเข้าไปอบรมได้ ถ้ามีสถานที่ศึกษาอบรมสำหรับสตรี ฐานะของกุลสตรีไทยจะดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างสถานศึกษาอบรมกุลสตรีขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระปิยมเหสีอีกสิ่งหนึ่ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ (ขณะนั้นวันขึ้นปีใหม่ คือ วันที่ ๑ เมษายน) พระราชทานนามในส่วนลึกของพระราชหฤทัยว่า “สุนันทาลัย” ปัจจุบัน คือ โรงเรียนราชินีปากคลองตลาด               เมื่อสร้างอาคารเรียน หอประชุม เรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งซื้อ “อัจกลับ” จากยุโรป ส่วนที่ครอบแก้วด้านหนึ่งจารึกวึา “สุนันทาลัย” อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรพระนาม “ส.” ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี  พระราชทานติดไว้ในอาคารเรียนสุนันทาลัย เพื่อทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลอันเป็นเนื้อนาบุญ ทั้งยังทรงมีความมุ่งหมายที่จะให้ พระนามาภิไธยสมเด็จพระปิยมเหสีปรากฏอยู่เป็นนิรันดร์            ปัจจุบัน อัจกลับ “สุนันทาลัย” จำนวน ๑๒ ดวงโคม แขวนอยู่เป็นศรีสง่าประดับ เพดานท้องพระโรงพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยมไหสูรย์พิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ฉายแสงส่องประกายเจิดจรัสอย่างงดงาม     ----------------------------------------------------------------------   * อัจกลับ อ่านว่า อัด-จะ-กลับ หมายถึง โคมอย่างหนึ่งทำด้วยทองเหลือง บางทีมีระย้าห้อยด้วย ใช้ในสมัยโบราณ   ที่มา : จุลสารการจัดการองค์ความรู้  สำนักพระราชวัง  ปีที่  ๑  ฉบับที่  ๔  มกราคม - กุมภาพันธ์  ๒๕๕๑.



 มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เรื่องพงศาวดาริอันเป็นมูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 และเกิดเหตุจลาจลวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตอนที่ 2 เป็นจดหมายหลวงอุดมสมบัติเขียนจดหมายกราบเรียนพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด) กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เมืองไทรบุรียกกำลังมาตีเมืองสงขลาในปีะ พ.ศ. 2381 ตอนที่ 3 พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราชของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร) กล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่หลวงสิทธินายเวรมหาดเล็ก (หนู) พระปลัดเมืองนครผู้รักษาราชการเมือง ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้านคร และได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองต่างๆ ตั้งเป็นชุมนุมเจ้านคร ส่วนท้ายเล่มกล่าวถึงประวัติพระยานคร (น้อย) และจดหมายบอกข่าวราชการจากกรุงเทพฯ ถึงเจ้าพระยานคร (น้อย)...



***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรีชลยุทธเอกพจน์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2514 พระนคร  โรงพิมพ์สามมิตร 51 2514