บ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ตำนานของบริษัทค้าไม้ แห่งนครลำปาง
ในอดีตจังหวัดลำปางเป็นหนึ่งในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยที่มีการให้สัมปทานกิจการทำป่าไม้แก่บริษัทต่างชาติ และบ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ก็เป็นหนึ่งในหลักฐานที่เหลืออยู่ของอิทธิพลของชาวตะวันตกในล้านนาในสมัยนั้น
บ้านหลังนี้เป็นบ้านของนายหลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ (Louis Thomas Leonowens) บุตรชายของนางแอนนา เลียวโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออายุได้ ๗ ปีหลุยส์ได้ติดตามมารดาเข้ามาในสยาม และหลังจากสำเร็จการศึกษาในยุโรปแล้วก็ได้กลับเข้ามาในสยามอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๒๗ ปี หลุยส์เริ่มเข้าสู่วงการค้าไม้ พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนของบริษัท บริติชบอร์เนียว (The British Borneo Company Limited) ในการเจรจาขอรับอนุญาตทำป่าไม้ประจำเมืองระแหง (ปัจจุบันคืออำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก) ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๙ เขาได้ลาออกจากบริษัทบริติชบอร์เนียวเพื่อเปิดบริษัทค้าขายทั่วไปของตัวเองที่เชียงใหม่ และได้ย้ายบริษัทมาตั้งที่ลำปางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ พร้อมทั้งได้รับสัมปทานทำป่าไม้ด้วย ดังนั้น บ้านหลังนี้จึงปลูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทั้งที่พักของนายหลุยส์และอาคารสำนักงานของเขาที่ลำปาง (หลุยส์ยังเปิดสำนักงานนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่กรุงเทพฯ ด้วย) เมื่อหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์เสียชีวิตที่อังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๖๒ กรมป่าไม้จึงได้รับมอบโอนกิจการทำไม้ของบริษัท บริติช บอร์เนียว จำกัด และบริษัทหลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ รวมถึงบ้านหลังนี้ด้วยใน พ.ศ. ๒๔๘๒ บ้านหลังนี้จึงกลายเป็นอาคารที่ทำการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในระยะหนึ่ง และต่อมาได้กลายเป็นบ้านพักสำหรับพนักงาน จนกระทั่งพนักงานลดจำนวนลงจึงไม่มีผู้พักอาศัยอีกและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ลักษณะเป็นบ้านกึ่งปูนกึ่งไม้สองชั้น แบบเรือนปั้นหยา สไตล์โคโลเนียล ชั้นล่างก่อปูนแข็งแรง ส่วนชั้นบนเป็นเรือนไม้ มีจุดเด่นคือ ห้องโถงที่ทำเป็นมุขเจ็ดเหลี่ยมยื่นออกไปด้านหน้า ติดหน้าต่างบานเกล็ดไม้โดยรอบ บริเวณโดยรอบบ้านมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น และยังมีอาคารสำนักงานอีกหนึ่งหลัง เป็นอาคารถือปูนชั้นเดียว อาคารหลังนี้แต่เดิมใช้เป็นที่เก็บตู้เซฟของบริษัทของนายหลุยส์
ปัจจุบันบ้านหลังนี้อยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านพักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ลำปาง ถนนป่าไม้ เขตชุมชนท่ามะโอ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง เขตเทศบาลนครลำปาง โดยทาง ออป. ร่วมกับภาคเอกชน ชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่าได้เริ่มโครงการบูรณะซ่อมแซมเพื่อให้ตัวบ้านคงสภาพดีดังเดิมให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๐ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามของชุมชนในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ชุมชน ผ่านกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ตลาดนัด และการจัดเสวนาวิชาการ โดยบ้านหลุยส์ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ชุมชนใช้ในการจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย
ภาพ : หลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์
ภาพ : บ้านหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์
ภาพ : ห้องโถงชั้นล่าง
ภาพ : ฝ้าเพดานห้องโถงชั้นบนกรุด้วยแผ่นไม้เรียงกันอย่างสวยงาม
ภาพ : ชั้นบนเป็นเรือนไม้ เหนือบานประตูมีการแกะสลัก ฉลุลายไม้อย่างประณีต
---------------------------------------
เรียบเรียงโดย นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
เอกสารอ้างอิง
วิลาส นิรันดร์สุขศิริ. ร้อยปีหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ กับแผ่นดินสยาม. ศิลปวัฒนธรรม ๒๖ (มีนาคม ๒๕๔๘): ๑๓๑-๑๓๗ กิตติชัย วัฒนานิกร. นายห้างป่าไม้ สีสันชีวิตอดีตล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่: สันติภาพแพ็คพริ้นท์, ๒๕๕๘. จังหวัดลำปาง โดยชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า. ท่ามะโอ เรโทร แฟร์ บ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์. ลำปาง: ชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า, จังหวัดลำปาง, ๒๕๖๑. (อัดสำเนา)
บ้านหลังนี้เป็นบ้านของนายหลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ (Louis Thomas Leonowens) บุตรชายของนางแอนนา เลียวโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออายุได้ ๗ ปีหลุยส์ได้ติดตามมารดาเข้ามาในสยาม และหลังจากสำเร็จการศึกษาในยุโรปแล้วก็ได้กลับเข้ามาในสยามอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๒๗ ปี หลุยส์เริ่มเข้าสู่วงการค้าไม้ พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนของบริษัท บริติชบอร์เนียว (The British Borneo Company Limited) ในการเจรจาขอรับอนุญาตทำป่าไม้ประจำเมืองระแหง (ปัจจุบันคืออำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก) ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๙ เขาได้ลาออกจากบริษัทบริติชบอร์เนียวเพื่อเปิดบริษัทค้าขายทั่วไปของตัวเองที่เชียงใหม่ และได้ย้ายบริษัทมาตั้งที่ลำปางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ พร้อมทั้งได้รับสัมปทานทำป่าไม้ด้วย ดังนั้น บ้านหลังนี้จึงปลูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทั้งที่พักของนายหลุยส์และอาคารสำนักงานของเขาที่ลำปาง (หลุยส์ยังเปิดสำนักงานนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่กรุงเทพฯ ด้วย) เมื่อหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์เสียชีวิตที่อังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๖๒ กรมป่าไม้จึงได้รับมอบโอนกิจการทำไม้ของบริษัท บริติช บอร์เนียว จำกัด และบริษัทหลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ รวมถึงบ้านหลังนี้ด้วยใน พ.ศ. ๒๔๘๒ บ้านหลังนี้จึงกลายเป็นอาคารที่ทำการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในระยะหนึ่ง และต่อมาได้กลายเป็นบ้านพักสำหรับพนักงาน จนกระทั่งพนักงานลดจำนวนลงจึงไม่มีผู้พักอาศัยอีกและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ลักษณะเป็นบ้านกึ่งปูนกึ่งไม้สองชั้น แบบเรือนปั้นหยา สไตล์โคโลเนียล ชั้นล่างก่อปูนแข็งแรง ส่วนชั้นบนเป็นเรือนไม้ มีจุดเด่นคือ ห้องโถงที่ทำเป็นมุขเจ็ดเหลี่ยมยื่นออกไปด้านหน้า ติดหน้าต่างบานเกล็ดไม้โดยรอบ บริเวณโดยรอบบ้านมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น และยังมีอาคารสำนักงานอีกหนึ่งหลัง เป็นอาคารถือปูนชั้นเดียว อาคารหลังนี้แต่เดิมใช้เป็นที่เก็บตู้เซฟของบริษัทของนายหลุยส์
ปัจจุบันบ้านหลังนี้อยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านพักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ลำปาง ถนนป่าไม้ เขตชุมชนท่ามะโอ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง เขตเทศบาลนครลำปาง โดยทาง ออป. ร่วมกับภาคเอกชน ชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่าได้เริ่มโครงการบูรณะซ่อมแซมเพื่อให้ตัวบ้านคงสภาพดีดังเดิมให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๐ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามของชุมชนในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ชุมชน ผ่านกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ตลาดนัด และการจัดเสวนาวิชาการ โดยบ้านหลุยส์ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ชุมชนใช้ในการจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย
ภาพ : หลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์
ภาพ : บ้านหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์
ภาพ : ห้องโถงชั้นล่าง
ภาพ : ฝ้าเพดานห้องโถงชั้นบนกรุด้วยแผ่นไม้เรียงกันอย่างสวยงาม
ภาพ : ชั้นบนเป็นเรือนไม้ เหนือบานประตูมีการแกะสลัก ฉลุลายไม้อย่างประณีต
---------------------------------------
เรียบเรียงโดย นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
เอกสารอ้างอิง
วิลาส นิรันดร์สุขศิริ. ร้อยปีหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ กับแผ่นดินสยาม. ศิลปวัฒนธรรม ๒๖ (มีนาคม ๒๕๔๘): ๑๓๑-๑๓๗ กิตติชัย วัฒนานิกร. นายห้างป่าไม้ สีสันชีวิตอดีตล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่: สันติภาพแพ็คพริ้นท์, ๒๕๕๘. จังหวัดลำปาง โดยชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า. ท่ามะโอ เรโทร แฟร์ บ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์. ลำปาง: ชุมชนท่ามะโอ และเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า, จังหวัดลำปาง, ๒๕๖๑. (อัดสำเนา)
(จำนวนผู้เข้าชม 9482 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน