ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
โบราณสถานป้อมไพรีพินาศ ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
โบราณสถานป้อมไพรีพินาศตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ บ้านแหลมสิงห์ ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี หรือพิกัดภูมิศาสตร์ที่รุ้ง ๑๓ องศา ๒๗ ลิปดา ๕๗ พิลิปดาเหนือ แวง ๑๐๑ องศา ๙ ลิปดา ๕๒ พิลิปดาตะวันออก โดยสันนิษฐานว่า เป็นป้อมที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในช่วงเวลานั้นไทยเกิดกรณีพิพาทกับญวน เนื่องจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุหรือเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์และกบฏองค์จันแห่งเขมร ทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขัดเคืองญวนที่ให้การช่วยเหลือเจ้าอนุและองค์จัน จึงมีพระราชดำริให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพควบคุมไพร่พลไปรบญวนในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ กระทั่งในปีพ.ศ. ๒๓๗๗ จึงทรงเกรงว่าญวนจะยกไพร่พลมารบไทยคืนบ้าง จึงมีพระราชดำริให้เตรียมต่อเรือและสร้างป้อมขึ้นเพื่อป้องกัน โดยให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองเกณฑ์คนทำการต่อเรือ และให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองไปสร้างเมืองจันทบุรีขึ้นใหม่ที่ค่ายเนินวงพร้อมกับสร้างวัดโยธานิมิตเพื่อเป็นวัดประจำเมืองแล้วให้จมื่นราชามาตย์ ชื่อขำ หรือต่อมาเป็นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ไปสร้างป้อมที่ปากน้ำจันทบุรี ดังความว่า
“... ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองไปสร้างเมืองจันทบุรี เจ้าพระยาพระคลังให้รื้อกำแพงเมืองเก่าเสีย เพราะด้วยอยู่ลึกเข้าไปนัก ไม่เป็นที่รับรองข้าศึก จึ่งสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เนินวง ด้วยบ้านราษฎรอยู่ลึกเข้าไปข้างหลัง เมืองเป็นที่ป้องกันครอบครัวพลเมืองได้ แล้วจึงสร้างวัดขึ้นสำหรับเมืองวัด ๑ ชื่อวัดโยธานิมิต แล้วให้จมื่นราชามาตย์ ชื่อขำ ไปทำป้อมที่แหลมด่านปากน้ำป้อม ๑ ชื่อ ป้อมภัยพินาศ ที่เขาแหลมสิงห์ป้อมเก่าทำเสียใหม่ ป้อม ๑ ชื่อ ป้อมพิฆาฏปัจจามิตร แล้วโปรดให้จมื่นไวยวรนารถ ชื่อช่วง ต่อกำปั่นขึ้นลำ ๑ ปากกว้าง ๑๐ ศอก เป็นตัวอย่าง...”
อีกทั้งยังมีพระราชดำริให้สร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราและป้อมคงกระพันที่ปากคลองบางปลากดเมืองสมุทรปราการเพื่อเตรียมการป้องกันในครั้งนี้ด้วย
ป้อมที่ปากน้ำจันทบุรีทั้งสองแห่งที่ปรากฏในหลักฐานเอกสารนี้ ภายหลังได้รับการพระราชทานชื่อใหม่โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งยังทรงผนวชและได้เสด็จประพาสเมืองจันทบุรีพร้อมกับได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรป้อมทั้งสองแห่งนี้ ซึ่งได้พระราชทานชื่อป้อมที่เขาแหลมสิงห์ (ป้อมพิฆาฏปัจจามิตรในสมัยรัชกาลที่ ๓) ว่า “ป้อมไพรีพินาศ” และป้อมที่หัวแหลม (ป้อมภัยพินาศ) ว่า “ป้อมพิฆาฏข้าศึก” โดยในปัจจุบันป้อมไพรีพินาศยังคงหลงเหลือร่องรอยหลักฐานให้เห็น แต่ป้อมพิฆาฏข้าศึกนั้น แทบไม่หลงเหลือร่องรอยหลักฐาน เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของป้อมพิฆาฏข้าศึกเป็นที่ตั้งของตึกแดงที่สร้างขึ้นภายหลังในสมัยที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. ๒๔๓๖
ลักษณะของป้อมไพรีพินาศเป็นป้อมที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแหลมสิงห์ที่ยื่นออกไปทางทะเลด้านตะวันออก มีลักษณะเป็นแนวกำแพงป้อมก่ออิฐถือปูนที่ก่อขึ้นมาบนพื้นเขาธรรมชาติ โค้งไปตามแนวเชิงเขา มีขนาดความกว้างประมาณ ๓ เมตร ยาวประมาณ ๕ เมตร และแนวกำแพงป้อมหนาประมาณ ๖๐ เซนติเมตร บริเวณป้อมพบปืนใหญ่ที่ผลิตโดยบริษัทอาร์มสตรอง ประเทศอังกฤษ ซึ่งผลิตขึ้นในปี ค.ศ. ๑๘๖๘ (พ.ศ. ๒๔๑๑) มีลักษณะเป็นปืนใหญ่ที่หล่อด้วยเหล็ก บรรจุกระสุนทางปากลำกล้อง มีขนาดความยาวประมาณ ๒.๓ เมตร นอกจากนี้บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของป้อมมีคลังกระสุนดินดำก่ออิฐถือปูนมีขนาดความกว้างประมาณ ๑ เมตร ยาว ๒.๘๐ เมตร โดยผลการขุดตรวจทางโบราณคดีในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ พบว่าป้อมไพรีพินาศเป็นป้อมที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งไม่พบหลักฐานการสร้างเพิ่มเติมในสมัยหลัง และคลังกระสุนดินดำสร้างขึ้นพร้อมกันกับตัวป้อม
บริเวณใกล้กับป้อมไพรีพินาศมีเจดีย์ทรงระฆังจำนวน ๑ องค์ ซึ่งชาวจันทบุรีสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่กองทหารฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากเมืองจันทบุรี โดยได้สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งปรากฏเรื่องราวอยู่ในหลักฐานเอกสารพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เรื่องเสด็จประพาสจันทบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ดังความว่า
“… แล้วเดินขึ้นไปเขาสูงประมาณสัก ๓๐ วา มีใบเสมาป้อมก่อไปตามไหล่เขาอีกชั้นหนึ่ง ข้างบนนั้นเป็นพระเจดีย์ ว่าพระพิพิธเมืองตราดมาสร้างไว้ เป็นพระเจดีย์ตามธรรมเนียม...”
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนป้อมไพรีพินาศ ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ หน้า ๓๖๘๑ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานป้อมไพรีพินาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๒๙ง ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๕ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑๗ ไร่ ๕๘ ตารางวา
เอกสารอ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. (๒๕๑๔). เสด็จประพาสจันทบุรี. ใน กรมศิลปากร (บ.ก.), ชุมนุมเรื่องจันทบุรี (น.๘๗ - ๑๘๐). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, เจ้าพระยา. (๒๕๓๘). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด หินสามก้อน. (๒๕๕๕). รายงานการขุดตรวจทางโบราณคดีเจดีย์อิสรภาพป้อมไพรีพินาศ ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โครงการบูรณะเจดีย์อิสรภาพป้อมไพรีพินาศ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕. เอกสารอัดสำเนา.
ผู้เรียบเรียง
นางสาวเลิศลักษณ์ สุริมานนท์ นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
#สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 139/1 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 173/7เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
หนังสือกล่าวถึงประวัติของวัดตันตยาภิรม, จดหมายเหตุรายวันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสแหลมมลายู ร.ศ. 109 (เฉพาะส่วนของเมืองตรัง), พระมหากรุณาธิคุณอุ่นเกล้าชาวตรัง, ภูมิปัญญาแผ่นดินท้องถิ่นตรัง
ชื่อเรื่อง สุพรรณบ้านเรา...ของดีเมืองสุพรรณผู้แต่ง สุนันทา สุนทรประเสริฐผู้แต่งเพิ่มเติม คมคาย เกรอด และ พัชรี ธนสาร.ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่ 915.9373 ส816สสถานที่พิมพ์ ราชบุรีสำนักพิมพ์ บริษัท ธรรมรักษ์การพิมพ์ จำกัดปีที่พิมพ์ ม.ป.ป. ลักษณะวัสดุ 30 หน้า : ภาพประกอบ ; 26 ซม.หัวเรื่อง สุพรรณบุรี – ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก. “ของดีเมืองสุพรรณบุรี” มีเนื้อหาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรีในด้านแหล่งท่องเที่ยว หัตถกรรมงานฝีมือ อาหารการกิน ล้วนเป็นความภาคภูมิใจของชาวสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 11/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในเทศกาลมหาสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รับความรู้คู่ความสนุกกับ “สงกรานต์แฟร์ : นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ” วันที่ 7 - 9 เมษายน 2566 และร่วมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ในวันที่ 12 – 14 เมษายน 2566
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เนื่องในเทศกาลมหาสงกรานต์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ เป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ได้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมในลักษณะการออกร้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมต่าง ๆ ในหัวข้อ “สงกรานต์แฟร์ : นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ” ระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2566 ซึ่งประกอบด้วย 9 กิจกรรม ดังนี้
1. นิทรรศการ “เก้าดารา” เรียนรู้เกี่ยวกับเทวดานพเคราะห์ในวิถีชีวิตไทย
2. เปิด “ตลาดเก้าล้าน” แสดงและจำหน่ายสินค้าที่นักศึกษา ศิลปิน และอาสาสมัคร ได้พัฒนาต่อยอดมาจากโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
3. “สถานีเก้าสิปป์” กิจกรรมเวิร์กชอปงานศิลปะที่หยิบเล่นได้ โดยนักศึกษาและศิลปินอาร์ตทอย ณ ระเบียงด้านข้างหมู่พระวิมานฝั่งทิศเหนือ ข้างอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
4. กิจกรรม “ทัวร์เก้ามณี” นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเรียนรู้ถึงที่มาของเทวดานพเคราะห์และเทศกาลมหาสงกรานต์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในห้องจัดแสดงต่าง ๆ
5. กิจกรรม “ล่าขุมทรัพย์เก้าแต้ม” รับสมุดประทับตราแล้วออกตามหาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับเทวดานพเคราะห์ จำนวน 9 จุด เพื่อแลกรับถุงเครื่องราง “นวธัญมงคล” (เมล็ดพืชอันเป็นมงคล 9 ชนิด) เป็นของที่ระลึก วันละ 500 ชิ้นเท่านั้น
6. จิบชาเก้าชนิด “จิ๋วจ่งฉา” โดย อ๋อง ที บาย บี๋ (Ong Tea by Bee) ณ เรือนชาลีลาวดี
7. ลุ้นกาชาปองชุดพิเศษ “นวพ่าห์” สัตว์พาหนะเก้าชนิดของเทพนพเคราะห์โดย Little Turtle Studio
8. พิเศษสุดกับการเสี่ยงทายพระคเณศ “นวคเณศ” ซึ่งออกแบบโดยศิลปินอาร์ตทอยเพื่องานสงกรานต์แฟร์ 2566 โดยเฉพาะและมีจำนวนจำกัด
9. ทุกคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในช่วงงานสงกรานต์แฟร์ วันที่ 7 - 9 เมษายน 2566 จะได้รับเหรียญที่ระลึก “พิพิธคเณศ” เป็นรูปพระคเณศแบบต่าง ๆ ที่ศิลปินร่วมกันออกแบบไว้ 15 แบบ จำนวน 15,000 ชิ้น โดยจำกัดคนละ 1 เหรียญ/คน/วัน
สำหรับกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน 2566 ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ กรมศิลปากรได้อัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมทีประดิษฐานในก้านพระรัศมีของ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญ ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเทวดานพเคราะห์ทั้ง 9 องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะและสรงน้ำขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต อันเป็นวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่และเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงามของไทย
กรมศิลปากร จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมเนื่องในเทศกาลมหาสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา 09.00 – 16.00 น. เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊ก เพจ National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หรือ โทรศัพท์ 0 2224 1333, 0 2224 1402
เลขทะเบียน : นพ.บ.504/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 168 (216-223) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ไม้มงคลเรียกทรัพย์ เสริมดวง
เรียบเรียง : นางสาวกาญจนา ศรีเหรา ( บรรณารักษ์)
ไม้มงคล 9 ชนิดเป็นไม้ที่นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนหรือก่อฐานประดิษฐานถาวร วัตถุต่างๆ พิธีก่อฤกษ์หรือวางศิลาฤกษ์ ส่วนมากจะนิยมปลูกบริเวณรอบๆ บ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล ไม้มงคลทั้ง 9 ชนิด มีความหมายดังนี้
ชื่อเรื่อง ทัศนาสารไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาผู้แต่ง นายตรี อมาตยกุลประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยวเลขหมู่ 915.91314 ต181ทสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ์ปีที่พิมพ์ 2499ลักษณะวัสดุ 148 หน้าหัวเรื่อง พระนครศรีอยุธยา -- ภูมิประเทศ – นำเที่ยว พระนครศรีอยุธยา -- โบราณสถานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกทัศนาสารไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวบรวมเกี่ยวกับความเป็นอยู่ การท่องเที่ยว การคมนาคมของชาวพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สพ.บ.424/8 พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)
สพ.บ. 424/8
ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
เทศน์มหาชาติ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาต ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เรื่อง ปั้นลมสังคโลกที่วัดตะแบกคู่ เมืองกำแพงเพชร
ป้านลม ตามความหมายในศัพทานุกรมโบราณคดีหมายถึง แผ่นไม้ที่ประกอบเข้ากับแปปิดตามแนวลาดของหัว-ท้าย เครื่องมุงหลังคา เรือนไทย ทำหน้าที่ป้องกันลมมิให้พัดเครื่องมุงหลังคาหลุดปลิวไป ในบางครั้งเรียกว่า “ปั้นลม”
ปั้นลมที่พบจากการดำเนินการทางโบราณคดีวัดตะแบกคู่ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองกำแพงเพชร เป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเมืองสุโขทัย ขึ้นรูปด้วยมือ ทาน้ำเคลือบสีขาว เขียนลายสีน้ำตาลใต้เคลือบใส
รูปทรงสามเหลี่ยม ทำลายกระหนกบริเวณขอบ บริเวณตรงกลางทำรูปบุคคล (รูปเทพนม) ลักษณะสวมเครื่องประดับ ประนมมือบริเวณอก ส่วนหัวหักหาย และวาดลวดลายดอกไม้สันนิษฐานว่าเป็นดอกโบตั๋นตรงกลางหนึ่งดอกท่ามกลางพันธุ์พฤกษา ทำลายกระหนกโดยรอบดอกไม้ และบริเวณกรอบของปั้นลมเหนือรูปเทพพนมตามลำดับ มีขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร สูง 66 เซนติเมตร และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร
จากการศึกษาพบปั้นลมลายรูปเทพนมจากการดำเนินการทางโบราณคดีในเมืองสุโขทัยที่วัดกำแพงแลง ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร และที่วัดป่ามะม่วง ซึ่งจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง นอกจากนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหงยังจัดแสดงปั้นลมลายเทพนมที่พบภายในเมืองสุโขทัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
“เทพนม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช 2554 หมายถึง ชื่อภาพเทวดาครึ่งตัวประนมมือ สำหรับการทำศิลปกรรมลายเทพนมมาประดับหลังคาเหนือที่ประดิษฐานรูปพระพุทธเจ้านั้น นาย ประทีป เพ็งตะโก อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้สันนิษฐานไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา ว่าอาจเป็นการแสดงการสักการะพระพุทธเจ้าของเหล่าเทพ
นอกจากปั้นลมแล้วยังพบลายเทพนมในงานศิลปกรรมอื่น เช่น
- งานจิตรกรรม ลายเทพนมในพุ่มข้าวบิณฑ์บริเวณหน้าต่างอุโบสถ วัดดวงแข กรุงเทพมหานคร
- งานประดับสถาปัตยกรรม พบบริเวณหน้าบัน บันแถลง ประตู หน้าต่างของโบราณสถาน เช่น ลายปูนปั้นรูปเทพนมประดับปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก
ดอกโบตั๋นนั้น พบหลักฐานการนำลายนี้มาประยุกต์ตกแต่งในศิลปกรรมจีนในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1822-1911) จึงมีการผลิตเครื่องลายครามเป็นสินค้าส่งออกมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงดินแดนไทย โดยลายดอกโบตั๋นนั้น คาดว่ามีคติความเชื่อในการเป็นสัญลักษณ์มงคลแทนความมั่งคั่งร่ำรวย มีอำนาจ และเกียรติยศ ส่วนในวัฒนธรรมสุโขทัย - อยุธยา พบการนำลายดอกโบตั๋นมาประดับสถาปัตยกรรม เช่น ลายปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมที่วัดศรีสวาย เมืองสุโขทัย และวัดนางพญา เมืองศรีสัชนาลัย รวมถึงการนำลายดอกโบตั๋นมาประดับตกแต่งในการผลิตถ้วยชามสังคโลก
หลักฐานทางโบราณคดีในเมืองกำแพงเพชรนั้นพบการนำลายเทพนมมาตกแต่งบนกระเบื้องเชิงชายดินเผาที่วัดช้างรอบ (กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 21-22) และดินเผาประดับสถาปัตยกรรมลายเทพนม อีกทั้งยังพบใบเสมาหินชนวนจากวัดพระนอน (กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 21) ที่แกะสลักลวดลายเทพนมผุดขึ้นมาจากดอกไม้ และปรากฏลายดอกไม้คล้ายรูปดอกโบตั๋นบริเวณส่วนยอดของใบเสมา พร้อมทั้งมีการประดับกรอบใบเสมาด้วยลายกระหนก ซึ่งมีลักษณะการตกแต่งคล้ายกับปั้นลมที่พบในวัดตะแบกคู่ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
การกำหนดอายุด้วยวิธีการเปรียบเทียบจากหลักฐานที่พบจึงสันนิษฐานว่า ปั้นลมที่พบในวัดตะแบกคู่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 และมีการติดต่อสัมพันธ์โดยตรงกับเมืองสุโขทัยด้านการนำผลิตภัณฑ์สังคโลกมาใช้ประดับสถาปัตยกรรมเนื่องในพุทธศาสนาของเมืองกำแพงเพชรด้วย
----------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
กฤษฎา พิณศรี, ปริวรรต ธรรมาปรีชากร, และอุษา ง้วนเพียรภาค. (2535). เครื่องถ้วยสุโขทัย : พัฒนาการ
ของเครื่องถ้วยไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท โอสถสภา(เต๊กเฮงหยู) จำกัด.
ประทีป เพ็งตะโก. (2540). กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และคณะ. (2539). ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ:
บริษัท โอสถสภา จำกัด.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ:
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
อาสา ทองธรรมชาติ. (2557). ที่มาและพัฒนาการของลายดอกโบตั๋นในงานศิลปกรรมไทย. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
-----------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : Facebook Page อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park
https://www.facebook.com/kpppark2534/posts/pfbid02mxnqELduGvGksj4w4steNKaeERoWuzLxPzmMP5yfxmQjnvibT84s4hTqZZDB9GA7l
เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พบที่เจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องจัดแสดงเมืองโบราณอู่ทอง อาคารจัดแสดง ๒ ชั้น ๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ชิ้นส่วนเศียรรูปเคารพสำริด มีพระเกศาทรงชฎามกุฎ เป็นผมเกล้าทรงสูงโดยถักเป็นมวย และปล่อยเส้นผมตกลงมาบางส่วน ด้านหน้าของมวยผมมีรูปบุคคลนั่งอยู่ในท่าสมาธิแต่รายละเอียดค่อนข้างลบเลือน พระพักตร์ยาว พระขนงต่อเป็นเส้นคล้ายปีกกา พระเนตรทั้ง ๒ เหลือบต่ำ พระนาสิกยาว โด่งเป็นสัน พระโอษฐ์อวบอิ่ม พระหนุสั้น พระกรรณทั้ง ๒ ยาว รูปแบบทางศิลปกรรมของเศียรพระโพธิสัตว์นี้ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในศิลปะศรีวิชัย ที่เจริญอยู่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทยในช่วงเวลาเดียวกันนั้น จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว
เศียรประติมกรรมชิ้นดังกล่าวนี้ มีพระเกศาทรงทรงชฎามกุฎ ซึ่งมักปรากฏกับประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธมหายาน และรูปนักบวชในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประกอบกับรูปบุคคลที่อยู่ในท่านั่งสมาธิน่าจะหมายถึง พระพุทธเจ้าอมิตาภะ ซึ่งเป็น ๑ ในพระธยานิพุทธ ๕ พระองค์ ตามความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน โดยพระพุทธเจ้าอมิตาภะจะปรากฏในรูปของพระพุทธเจ้าทำปางสมาธิ ดังนั้นสันนิษฐานว่าเศียรประติมากรรมชิ้นดังกล่าวคือรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เช่นเดียวกับประติมากรรมพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งพบในเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนั้นยังมีการพบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ในเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีอีกหลายแห่ง เช่น เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
กาญจนา การะเกตุ. “พระโพธิสัตว์ที่พบในเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก.” การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรปริญญาศิลปาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๐.. ศิลปะไทย ภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.