ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,555 รายการ
ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมดีเด่นในประวัติวรรณกรรมไทยสมัยสุโขทัย จากประกาศของคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ซึ่งพระราชนิพนธ์ขึ้นโดย สมเด็จพระศรีสุริยมหาธรรมราชาธิราช (พญาลิไทย) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา พุทธศักราช 1896 เป็นวรรณกรรมปรัชญาแห่งศาสนาพุทธ ซึ่งเขียนขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง โดยอาศัยคัมภีร์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 30 คัมภีร์ นับเป็นวิทยานิพนธ์ชิ้นแรกของไทย เขียนเป็นความเรียงด้วยถ้อยคำภาษาที่ประณีตงดงามด้วยลีลาการพรรณนาและเปรียบเทียบ การใช้ภาพพจน์ มีเนื้อความกล่าวถึงจักรวาลวิทยา ปรัชญา จริยศาสตร์ ชีววิทยา และความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นแจ้งถึงวิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยที่แรกเริ่มก่อตั้งราชอาณาจักรในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ในสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2319 ให้สมเด็จพระสังฆราชทรงกำกับการเขียนให้ถูกต้องตรงตามพระบาลีโดยเคร่งครัดทุกประการ และจัดพระบาลีลงกำกับภาพไว้ให้เป็นที่เข้าใจโดยชัดแจ้ง ต่อมาพระมหาช่วย วัดปากน้ำ สมุทรปราการ (วัดกลางวรวิหาร) ได้จารใส่ใบลานขึ้นเมื่อเดือน 4 ปีจอ สัมฤทธิศกจุลศักราช 1140 ----------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ----------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง ไตรภูมิ ฉบับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิกถา ฉบับถอดความ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ พญาลิไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ). กรุงเทพฯ : ตรงหัว, 2542.
ชื่อผู้แต่ง ศิลปากร , กรม
ชื่อเรื่อง ประวัติวัดสุวรรณาราม
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๘
จำนวนหน้า ๑๑๔ หน้า
หมายเหตุ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร พิมพ์ชำร่วยในการทอดกฐิน พระราชทานของ กรมศิลปากร ณ วัดสุวรรณาราม จังหวัดธนบุรี ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
วัดสุวรรณาราม เป็นวัดชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ฝั่งตะวันตก จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณเดิมชื่อวัดทอง ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง รัชกาลที่ ๑ โปรดให้รื้อสถาปนาใหม่ทั่วทั้งพระอาราม แลได้ทรงสร้างพระอุโบสถ วิหาร กำแพงแก้ว มีเก๋งข้างหน้า ๒ เก๋ง ครั้นสถาปนาเสร็จแล้วจึงประราชทานนามใหม่ว่า วัดสุวรรณาราม
ต้นโพธิ์กับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาสมัยทวารวดี ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ประทับและตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยสาเหตุนี้ต้นโพธิ์จึงเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ในทางพุทธศาสนา คำว่า “ต้นโพธิ์” มิได้หมายถึงชื่อพันธุ์ไม้ทั่วไป แต่เป็นชื่อเรียกเฉพาะต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มเงาขณะตรัสรู้ คำว่า “โพธิ” หมายถึงการตรัสรู้ ดังนั้น พระอดีตพุทธเจ้า พระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) และพระอนาคตพุทธเจ้า ต่างทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ทั้งสิ้น แต่เป็นต้นโพธิ์ที่ต่างสายพันธุ์กันออกไป เช่น พระศรีอาริยเมตไตรย พระอนาคตพุทธเจ้า จะตรัสรู้ใต้ต้นกากะทิง พระสมณโคดมหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ หรือโพใบ ซึ่งเป็นไม้ในสกุล Ficus religiosa L. วงศ์ MORACEAE มีใบคล้ายรูปหัวใจ ดังนั้นพันธุ์ไม้ชนิดนี้ปัจจุบันจึงนิยมเรียกกันว่า “ต้นโพธิ์”
ทั้งนี้ความเชื่อเรื่องการบูชาต้นโพธิ์ในประเทศไทย น่าจะเข้ามาพร้อมกับการนับถือพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่าในสมัยทวารวดีคงมีการนับถือ และเคารพบูชาต้นโพธิ์ด้วยเช่นกัน โดยปรากฏหลักฐาน ได้แก่ ชิ้นส่วนประติมากรรมดินเผารูปต้นโพธิ์ ตั้งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย พบจากเมืองโบราณอู่ทอง และชิ้นส่วนประติมากรรมรูปต้นโพธิ์ดินเผา พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่น่าเสียดายที่ไม่พบหลักฐานว่าประติมากรรมรูปต้นโพธิ์ที่พบจากเมืองโบราณอู่ทองนั้น เคยประกอบร่วมกับชุดสิ่งสักการบูชาอื่นหรือไม่ ทั้งนี้ต้นโพธิ์ดินเผานี้อาจสร้างขึ้นเพื่อประกอบรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูป หรือภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ก็เป็นได้ อนึ่งการทำต้นโพธิ์เป็นรูปเคารพ มีมาแล้วตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ก่อนการทำพระพุทธรูป โดยสัญลักษณ์รูปต้นโพธิ์หมายถึงการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เอกสารอ้างอิง
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. การนับถือบูชาต้นไม้ใหญ่และต้นโพธิ์ในสมัยทวารวดี, ดำรงวิชาการ : รวมบทความทางวิชาการคณะโบราณคดีปี ๒๕๔๗. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.
สมบัติ พลายน้อย. พฤกษนิยาย. พระนคร : แพร่พิทยา, ๒๕๑๒.
https://plantgeneticssite.wordpress.com/.../%E0%B9%82%E0.../
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๑๕
เจ้าอาวาสวัดวิเวการาม ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ฃลบุรี
มอบให้หอสมุด ๑๙ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.19/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
องค์ความรู้ เรื่อง ใบเสมาสลักภาพพุทธประวัติ ตอน โสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้าคา
เรียบเรียง/ภาพ นางสาวพรพิณ โพธิวัฒน์
ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น
อาคารเก่าริมฝั่งโขงเมืองนครพนม (ตอนที่๔)
ศาสนาคริสต์ได้เผยแพร่เข้ามาในจังหวัดนครพนมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ จนเกิดชุมชนชาวคริสตังใหม่ที่บ้านคำเกิ้ม ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร ต่อมาได้มีคณะบาทหลวง นำโดย คุณพ่อโปรโดม คุณพ่อซาเวียร์ คุณพ่อดาแบง เดินทางเข้ามาที่ชุมชนชาวคริสตังบ้านคำเกิ้ม และได้ตกลงกันสร้างวัดขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีถือศีลล้างบาปให้แก่ชาวบ้านคำเกิ้ม โดยมีคุณพ่อซาเวียร์เป็นองค์อุปถัมภ์ และท่านได้เผยแพร่ศาสนาไปยังพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งหมู่บ้านหนองแสงด้วย
วัดนักบุญอันนา อยู่ที่บ้านหนองแสง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โบสถ์ของวัดแห่งนี้มีการปรับปรุงทั้งหมด ๓ ครั้ง หลังเดิมถูกระเบิดสมัยที่มีกรณีพิพาทอินโดจีน มีการประดับซุ้มวงโค้งตรงด้านทางเข้า การก่อสร้างในขณะนั้นเป็นหน้าที่รับผิดชอบของบาทหลวง โดยอาศัยคริสต์ศาสนิกชนเป็นผู้ช่วยเหลือในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นกลุ่มคนญวนที่อพบพเข้ามาอาศัยในพื้นที่จังหวัดนครพนม จากกรณีปราบปรามพวกเข้ารีตของเวียดนามตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๙ และทางราชการส่วนกลางไทยได้จัดให้ไปอยู่ตามเมืองต่างๆ ติดริมแม่น้ำโขง
โบสถ์วัดนักบุญอันนา ตามประวัติระบุว่าเริ่มวางเสาต้นแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ จึงกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบการประดับซุ้มวงโค้งแห่งแรกในจังหวัดนครพนม ซึ่งปัจจุบันส่วนบนมีลักษณะเป็นหอคอยมียอดแหลม ส่วนยอดประดับไม้กางเขนทั้งด้านซ้ายและด้านขวา นอกจากนี้ภายในวัดยังมีอาคารที่ทำการศาสนกิจของบาทหลวง ก่อตั้งโดย บาทหลวงเอดัวร์นำลาภ ภายหลังจัดตั้งเป็นมูลนิธิบาทหลวงเอดัวร์นำลาภ อาคารหลังนี้มีจารึกที่ใต้กรอบหน้าจั่วเหนือซุ้มวงโค้งระบุถึงปีที่สร้างคือ ค.ศ. ๑๙๕๒ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นอาคาร ๒ ชั้น ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโคโรเนียล ก่อด้วยอิฐสอปูน มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า กรอบหน้าจั่วประดับซุ้มวงกลม มีการทำซุ้มวงโค้งที่ประตูและหน้าต่าง โดยการโชว์สันอิฐที่วงโค้ง และมีการตกแต่งการทำพื้นผิวในพื้นที่ช่องสี่เหลี่ยม
วัดนักบุญอันนาแห่งนี้ จัดเป็นสถานที่สวยงามแห่งหนึ่ง ที่บอกเล่าประวัติความเป็นมาของคริสต์ศาสนิกชน ในจังหวัดนครพนม โดยในวันคริสต์มาสของทุกปีจะมีเทศกาลแห่ดาวที่คริสต์ศาสนิกชนในจังหวัดนครพนมจะประดิษฐ์ดาวรูปแบบต่าง ๆ แล้วแห่มารวมกันไว้ที่นี่ ถ้าท่านใดสนใจก็สามารถมาเที่ยวชมกันได้นะคะ
ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์
อ้างอิง :
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
- ชวลิต อธิปัตยกุล.สิมญวน ในอีสาน.อุดรธานี:เต้า-โล้,๒๕๕๘.
เสาดินนาน้อย อยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาแล้ว พื้นที่บริเวณนี้ยังพบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นหินกรวดแม่น้ำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือหินในกลุ่มเครื่องมือสับ-ตัด (Chopper - chopping Tool) โดยพบได้ทั่วไปตามพื้นผิวดินและผนังชั้นดิน ในบริเวณที่ถูกน้ำเซาะจากการศึกษาเปรียบเทียบอายุสมัยของเครื่องมือหิน สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุมากกว่า ๑๐,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว "เสาดิน" เป็นศัพท์ที่ชาวบ้านใช้เรียกหย่อมตะกอนที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน เป็นแท่ง เป็นกรวย เป็นหลืบ มียอดแหลม โผล่พ้นพื้นดินบนลานโล่ง เสาดินนาน้อยเกิดขึ้นจากการผุพังและการกัดกร่อนโดยน้ำฝนเป็นตัวการ ทำให้ชั้นตะกอนซึ่งได้จากการสะสมตัวในแอ่งลุ่มน้ำของอำเภอนาน้อยในสมัยไพลสโตซีนตอนปลายที่ยังไม่จับตัวกันแน่นแข็งเป็นหิน ถูกชะล้างพัดพาออกไปจนมีสภาพแวดล้อมเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม มีริ้วและร่องที่เกิดจากการกัดกร่อนโดยทางน้ำ (Gully erosion) มากมาย แหล่งธรณีวิทยาคล้ายเสาดินนาน้อยแห่งอื่นในประเทศไทย เช่น แพะเมืองผี ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่, โป่งยุบ ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และ ละลุ ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นต้น แหล่งโบราณคดีเสาดินนาน้อย ปรากฏหลักฐานร่องการอยู่อาศัยแรกเริ่มในพื้นที่จังหวัดน่านของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินเก่า (Palaeolithic Period) หลักฐานที่พบ คือ เครื่องมือหินกะเทาะซึ่งทำจากหินกรวดแม่น้ำ เป็นเครื่องมือหินประเภทสับ-ตัด (Chopper-chopping Tool) ส่วนใหญ่เป็นแบบกะเทาะหน้าเดียว สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุมากกว่า ๑๐,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีการศึกษารูปแบบเครื่องมือหินกะเทาะ ที่พบจากการสำรวจ ในพื้นที่บริเวณแหล่งโบราณคดีเสาดินนาน้อย จำนวน ๒๐๓ ชิ้น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าเป็นหินทรายและหินควอตไซต์ และได้จัดจำแนกรูปแบบเครื่องมือหินออกเป็นสองลักษณะ ได้แก่ เครื่องมือแกนหิน และเครื่องมือสะเก็ดหิน ดังนี้ เครื่องมือแกนหิน (Core Tools) ได้แก่ ๑. Chopper Tools เครื่องมือหินที่กะเทาะหน้าเดียว มีลักษณะเป็นเส้นโค้งหรือเส้นตรงเฉพาะส่วนบนผิวหน้าเท่านั้น ๒. Chopping Tools เครื่องมือหินที่มีร่องรอยการกะเทาะทั้งสองหน้า ขอบที่เป็นคมของเครื่องมือโค้งลงคล้ายลูกคลื่น อันเกิดจากการกะเทาะสลับไปมาทั้งสองข้าง ๓. Hand-Adzes เครื่องมือหินที่ถูกกะเทาะขอบคมด้านซ้ายหรือขวาด้านใดด้านหนึ่ง ๔. Photo-Hand axes เครื่องมือหินที่กะเทาะให้มีลักษณะปลายแหลม ๕. เครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียวทั้งหน้า ๕.๑ แบบมีปลายค่อนข้างแหลม ๕.๒ แบบมีลักษณะค่อนข้างกลม ๖. เครื่องมือหินที่มีร่องรอยการกะเทาะทั้งชิ้น เครื่องมือสะเก็ดหิน (Flakes tools) ได้แก่ ๑. เครื่องมือสะเก็ดหินขนาดใหญ่ที่กะเทาะเพียงหน้าเดียว ให้เกิดรอยคมบริเวณขอบผิวหน้าของสะเก็ดหินด้านใดด้านหนึ่ง ๒. เครื่องมือสะเก็ดหินที่ถูกกะเทาะขอบคม ๒.๑ เครื่องมือสะเก็ดหินที่ถูกกะเทาะขอบคมรอบๆ ๒.๒ เครื่องมือสะเก็ดหินที่ถูกกะเทาะขอบคมด้านซ้ายหรือขวาด้านใดด้านหนึ่ง ๓. เครื่องมือสะเก็ดหินขนาดใหญ่ที่กะเทาะให้มีลักษณะปลายแหลม ๓.๑ เครื่องมือสะเก็ดหินขนาดใหญ่ที่กะเทาะให้มีลักษณะปลายแหลมเพียงด้านเดียว ๓.๒ เครื่องมือสะเก็ดหินขนาดใหญ่ที่กะเทาะให้มีลักษณะปลายแหลมทั้งด้านบนและด้านล่าง ๔. เครื่องมือสะเก็ดหินขนาดเล็กที่มีร่องรอยการกะเทาะทั่วทั้งชิ้น ๕. รูปแบบอื่นๆ ไม่สามารถจัดจำแนกให้อยู่ในรูปแบบข้างต้นได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือหินที่มีลักษณะคล้ายคมขวาน นอกจากแหล่งโบราณคดีเสาดินนาน้อย ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ซึ่งพบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีประวัติศาสตร์สมัยหินเก่าแล้ว ยังมีแหล่งโบราณคดีถ้ำปู่แล่ม หรือถ้ำอัมรินทร์ ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นถ้ำบนภูเขาหินปูน จากการสำรวจพบเครื่องมือหินกะเทาะที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำ ก้อนหินเจาะรู เครื่องมือหินขัด และเศษภาชนะดินเผา โดยหินกรวดแม่น้ำที่มีรอยกะเทาะและสะเก็ดหินหลายชิ้นที่พบคงจะถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องมือ สันนิษฐานว่า เครื่องมือหินกรวดแม่น้ำที่พบที่แหล่งโบราณคดีถ้ำปู่แล่ม หรือถ้ำอัมรินทร์ น่าจะมีอายุราว ๓๕,๐๐๐ - ๒๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งอาจจะอยู่ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับแหล่งโบราณคดีเสาดินนาน้อย ปัจจุบัน โบราณวัตถุที่ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ประกอบด้วย เครื่องมือหินกะเทาะ จำนวน ๑๐ ชิ้น ซึ่งพบจากการสำรวจบริเวณเสาดินนาน้อย เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๒๕ นอกจากนั้น ยังมีการจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากพื้นที่บริเวณเสาดินนาน้อย ณ อาคารที่ทำการของเสาดินนาน้อย และนำเสนอเรื่องราวทางด้านธรณีวิทยาของเสาดินนาน้อยอีกด้วยค่ะ ---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล :พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน---------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง : กรมทรัพยากรธรณี, เสาดิน ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน (ออนไลน์) , เข้าถึงข้อมูลเมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๔, แหล่งที่มา : http://www.dmr.go.th/main.php?filename=n08 พัชราภรณ์ มูลชมพู. “รูปแบบเครื่องมือหินกะเทาะ: แหล่งโบราณคดีเสาดินนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน”. สารนิพนธ์ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕. ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม, แหล่งโบราณคดี เสาดินนาน้อย (ออนไลน์), เข้าถึงข้อมูลเมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๔, แหล่งที่มา : http://gis.finearts.go.th/fineart/ สิริพัฒน์ บุญใหญ่. การสำรวจแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. เชียงใหม่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดกู้ดพริ้น พริ้นติ้ง เชียงใหม่, ๒๕๕๑. สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่. สังเขปประวัติศาสตร์และโบราณคดีจังหวัดน่าน ฉบับคู่มือ อส.มศ. , ไม่ระบุปีที่พิมพ์.