ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,550 รายการ
โบราณสถานวัดสวนหลวง
วัดสวนหลวง เป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณพระเวียง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวกันว่าพื้นที่ตั้งวัดนั้น เดิมเป็นอุทยานหลวงของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชผู้ครองเมืองพระเวียง ต่อมาสถาปนาขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่าวัดสวนหลวง เดิมวัดสวนหลวงมีเนื้อที่ถึง ๕๐ ไร่ แต่ปัจจุบันมีเนื้อเหลืออยู่เพียง ๒๒ ไร่ ๑ งาน ๓๐ ตาราวา เนื่องจากเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทางราชการได้ตัดถนน นครศรีธรรมราช – ร่อนพิบูลย์ หรือ “ถนนราชดำเนิน” จึงทำให้วัดสวนหลวง ถูกแบ่งออกเป็น ๒ วัด คือ วัดสวนหลวงตะวันออก และวัดสวนหลวงตะวันตก กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดสวนหลวงตะวันออกได้ร้างไป เหลือเพียงวัดสวนหลวงตะวันตก เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงใช้เรียกนามวัดในทางราชการและคณะสงฆ์ว่า “วัดสวนหลวง” แต่นั้นมา
ภายในวัดสวนหลวงปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญ ได้แก่
(๑) อุโบสถ มีการตกแต่งด้วยประติมากรรมปูนปั้นภาพพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ประกอบด้วยพระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสปะ พระโคตมะ เเละพระศรีอริยเมตไตรย บริเวณผนังด้านในอุโบสถ และตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์บริเวณผนังด้านหน้าอุโบสถ / มีการตกแต่งด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดานพเคราะห์บริเวณเสาภายในอุโบสถ / และตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมภาพทศชาติชาดก ประกอบด้วย เตมีย์ชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก ภูริทัตชาดก และจันทกุมารชาดก (พบว่าภายในอุโบสถมีการแสดงภาพทศชาติชาดกเพียง ๗ เรื่อง โดยขาด ๓ เรื่อง ได้แก่ มโหสถชาดก วิธูรบัณฑิตชาดก และพระเวสสันดรชาดก )
(๒) พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ทรงเครื่อง สำริด ศิลปะอยุธยา สูงรวมฐาน ๑.๙๐ เมตร พระนามสมเด็จเจ้าลาวทอง
(๓) บ่อน้ำดินเผา บริเวณด้านทิศตะวันออกใกล้กำแพงวัด ขุดพบในปี ๒๕๕๒ ปัจจุบันทำศาลาครอบไว้
(๔) ธรรมมาสน์ไม้พร้อมบันไดนาค ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
ปัจจุบันวัดสวนหลวงได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๘ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ พื้นที่โบราณสถาน พื้นที่ ก. ประมาณ ๑ ไร่ ๖๒.๙๑ ตารางวา พื้นที่ ข. ประมาณ ๓ งาน ๓๗.๕๐ ตารางวา
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
เรื่อง "ทวารบาลวัดเขาสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย"
ทวารบาล มาจากคำว่า ทวาร หมายถึง ประตู ส่วนคำว่า บาล หมายถึง การเลี้ยง รักษา ปกครอง และเมื่อแปลรวมกันคำว่า “ทวารบาล” จึงหมายถึง ผู้รักษาประตู หรือผู้รักษาช่อง โดยทวารบาลมีหน้าที่ปกป้องรักษาไม่ให้สิ่งชั่วร้าย หรือสิ่งไม่ดีเข้ามาภายในศาสนสถานได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ได้กล่าวถึงที่มาของทวารบาลไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ว่า “มนุษย์ย่อมต้องมีเครื่องป้องกันภัย อย่างต่ำมีประตูบ้านเรือน ต่อขึ้นมาถึงมีคนเฝ้าประตูบ้านเรือน ต่อขึ้นมาถึงเลือกสรรคนกล้าแข็งรักษาประตู ต่อขึ้นมาถึงผู้เป็นอัจฉริยบุรุษ อาจจะหัดสัตว์ร้ายให้รักษาประตูได้ มูลเหตุนี้เองที่เลยมาเป็นรูปภาพ แล้วถึงแต่ชื่อสิงห์ก็นับว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูง”
เมืองศรีสัชนาลัย ปรากฏประติมากรรมทวารบาลทั้งรูปบุคคล และรูปสัตว์ ที่วัดเขาสุวรรณคีรี บริเวณซุ้มประตูทางเข้าศาสนสถานทางด้านตะวันตก ด้านหลังของเจดีย์ประธาน โดยพบชิ้นส่วนของโกลนศิลาแลงรูปบุคคลยืนในลักษณะเข่าแยกออกจากกัน และชิ้นส่วนปูนปั้นรูปสิงห์ โดยประติมากรรมดังกล่าวทำหน้าที่เป็นทวารบาลตามคติความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับภูต ผี ปีศาจ และพลังอันลึกลับเหนือธรรมชาติที่มองไม่เห็น ทั้งดี และร้าย โดยสถานที่สำคัญ หรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จะมีสิ่งที่คอยปกปักษ์รักษาเพื่อที่จะไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้าไปยังที่แห่งนั้นได้ ด้วยการนำรูปยักษ์ รูปอสูร หรือแม้แต่รูปเทวดา ที่มีลักษณะน่ากลัวเป็นที่ น่าเกรงขามแก่เหล่าภูต ผี และปีศาจ ไปติดตั้งไว้ตามบริเวณช่องประตู บานหน้าต่าง หรือราวบันได โดยรูปยักษ์ รูปอสูร หรือแม้แต่รูปเทวดาจะถูกนำเสนอผ่านงานศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น งานปั้น งานแกะสลักหรือแม้แต่งานจิตรกรรม เป็นต้น และถูกเรียกว่า “ทวารบาล”
-------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
วิทยานิพนธ์
ณวลพักตร์ พิมลมาศ. คติความเชื่อและรูปแบบทวารบาลไทย-จีน สมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 3) กรณีศึกษาวัดสุวรรณารามและวัดราชโอรสาราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2549.
เชาว์ เภรีจิต. สัตว์ประดับและบริวารของทวารบาล: ที่มา คติการสร้าง รูปแบบและพัฒนาการ จากสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2556.
ระพี เปรมสอน. จากทวารบาลแบบประเพณีมาสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2555.
ออนไลน์
ทวารบาล ผู้พิทักษ์ศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/kamphaengphethistor.../view/34671. (เข้าถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2566).
-------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : Facebook Page อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0DTPVxhnuLR4syjBQ16GbwchW4iX4UgnpuJDimd4DoSjYcvw9rvu88xe3YTr5YzhZl&id=100068946018506
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้จัดกิจกรรมสุดพิเศษเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ยลโฉมความงามของโบราณสถานยามค่ำคืน ในงาน "ราตรีนี้...ที่วัดไชยวัฒนาราม Ayutthaya Sundown" โดยเปิดให้เข้าชมวัดไชยวัฒนาราม ผ่าน แสง สี จากการประดับไฟ ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และเทศกาลสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 กิจกรรมประจำสัปดาห์นี้ มีดังนี้ - วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ไม่มีกิจกรรมพิเศษ สามารถเข้าชมโบราณสถานยามค่ำคืนได้ตามปกติ - วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 มีกิจกรรม ล้อมวงเล่า Sundown Talk หัวข้อ "อยุธยา มู...ไม่มู..." พบกับการบอกเล่าข้อมูลทางวิชาการ ในบรรยากาศสบายๆ - วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 พบกับกิจกรรม "ราตรีนี้...ที่วัดไชยฯ PODCAST" Ep.2 ที่จะพาทุกท่านเพลิดเพลินไปกับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัดไชยวัฒนารามในแง่มุมต่างๆ ทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี และการอนุรักษ์ - วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 4 - 5 พฤศจิกายน 2566 มี Workshop ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นโสนหางไก่ จากวิสาหกรรมชุมชนบ้านกรด อำเภอบางปะอิน มาให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรมกันอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการประกวดผลงานภาพถ่าย ภายใต้หัวข้อ "แต่งไทย ชมวัดไชยฯ ยามราตรี" ชิงเงินรางวัลรวม 40,000 บาท เปิดรับภาพตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2566 โดยกำหนดให้ส่งภาพถ่ายบุคคลแต่งกายชุดไทยยุคต่างๆ ภายในวัดไชยวัฒนารามในเวลากลางคืน ส่งผลงานได้ที่ E-mail contestayhispark@gmail.com โดยสามารถอ่านศึกษากติกาและรายละเอียดได้ ที่นี่ !
ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาชมโบราณสถานยามค่ำคืน ณ โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 (อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 21.00 น.) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3524 2286 ต่อ 101 หรือทาง เฟสบุ๊ก เพจ: อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park
กรมศิลปากร ได้ดำเนินการจัดทำ Social Media บนแพลตฟอร์ม TIKTOK เพื่อเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ท่านที่สนใจสามารถกดติดตามได้ที่ TIKTOK : กรมศิลปากร ประเดิมแพลตฟอร์มใหม่กับรายการ "เที่ยวแหล่งมรดกวัฒนธรรมไปกับกรมศิลปากร" ชมนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://www.tiktok.com/@finearts.pr/video/7312020939430989057?_r=1&_t=8i9DQ69Df3x&fbclid=IwAR0VSVSXRNSaLs-qtbBdHSo_YttjZNR8-MskzgXmC2XVuF4wiSRAeG44gkg
วันอังคารที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ขอพระราชทานน้อมแสดงความจงรักภักดีแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมพิธี ร่วมด้วยการบรรเลง - ขับร้องเพลง 'ในอุ่นอ้อมอกมั่นคง' โดยศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
องค์ความรู้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง เล่าเรื่องจากปกวารสารศิลปากร
ปกวารสารศิลปากร มีความน่าสนใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นชื่อวารสารเหมือนอยู่ในคลี่พระราชสาส์นออกพระพิฆเนศหันซ้ายเล็กน้อย รวมทั้งภาพปก หลายครั้งภาพปกเป็นฝีพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้เขียนเลือก วารสารศิลปากร ปีที่ ๘ เล่มที่ ๘-๑๐ มกราคม ถึง มีนาคม๒๔๙๘
ปีที่ ๘ เล่ม ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ มุมขวาด้านล่าง ปรากฏศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเดิมอยู่ในหอสมุดวชิรญาณ เป็นจารึกที่หลายคนรู้จัก และเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา ปัจจุบันอยู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ปีที่ ๘ เล่ม ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ ตู้ลายรดน้ำสมัยอยุธยา ทำเป็นรูปฝรั่ง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับรูปแขก พระเจ้าออรังเซฟ ราชวงศ์โมกุล สันนิษฐานว่า ทำในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ปีที่ ๘ เล่ม ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เสาศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม อักษรมอญ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) พบที่ศาลสูง ลพบุรี ย้ายมารักษาที่อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ตรัสสั่งให้ส่งมาไว้ในหอพระสมุด ปัจจุบันอยู่ ชั้น ๔ ห้องเอกสารโบราณ อาคารวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ
แผ่นศิลาที่อยู่บริเวณกลางภาพ พบที่วัดมเหยงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เคลื่อนมาอยู่ที่อาคารมหาสุรสิงหนาถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ตรัสสั่งให้ส่งมาไว้ในหอพระสมุดกับจารึกหลักอื่น ๆ ซึ่งเดิมสถานที่แสดงจารึกอยู่ในห้องพระโรงศิวโมกขพิมาน ปัจจุบันอยู่ ณ พระที่นั่งอุตราภิมุขพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
หลายครั้งหลายเรื่องราว มาจากปกหนังสือแค่ไม่กี่เล่ม ภาพแค่ไม่กี่ภาพ ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวได้เขียนในโอกาสเฉลิมฉลองวันสถาปนาสำนักหอสมุดแห่งชาติ ครบ ๑๑๘ ปี และความเชื่องโยงระหว่างหอสมุดแห่งชาติ กับกรมศิลปากร ที่เป็นขุมทรัพย์ของชาติ ตักศิลาของประเทศ
--------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔.
กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, ๒๕๒๙.
-----. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๒ อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๑. กรุงเทพฯ:
ภาพพิมพ์, ๒๕๒๙.
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์. ตู้ลายทอง ภาค ๑. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๓.
ศิลป์ พีระศรี. เรื่องตู้ลายรดน้ำ. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๓.
“ภาพตู้ลายรดน้ำสมัยศรีอยุธยา ทำเป็นรูปราชทูตฝรั่งเศสกับราชทูตเปอร์เซียสำหรับเก็บหนังสือใบลาน
ในหอสมุดวชิรญาณ” วารสารศิลปากร. ๘, ๙ (กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘): ปก.
“ภาพศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัย อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ.” วารสารศิลปากร. ๘, ๘ (มกราคม ๒๔๙๘): ปก.
“ภาพศิลาจารึกภาษามอญ และภาษาสันสกฤต ภายในหอสมุดวชิรญาณด้านใต้.” วารสารศิลปากร. ๘, ๑๐
(มีนาคม ๒๔๙๘): ปก.--------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
กราฟิก นายชลิต ปรีชากุล นายช่างศิลปกรรม สำนักหอสมุดแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๔พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่าน โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายกรหัสเอกสาร ภ หจภ (๓) กษ ๑.๑/๗๐
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมร้อยพวงมาลัยลูกปัดเป็นของขวัญวันแม่ หรือจะร้อยมาลัยถวายพระ ในกิจกรรม "มุม หัด-ทำ-มือ" Arts & Crafts Corner วันเสาร์อาทิตย์ที่ ๑๐ - ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ณ หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) พบกับเวิร์กชอปร้อยพวงมาลัยลูกปัด พร้อมกับน้ำชาและขนม ชุดละ ๓๕๐ บาท หากมาเป็นคู่ คู่ละ ๖๐๐ บาท สามารถติดต่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่เฟซบุ๊ก เพจ “มือกระบี่” https://www.facebook.com/muekrabi
อุทยานประวัติศาสตร์ พิมาย ขอเชิญชมการแสดงดนตรี ซิมโฟนีออร์เคสตรา ผสมผสานดนตรีพื้นถิ่นโคราช "ดนตรีกล่อมปราสาท" ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในวันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 เวลา 17.00 - 20.00 น. จัดโดย มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ไทยพีบีเอส มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เทศบาลตำบลพิมาย ที่ทำการปกครองอำเภอพิมาย
โบราณสถานวัดช้างเผือก
โบราณสถานวัดช้างเผือก ตั้งอยู่ที่บ้านช้างเผือก ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ตามประวัติวัดกล่าวว่า วัดช้างเผือกสร้างเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๑๐๖ เมื่อครั้งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้างได้อพยพผู้คนจากเชียงใหม่ และทรงนำช้างเผือกคู่บารมีมาด้วย ต่อมาช้างเผือกได้ล้มป่วยและตาย จึงได้เผาช้างเผือกดังกล่าวและก่อเจดีย์ขึ้น เรียกว่า “เจดีย์ช้างเผือก” และสร้างเป็นวัดขึ้นชื่อว่า “วัดช้างเผือก”
โบราณสถานวัดช้างเผือก ประกอบด้วยอาคารสำคัญ ๒ หลัง ได้แก่ สิม (อุโบสถ) มีลักษณะเป็นสิมพื้นบ้านอีสาน ก่อด้วยอิฐถือปูนในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนฐานเป็นฐานปัทม์มีมุขด้านหน้า ระเบียงหน้ามุขเจาะเป็นช่องวงโค้ง บริเวณเหนือกรอบประตูด้านในมีการตกแต่งด้วยการประดับปูนปั้นเป็นรูปธาตุเจดีย์ ศิลปกรรมแบบล้านช้าง และบริเวณหน้าบันของมุขหน้า ประดับปูนปั้นลวดลายลายพันธุ์พฤกษา เทพนม ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกและธรรมจักรอยู่เหนือบัลลังก์ภายในกรอบรูปเสมา ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ส่วนเจดีย์ (ธาตุ) เรียกว่า “เจดีย์ช้างเผือก” มีการสร้างมณฑปครอบทับเจดีย์องค์เก่าไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถาน โบราณสถานวัดช้างเผือก ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๘๑ ง วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๐ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ งาน ๗ ตารางวา
Wat Chang Phueak
Wat Chang Phueak is located at Ban Chang Phueak, Phan Phrao Sub-district, Si Chiang Mai District, Nong Khai Province. It was built in May 1, 1563 according to the record. It is said that when King Setthathirath relocated from Chiang Mai, the white elephant was loss from the illness. The stupa and the temple were later established as a memorial with the elephant being part of the name. The ancient site composed of two important structures as the followings:
1.) Sim (the ordination hall or Ubosot), a traditional brick-stucco building. It was constructed in square layout on lotus pedestal-shaped base. The front arch-porch on the entrance door was ornamented with stupa-shaped stucco. The front gable was decorated with a white elephant and Dharmachakra on Banlang, a square pedestal, within a frame. The temple has been dated at the late 20th century CE.
2.) A stupa name Chedi Chang Phueak. Currently, it was enveloped by the mandapa which was built in 1961.
Wat Chang Phueak has been registered and published in the Government Gazette, Volume 114, Special Edition 81, on September 15, 1997. The area of ancient monument is 828 square meters.