เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ไตรภูมิกถา
ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมดีเด่นในประวัติวรรณกรรมไทยสมัยสุโขทัย จากประกาศของคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ซึ่งพระราชนิพนธ์ขึ้นโดย สมเด็จพระศรีสุริยมหาธรรมราชาธิราช (พญาลิไทย) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา พุทธศักราช 1896 เป็นวรรณกรรมปรัชญาแห่งศาสนาพุทธ ซึ่งเขียนขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง โดยอาศัยคัมภีร์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 30 คัมภีร์ นับเป็นวิทยานิพนธ์ชิ้นแรกของไทย เขียนเป็นความเรียงด้วยถ้อยคำภาษาที่ประณีตงดงามด้วยลีลาการพรรณนาและเปรียบเทียบ การใช้ภาพพจน์ มีเนื้อความกล่าวถึงจักรวาลวิทยา ปรัชญา จริยศาสตร์ ชีววิทยา และความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นแจ้งถึงวิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยที่แรกเริ่มก่อตั้งราชอาณาจักรในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ในสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2319 ให้สมเด็จพระสังฆราชทรงกำกับการเขียนให้ถูกต้องตรงตามพระบาลีโดยเคร่งครัดทุกประการ และจัดพระบาลีลงกำกับภาพไว้ให้เป็นที่เข้าใจโดยชัดแจ้ง ต่อมาพระมหาช่วย วัดปากน้ำ สมุทรปราการ (วัดกลางวรวิหาร) ได้จารใส่ใบลานขึ้นเมื่อเดือน 4 ปีจอ สัมฤทธิศกจุลศักราช 1140
----------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
----------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
ไตรภูมิ ฉบับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิกถา ฉบับถอดความ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ พญาลิไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ). กรุงเทพฯ : ตรงหัว, 2542.
(จำนวนผู้เข้าชม 30605 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน