ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมดีเด่นในประวัติวรรณกรรมไทยสมัยสุโขทัย จากประกาศของคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ซึ่งพระราชนิพนธ์ขึ้นโดย สมเด็จพระศรีสุริยมหาธรรมราชาธิราช (พญาลิไทย) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา พุทธศักราช 1896 เป็นวรรณกรรมปรัชญาแห่งศาสนาพุทธ ซึ่งเขียนขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง โดยอาศัยคัมภีร์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 30 คัมภีร์ นับเป็นวิทยานิพนธ์ชิ้นแรกของไทย เขียนเป็นความเรียงด้วยถ้อยคำภาษาที่ประณีตงดงามด้วยลีลาการพรรณนาและเปรียบเทียบ การใช้ภาพพจน์ มีเนื้อความกล่าวถึงจักรวาลวิทยา ปรัชญา จริยศาสตร์ ชีววิทยา และความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นแจ้งถึงวิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยที่แรกเริ่มก่อตั้งราชอาณาจักรในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ในสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2319 ให้สมเด็จพระสังฆราชทรงกำกับการเขียนให้ถูกต้องตรงตามพระบาลีโดยเคร่งครัดทุกประการ และจัดพระบาลีลงกำกับภาพไว้ให้เป็นที่เข้าใจโดยชัดแจ้ง ต่อมาพระมหาช่วย วัดปากน้ำ สมุทรปราการ (วัดกลางวรวิหาร) ได้จารใส่ใบลานขึ้นเมื่อเดือน 4 ปีจอ สัมฤทธิศกจุลศักราช 1140




















----------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
----------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
ไตรภูมิ ฉบับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิกถา ฉบับถอดความ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ พญาลิไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2555. ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ). กรุงเทพฯ : ตรงหัว, 2542.

(จำนวนผู้เข้าชม 28946 ครั้ง)

Messenger