ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ


          โบราณสถานที่เข้าใจว่าเป็น “หลักเมือง” สุโขทัยนี้ มาจากข้อสันนิษฐานที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” โดยกล่าวไว้ว่า “แต่ทางทิศเหนือวัดมหาธาตุ ริมวัดที่เรียกกันว่า วัดชนะสงครามนั้น มีสถานอันหนึ่งซึ่งราษฎรเรียกว่าศาลกลางเมือง ได้แต่งให้พระวิเชียรปราการไปตรวจดูก่อน บอกว่าเข้าใจว่าจะเป็นหลักเมือง ครั้นไปดูเองภายหลังก็ลงเนื้อเห็นด้วย คือมีเป็นเนินอยู่เฉยๆก่อนแต่ครั้นให้ถางและขุดลงไป จึงได้เห็นท่าทางพอเดาได้ ว่ามีเสาแลงตั้งขึ้นไปทั้ง ๔ มุม มีมุมละ ๒ เสาซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น ที่ตรงกลางเนินมีหลุมซึ่งเข้าใจว่าคงจะเป็นหลุมที่ฝังนิมิต ในหลุมนั้นมีศิลาแผ่นแบนทิ้งอยู่แผ่นหนึ่งแต่แตกแยกเป็นสองชิ้น ตรวจดูศิลานั้นก็แลเห็นเป็นลายอะไรเลือนๆ จึงเหลือที่จะรู้ได้ว่าเป็นอะไร บางทีจะเป็นแผ่นศิลาที่ลงดวงของเมืองก็ได้”          ลักษณะของศาลหลักเมืองเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก ตั้งอยู่เดี่ยวๆ มีลักษณะเป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกพื้นสูง มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ด้านบนมีฐานบัวก่อด้วยอิฐรองรับเสาแปดเหลี่ยมทำด้วยศิลาแลง แต่เดิมน่าจะมีเครื่องบนทำด้วยไม้และหลังคามุงกระเบื้อง ปัจจุบันชำรุดหายไป ขนาดของฐานกว้างด้านละ ๓ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย




เลขทะเบียน : นพ.บ.48/20ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 30 (308-325) ผูก 2หัวเรื่อง :  บาลีกถาวัตถุ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม





ชื่อเรื่อง : รามเกียรติ์ เล่ม 3 ชื่อผู้แต่ง : พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 408 หน้า สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร  ดำเนินเรื่องโดยการเล่าเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบ พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ เล่ม 3 เริ่มจากตอน พระพรตเฝ้า พระภารทวาชะ ฤาษี พระพรตขอฉลองพระบาทพระรามไปแทนพระองค์ พิราพลักสีดา พระรามเรียกศรรามสูรจากพระพิรุณ ทศกัณฐ์หลงรักสีดา จนถึงตอนสัมพาทีทราบข่าวสดายุ




ชื่อเรื่อง : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติและบทร้อยกรองบางเรื่อง ชื่อผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์ ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามมิตร จำนวนหน้า : 154 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมพระประวัติ และพระนิพนธ์บทร้อยกรองเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือพระนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "เจ้าฟ้ากุ้ง" อันประกอบด้วย บทเห่เรือ บทเห่เรื่องกากี บทเห่สังวาสและเห่ครวญ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง และเพลงยาว นับเป็นบทร้อยกรองที่ทรงคุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย


ชื่อเรื่อง : มหานิบาตชาดกเรื่องที่ห้า มโหสธชาดก ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ประจักษ์วิทยา


สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเข้าร่วมพิธีถวายบังคมพระบรมรูปฯ สมเด็จพระปิยมหาราชเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ณ บริเวณลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕หน้าที่ว่าการอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


ชื่อเรื่อง : เทศม์หาชาติ   พิมพ์ครั้งที่ : ๘   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖   สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : วรวุฒิการพิมพ์   หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมรรคาคำณวน ( ละมูล  ปิ่นแสง )                หนังสือเทศมหาชาตินี้คือร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยพระบุพจริยาของพระพุทธองค์ในอดีตชาติ เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญพระบารมีเป็นชาติสุดท้าย ชาดกนี้ชั้นเดิมเป็นภาษามคธหรือภาษาบาลี เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธพจน์นับเนืองอยู่ในขุททกนิกาย ฝ่ายพระสุตตันตปิฎก พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นคาถา คือคำประพันธ์ประเภทฉันท์ตลอดเรื่องมีความยาวกำหนดเป็นคาถาถึง ๑๐๐๐ คาถาซึ่งไทยเรานิยมเรียกว่า " คาถาพัน "