ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,320 รายการ

ตราหมอดู ชบ.ส. ๔๙ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.24/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)




มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.  ลิลิตนารายน์สิบปาง.  พิมพ์ครั้งที่      ๔.  พระนคร : คลังวิทยา.  ๕๒๖ หน้า.      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่พระราชนิพนธ์ “ลิลิตนารายน์สิบปาง” ขึ้นเพื่อมอบให้พระราชินีอินทรศักดิ์ศจี  พระนารายน์อวตารมาเกิดในโลก รวม ๑๐ ครั้งเพื่อปราบยุคเข็ญและให้เกิดความสงบสุขแก่โลกมนุษย์ด้วยกัน ได้แก่      ปางที่ ๑ มัตสยาสตาร อวตารมาเป็นปลาศผริ      ปางที่ ๒ กูรมาวสตาร อวตารมาเป็นเต่า      ปางที่ ๓ วราหาวตาร อวตารมาเป็นหมู      ปางที่ ๔ นรสิหาวตาร อวตารมาเป็นนรสิงห์      ปางที่ ๕ วามรนาวตาร อวตารมาเป็นพราหมณ์เตี้ย      ปางที่ ๖ ปรศุรามาวตาร อวตารมาเป็น พราหมณ์ชื่อ ราม      ปางที่ ๗ รามจันทราวตาร อวตารมาเป็น พระราม หรือรามจันทร์ในสมัยไตรดายุค      ปางที่ ๘ กฤษณาวตาร อวตารมาเป็นพระกฤษณะ กษัตริย์จันทรวงศ์แห่งกรุงทวารกา      ปางที่ ๙ พุทธาวตาร อวตารมาเป็นพระพุทธเจ้า ในสมัยกลียุคเรื่องนี้เกิดขึ้นเนื่องจากพวกพราหมณ์ไม่สามารถเอาชนะ      ปางที่ ๑๐ กัลก์ยาวตาร อวตารมาเป็นพระกัลกี     


กรมศิลปากร.  นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.         นำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา มีเนื้อหาในส่วนของรูปแบบการสร้างอาคาร และวัตถุที่จัดแสดง




          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การให้บริการสืบค้นข้อมูลเอกสารโบราณออนไลน์” วิทยากรโดย นางสาวสาวิณี ขอนแก่น นักภาษาโบราณชำนาญการ, นางรตนาภรณ์ สะอาดโอษฐ์ นักภาษาโบราณปฏิบัติการ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร





          ในปี ๒๕๖๔ นับได้ว่าเป็นปีแห่งการสานต่องานทางโบราณคดีที่สำคัญของสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ กับโครงการขุดค้นทางโบราณคดีโบราณสถานวัดส้มสุก ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่สอง          โบราณสถานสถานแห่งนี้ นับได้ว่าเป็นโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่ค้นพบในพื้นที่แอ่งที่ราบอำเภอแม่อายในปัจจุบัน ประกอบด้วยโบราณสถาน ๕ หลัง คือ เจดีย์ วิหาร และอาคารอีก ๓ หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างมากเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้คือ เป็นโบราณสถานที่มีขนาดวิหารใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีขนาดความกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๔๐ เมตร และเสาวิหารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง ๑ เมตร นอกจากนั้นหลักฐานจากปูนปั้นที่บริเวณเจดีย์ ยังแสดงให้เห็นถึงความพิเศษของวัดแห่งนี้ เพราะมีชิ้นส่วนปูนปั้นรูปช้างบางส่วนติดอยู่ที่ฐานเจดีย์ แสดงให้เห็นว่าเจดีย์วัดส้มสุกนี้ เป็นเจดีย์ที่มีช้างล้อมรอบฐาน หรือที่เรียกว่า “เจดีย์ช้างล้อม” ซึ่งเป็นเจดีย์รูปแบบพิเศษของล้านนาที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมจากสุโขทัยในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันในจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏเจดีย์ช้างล้อมไม่กี่แห่ง ได้แก่ ที่วัดเจดีย์หลวง เจดีย์วัดเชียงมั่น เจดีย์วัดพระสิงห์ เจดีย์วัดหัวหนอง(เวียงกุมกาม) โดยในอดีตเจดีย์วัดสวนดอก และเจดีย์วัดป่าแดง เคยมีช้างล้อม แต่ภายหลังถูกเปลี่ยนแปลงสภาพ และเจดีย์ช้างล้อม ๒ องค์ล่าสุด ที่ได้รับการค้นพบในห้วง ๕ ปีที่ผ่านมานี้ คือ เจดีย์ช้างล้อม กลุ่มโบราณสถานสบแจ่ม อำเภอจอมทอง และเจดีย์วัดส้มสุกแห่งนี้           การดำเนินงานโบราณคดีที่โบราณสถานวัดส้มสุก ระยะที่สอง ในปี ๒๕๖๔ จะเปิดเผยให้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในแอ่งที่ราบฝาง-แม่อาย อันเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของพื้นที่เชียงใหม่ตอนบน ที่มีบริบทสำคัญต่อล้านนามาตลอดทุกยุคทุกสมัย-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่


          ปี ๒๕๐๗ โรงงานเภสัชกรรม ส่งยาตำราหลวงเพื่อจำหน่ายยังจันทบุรี “...ยาจำพวกปวดศีรษะ ปวดท้อง และแก้ไข้จำหน่ายดี...” ยาตำราหลวง          ในอดีตนั้น การบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ราษฎรตามหัวเมือง เป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๕๐๗ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งซื้อและให้โรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข (ปัจจุบันคือองค์การเภสัชกรรม) จัดส่งยาตำราหลวงให้แก่จังหวัดต่างๆ           ในส่วนจังหวัดจันทบุรีนั้น ได้ใช้บ้านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นสถานที่จัดจำหน่ายยาตำราหลวง และให้อำเภอต่างๆ จัดทำรายงานผลการจำหน่ายยาตำราหลวง และผลการโฆษณาแนะนำประชาชนให้ทราบถึงสรรพคุณและราคายาให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เดือนพฤษภาคม ๒๕๐๗ โรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งยาตำราหลวงให้แก่จังหวัดจันทบุรี โดยสถานที่จัดจำหน่าย ๑ แห่ง จะได้รับรายการยา ๔๑ รายการ เป็นเงิน ๔๐๐ บาท           จากรายงานของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดจันทบุรี ได้ทำการโฆษณาแนะนำยาตำราหลวงแก่ประชาชน ในช่วงกิจกรรมการลงแขกดำนา การทำบุญในวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างดี แต่ประสบปัญหาเรื่องสถานที่จัดจำหน่ายยามีน้อยไม่ทั่วถึงในตำบลที่ห่างไกล          เดือนตุลาคม ๒๕๐๗ นายอำเภอเมืองจันทบุรี ได้รายงานผลให้จังหวัดทราบว่า ...ยาจำพวกแก้ปวดศีรษะ ปวดท้อง และแก้ไข้จำหน่ายดี นอกนั้นจำหน่ายไม่ใคร่ได้... และเดือนพฤศจิกายน ๒๕๐๗ นายอำเภอขลุงได้ส่งรายงานผลการจำหน่ายยาตำราหลวงในอำเภอขลุงว่า มีสาขาจำหน่ายยาตำราหลวง ๒ แห่ง ได้แก่ บ้านคานรูดและบ้านบ่อ จำหน่ายได้เป็นเงิน ๘๒.๕๐ บาท โดยในการส่งเงินค่าจำหน่ายยาตำราหลวงไปยังกระทรวงการคลังนั้น ให้หักส่วนลดให้ผู้จำหน่าย ๑๐% อำเภอ ๑๐% และส่งไปให้กรมการปกครอง ๕%           เอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวกับการจำหน่ายยาตำราหลวงชุดนี้ สะท้อนการจัดการระบบสาธารณสุขของไทยในช่วง ๖๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรีรายการยาตำราหลวงสำหรับ ๑ แห่งรายงานผลการจำหน่ายยาตำราหลวงของอำเภอเมืองจันทบุรีบัญชีแสดงหมู่บ้านที่จำหน่ายยาตำราหลวงรายงานผลการจำหน่ายยาตำราหลวงของอำเภอขลุง----------------------------------------------------------------ผู้เขียน นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี----------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๒.๔/๑๑๐๔ เรื่องส่งยาตำราหลวง (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๗ – ๑๐ มีนาคม ๒๕๐๘). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๒.๔/๑๑๒๑ เรื่องนโยบายการจำหน่ายยาตำราหลวง (๙ ตุลาคม ๒๕๐๗ – ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๘). ภาพจาก https://www.hfocus.org/


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.48/1-6ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)