ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,565 รายการ

ชื่อเรื่อง : ซุยถัง เล่ม 2 ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 318 หน้า สาระสังเขป : ซุยถัง เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดยเรื่องราวเกิดในสมัยกษัตริย์จีนราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น (พ.ศ. 1132-1161) เรื่องราวบอกเล่าเหตุการณ์ช่วงราชวงศ์ซุยแผ่นดินเกิดการจลาจล เหล่าผู้กล้าต่างรวมตัวต่อต้านราชวงศ์ซุย โดยในเล่มนี้เป็นเรื่องราวซุยถังในตอนที่ 2


สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พัฒนาคู่มือการตรวจสอบความพร้อมสำหรับการดำเนินการตามเกณฑ์ PMQA 4.0 (คู่มือ PMQA 4.0 Checklist) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบความพร้อมสำหรับการดำเนินการตามเกณฑ์ PMQA 4.0 ที่จะช่วยให้หน่วยงานได้มีการวิเคราะห์ถึงช่องว่างและโอกาสในการพัฒนา และสามารถเตรียมความพร้อม ในการประเมินสถานะของการเป็นระบบราชการ 4.0 ได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถนำผลจากการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนพัฒนาองค์การที่มีการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานกับเป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาประเทศ อันจะนำไปสู่การยกระดับของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 


อาคารเก่าริมโขงเมืองนครพนม ตอนที่ 5 อำเภอบ้านแพงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครพนมที่อยู่ติดแม่น้ำโขง เป็นเมืองที่ท่านใดที่ได้มาจังหวัดนครพนมต้องมาเยือน เนื่องจากมีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ได้แก่ วัดโพธิ์ศรี อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม วัดโพธิ์ศรีหรือวัดโพธิ์ศรีบ้านแพงใต้ สร้างขึ้นใน พ.ศ 2409 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใน พ.ศ 2478 ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานสำคัญ คือ กุฏิทรงตึกแบบตะวันตกที่สร้างขึ้นใน พ.ศ 2460 สมัยพระสิมมา เจ้าอาวาสรูปแรก ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น อิทธิพลศิลปะตะวันตกแบบโคโลเนียล เชื่อว่ารับผ่านมาทางประเทศเวียดนาม ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าออกมุขกลางด้านหน้า ตัวอาคารหันหน้าไปทิศตะวันออก มุขชั้นล่างก่อซุ้มวงโค้งระหว่างเสาในลักษณะเรียงอิฐโชว์ลายอิฐ แผงอิฐกั้นระหว่างช่วงเสาก่อเป็นช่องวงรีเรียงกัน 5 วง อันเป็นลักษณะงานช่างเวียดนามที่พบมากในจังหวัดนครพนม โดยช่องวงโค้งตอนกลางด้านหน้าใช้เป็นทางเข้าออกอาคาร สำหรับตัวอาคารหลักชั้นล่างแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 แถว ๆ ละ 3 ห้อง ตามแนวยาวของตัวอาคาร แต่ละแถวก่อผนังกั้นและทำซุ้มโค้งเป็นช่องประตูเข้าออกไม่มีบานประตู ห้องกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด มีบันไดทางขึ้นชั้นบนบริเวณห้องกลางมุขหน้า ลักษณะเป็นบันไดไม้และมีประตูกั้นเหนือบันไดแบบเปิดขึ้นด้านบน ในส่วนชั้นบนกุฏิทำมุขด้านหน้าใช้เป็นระเบียง ตกแต่งด้วยวงคงที่ก่อโชว์อิฐระหว่างช่วงเสา ส่วนล่างก่อแผงอิฐกั้นระหว่างช่วงเสาเจาะเป็นช่องลูกกรงลักษณะเป็นวงรีเรียงกัน 5 วง ตัวอาคารหลักแบ่งเป็น 3 แถว โดยยุบรวมห้องกลางในแถวที่ 1 กับแถวที่ 2 เพื่อใช้เป็นห้องโถงใหญ่สำหรับไหว้พระสวดมนต์ ท้ายห้องประดิษฐานพระพุทธรูปบนโต๊ะหมู่บูชา ส่วนห้องกลางในแถวที่ 3 ที่ต่อจากห้องโถงใหญ่ใช้เป็นห้องของท่านเจ้าอาวาส ภายในห้องมีบันไดไม้ขนาดเล็กใช้เป็นทางขึ้นลงเฉพาะเจ้าอาวาส รวมจำนวนของห้องกุฏิชั้นบนมี 8 ห้อง ตัวอาคารทั้งชั้นบนและชั้นล่างมีช่องหน้าต่างโดยรอบด้านละ 3 ช่อง ทุกช่องติดบานหน้าต่างไม้แบบบานคู่ทึบทำด้วยไม้ เหนือช่องหน้าต่างแต่งเป็นกรอบซุ้มวงโค้งฉาบเรียบ ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นที่ยอดวงโค้งเป็นรูปสี่เหลี่ยมหน้าวัว และทำเส้นคิ้วล้อไปกับวงโค้งทางด้านบน ใต้ช่องหน้าต่างประดับขอบบัวหน้ากระดานปูนปั้น ส่วนมุขกลางด้านหน้าทั้งชั้นบนและชั้นล่างไม่มีบานหน้าต่าง กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะล่าสุดใน พ.ศ. 2561 ถ้าท่านใดได้มาท่องเที่ยวที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม นอกมาเที่ยวชมน้ำตกท่ีสวยงามแล้ว ก็สามารถมาทำบุญและแวะชมอาคารเก่าแห่งนี้ได้นะคะ โดยนางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฎิบัติการ  



          วันศุกร์ที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จัดโครงการและจัดแสดงนิทรรศการ เรื่อง "สืบสานงานหัตถศิลป์ดินเผาบ้านช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สู่ยุคไทยแลนด์ดิจิทัล ๔.๐" ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์          โดยมี ผศ.ดร.ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นประธานในพิธี กิจกรรมประกอบด้วย การเสวนาความรู้ เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานปั้นภาชนะดินเผาของน้องๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านช่างปี่ และการสาธิตวิธีการปั้นภาชนะดินเผาโดยปราชญ์ชุมชนบ้านช่างปี่ นิทรรศการเปิดให้เข้าชมตั้งแต่บัดนี้ ถึง ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.บริเวณหน้าห้องนิทรรศการสุรินทร์ดินแดนช้าง เข้าชมฟรีโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม




ชื่อเรื่อง                         ปฐมมูลี (ปฐมมูลี)      สพ.บ.                           396/1หมวดหมู่                       พุทธศาสนาภาษา                           บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                         พุทธศาสนา                                   ชาดก                                   เทศน์มหาชาติ                                   คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย           คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   44 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



องค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ชุดความรู้ทางวิชาการ : หลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภาคใต้ของประเทศไทย ตอน สวยัมภูลึงค์แห่งเขาคา : ไศวภูมิมณฑล แห่งนครศรีธรรมราช ค้นคว้า/เรียบเรียง โดยนางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ


องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เรื่อง "การดูแลรักษาวัตถุทางวัฒนธรรม" (ฉบับสมบูรณ์)


ชื่อเรื่อง                                มาเลยฺยสุตฺต...(มาลัยหมื่น-มาลัยแสน) สพ.บ.                                  294/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           36 หน้า กว้าง 5.3 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศนา บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ปญฺญาปารมี (ปัญญาบารมี) สพ.บ.                                  344/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           18 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 60 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


วัดถัมภาวาส (วัดบางตะโละ) ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี         วัดแห่งนี้สร้างขึ้นราวพ.ศ.๒๓๙๑ (สมัยรัชกาลที่ ๓) โดยมีพ่อท่านลังกาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก อุโบสถของวัดแห่งนี้มีลักษณะพิเศษคือการเขียนภาพจิตรกรรมบนผนังด้านนอกของอุโบสถ จิตรกรรมเหล่านี้เขียนภาพเรื่องพุทธประวัติเช่นตอนแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรื่องรามเกียรติ์ตอนทศกัณฑ์ลักนางสีดา ตอนพระยาพาลีรบทรพี และเรื่องจันทโครพตอนโจรป่าฆ่าจันทโครพไปจนถึงตอนโจรป่าหนีไป รวมถึงสอดแทรกภาพชาวบ้านไว้ในมุมของภาพต่างๆด้วย ------------------ เรียบเรียง/ภาพถ่าย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ


เลขทะเบียน : นพ.บ.162/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 11 (2565)หัวเรื่อง : มหาวิภงฺคปาลิ, ปาจิตฺติปาลิ(บาฬีปาจิตตี)  --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม