ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

     11 พฤศจิกายน หลายคนคงมองว่าเป็นวันคนโสดในวัฒนธรรมจีนสมัยใหม่ และเป็นวันชอปปิ้งแห่งปี ด้วยเป็นวันพิเศษที่หากเขียนเป็นตัวเลขจะมีเลข 1 เรียงกัน 4 ตัว เช่นเดียวกับทางตะวันตกที่มองว่าเลข 1111 เป็นเลขนางฟ้า หากอธิษฐานขณะที่นาฬิกาบอกเวลา 11:11 น. จะสมหวัง สมปรารถนา ดังมีทฤษฎีรองรับความเชื่อนี้อย่างหลากหลาย ส่วนประเทศไทยมีหลักฐานระบุว่าเมื่อปี พ.ศ. 2559 มีการประมูลทะเบียนรถเลขสวย หมวด 1 กก 1111 ได้ในราคา 25 ล้านบาท โดยถือว่าราคาที่สูงสุดในรอบ 11 ปี นอกจากนี้ 1111 ยังถูกใช้เป็นหมายเลขสายด่วนของรัฐบาลสำหรับสอบถามข้อมูลโควิด-19 ในปัจจุบันอีกด้วย วันนี้ เพจคลังกลางฯ ขอเกาะกระแส (แต่ไม่ได้เปิด CF วัตถุในคลังแต่อย่างใด) นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับกรมศิลปากรที่เกี่ยวข้องกับเลข 11      ลำดับแรก คือ “รหัส 11” เป็นหมายเลขรหัสของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ซึ่งการเรียงเลขจะพิจารณาจากลำดับปีพุทธศักราชที่ประกาศจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา และปีที่เปิดพิพิธภัณฑสถานอย่างเป็นทางการ (เช่น รหัส 01 เป็นรหัสของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ส่วนรหัส 99 เป็นรหัสของคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยเลขรหัสดังกล่าว จะปรากฏเป็นตัวเลขชุดแรกของทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งจะเรียงลำดับคือ รหัสพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ/เลขวิ่ง/พุทธศักราช เช่น 11/11/2511 หมายถึง วัตถุนี้เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน รับเข้ามาลำดับที่ 11 ปีพุทธศักราช 2511 เป็นต้น    “หลักที่ 11” เป็นหมายเลขลำดับของจารึกอักษรไทยสุโขทัยบนแผ่นหินนามว่า... ศิลาจารึกวัดเขากบ ตามประวัติระบุว่าพบอยู่บนเขากบ จังหวัดนครสวรรค์ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ค้นพบเมื่อปีพุทธศักราช 2464 ซึ่งปีนี้ (2564) ถือว่าครบรอบ 100 ปีแห่งการค้นพบจารึกหลักนี้ มีสาระสำคัญระบุถึงการทำบุญบำเพ็ญกุศล ณ สถานที่ต่าง ๆ และการเสาะแสวงหาพระธาตุในเมืองสำคัญ ซึ่งการเรียงลำดับจารึกแต่ละหลักในยุคแรก มีหลักฐานระบุอยู่ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาค 1 โดยหอพระสมุดวชิรญาณกำหนดให้เรียงเลขจารึกตามเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของสุโขทัย ด้วยช่วงนั้นเชื่อว่าสุโขทัยเป็นนครรัฐยุคแรกเริ่มของไทย    “แห่งที่ 11” เป็นหมายเลขลำดับของอุทยานประวัติศาสตร์แห่งล่าสุด (พ.ศ. 2564) ในความดูแลของกรมศิลปากร คือ อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม มีสถานที่สำคัญ คือ ปราสาทรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรนามว่า ปราสาทสด๊กก๊อกธม หมายถึง ปราสาทใหญ่ที่มีต้นกกขึ้นรกรุงรัง ตั้งอยู่ที่อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา กรมศิลปากรโดยสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี ได้มีโครงการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลอุทยานฯ แห่งนี้ให้ทันสมัย เพื่อรองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำคัญแห่งใหม่ในภาคตะวันออก         และในลำดับสุดท้าย “หมายเลข 111” คือจำนวนปีที่กรมศิลปากรก้าวขึ้นมามีบทบาทในการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมสำคัญของชาติ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2454 และกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 111 ในปีหน้า มีพันธกิจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานฯ งานด้านภาษา เอกสาร และหนังสือ งานด้านศิลปกรรม และงานด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศาสตร์ ต่างก็มีการปรับปรุง พัฒนาให้ง่ายต่อการเข้าถึงตามสถานการณ์ปัจจุบัน         เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ และเทคนิคภาพโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง : ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายู รัตนโกสินทรศก 109 เล่ม 2 ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปีที่พิมพ์ : 2507สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 288 หน้า สาระสังเขป : เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสแหลมมลายูใน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ได้มีหนังสือจดหมายเหตุทางราชการ และพระราชหัตถเลขาพระราชทานมายังกรรมการผู้รักษาพระนครในคราวนั้น กับหนังสือเล่มนี้ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นส่วนที่มิได้พระราชทานไปถึงใคร และพึ่งจะได้พบคราวนี้ จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ไปตามต้นฉบับเพื่อรักษาคุณค่าหนังสือไว้ โดยในเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เป็นเล่มที่ 2 ต่อจากเรื่องระยะทางเสด็จพระราชดำเนินฯ ในครั้งนั้นไว้


องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เรื่อง รูปบุคคลทรงครุฑ จากอโรคยาศาล สมัยพระเจ้าชัยวรวันที่ ๗ ตอน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗




องค์ความรู้จากกองโบราณคดีใต้น้ำ เรื่อง ภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ้านบางปูนที่พบในแหล่งเรือจมที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดีใต้น้ำ  www.facebook.com


          เมืองกาญจนบุรีปัจจุบัน เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงโปรดฯให้ย้ายที่ตั้งเมืองจากลาดหญ้า มาตั้งบริเวณปากแพรก ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำแควน้อยกับ แม่น้ำแควใหญ่ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง เพื่อประโยชน์ในการรับศึกฝั่งพม่า โดยทรงโปรดฯให้ พระยาประสิทธิสงคราม เจ้าเมืองกาญจนบุรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างกำแพงเมือง และมีพิธีวางศิลาฤกษ์กำแพงเมืองในวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๔          กำแพงเมืองกาญจนบุรี มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนานไปกับแม่น้ำแม่กลอง ขนาดกว้าง ๒๑๐ เมตร ยาว ๔๙๔ เมตร กำแพงเมืองก่ออิฐฉาบปูน สูงประมาณ ๔ เมตร บนกำแพงมีใบบังสี่เหลี่ยม มีป้อมหกเหลี่ยมประจำมุมกำแพงทั้ง ๔ มุม และมีป้อมที่กึ่งกลางกำแพงฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ฝั่งละหนึ่งป้อม รวมทั้งหมด ๖ ป้อม มีประตูเมืองทั้งหมด ๘ ประตู          กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองกาญจนบุรีเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ หน้า ๓๖๘๙ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซม จำนวน ๔ ครั้ง ดังนี้          ๑) พ.ศ. ๒๕๓๙ บูรณะประตูเมือง และกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกส่วนที่อยู่ในโรงเรียน กาญจนานุเคราะห์           ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ บูรณะกำแพงเมืองความยาว ๒๑๐ เมตร           ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ กรมศิลปากร ร่วมกับเทศบาลเมืองกาญจนบุรี และสำwww.facebook.comนักงานทางหลวงชนบท จังหวัดกาญจนบุรี บูรณะเสริมความมั่นคงกำแพงและป้อมกึ่งกลางกำแพง พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณประตูเมือง และลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๓           ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ดำเนินโครงการขุดศึกษาและบูรณะโบราณสถานกำแพงเมืองบางส่วน ดังสภาพ ที่ปรากฏในปัจจุบัน——————————————————ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรีwww.facebook.com


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           29/7ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               34 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


แนะนำ E-book หนังสือหายาก โชติ  รามโกมุท.  บันทึกความทรงจำของข้าพเจ้าฉบับเพิ่มเติม.  พระนคร: โรงพิมพ์สีหะพันธ์การพิมพ์, 2456.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           30/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              40 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 138/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 173/6เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


หลักเกณฑ์และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล


เลขทะเบียน : นพ.บ.504/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 168  (216-223) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม