ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ
ชื่อเรื่อง : งานเจียระไนอัญมณี
คำค้น : การเจียระไนอัญมณี, การตัดพลอย, การโกนพลอย, การติดกลับพลอย, การทำพลอยหลังเบี้ย, การทำพลอยสตาร์, เครื่องมือเจียระไนพลอย
รายละเอียด : หนังสือคู่มือการเรียนการสอนรายวิชางานการออกแบบเครื่องประดับอัญมณีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาเครื่องประดับและอัญมณี วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี
ผู้แต่ง : เผด็จ ภูอากาศ และคณะ
แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : เอ็น ซี เอส กรุ๊ป
วันที่ : 2552
วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567
ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : ยงยุทธ พนัสนอก, ไกรยุทธ์ ทรัพย์ชาติอนันต์, อุดมศักดิ์ วงศ์วิไล, นวลอนงค์ ธรรมเจริญ, สุรางค์ อภิรมย์วิไลชัย, ทีมงาน ART & PHOTO บริษัท เอ็น ซี เอส กรุ๊ป จำกัด
ลิขสิทธิ์ : -
รูปแบบ : PDF.
ภาษา : ภาษาไทย
ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี)
ตัวบ่งชี้ : -
รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือจัดทำในโครงการความร่วมมือการพัฒนาการศึกษาด้านทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สาขาวิชาเครื่องประดับและอัญมณี กับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ในนามของสถาบันเทคโนโลยีเครื่องประดับอัญมณี จันทบุรี ณ วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี เขต 2 จัดทำและสนับสนุนโดยบริษัท เอ็น ซี เอส กรุ๊ป จำกัด เนื้อหาประกอบด้วยความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการเจียระไนอัญมณี เครื่องมือชั่ง ตวง วัด ในงานเจียระไนพลอย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องมือในการเจียระไนอัญมณี วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเจียระไนพลอย ความปลอดภัยในการทำงาน การตัดพลอยและการโกนพลอนชนิดต่างๆ การปั้นทวนเพื่อใช้สำหรับแต่งพลอยและการติด กลับพลอย การแต่งอัญมณีรูปทรงต่างๆ การตั้งจักรและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับจักรเจียระไนอัญมณี การเตรียมหน้าจักรก่อนการเจียระไนและการควบคุมหน้าจักรด้วยเพชรกวาด การเจียระไนพลอยด้วยมือเจียระไนชนิดธรรมดา กับจักรเหล็กทองแดง การเจียระไนพลอยด้วยจักรชนิด (MACHINE CUT) การเจียระไนพลอยรูปกลมด้วยมือเจียระไนชนิดต๊อกแต๊ก และการทำพลอยหลังเบี้ยและพลอยสตาร์
เลขทะเบียน : น 56 บ. 69291 จบ. (ร)
เลขหมู่ : 688.2 ผ761ง
กรมการปกครอง. ประวัติและความหมายของดวงตราประจำจังหวัด = Changwat Seals : Their History & Meaning. กรุงเทพฯ : กรมการปกครอง, [2511].
Lay kram Goes Dixie
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒๓
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒๓ ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช ๒๔๙๘ พระราชทานให้วงดนตรีลายครามโดยเฉพาะ เพลงพระราชนิพนธ์นี้ไม่มีคำร้อง วงดนตรีลายครามนำออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส. วงดนตรีลายครามเป็นวงดนตรีแจ๊สส่วนพระองค์วงแรกที่ทรงตั้งขึ้นหลังจากเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวรแล้วในพุทธศักราช ๒๔๙๔
Royal composition Number 23
The twenty-third royal musical composition was written in 1995, exclusively granted to the Lay Kram Band. It carried no lyrics and was premiered on Aw Saw Radio. Lay kram was His Majesty’ s first personal jazz band set up after his permanent return to the country in 1951.
วันจันทร์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา โดยอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จัดโครงการสังคีตวัฒนธรรม การแสดงโขนสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เรื่อง รามเกียรติ์ "ชุดรามาวตาร" โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิด และนางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ บริเวณลานพรหมทัต อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร นายเอนก สีหามาต์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี และนายวิเศษ เพชรประดับ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจสอบโบราณสถานในพื้นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า พบโบราณสถานที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่จะเร่งดำเนินการสำรวจออกแบบเพื่อการบูรณะต่อไป
เจดีย์ประธานวัดเจดีย์หลวง พบปล้องไฉนขนาด ๒ ใน ๓ หักลงมาทับเจดีย์บริวารหักพัง จำนวน ๑ องค์วัดปราสาทคุ้มชุมแสง บริเวณองค์ระฆังมีรอยร้าวและอิฐยุบตัว ร่องรอยดังกล่าวเป็นรอยเดิมที่ขยายตัวออกเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหว และส่วนฐานเจดีย์มีรอยร้าวตลอดความสูงฐานเจดีย์วัดป่าสัก(ร้าง) นอกกำแพงเมืองเชียงแสนไปทางทิศตะวันตก ปลียอดขนาดยาวประมาณ ๑ ศอก แตกหัก เรือนยอดเอียงผิดปกติ รอยแตกร้าวของบัลลังก์รองรับองค์ระฆังหลายแห่ง รอยแตกร้าวเก่าขยายตัวออกเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหว และเกิดรอยร้าวใหม่หลายจุดเจดีย์ประธานวัดพระธาตุจอมกิตติ ฉัตรชำรุดและเอนออกจากองค์ประมาณ ๑๕ - ๒๐ องศา ปล้องไฉนหักงอ องค์เรือนธาตุพบรอยร้าวเดิมขยายตัวกว้างมากขึ้นและเกิดรอยร้าวใหม่หลายแห่ง แผ่นทองจังโกบริเวณเรือนยอดบิดตัวและฉีกขาดวัดพระธาตุภูเข้าบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ผนังมณฑปร้าวและแยกออก
ขออนุญาตทำการค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ขั้นตอนที่ ๑ ยื่นคำขอได้ที่สถานที่ ดังนี้
๑.๑ กรณีผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้ยื่น ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
๑.๒ กรณีที่ผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตจังหวัดอื่นนอกจากข้อ ๑.๑ ให้ยื่น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น หากในจังหวัดนั้นไม่มีพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ ให้ยื่น ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแห่งจังหวัดนั้น
ขั้นตอนที่ ๒ กรอกแบบฟอร์ม ศก.๑
๒.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
๒.๒ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
๒.๓ กรณีเป็นนิติบุคคล
ขั้นตอนที่ ๓ แนบเอกสารและหลักฐาน
๓.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
(ข) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
(ค) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของผู้ขอรับใบอนุญาต ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(จ) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้า หรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๒ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
(ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการ นาด ๑ นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(จ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(ฉ) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๓ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด(ข) บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ(ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ(จ) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป (ฉ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า(ช) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๔ กรณีเป็นบริษัทจำกัด
(ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
วัสดุ ดินเผา
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมเกษตรกรรม (ประมาณ 2,500–1,800ปีมาแล้ว)
สถานที่พบ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
ภาชนะดินเผาทรงสูง ปากผายกว้าง ผิวนอกของภาชนะมีลวดลายขัดแตะที่เกิดจากการใช้เครื่อง จักสานเป็นแบบในการขึ้นรูปภาชนะ เมื่อนำไปเผาเครื่องจักสานจะไหม้สลายไปเหลือเพียงลายปรากฏบนภาชนะ