ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ

ชื่อเรื่อง : โครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดจันทบุรี คำค้น : ปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี, คลังปัญญาจังหวัดจันทบุรี, ผู้สูงอายุ รายละเอียด : - ผู้แต่ง : - แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดจันทบุรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดจันทบุรี วันที่ : 2555 วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567 ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : - ลิขสิทธิ์ :  - รูปแบบ : PDF. ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี) ตัวบ่งชี้ : - รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดจันทบุรี และรวบรวมปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ที่มีองค์ความรู้และภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร ด้านศิลปหัตถกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี ด้านวาทศิลป์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านภาษา วรรณคดี และวรรณศิลป์ เลขทะเบียน : น 55 บ. 66576 จบ. (ร) เลขหมู่ : 920.9326 พ534ค  


             กรมศิลปากร ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” เทศกาลท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ระหว่างวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่ 18.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา            ตามที่รัฐบาลได้จัดกิจกรรม Thailand Winter Festival เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาล โดยเปิดให้เข้าชมโบราณสถานยามราตรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เร่งผลักดันการท่องเที่ยวศักยภาพสูงให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าเที่ยวตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้เสน่ห์วิถีไทย เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสความสวยงามของโบราณสถานในยามค่ำคืน ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเยี่ยมชมบรรยากาศ “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” สร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่            ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” ชวนสัมผัสมนต์เสน่ห์วิถีไทยกรุงศรีอยุธยาช่วงต้นกรุงศรีฯ ในยุคที่รุ่งเรืองทั้งศิลปะ วัฒนธรรม และการค้าขาย วิถีชีวิตของผู้คนในยุคนั้นมีความสุข และเสน่ห์ไทยอย่างไร ผ่านกิจกรรมการแสดง การละเล่น พร้อมทั้งการประดับไฟ Lighting Art Installation และ Projection Maping โบราณสถานอันทรงคุณค่าให้ได้เห็นความงดงามยามค่ำคืน ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบกับกิจกรรมไฮไลต์             - Lighting Art Installation – การประดับตกแต่งไฟ “4 วัด 1 วัง” ให้สวยงามยามค่ำคืน สัมผัสบรรยากาศที่มีมนต์เสน่ห์เมื่อครั้งต้นกรุงฯ ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป              - Projection Mapping – พบกับการฉายภาพเรื่องราวด้วยแสงสีอันวิจิตรตระการตา ณ วัดพระราม และวัดไชยวัฒนาราม ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป              - การประกวดแมวไทยโบราณคืนถิ่นกรุงศรี – สืบสานตำนานแมวไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567               - พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ – ณ วิหารหลวง วัดมหาธาตุ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป              - การประกวดนางนพมาศ ประจำปี 2567 – ยลโฉมสาวงามนางนพมาศแห่งกรุงศรี ในวันลอยกระทง ณ วัดพระราม ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป              นอกจากนี้ ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและละเล่นไทยโบราณ เชิญชวนแต่งชุดไทยย้อนยุค พร้อมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ภายใต้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสวยงามของสถานที่ทางประวัติศาสตร์ยามค่ำคืน พร้อมเชิญชวนชิมอิ่มอร่อยจากการออกบูธอาหารจากทุกภูมิภาคตลอดการจัดงาน              อย่าพลาดโอกาสสำคัญในครั้งนี้ มาร่วมเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืน ได้ที่งาน “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park 


โบราณสถานเจดีย์วัดชุมพล         โบราณสถานเจดีย์วัดชุมพล ตั้งอยู่ที่วัดชุมพล บ้านพานพร้าว ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ภายในเมืองโบราณพานพร้าว บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สภาพชำรุดพังทลายเหลือเพียงส่วนฐาน ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองตั้งอยู่บนฐานเขียงซ้อนลดหลั่นกันสองชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ย่อมุมไม้สิบสองซ้อนลดหลั่นกันสองชั้น รูปแบบฐานเจดีย์เปรียบเทียบได้กับเจดีย์ของวัดเทพพลประดิษฐาราม ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ซึ่งกำหนดอายุประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓           จากการขุดแต่งทางโบราณคดีระหว่าง พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕ พบภาชนะดินเผาบรรจุอัฐิฝังไว้ตามแนวฐานของเจดีย์ ได้แก่ ภาชนะดินเผาผลิตจากแหล่งเตาในสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๔ เครื่องถ้วยจีนเคลือบเขียว ผลิตจากกลุ่มเตาฉือเจ้า เมืองจิ้นเจียง มณฑลฝูเจี้ยน สมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ และภาชนะดินเผาเนื้อดิน ผลิตจากแหล่งเตาพื้นเมือง   นอกจากนี้ยังพบร่องรอยฐานก่ออิฐ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์  ขนาดเล็ก จำนวน ๘ องค์ ทางด้านเหนือและด้านใต้ของเจดีย์อีกด้วย The Stupa of Wat Chum Phon          Wat Chum Phon is located at Ban Phan Phrao, Phan Phrao Sub-district, Si Chiang Mai District, Nong Khai Province, on the right side of Mekong River, opposite of Vientiane, Laos. The stupa of Wat Chum Phon is an indented corners stupa which existed only the base part, two floors of square base top with a lotus pedestal-indented corner base on the top. Its style is similar to the stupa of Wat Thepphon Pradittharam, Wiang Khuk Sub-district, Nong Khai Province (17th - 18th century CE).          Archaeological excavation of this site in 2021 – 2022 had shown many significant evidences. Burial pottery from Lan Xang Kiln site (17th - 19th century CE), Cizao kiln sites (16th - 17th century CE), and pottery from local kiln were found along the base line of stupa. Traces of brick piles which supposed to be part of 8 miniature stupas were also found at north and south of the main stupa.  





วันจันทร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๓ นางชุติมา จันทร์เทศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีปฏิบัติการ และนายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ ลงพื้นที่ตรวจสอบการขออนุญาตดำเนินโครงการก่อสร้างปรับปรุงคูเมือง ๕ (นารายณ์รังสฤษฎ์) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา    



วันอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษายน ๒๕๕๔ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ขอเชิญชมนิทรรศการ "ประวัติและพระราชกรณ๊ยกิจ"สมเด็จพระทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ และร่วมพัฒนาโบราณสถานวัดอาวาสน้อย ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๔ นำโดย นายธงชัย ธรรมสุคติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายพีรพน  พิสณุพงศ์  ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย นายปฐม ระสิตานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติสาสตร์กำแพงเพชร  ,  นายสมัย  เชื้อทอง  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จัดกิจกรรม ดังนี้ ๑. การจัดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย : เปิดให้เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ฟรี ระหว่างวันที่ ๒ - ๘ เมษายน ๒๕๕๔ ๒. การจัดกิจกรรมรณรงค์การดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม โดยอาสาสมัครท้องถิ่น (อส.มศ.) ๓. การจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย : อุทยานฯ กำแพงเพชร ได้จัดนิทรรศการฯ เพื่อให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ได้เข้าชมภาพพระราชกรณียกิจและงานช่างหลวง ระหว่างวันที่ ๒ - ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ ๔. กิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้ทดลองเปิดบริการนำชมผ่านระบบมือถือ



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมาเปิดให้บริการเข้าชมฟรีในช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๕ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. พร้อมขอเชิญเที่ยวงานนครราชสีมา ประจำปี ๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาชมนิทรรศการออกร้านของหน่วยงานราชการ อำเภอต่างๆ ประกวดผลผลิตทางการเกษตรเลือกซื้อสิ้นค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ การแสดงพื้นเมืองสนุกกับธารากาชาดรางวัลมากมายคอนเสิร์ต ดนตรี สวนสนุก ฯลฯ             *******************************    



                 "อาคารมหาดไทย หรือ ตึกที่ทำการภาค เป็นอาคารรูปตัว L ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ตั้งอยู่ชิดกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ ขนาดกว้าง 10.00 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 50.00 เมตร ด้านทิศใต้ยาว 65.00 เมตร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ใช้เป็นตึกที่ทำการภาคต่อมาจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 หลังจากนั้นยังได้ใช้เป็นที่ทำการของอัยการจังหวัด สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานคลังเขต 1 จนกระทั่ง พุทธศักราช 2536 จึงได้ส่งคืนให้เป็นที่ทำการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม




ชื่อเรื่อง                     ประชุมพงศาวดาร เล่ม 24 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 40 (ต่อ) - 41)ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียเลขหมู่                      959.3 ป247 ล.24สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์                    2511ลักษณะวัสดุ               344 หน้าหัวเรื่อง                     ไทย – ประวัติศาสตร์                              พงศาวดารภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                        เนื้อหาภายในประกอบด้วย ประชุมพงศาวดาร เล่ม 24 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 40 (ต่อ) - 41) : จดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช