ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ

          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้มีรายงานเพิ่มเติมถึงผลกระทบจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นที่ส่งผลให้โบราณสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา โดยเฉพาะที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เกิดน้ำท่วมขัง และได้เร่งแก้ไขปัญหาพร้อมเฝ้าระวังตลอด ๒๔ ชั่วโมง          สถานการณ์น้ำท่วมในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นน้ำท่วมขังสะสมในบริเวณพื้นที่ส่วนต่างๆ ของปราสาทพิมาย เนื่องจากเป็นที่ต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดต่างๆ เพื่อสูบน้ำออกจากบริเวณปราสาทลงสู่ท่อระบายน้ำของเทศบาลพิมาย โดยจัดเจ้าหน้าที่ควบคุมตลอด ๒๔ ชั่วโมง ขณะนี้เร่มกลับเข้าสู่สถานปกติแล้ว นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานกุฏิฤาษี ที่อยู่ห่างปราสาทพิมายไปทางใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร มีน้ำเอ่อล้นสระน้ำที่อยู่โดยรอบโบราณสถาน ทางอุทยานประวัติศาสตร์พิมายได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกทั้งกลางวันและกลางคืน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด ๒๔ ชั่วโมง คาดว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติภายในวันนี้          ส่วนที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ล่าสุดเมื่อเวลา ๑๑.๐๐ น. ของวันที่ ๒๖ กันยายน ระดับน้ำ ในแม่น้ำมูลเริ่มสูงขึ้น อีกประมาณ ๓-๕ ซ.ม. ก็จะถึงระดับสันเขื่อนของพิพิธภัณฑ์ โดยในช่วง ๒ – ๓ วันที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์และเจ้าหน้าที่ทหารจากกรมทหารช่างที่ ๒ ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ได้เร่งก่อกระสอบทรายกั้นบริเวณริมตลิ่งด้านหน้าพิพิธภัณฑ์และบริเวณประตูน้ำที่เชื่อมคลองคูเมือง โดยได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกตลอดเวลาแล้ว ทั้งนี้ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้          สำหรับปราสาทพะโค อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีซากอาคารโบราณสถาน ๒ หลัง มีสระน้ำ ล้อมรอบ ๓ ด้าน ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระเพลิง เคยถูกน้ำท่วมเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้เข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่าโบราณสถานยังอยู่ในสภาพปกติไม่มีน้ำท่วมขัง เนื่องจากเขื่อนลำพระเพลิงมีการระบายน้ำไปแล้ว และมีการขุดลอกลำพระเพลิง ทำให้น้ำสามารถไหลระบายไปยังพื้นที่ตอนล่างได้ดีขึ้น จึงไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณนี้ อย่างไรก็ดีสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ก็จะเฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่โบราณสถานแห่งนี้พร้อมทั้งเตรียมการหาแนวการแก้ไขต่อไปสภาพน้ำท่วมขังภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมายการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ตามจุดต่างๆ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย แม่น้ำมูลช่วงที่ไหลผ่านด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัจจุบันระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งด้านหน้าพิพิธภัณฑ์เพียง ๑๐ ซ.ม. สภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จากด้านใน ขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่วนน้ำในสระขวัญที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ฯ มีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่กำลังเร่งวางแนวกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำมูลล้นตลิ่ง ท่วมพิพิธภัณฑ์ฯการวางแนวกระสอบทรายบริเวณประตูกั้นน้ำคลองคูเมืองในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ฯเพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าสู่คลองคูเมืองชั้นใน และตัวเมืองพิมาย



          ทวารบาล หมายถึง นายประตูหรือผู้ปกปักรักษาประตู ไม่ให้สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งชั่วร้ายผ่านไปสู่พื้นที่ด้านหลังบานประตูนั้นได้ ศาสนสถานเปรียบเสมือนที่ประทับแห่งเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างรูปทวารบาลของศาสนสถานที่ดูน่าเกรงขามหรือทำให้เชื่อว่าป้องกันสิ่งที่ชั่วร้ายได้เพื่อเอาไว้คุ้มครองและอำนวยพรแก่ผู้มาสักการะให้รู้สึกปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย จึงปรากฏการสร้างประติมากรรมรูปบุคคล และรูปสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์ที่เป็นมงคล บริเวณทางเข้าหรือประตูเพื่อเป็นทวารบาลในการปกป้องและคุ้มครองศาสนสถานแห่งต่าง ๆ           สิงห์ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความดุร้ายและมีกำลังมาก และมีที่มาจากสิงโตซึ่งเป็นสัตว์ในท้องถิ่นของประเทศอินเดีย เป็นตัวแทนของราชาแห่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย สิงห์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งกษัตริย์ เมื่อพระพุทธเจ้านั้นเคยเป็นบุคคลในวรรณะกษัตริย์ สิงห์จึงถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงปรากฏประติมากรรมรูปสิงห์ในฐานะทวารบาลบริเวณทางเข้าของศาสนสถาน ก่อนจะส่งต่อคติดังกล่าวไปยังจีนและเขมรในเวลาต่อมา ในพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามลักษณะทางสัตวภูมิศาสตร์ไม่ปรากฏสิงโตตามธรรมชาติ แต่รูปสิงห์นี้ก็ปรากฏอยู่ในลวดลายเครื่องประดับของเขมรตามแบบที่ได้รับมาจากอินเดีย ต่อมาประติมากรรมรูปสิงห์ลอยตัวของเขมรก็ปรากฏขึ้น และตั้งอยู่หน้าบันไดทางเข้า ณ ศาสนสถานหลายแห่ง เช่น ปราสาทหมู่กลางหลังที่ ๑ ที่สมโบร์ไพรกุก และปราสาทถมอดอบ รวมถึงทางเข้าของปราสาทหินพิมายในประเทศไทย           ที่เมืองกำแพงเพชรปรากฏประติมากรรมสิงห์ในฐานะทวารบาลบริเวณทางเข้าโบราณสถานหลายแห่ง เช่น โบราณสถานวัดช้างรอบ พบโกลนศิลาแลงประติมากรรมรูปสิงห์และด้านหลังสิงห์เป็นโกลนประติมากรรมรูปบุคคลบริเวณเชิงบันไดทางขึ้นลานประทักษิณของเจดีย์ประธาน           โบราณสถานวัดสิงห์ พบร่องรอยประติมากรรมรูปสิงห์และด้านหลังเป็นโกลนประติมากรรมรูปบุคคลตั้งเป็นคู่กัน บริเวณด้านหน้าชานชาลาของอุโบสถ และโบราณวัดพระนอนพบร่องรอยประติมากรรมรูปสิงห์จำนวน ๑ คู่ บริเวณบันไดต่อจากทางเข้าวัดด้านทิศใต้ แต่ไม่ปรากฏร่องรอยประติมากรรมของรูปบุคคลด้านหลังแบบที่พบในวัดช้างรอบและวัดสิงห์ แม้ว่าร่องรอยประติมากรรมสิงห์ที่พบที่วัดสิงห์และวัดพระนอนปรากฏสภาพที่ไม่สมบูรณ์นัก แต่พบหลักฐานจากภาพถ่ายเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ ปรากฏประติมากรรมรูปสิงห์ที่บริเวณดังกล่าวอย่างชัดเจน           นอกจากการพบประติมากรรมรูปสิงห์ในฐานะทวารบาลบริเวณทางเข้าของศาสนสถานแล้ว ที่เมืองกำแพงเพชรยังพบเจดีย์ทรงระฆังที่มีประติมากรรมสิงห์ล้อมที่ฐานเจดีย์พบที่วัดพระแก้ว ซึ่งเจดีย์รูปแบบดังกล่าวเป็นเจดีย์รูปแบบพิเศษพบที่กรุงศรีอยุธยา ๒ แห่ง คือเจดีย์ประธานวัดแม่นางปลื้มและเจดีย์ประธานวัดธรรมิกราช การประดับประติมากรรมรูปสิงห์ล้อมฐานเจดีย์ดังกล่าวนี้คงเทียบได้กับการทำรูปช้างล้อม กล่าวคือระเบียบในการประดับประติมากรรมรูปสัตว์ที่ฐานได้รับรูปแบบมาจากเจดีย์ช้างล้อมในศิลปะสุโขทัย แต่การประดับรูปสิงห์นั้นคงดัดแปลงเอามาจากศิลปะอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลดังกล่าวมาจากศิลปะเขมร นอกจากนี้ที่โบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ บริเวณฐานไพทีรูปตัวแอล (L) ที่รองรับเจดีย์บริวารจำนวน ๘ องค์ด้านบน ส่วนด้านทิศเหนือของวิหาร พบโกลนประติมากรรมรูปสิงห์ สันนิษฐานจากร่องรอยของสลักศิลาแลงที่ยื่นต่อออกมาจากฐานไพทีดังกล่าวน่าจะเป็นส่วนที่เคยรองรับประติมากรรมรูปสิงห์มาก่อน ซึ่งพบหลักฐานเฉพาะส่วนด้านทิศเหนือเท่านั้น และไม่พบสลักหรือโกลนประติมากรรมรูปสิงห์ที่ส่วนอื่นและฐานไพทีด้านทิศใต้แต่อย่างใด นอกจากนี้จากภาพถ่ายเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ยังคงปรากฏประติมากรรมรูปสิงห์บริเวณชานชาลาหน้าวิหารในฐานะของทวารบาลอีกด้วย           จากรูปแบบการพบประติมากรรมรูปสิงห์ที่เมืองกำแพงเพชรทั้งส่วนที่เป็นประติมากรรมในฐานะทวารบาลและส่วนที่เป็นประติมากรรมล้อมฐานเจดีย์ จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าที่เมืองกำแพงเพชรมีคติความเชื่อเรื่องการสร้างทวารบาลเพื่อปกป้องศาสนสถาน โดยใช้สิงห์เพื่อแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของความมีพลังอำนาจและความดุร้ายเพื่อคุ้มครองดูแลศาสนสถาน------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง : กรมศิลปากร. ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒ .กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง), ๒๕๔๖. สุรพล ดำริห์กุล. “เจดีย์ช้างล้อมและเจดีย์สิงห์ล้อมในกรุงศรีอยุธยา” .วารสารวิจิตรศิลป์. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๗) หน้าที่ ๑๐๑ – ๑๓๑. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔. หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. ศิลปะขอม.กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๗.



ชื่อเรื่อง                               มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                 293/13ประเภทวัสดุมีเดีย                   คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                              พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          42 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58.2 ซ.ม. หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา                                          ชาดก                                          เทศนา   บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                เจติยานิสํสกถา (ฉลองพระเจดีย์) สพ.บ.                                  343/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           16 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 60 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-7ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ค/1-39  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



เลขทะเบียน : นพ.บ.356/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 137  (397-401) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต(เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายู รัตนโกสินทรศก 109 เล่ม 1 ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 278 หน้า สาระสังเขป : เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสแหลมมลายูใน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ได้มีหนังสือจดหมายเหตุทางราชการ และพระราชหัตถเลขาพระราชทานมายังกรรมการผู้รักษาพระนครในคราวนั้น กับหนังสือเล่มนี้ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นส่วนที่มิได้พระราชทานไปถึงใคร และพึ่งจะได้พบคราวนี้ จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ไปตามต้นฉบับเพื่อรักษาคุณค่าหนังสือไว้


           สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยหลายแห่ง เช่น เจดีย์หรืออาคารต่าง ๆ มักมีการประดับประดาด้วยประติมากรรมมากมาย หนึ่งในนั้นคือประติมากรรมรูป มกร สัตว์ผสมที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย ก่อนจะเผยแพร่ไปยังลังกาและดินแดนอุษาคเนย์ ดังพบงานศิลปกรรมรูปมกรตามพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น          ในดินแดนประเทศไทย มีการค้นพบประติมากรรมรูปมกรในหลายวัฒนธรรม เช่น ทวารวดี ลพบุรี หริภุญไชย ล้านนา รวมถึงสุโขทัย การสร้างมกรในสมัยสุโขทัยปรากฏพบในงานปูนปั้นประดับศาสนสถาน ซึ่งรับอิทธิพลจากศิลปะเขมร มีลักษณะเป็นมกรคายนาคประดับอยู่บริเวณปลายกรอบหน้าบัน ก่อนจะพัฒนามาเป็นมกรสังคโลกซึ่งสร้างเลียนแบบมาจากงานปูนปั้น และปรับเปลี่ยนกลายเป็นมกรที่มีการผสมผสานระหว่างอิทธิพลศิลปะจีนและศิลปะเขมรในที่สุด โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดปะปนกัน เช่น มีเขาเหมือน กวาง มีงวงเหมือนช้าง มีปากเหมือนสิงห์ มีเคราเหมือนแพะ มีขาเหมือนจระเข้ และลำตัวมีเกล็ดเหมือนปลา          นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าประติมากรรมรูปมกรเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ประดับสถาปัตยกรรม ตามแนวคิดและความเชื่อหลายประการที่เข้ามาพร้อมกับคติการสร้างมกร อาทิ การเป็นสัญลักษณ์แทนน้ำ ซึ่งในความเชื่อของคนโบราณเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ การทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ดูแลศาสนสถาน รวมไปถึงแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมซึ่งเปรียบมกรเป็นวิชชาและนาคเป็นอวิชชา เมื่อมกรกลืนกินนาคจึงหมายถึงการนำวิชชาไปครอบอวิชชานั่นเอง          มกร จึงถือเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงความชาญฉลาดของคนสมัยสุโขทัยที่รับเอาคติความเชื่อและอิทธิพลทางศิลปะจากดินแดนต่าง ๆ แล้วนำมาผสมผสานจนเกิดเป็นงานศิลปกรรมแบบสุโขทัยที่ยังหลงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลัง---------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก---------------------------------------------------------------อ้างอิง โชติกา นุ่นชู. มกรคายนาค พุทธศิลป์แห่งดินแดนล้านนาไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก silpa-mag.com/culture/article_35141 เพ็ญสุภา สุขคตะ. นาค มกร กิเลน ปัญจรูป วิวัฒนาการของศิลปะทวารวดี ขอม ลังกา พุกาม จีนในล้านนา (1) [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก matichonweekly.com/column/article_371989 _______. นาค มกร กิเลน ปัญจรูป วิวัฒนาการของศิลปะทวารวดี ขอม ลังกา พุกาม จีนในล้านนา (2) [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก matichonweekly.com/column/article_374305




องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง "ประเพณีสงกรานต์ในเอกสารโบราณ: ทำนายวันสงกรานต์ และฮีต ๑๒ คลอง ๑๔ "  โดย นางสาวปรัศนีภรณ์ พลายกำเหนิด นักภาษาโบราณปฏิบัติการ อ่านรูปแบบpdf ได้ที่ QR code ด้านล่าง


          วันพฤหัสบดีที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๕ อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานพิธีถวายพระพรชัยมงคลและลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร นางรักชนก โคจรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง และผู้บริหารกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมพิธี