ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ
ชื่อเรื่อง พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ บุคคลในสาขาสังคมศาสตร์เลขหมู่ 923.1593 จ196พขสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไทยเขษมปีที่พิมพ์ 2496ลักษณะวัสดุ 66 หน้า หัวเรื่อง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2351-2408 ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาภายในประกอบด้วยพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่อน้ำดินเผาโบราณ ขุดพบบริเวณทิศตะวันตกของโบราณสถานเชตุพน แสดงให้ถึงการวางท่อน้ำโบราณหรือระบบประปาที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี
เลขทะเบียน : นพ.บ.120/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 68 (220-224) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง หลวงลิขิตบรรณกร (ลิขด จูทศฤงค์)
ชื่อเรื่อง มงคล ๓๘ ประการ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๖
จำนวนหน้า ๕๔ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพหลวงลิขิดบรรณกร (ลิขิด จูทศฤงค์) ณ เมรุวัดภูผาภิมุข
จังหวัดพัทลุง
ผู้นับถือศาสนาพุทธ บางคนมีศรัทธาเมื่อถึงวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ได้ไปประชุมกันตามวัด ได้พร้อมใจกันทำบุพพกิจในเบื้องต้น มีดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องสักการบูชา มีการสวดมนต์แล้ว สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ เป็นการปฏิบัติบูชา แล้วฟังพระธรรมเทศนา เนื่องด้วยพุทธานุญาตินิยมกันว่าเป็นวันธรรมสวนะบ้าง เป็นวันอุโบสถบ้าง ส่วนมงคล ๓๘ นั้น แต่ละข้อมีความหมายแตกต่างกันไป เช่นว่า มงคลข้อที่ ๓๘ เขมัง การเป็นผู้มีใจอันเกษม คือใจอันประเสริฐเป็นมงคลประการ ๑ ข้อนี้เป็นเหตุให้พ้นไปจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น ที่ว่าใจประเสริฐนั้นคือใจปราศจากเครื่องเกี่ยวแกะอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ มีพระนฤพานเป็นที่อยู่ เป็นยอดแห่งมงคลทั้งปวง เป็นอานิสงส์
เลขทะเบียน : นพ.บ.129/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.8 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 75 (275-287) ผูก 8 (2564)หัวเรื่อง : ธฺมมปทวณฺณนา ธฺมฺมปทฎฺฐกถา ขุทฺกนิกายฎฺฐกถา (ธมฺมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
อดีต ปัจจุเวขณวิธีแปลและคำอธิษฐานผ้า ชบ.ส. ๑๐
เจ้าอาวาสวัดรังษีสุทธาวาส ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๑๙ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.18/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ซุยถัง เล่ม 1 ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 316 หน้า สาระสังเขป : ซุยถัง เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดยเรื่องราวเกิดในสมัยกษัตริย์จีนราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น (พ.ศ. 1132-1161) เรื่องราวบอกเล่าเหตุการณ์ช่วงราชวงศ์ซุยแผ่นดินเกิดการจลาจล เหล่าผู้กล้าต่างรวมตัวต่อต้านราชวงศ์ซุย โดยในเล่มนี้เป็นเรื่องราวซุยถังในตอนที่ 1 ตอนแรก
อาคาร“โรงเรียนสุนทรวิจิตร”ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ แต่เดิมชื่อโรงเรียนบำรุงสตรี รับเฉพาะนักเรียนสตรีเท่านั้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ จึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสหศึกษาและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนบำรุงวิทยา" จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนถนนสุนทรวิจิตร (บำรุงวิทยา) " ต่อมาได้ตัดคำว่าถนนออกเหลือเพียง “โรงเรียนสุนทรวิจิตร” จนถึงปัจจุบัน โดยทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ อาคารโรงเรียนสุนทรวิจิตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวแบบแถวยาวมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง คล้ายเครื่องหมายบวก ระเบียงประดับด้วยซุ้มวงโค้ง บันไดทางขึ้นอยู่ด้านข้างของมุขที่ยื่นออกมา และด้านข้างของปีกทั้งสองข้างของตัวอาคาร พนักระเบียงเจาะเป็นรูปวงรี แบบที่นิยมในฝีมือช่างญวน มีการประดับเส้นคิ้วเหนือช่องหน้าต่าง และการเรียงสันอิฐ ล้วนเป็นรูปแบบที่พบเห็นได้โดยทั่วไปในแถบบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง โดยส่วนมากอาคารเรียนที่มีรูปแบบของส่วนกลาง (ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร) มักจะมีรูปแบบอาคาร ๒ ชั้นเสมอ ทั้งนี้ ยังรวมถึงอาคารสถานที่ราชการก็ล้วนเป็นอาคาร ๒ ชั้น ดังนั้น สิ่งก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งปรากฏเป็นอาคารแบบชั้นเดียวในเขตจังหวัดนครพนม จึงเป็นรูปแบบที่ได้รับมาจากทางประเทศเวียดนามหรือทาง สปป.ลาวมากกว่า อาคารหลังนี้นอกจากจะใช้เป็นสถานศึกษาของนักเรียนแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่บอกเล่าเรื่องราวของเมืองนครพนมได้เป็นอย่างดีทีเดียว-------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์-------------------------------------------------อ้างอิง : - คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว. - ชวลิต อธิปัตยกุล.สิมญวน ในอีสาน.อุดรธานี:เต้า-โล้,๒๕๕๘. - โรงเรียนสุนทรวิจิตร( https://data.bopp-obec.info)
กรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑ์เขื่อนขุนด่านปราการชล บ้านท่าด่าน ตำบล หินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีมาตรฐานตามแบบพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติและได้มาตรฐานระดับสากล ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อใหม่ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพัฒนางานด้านชลประทานก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ การจัดแสดงนิทรรศการถาวรในพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริเขื่อนขุนด่านปราการชล ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา รวมถึงพืช และน้ำ อันเป็นลักษณะโดยทั่วไปของจังหวัดนครนายกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ตลอดจนข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และตำนานเมืองนครนายก เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัดนครนายก รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิดและสร้างความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีกด้วย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ ทดลองเปิดบริการให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่วันเสาร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป เปิดให้บริการในวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทั้งนี้ ทางพิพิธภัณฑ์มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ COVID-19 สำหรับแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ดังนี้ ๑.ตรวจคัดกรองผู้เข้าใช้บริการในแหล่งเรียนรู้ ๒.ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย ๓.จำกัดผู้เข้าชมเพื่อลดความแออัด (จำนวน ๑๕ คนต่อรอบการเข้าชม) ๔.เว้นระยะระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร ๕.จัดจุดบริการแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ ๖.ทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสทุก ๒ ชั่วโมง ๗.งดการจัดบรรยายและสัมมนา ๘.สแกน QR Code เช็คอินเช็คเอาท์ตามแพลตฟอร์มไทยชนะ หรือกรอกข้อมูล
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ดำเนินการทางโบราณคดีเพิ่มเติมบริเวณแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่พบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ช่วงสมัยหินใหม่จนถึงสมัยโลหะ เช่น แหล่งถ้ำเขาทะลุ ถ้ำเม่น ถ้ำหีบ รวมถึงแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า (แหล่งนายบาง) ที่มีอายุกว่า ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปี และมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในฐานะตัวแทนของสังคมเกษตรกรรมระยะแรกเริ่มของไทย จากการขุดค้นศึกษาโดยคณะวิจัยร่วมทางโบราณคดีไทย – เดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๔ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔ พบว่าเป็นแหล่งฝังศพสมัยสำริด โดยปัจจุบันขุดพบหลุมฝังศพแล้ว จำนวน ๒๔ หลุม ฝังร่วมกับภาชนะดินเผา เครื่องประดับจากเปลือกหอย ขวานสำริดมีบ้อง ซึ่งการค้นพบสำคัญในครั้งนี้ ได้แก่ การขุดพบพื้นที่ผลิตโลหะสำริด กำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ระหว่าง ๒,๔๙๑ - ๓,๐๘๓ ปีมาแล้ว โดยเมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จึงสามารถเชื่อมโยงการใช้พื้นที่ได้ว่า มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยหินใหม่ ซึ่งปรากฏแหล่งฝังศพขนาดใหญ่อยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า (แหล่งนายบางและนายลือ) ริมห้วยแมงลักซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำแควน้อย ต่อมาในสมัยสำริดได้เปลี่ยนสถานที่ฝังศพมายังริมแม่น้ำแควน้อย คือบริเวณแหล่งโรงเรียนวัดท่าโป๊ะแห่งนี้ จนกระทั่งในสมัยเหล็กได้ขยายการใช้พื้นที่ลงใต้ไปตามแม่น้ำ จึงกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ เป็นตัวแทนของสมัยสำริด ที่ทำให้นักโบราณคดีทราบถึงพัฒนาการทางสังคมของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ตำบลบ้านเก่า ไล่เรียงตั้งแต่สมัยหินใหม่ สมัยสำริด และสมัยเหล็ก ได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการเติมเต็มช่องว่างของหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงเวลาที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ มีศักยภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในทางวิชาการโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุแปลงติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จึงมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ในลักษณะของหลุมขุดค้นเปิด (site museum) โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ให้เป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำภาคตะวันตกของประเทศ ตามนโยบายการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ทั้งนี้ กรมศิลปากรกำลังดำเนินการขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ตามระเบียบขั้นตอนต่อไป
ชื่อเรื่อง มหานิปาต (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกปาลิ ขุทฺทกนิกาย (คาถาพัน) สพ.บ. 395/2หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลีหัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี