ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 36,743 รายการ

พระอมรโมลี. การปกครองคณะสงฆ์โดยย่อ และประวัติคณะธรรมยุตติกถาโดยย่อ และพุทธคุณบทว่า ภควา และพระพุทธศาสนธรรมบางประการ. พระนคร :               โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2478.               กล่าวถึงการปกครองคณะสงฆ์ในประเทศสยามในสมัยก่อน ตามประกาศในรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อในรัชกาลที่ 5 นั้น การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศสยามแบ่งออกเป็น 4 คณะ คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุตติกา


ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาทและโคลงสุภาษิต ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2487 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จำนวนหน้า : 86 หน้า สาระสังเขป : พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ เมื่อจะเสด็จไปศึกษาที่ยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2428 สาระสำคัญของพระบรมราโชวาทเน้นให้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการวางพระองค์ให้เหมาะสมเมื่อไปศึกษาต่างประเทศ เช่น ให้เป็นผู้อ่อนน้อม มิให้ถือพระองค์ว่าเป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินแล้วใช้อำนาจในทางที่ผิด ทรงเน้นเรื่องการประหยัด ให้ตระหนักอยู่เสมอว่าค่าใช้จ่ายที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ไปทรงศึกษานั้นแม้จะเป็นพระราชทรัพย์ในส่วนที่เป็นเงินพระคลังข้างที่ แต่ก็เป็นเงินส่วนแผ่นดินที่ราษฎรทูลเกล้าฯ และให้ตั้งใจศึกษาหาความรู้อย่างเต็มความสามารถ เนื้อหาส่วนต่อมาคือ โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกลอนคำสอนสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ประกอบด้วย นานาภาษิต สุภาษิตโสฬสไตรยางค์ สุภาษิตนฤทุมนาการ และธรรมภาษิตว่าด้วยความสุข




          วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓) เวลา ๐๙.๒๙ น. ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ชั้น ๒ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร และนายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การคุ้มครอง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติ ระหว่างกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมศิลปากร           นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรมีภารกิจในการปกป้องคุ้มครอง มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ สืบทอด ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สร้างสรรค์เผยแพร่งานที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เอกสารโบราณ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ศิลปกรรมแขนงต่างๆ ตลอดจนงานด้านนาฏศิลป์ และดนตรี โดยหนึ่งในภารกิจคือการดำเนินการสำรวจ จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษามรดก ภูมิปัญญาด้านทรัพยากรสารสนเทศในรูปของเอกสารโบราณ กรมศิลปากรจึงร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การคุ้มครอง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติ ในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่ปรากฏในเอกสารโบราณทุกประเภทรวมถึงเอกสารสำคัญอื่นๆ และเอกสารจดหมายเหตุของชาติ สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการสำรวจ รวบรวม ตรวจสอบ บันทึกและจัดเก็บตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทย เช่น คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย พับสา ในส่วนภูมิภาคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระบบสุขภาพ เชื่อมโยง เผยแพร่ แลกเปลี่ยน และสนับสนุนข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสองหน่วยงานได้ทำการศึกษา วิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บรักษาคัมภีร์ใบลานในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ดูแลรักษา และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากคัมภีร์ใบลาน ทั้งนี้ กรมศิลปากรพร้อมสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ทั้งในกรมศิลปากรส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ           ด้าน นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีพันธกิจพัฒนาวิชาการและการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย การจัดระบบความรู้ พัฒนาแหล่งผลิตและผลิตภัณฑ์สมุนไพร คุ้มครอง อนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านบริการการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของรัฐ           ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้มีการประกาศคุ้มครองตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทย ทั้งสิ้นจำนวน ๒๘ ฉบับ ๔๘๑ ตำรา ๕๓๖ แผ่นจารึก ๓๗,๖๙๗ ตำรับ แล้วนำเข้าสู่ขั้นตอนการ รวบรวม จัดลำดับความสำคัญของตำรายาและนำไปสู่ขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์องค์ประกอบของ ตำรับยาที่มีความถูกต้อง ชัดเจน ก่อนนำไปสู่การบันทึกลงในระบบ Thai Traditional Digital Knowledge Library (TTDKL) ซึ่งเป็นระบบคลังความรู้ มีลักษณะเป็นห้องสมุด Digital ที่รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาด้านสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก และส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้ามารวมไว้ด้วยกัน เพื่อออกรหัสมาตรฐาน อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถใช้เฝ้าระวัง ป้องกัน ป้องปราม การละเมิด และคุ้มครองสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในระบบทรัพย์สินทางปัญญาไทย และสอดคล้องกับระบบสากลต่อไป ในอนาคต





ศิลป์ พีระศรี กับสงครามโลกครั้งที่ 2: On History.ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 - 14 กันยายน 2560 ศิลป์ พีระศรี กับสงครามโลกครั้งที่ 2           คนของมหาวิทยาลัยศิลปากรทุกคนคงจะรู้กันดีว่า วันที่ 15 กันยายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของ อ.ศิลป์ พีระศรี มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงจัดให้มีงานเฉลิมฉลองเป็นเทศกาลประจำอยู่ทุกปี และเรียกกันว่า “วัน อ.ศิลป์” แต่ใครจะรู้บ้างว่า อ.ศิลป์ ซึ่งเป็นชาวเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี และมีชื่อเดิมว่า “คอร์ราโด เฟโรซี” (Corrado Feroci) ทำไมจึงได้มีชื่อไทยว่า “ศิลป์ พีระศรี”? เรื่องนี้มีที่มาอย่างน่าสนใจทีเดียวเลยนะครับ          พ.ศ.2466 นายเฟโรซีในวัย 31 ขวบปี ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยาม ที่จัดขึ้นในยุโรป และนี่ก็เป็นจุดพลิกผันให้ศิลปินชาวตะวันตกคนหนึ่ง ได้เข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำแผนกศิลปากรสถาน แห่งราชบัณฑิตสภา ในราชสำนักสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งสยามประเทศ และถึงแม้ว่าสองปีต่อมา รัชกาลที่ 6 จะเสด็จสวรรคต แถมเมื่อผลัดแผ่นดินมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรในราชบัณฑิตสภา ซึ่งนายเฟโรซีทำงานอยู่อย่างหนักหน่วง ตลอดจนเกิดเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 แต่นายเฟโรซีก็ยังคงรับราชการอยู่ในสยามประเทศโดยปกติสุขดีมาตลอด             พ.ศ.2485 ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อมาจากประเทศสยาม รัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามโดยเลือกเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ ภายหลังจากที่กองทัพของญี่ปุ่นได้ขอใช้ไทยเป็น “ทางผ่าน” ไปยังพม่า และอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนใต้อาณานิคมของอังกฤษ และเป็นฐานที่มั่นสำคัญของฝ่ายพันธมิตรในดินแดนแถบนี้ จนเกิดเป็นตำนานเกี่ยวกับเป็นที่เกิดการสร้างทางรถไฟสายมรณะ เพียงหนึ่งปีถัดมาคือ พ.ศ.2486 รัฐบาลของ เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini) ในอิตาลี ประเทศบ้านเกิดของนายเฟโรซี ซึ่งก็เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ก็ประกาศยอมแพ้สงคราม และก็เป็นตรงนี้แหละครับ ที่นายเฟโรซีมีโอกาสได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นภาษาไทย โดยไม่ต้องให้หมอดูที่ไหนมาสแกนกรรมให้            ผลจากการที่อิตาลียอมแพ้สงครามทำให้ชาวอิตาเลียนต้องตกเป็นเชลยศึกของเยอรมนี และญี่ปุ่น ซึ่งในกรณีของประเทศไทย นายเฟโรซีในฐานะชาวอิตาเลียนก็ต้องตกเป็นเชลยญี่ปุ่น และต้องไปใช้แรงงานสร้างทางรถไฟสายมรณะนั่นเอง แต่รัฐบาลของจอมพลแปลกท่านขออนุญาตควบคุมนายเฟโรซีเอาไว้เอง โดยได้มอบหมายให้หลวงวิจิตรวาทการ โอนสัญชาตินายเฟโรซีจากอิตาเลียนมาเป็นไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ศิลป์ พีระศรี” อย่างที่รู้จักกันในทุกวันนี้ (ข้อมูลเกี่ยวกับ อ.ศิลป์ ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ก๊อบปี้ และจับวางต่อๆ กันไปโดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลในอินเตอร์เน็ต มักจะบอกว่าตรงกับปี พ.ศ.2485 ซึ่งปีนั้นอิตาเลียนยังไม่ได้ประกาศยอมแพ้สงคราม ที่จริงจึงควรเป็นปี พ.ศ.2486 อย่างที่ผมบอกนี่แหละ)   ทำไมรัฐบาลของ จอมพล ป. จึงช่วยเหลือ อ.ศิลป์?             นอกเหนือจาก อ.ศิลป์ จะรับราชการในไทยมานานพอควร และเหตุผลทางด้านมนุษยธรรมแล้ว เรายังควรสังเกตด้วยว่า อ.ศิลป์ พีระศรี นั้น เป็นผู้ควบคุมการสร้างอนุสาวรีย์สำคัญสองแห่ง ที่ทำพิธีเปิดในยุคที่จอมพลแปลกท่านนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยแรกคือ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (เริ่มสร้าง พ.ศ.2482 เปิดเมื่อปี พ.ศ.2483) และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (วางศิลาฤกษ์ พ.ศ.2484 และเปิดปี พ.ศ.2485) เรียกได้ว่าไม่ได้เป็นห่างคนไกลอะไรเลย (แน่นอนว่านี่ผมยังไม่ได้รับรวมชิ้นงานที่สร้างขึ้นก่อนหน้าจอมพลแปลกท่านนั่งเก้าอี้นายกฯ นะครับ) ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ อ.ศิลป์ ท่านสำเร็จการศึกษามาจาก Royal Academy of Italy ในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี แถมไม่ได้จบมาแบบไก่กา เพราะเมื่อเรียนจบจนมีอายุได้ 23 ปี ในปี พ.ศ.2458 ท่านก็สามารถสอบผ่านเป็นศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ การวิจารณ์ศิลป์ และปรัชญา ที่อคาเดมีแห่งนี้เลยทีเดียว           ปัญหาก็คือในบรรดาเอกสารว่าด้วยประวัติของ อ.ศิลป์ ซึ่งแน่นอนว่าผมหมายถึง เอกสารเฉพาะทางฝั่งไทย มักจะอ้างว่าท่านสำเร็จการศึกษาจาก Royal Academy of Art of Florence หรือที่แปลกันออกมาว่า ราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ ไม่ใช่ Royal Academy of Italy อย่างที่ควรจะเป็น?และนี่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะเรื่องความถูกต้องของชื่อราชวิทยาลัยเท่านั้น เพราะนอกจากราชวิทยาลัยที่ว่าจะไม่ได้มีอยู่จริงในโลกใบนี้แล้ว (แน่นอนว่า อ.ศิลป์ อาจจะบอกเล่า แล้วบรรดาลูกศิษย์ลูกหาจำสลับกับชื่อ Royal Academy of Art ที่มีชื่อเสียงในลอนดอน) ยังอาจจะเป็นไปได้ว่า ตัวของ อ.ศิลป์ เองนั่นแหละ ที่เลือกจะใช้ชื่อ Royal Academy of Italy จนทำให้ผู้คนสับสนกันในภายหลังต่างหากเพราะที่จริง อ.ศิลป์ ท่านสำเร็จการศึกษา และได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเหน้าจาก Academia di Belle Arti di Firenze ซึ่งก็เป็นอคาเดมีทางศิลปะที่โด่งดังและเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก ไม่แพ้ Royal Academy of Art ในลอนดอนเลยไม่แต่น้อย แต่ผมไม่ได้หมายความว่า อ.ศิลป์ ท่านพูดปดนะครับ เพราะ Academia di Belle Arti di Firenze เคยเปลี่ยนชื่อเป็น Royal Academy of Italy จริงๆ แต่เปลี่ยนเฉพาะในช่วงระหว่าง พ.ศ.2469-2486 ซึ่งเป็นช่วงที่ “ท่านผู้นำ” Mussolini เป็นนายกฯ ของอิตาลี (แน่นอนว่า อคาเดมีแห่งนี้ก็กลายเป็นอคาเดมีสายสนับสนุนฟาสซิสม์ หรือลัทธิท่านผู้นำ และศิลปะในสกุลนั้นไปโดยปริยาย) จนมาเลิกใช้ชื่อนี้ในปีที่อิตาลีประกาศยอมแพ้สงคราม และท่านผู้นำต้องลงจากตำแหน่งปีเดียวกันกับที่นายเฟโรซีได้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า ศิลป์ พีระศรี นั่นเอง          การที่ อ.ศิลป์ เลือกที่จะบอกใครๆ ว่าท่านสำเร็จการศึกษาจาก Royal Academy of Italy จึงดูจะเป็นเรื่องแปลกอยู่ไม่น้อย เพราะสมัยที่ท่านจบนั้น อคาเดมีแห่งนี้ยังใช้ชื่อว่า Academia di Belle Arti di Firenze และมันก็ต้องอีกตั้ง 11 ปีหลังจากที่ท่านเรียนจบเลยนะครับกว่าที่อคาเดมีที่ท่านจบจะเปลี่ยนชื่อเป็น “ราชวิทยาลัยฟาสซิสม์” เป็นการชั่วคราว?แน่นอนว่า “ท่านผู้นำแปลก” ก็เป็นผู้นิยมในลัทธิท่านผู้นำหรือ “ฟาสซิสม์” ไม่ต่างไปจาก “ท่านผู้นำมุโสลินี” ของอิตาลีเอาเข้าจริงแล้ว ผมเลยคิดว่ามันก็อาจจะไม่ค่อยน่าประหลาดใจเท่าไหร่นัก ถ้าตัวของ อ.ศิลป์ ท่านจะเลือกที่จะเรียกวิทยาลัยที่ท่านจบมาในชื่อใหม่ ที่เพิ่งตั้งขึ้นมา ลองดูชิ้นงานของ อ.ศิลป์ ในยุคที่จอมพล ป. เรืองอำนาจดูก็ได้ครับ ชื่อ “ศิลป์ พีระศรี” สัญชาติไทย และอิสรภาพที่ท่านได้รับ อาจจะเป็นรางวัลสำหรับผลงานของท่านในยุคนั้นก็เป็นได้


ผู้แต่ง : แสง  มนวิทูร, แปล ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : -                หนังสือคัมภีร์ลลิตวิสตระ นี้ เป็นหนังสือทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ แต่งรูปเรื่องทำนองหนังสือปฐมสมโพธิ์ของไทยซึ่งจะเริ่มเรื่องด้วยการอภิเษกระหว่างพระเจ้าสุทโธทนกับพระนางสิริมหามายา แต่ลลิตวิสตรจะเริ่มเรื่องด้วยนิทานแสดงเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาลลิตวิสตร สุตตันตปริยาย ต่อจากนั้นจะกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ดำเนินความเหมือนกันตลอด แต่จะแตกต่างกันในส่วนของสำนวนพรรณนา กล่าวคือลลิตวิสตรนั้นพรรณนาเรื่องไปในทางปาฏิหาริย์และอลังการต่าง ๆ และนำเอาหมวดธรรมและสุภาษิตมาแทรกระหว่างเรื่อง





ชื่อเรื่อง                    ประวัติหลวงพ่อโสธรครั้งที่พิมพ์                 -ผู้แต่ง                      -ผู้แต่งเพิ่ม                  -ประเภทวัสดุ/มีเดีย        หนังสือหายากISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   พระพุทธศาสนาเลขหมู่                      294.30922 ส975ปสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 สามเจริญพานิช ปีที่พิมพ์                    2502ลักษณะวัสดุ               19 ซ.ม. 30; หน้า : ภาพประกอบหัวเรื่อง                    หลวงพ่อโสธร                                 ประวัติ       ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                    ประวัติหลวงพ่อโสธร จัดพิมพ์ขึ้นเป็นของสมนาคุณแก่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ที่มากราบนมัสการหลวงพ่อโสธร ทั้งในวันงานเทศกาลและวันธรรมดา


ชื่อเรื่อง                           เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ.                                  194/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 55.4 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี



เลขทะเบียน : นพ.บ.78/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 48 (59-70) ผูก 8 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ)ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา(ลำมโหสถ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม