ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,566 รายการ

          ข้าวเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในตระกูลเดียวกับพืชประเภทหญ้า ลักษณะลำต้นเป็นปล้องกลวง ออกดอกเป็นช่อหรือรวง ดอกข้าวนี้จะเจริญเติบโตเป็นเมล็ดข้าวที่กลายเป็นอาหารของมนุษย์เรา           ข้าวมีหลายสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ลักษณะภูมิประเทศและสภาพอากาศ โดยสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกในทวีปเอเชีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oryza Sativa (อ่านว่า โอไรซ่า ซาติว่า) แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิดใหญ่ตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก ดังนี้           - Oryza Sativa Indica (โอไรซ่า ซาติว่า อินดิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่เขตร้อนชื้น บริเวณเส้นศูนย์สูตร เป็นพันธุ์ข้าวที่มาจากอินเดีย พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Mainland of Southeast Asia) ได้แก่ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น ลักษณะเมล็ดข้าวยาวเรียว           - Oryza Sativa Japonica (โอไรซ่า ซาติว่า จาโปนิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นถึงอบอุ่น) พบในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี เมล็ดข้าวสั้นป้อม เมื่อหุงสุกแล้วมีลักษณะค่อนข้างเหนียว           - Oryza Sativa Javanica (โอไรซ่า ซาติว่า ชาวานิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่เขตร้อนชื้น เป็นพันธุ์ข้าวที่พบในประเทศอินโดนีเซีย           ในดินแดนไทยพบร่องรอยของเมล็ดข้าวตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายพันปีมาแล้วที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะเป็นข้าวเมล็ดสั้นซึ่งอาจเป็นข้าวป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติภาพ: เมล็ดข้าวพบภายในถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินกลาง อายุประมาณ ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่มา: “Hoabinhian Horticulture : The Evidence and the Question From Northwest THAILAND”.           ต่อมาเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีหลักฐานของข้าวปลูกที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยพบร่องรอยข้าวติดอยู่บนเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทโลหะ ได้แก่ ขวานสำริด และเครื่องมือเหล็ก รวมทั้งยังพบอีกว่าคนโบราณสมัยนั้นได้ใช้แกลบข้าวเป็นส่วนผสมอยู่ในเนื้อภาชนะดินเผา นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีหลักฐานที่แสดงร่องรอยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ (วัวควาย) จากภาพเขียนสีบนผนังเพิงผาที่ผาหมอนน้อย ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีภาพเขียนสีบนผนังเพิงผา แสดงร่องรอยการเพาะปลูกข้าว (นาข้าว) และเลี้ยงปศุสัตว์ (วัวควาย) ที่ผาหมอนน้อย อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี--------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย https://www.facebook.com/page/1088662974512680/search/?q=%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2


       ใกล้เข้ามาแล้วกับวันพิพิธภัณฑ์ไทย ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน โดยถือเอาวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ เปิด “หอคองคอเดีย” เพื่อใช้เป็นที่ตั้งจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ แก่สาธารณชนในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๒๑ พรรษา โดยกิจการตั้งมิวเซียมในคราวนั้นได้รับความสนใจอย่างมาก ดังมีหลักฐานบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “...ข้าพเจ้าได้ยินเขาพูดว่า ของที่ไม่เคยได้เห็นก็มาได้เห็นในคราวนี้ ของในกรุงสยามมีเป็นอันมาก เหลือที่จะจดจำ...” ซึ่งปี ๒๕๖๕ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กำหนดให้มีกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ภายใต้หัวข้อ The Power of Thai Museums โดยหนึ่งในกิจกรรมนั้น คือ Museum Travel กิจกรรมที่จะพาทุกท่านท่องเที่ยวไปในชุมชน สัมผัสวิถีชีวิตและชมพิพิธภัณฑ์ริมฝั่งมหานคร รวม ๔ เส้นทาง ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๘ ศกนี้ เพจคลังกลางฯ จึงขอปูพื้นฐานเรื่องราวหนึ่งในสถานที่ที่เราจะไป อันเป็นอุโบสถร้างตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังฝั่งท่าราชวรดิฐ ภายในกรมอู่ทหารเรือ         “วัดวงศมูลวิหาร” เป็นวัดที่สร้างขึ้นภายในเขตจวนเดิมของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๑ แล้ว ได้พระราชทานบ้านหลวงให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๒ พระองค์ ตามลำดับ กระทั่งในปี ๒๓๕๒ พระราชนิเวศน์เดิมจึงได้เป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าชายประยงค์ หรือ “กรมขุนธิเบศรบวร” (ต้นราชสกุล บรรยงกะเสนา ณ อยุธยา) และเป็นเจ้านายผู้สร้างวัดนี้ขึ้น สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างก่อนปี ๒๔๐๐ ด้วยมีหลักฐานระบุเรื่องวัดในสมัยรัชกาลที่ ๔ ว่า “...กรมขุนธิเบศบวรสร้างขึ้นที่หลังวังวัดหนึ่งก็ค้างอยู่ โปรดให้บุรณะปฏิสังขรณ์ต่อไป...” กระทั่งแล้วเสร็จบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังปรากฏว่ามีการพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี ๒๔๑๘ สันนิษฐานภายในเขตพระอารามมีอาคารประกอบกิจของสงฆ์ เช่น พระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ โรงทึม (โรงสำหรับตั้ง หรือเก็บศพ) รวมถึงพื้นที่เผาศพ ด้วยวัดวงศมูลวิหารถูกจัดเป็นวัดที่ห้ามเผาในฤดูลมตะวันตก (เพื่อไม่ให้กลิ่นสร้างความรำคาญแก่ชาวบ้าน หรือลอยเข้าพระบรมมหาราชวัง)          โดยความพิเศษของวัดวงศมูลวิหารประการหนึ่ง คือในส่วนของอาคารอุโบสถที่หันออกทางด้านแป ดังมีหลักฐานระบุใน “สาส์นสมเด็จ” ถึงเหตุแห่งซ่อมแปลง “...เล่ากันมาว่า เมื่อกรมขุนธิเบศร์บวรสร้างวัดวงศ์มูลก็หันหน้าโบสถ์และพระประธานไปทางตะวันออก เมื่อสร้างวัดแล้วอยู่มา กรมขุนธิเบศร์บวรไม่ทรงสบาย.. เห็นกันว่า เพราะสร้างวัดตั้งพระประธานหันหน้าเข้าไปทางตำหนัก จึงให้ย้ายพระประธานไปตั้งทางด้านแป...” จึงถือเป็นอาคารพิเศษที่หันออกทางด้านยาว ดังปัจจุบันปรากฏประตูทางเข้า ทั้งทางทิศตะวันออก และทิศเหนือ รวมถึงมีการประดับใบเสมาติดเสา ลักษณะคล้ายพระอุโบสถสกุลช่างวังหน้าอีกด้วย ต่อมาวัดนี้ถูกยุบเลิกไปในปี ๒๔๕๙ โดยกองทัพเรือได้ขอที่ดินของวัดเพื่อจัดสร้างอู่หมายเลข ๒ คงเหลือไว้เพียงอุโบสถหลังเดียวเท่านั้น         นอกเหนือจากความพิเศษของวัดวงศ์มูลวิหาร ยังมีสถานที่น่าสนใจในกิจกรรม Museum Travel ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า พิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล พิพิธบางลำพู ฯลฯ ทั้งนี้ยังสามารถติดตามข่าวสารได้ทางแฟนเพจ Office of National Museums, Thailand ...แล้วพบกันนะครับ...               ภาพที่ ๑ ป้ายหน้าโบสถ์วัดวงศมูลวิหาร (โบราณสถาน) ภาพที่ ๒ โบสถ์วัดวงศมูลวิหารด้านทิศตะวันตก ประดับใบเสมาติดเสา ภาพที่ ๓ พระพุทธรูปในซุ้มหินอ่อน อิทธิพลศิลปะตะวันตก ด้านล่างมีแผ่นโลหะระบุศักราช ๑๑๑ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ภาพที่ ๔ แนวกำแพงของพระนิเวศน์เดิม ภายในกรมอู่ทหารเรือ          เผยแพร่และภาพโดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


http://search.nlt.go.th:1701/primo-explore/search?vid=NLT


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           29/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               48 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.7 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


แนะนำ E-book หนังสือหายาก โบราณราชธานินทร์, พระยา. ระยะทางเสด็จประภาสลำแม่น้ำน้อยและลำแม่น้ำใหญ่. พระนคร: โรงพิมพ์บุญส่งการพิมพ์, 2504.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           30/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              34 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 138/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 173/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : เรื่องพระร่วง พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พ.ต.อ.สำราญ กรัดศิริ จัดพิมพ์ถวายในงานฉลองสมณศักดิ์ พระเทพเมธาจารย์ เจ้าอาวาสโพธาราม นครสวรรค์ 7 มีนาคม 2503ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, 2405-2486ปีที่พิมพ์ : 2503 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวนหน้า : 80 หน้า สาระสังเขป : เรื่องพระร่วงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยในอดีต รวมถึงการเปลี่ยนผันของขนบธรรมเนียมประเพณีในยุคกรุงสุโขทัย เริ่มตั้งแต่ไทยตั้งเป็นประเทศอิสระเอาเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี มีพระเจ้ารามคำแหงหรือพระร่วงทรงปกครอง จนถึงกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมอานุภาพและสิ้นสมัยไปในที่สุด


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           11/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              36 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ภาพลายเส้น "ผาจันทร์แดง" แหล่งโบราณคดีที่พบร่องรอยภาพสลัก 1 ใน 2  แห่ง ของจังหวัดศรีสะเกษ ณ บ้านภูดินพัฒนา ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ    ภาพลายเส้นโดย นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส สามารถรับชม วิดีทัศน์ "ภาพสลักผาจันทร์แดง"  ได้ที่ https://web.facebook.com/watch/?v=432040254913024


18 มีนาคม วันท้องถิ่นไทย จากพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็น "สุขาภิบาลท่าฉลอม" ในวันที่ 18 มีนาคม 2448 (ร.ศ. 124) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจการปกครองให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อันนำไปสู่การวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทางคณะรัฐมนตรี จึงมีมติในวันที่ 22 มิถุนายน 2553 ประกาศให้ วันที่ 18 มีนาคมของทุกปี เป็นวันท้องถิ่นไทย โดยจังหวัดสมุทรสาคร จะมีการจัดงานประเพณี 18 มีนาคม สุขาภิบาลท่าฉลอม เป็นประจำทุกปี พร้อมๆ กับหลายจังหวัด ในปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) สุขาภิบาลแห่งแรกของไทยได้รับการจัดตั้งขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครเรียกว่า "สุขาภิบาลกรุงเทพ" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ขึ้น โดยผู้บริหารสุขาภิบาลกรุงเทพ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงนครบาล ตามที่ทรงทอดพระเนตรมาจากการเสด็จประพาสต่างประเทศ หลังจากนั้น 8 ปี คือในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ร.ศ. 124) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครเป็น "สุขาภิบาล" เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม" ซึ่งถือว่าเป็นสุขาภิบาล "หัวเมือง" แห่งแรกของไทย ซึ่งในปัจจุบันคือ "เทศบาลนครสมุทรสาคร" ทั้งนี้ สาเหตุที่การจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองล่าช้าไปมาก เพราะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรง เล็งเห็นว่า การสุขาภิบาลซึ่งเป็นรูปแบบที่ประชาชนปกครองตนเองนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากราษฎรในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภาษี การร่วมกันดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน หากบังคับให้มีขึ้นโดยที่ประชาชนไม่เห็นความจำเป็นก็จะไม่ประสบความสำเร็จ การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนและเป็นการถือกำเนิดของการปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกในประเทศไทย ข้อมูล : กระทรวงมหาดไทย


เลขทะเบียน : นพ.บ.503/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 167  (205-215) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม