ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,829 รายการ

          กรมศิลปากรและยูเนสโก ประกาศเชิญนักอนุรักษ์ ช่างอนุรักษ์ และผู้ควบคุมงานอนุรักษ์ เข้าร่วมการอบรมและส่งผลงานเพื่อรับประกาศนียบัตรรับรองการปฏิบัติงานอนุรักษ์โบราณสถานของกรมศิลปากร รุ่นที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๕) โดยจะอบรมระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ ในรูปแบบกึ่งออนไลน์ ผู้สนใจกรอกใบสมัครได้ที่ https://bit.ly/cccp2-a ตั้งแต่บัดนี้ถึง ๕ กันยายน ๒๕๖๕            กรมศิลปากรมีความประสงค์จะดำเนินการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานอนุรักษ์โบราณสถาน ให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการอนุรักษ์ แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรพร้อมกับพัฒนาบุคลากรในระบบให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยมุ่งสร้างบุคลากรผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์จำนวน ๓ สาขา ได้แก่  นักอนุรักษ์ ช่างอนุรักษ์ และผู้ควบคุมงานอนุรักษ์ ให้เข้ารับการอบรมทำความเข้าใจในหลักและวิธีการเพื่อสร้างมาตรฐานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และจะดำเนินการต่อเนื่องต่อไปทุกปี เมื่อกรมศิลปากรสามารถผลิตและรับรองบุคคลากรผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์โบราณสถานในระบบได้มากเพียงพอจะประกาศเป็นเกณฑ์ในการควบคุมมาตรฐานผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์โบราณสถานของกรมศิลปากรต่อไป           กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ ๑: ต่อยอดประสบการณ์ จำนวน ๘๐ คน โดยเป็นผู้ออกแบบหรือกำหนดวิธีการในการอนุรักษ์ หรือ ช่างอนุรักษ์งานอิฐ - ปูน งานไม้ และงานหิน หรือ ผู้ควบคุมงานอนุรักษ์ มีประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์โบราณสถานตั้งแต่ ๑๐ ปี ขึ้นไป และมีผลงานที่มีคุณภาพมานำเสนอ ๓ ผลงาน กลุ่มที่ ๒: สร้างเสริมประสบการณ์ จำนวน ๓๐ คน โดยเป็นผู้ออกแบบหรือกำหนดวิธีการในการอนุรักษ์ หรือ ช่างอนุรักษ์งานอิฐ-ปูน และงานไม้ หรือ ผู้ควบคุมงานอนุรักษ์ มีประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์โบราณสถานตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไปแต่น้อยกว่า ๑๐ ปี หรือมีผลงานที่มีคุณภาพมานำเสนอไม่ถึง ๓ ผลงาน ทั้งนี้ เมื่ออบรมสำเร็จจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการปฏิบัติงานอนุรักษ์โบราณสถานของกรมศิลปากร รุ่นที่ ๒ จากอธิบดีกรมศิลปากร            กรมศิลปากร จึงขอเชิญชวน นักอนุรักษ์ ช่างอนุรักษ์ และผู้ควบคุมงานอนุรักษ์ สมัครเข้าร่วมการอบรมและส่งผลงานเพื่อรับใบรับรองในการปฏิบัติงานอนุรักษ์โบราณสถานของกรมศิลปากร รุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดคุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม สาขาปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ร่างกำหนดการการอบรม และรายละเอียดการส่งผลงาน ได้ทาง https://bit.ly/cccp2-th  


วัดลุ่มหรือวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดระยอง วัดลุ่มหรือวัดลุ่มมหาชัยชุมพลตั้งอยู่ที่ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองตามประวัติวัดระบุว่าสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๒๓๔ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารหรือหลักฐานศิลปกรรมที่ยืนยันได้แน่ชัด โดยเรื่องราวเกี่ยวกับวัดลุ่มปรากฏในหลักฐานเอกสารพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระยาวชิรปราการ (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)ได้ยกทัพตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าออกมาจากกรุงศรีอยุธยามาทางหัวเมืองตะวันออกเพื่อรวบรวมกำลังไพร่พลกลับไปกอบกู้ กรุงศรีอยุธยาในราวปี พ.ศ. ๒๓๐๙ โดยเมื่อมาถึงเมืองระยองแล้วกองทัพของพระยาวชิรปราการได้ตั้งค่าย พักไพร่พลที่บริเวณวัดลุ่ม ดังความว่า “...รุ่งขึ้นประทับแรมน้ำเก่า ผู้รั้งเมืองระยอง กรมการทั้งปวงชวนกันมาต้อนรับเสด็จ ถวายธัญญาหารเกวียนหนึ่ง เสด็จดำเนินมาถึงประตูจึงพระราชทานปืนคาบศิลา บอกหนึ่งแก่ผู้รั้งเมืองระยองแล้วเสด็จมาประทับอยู่ณ วัดลุ่ม ๒ เวน รับสั่งให้จัดลำเลียงอาหารขุดค่ายคู แลนายบุญรอดแขนอ่อน นายบุญมาน้องเมียพระยาจันทบูรเข้าถวายตัวทำราชการอยู่ด้วย…” ในระหว่างที่พระยาวชิรปราการตั้งค่ายพักไพร่พลอยู่ที่วัดลุ่มนี้ กรมการเมืองระยองคิดระแวงว่าพระยาวชิรปราการเป็นกบฏหนีทัพออกมาจากกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากในเวลานั้นกรุงศรีอยุธยายังไม่แตก จึงคิดต่อต้านและยกไพล่พลเข้าตีกองทัพของพระยาวชิรปราการ โดยยกไพล่พลข้ามสะพาน “วัดเนิน”เข้ามาใกล้ค่ายของพระยาวชิรปราการที่วัดลุ่ม แต่ก็พ่ายแพ้กลับไป โดยวัดเนินที่ปรากฏอยู่ในหลักฐานเอกสารดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดลุ่ม ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือหลักฐานเพียงแค่ซากเจดีย์ ๑ องค์เท่านั้น จากข้อความที่กล่าวถึงวัดลุ่มในหลักฐานเอกสารดังกล่าว ทำให้สันนิษฐานได้ว่า วัดลุ่มหรือวัดลุ่มมหาชัยชุมพลนี้น่าจะสร้างขึ้นเป็นวัดมาแล้วอย่างน้อยก่อนปี พ.ศ. ๒๓๐๙ และคงเป็นวัดเรื่อยมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ โบราณสถานสำคัญภายในวัดลุ่มมหาชัยชุมพลนี้ ได้แก่ พระอุโบสถ (หลังเก่า) มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความกว้างประมาณ ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ด้านหน้าหรือทางด้านตะวันออกมีการต่อชายคาออกมาและก่ออิฐถือปูนเป็นผนังรับเสาชายคาโดยเว้นช่องทางเข้า - ออกด้านข้างทั้ง ๒ ข้างซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะของอุโบสถในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีความเป็นพื้นถิ่น โดยมักพบอุโบสถลักษณะนี้ในวัดแถบจังหวัดระยองที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิ วัดบ้านแลง วัดบ้านเก่า วัดนาตาขวัญ เป็นต้น ฐานพระอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่อยู่บนฐานเขียงซ้อนกันสองชั้นเตี้ย ๆ พระอุโบสถมีประตูเข้า - ออกทางเดียวอยู่ทางด้านตะวันออก มีหน้าต่างด้านละ ๕ บานซุ้มประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยปูนปั้นลายใบเทศและดอกไม้บริเวณพื้นที่ว่างกลางซุ้มหน้าต่างตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค หลังคาของพระอุโบสถเป็นหลังคาทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น ชั้นละ ๒ ตับ โครงสร้างหลังคาไม้มุงด้วยกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา หน้าจั่วประดับเครื่องลำยองไม้ ประกอบด้วย ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้งและหางหงส์ หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นทาสีอิทธิพลศิลปะจีน โดยหน้าบันด้านตะวันออกประดับด้วยปูนปั้นรูปมังกร ลายพรรณพฤกษา และรูปสัตว์ขนาดเล็ก ส่วนหน้าบันด้านตะวันตกประดับด้วยปูนปั้นรูปหงส์ ลายพรรณพฤกษา และรูปสัตว์ขนาดเล็ก ภายในพระอุโบสถมีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปประธานและพระสาวก ซึ่งพระพุทธรูปประธานเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ รอบพระอุโบสถไม่ปรากฏใบเสมา สันนิษฐานว่า อาจถูกเคลื่อนย้ายไปประดิษฐานรอบพระอุโบสถ หลังใหม่ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๓๘ง ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๑ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ ไร่ ๑ งาน ๗๓ ตารางวา เอกสารอ้างอิง กรมการศาสนา. (๒๕๔๔). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒๐. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๓. (๒๕๔๒). กรุงเทพ ฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี. (๒๕๕๑). โบราณสำคัญเมืองระยอง. เอกสารอัดสำเนา. สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี. (ม.ป.ป). วัดลุ่มมหาชัยชุมพล. เอกสารอัดสำเนา. ผู้เรียบเรียง นางสาวเลิศลักษณ์ สุริมานนท์ นักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี #สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม


          วันที่​ ๕ ตุลาคม​ ๒๕๖๕​ ทีมนักวิทยาศาสตร์​จากกลุ่มวิทยาศาสตร์​เพื่อการอนุรักษ์​ สำนักพิพิธภัณฑสถาน​แห่งชาติ​ และทีมภัณฑารักษ์​ จากพิพิธภัณฑสถาน​แห่งชาติ​เชียงใหม่​ ร่วมกันดำเนินการจัดทำทะเบียน​ อนุรักษ์​สภาพโบราณ​วัตถุ​ และทำการตรวจองค์ประกอบ​ของธาตุภายในเนื้อโลหะ​ (XRF)​ ของโบราณ​วัตถุเพื่อจำแนกประเภท​ อายุสมัยของโบราณ​วัตถุ​ และกำหนดแนวทางอนุรักษ์​ในเชิงลึก            การดำเนินการในวันนี้​ ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มวิทยาศาสตร์​เพื่อการอนุรักษ์​ สามารถเปิดองค์เจดีย์​จำลอง​โลหะที่เคยมีการค้นพบมาก่อนหน้านี้ได้​ พบว่าภายในส่วนองค์ระฆัง​ บรรจุวัตถุชิ้นสำคัญ​ ประกอบด้วย​ พระแกะจากหินแก้ว​ เม็ดพระธาตุ​ เม็ดหินแก้ว​ และแผ่นจารึกลานเงิน​ ปะปนร่วมกับอินทรีย์​วัตถุ           ในส่วนของแผ่นจารึกลานเงิน​ นักวิทยาศาสตร์​ กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ​ขั้นตอนอนุรักษ์​เพื่อรักษา​สภาพ​และเผยให้เห็นพื้นผิวดั้งเดิม​ของวัตถุ​ ซึ่งจะส่งต่อให้นักอ่านจารึกและนักอักษร​โบราณ​ร่วมกันอ่านและวิเคราะห์​แปลความเพื่อสร้างองค์​ความรู้​เกี่ยวกับ​วัดศรีสุพรรณ​ในลำดับต่อไป



6 จังหวัด ได้แก่  ชุมพร  สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา เเละสตูล


คติรัตนตรัยมหายาน จัดทำโดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์  นางสาวศศิกานต์ ค้าขาย คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           38/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              50 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


  องค์ความรู้ เรื่อง "สิม วัดสว่างบัวมาศ"   สิม วัดสว่างบัวมาศ ตั้งอยู่ที่ บ้านบ้วมาศ  ตำบลบัวมาศ  อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นสิมแบบสิมทึบ ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดสี่ห้อง หันหน้าไปทางตะวันออก โครงสร้างหลังคาเดินเป็นไม้ แต่ปัจจุบันซ่อมเปลี่ยนเป็นวัสดุใหม่ไปแล้ว   ส่วนฐานอาคารทำเป็นชุดบัวลูกแก้วอกไก่ ตัวอาคารผนังก่อเป็นช่องหน้าต่างวงโค้ง ตอนล่างทำเป็นช่องวงโค้งรูปไข่แต่ทำเป็นหน้าต่างหลอก ใช้วงโค้งเป็นช่องแสงเข้าไปในตัวอาคาร ภายในทำฐานชุกชีเป็นแนวยาวตลอดผนังด้านตะวันตกตามแบบสิมในวัฒนธรรมล้านช้างทั่วไป    สำหรับพระพุทธรูปประธานถูกย้ายออกไปยังสิมหลังใหม่แล้วทั้งหมด ไม่มีภาพจิตรกรรมในสิม ผนังด้านนอกประดับด้วยลายปูนปั้น มีการทำหน้าต่างหลอกรูปแบบเดียวกัน แต่ปั้นปูนเป็นทวารบาลรูปตำรวจประดับไว้ ส่วนเหนือวงโค้งหน้าต่างทำปั้นลายเป็นรูปครุฑกางปีก ยอดหัวเสาปั้นลายลิงถือรังผึ้ง ซุ้มประตูทำเป็นวงโค้งประดับปูนปั้นเป็นภาพราหูอมจันทร์ หน้าบันประดับลายปูนปั้นเต็มพื้นที่เป็นภาพพระพุทธเจ้าท่ามกลางลายใบอะแคนทัส (acanthus) หรือ ผักกูดฝรั่ง มีนกยุงอินเดียประดับแทรกอยู่ หน้าบันด้านหลังประดับเป็นลายพระพุทธเจ้าอยู่ทาามกลางลายดอกไม้ ใบไม้แบบฝรั่งแทรกด้วยกระรอก นก  ลิงถือรังผึ้งประดับอยู่   สิม หลังนี้แม้จะไม่มีประวัติการก่อสร้างที่แน่ชัด  แต่จากรูปแบบศิลปกรรมแบบสิมญวนที่ปรากฏอยู่ทั้งการใช้วงโค้งเหนือกรอบประตูและหน้าต่าง การใช้ลายปูนปั้นแบบตะวันตกก็สามารถประมาณอายุที่สร้างได้ในราว พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา ซึ่งจัดเป็นช่วงปลายๆอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบสิมญวนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงถึงการเข้ามาของศิลปะเวียดนามรุ่นหลัง ๆ ที่มีอิทธิพลอยู่ในงานสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นและงานประดับตกแต่งในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2450-2500  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย   มีโอกาส ขอเชิญชวนทุกท่านเเวะไปชมสิมหลังงามอีกแห่งหนึ่งของอำเภอบรบือกันนะครับ   เรียบเรียงนำเสนอโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 133/2 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 169/2 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           22/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                34 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           6/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              32 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


    ลูกเต๋า : การละเล่นโบราณ ? ในวัฒนธรรมทวารวดี ที่เมืองอู่ทอง     บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการขุดพบลูกเต๋าโบราณทำจากดินเผา กระดูกสัตว์ และงาช้าง  มีรูปทรง ๒ ลักษณะ ได้แก่ ลูกเต๋าทรงลูกบาศก์ (สี่เหลี่ยมจัตุรัส) ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลูกเต๋าในปัจจุบัน คือ เป็นลูกเต๋าที่มี ๖ ด้าน แต่ละด้านมีรอยขูดขีดลึกลงไปเป็นจุดกลม ๑ ถึง ๖ จุด  และรูปทรงอีกแบบหนึ่งมีลักษณะเป็นแท่งยาวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี ๔ ด้าน แต่ละด้านสลักเป็นจุดวงกลมล้อมรอบด้วยเส้นวงกลมหลายเส้น ด้านละ ๑, ๒, ๓ และ ๔ จุด ตามลำดับ     ลูกเต๋าโบราณทั้งสองแบบ ได้พบแพร่หลายในหลายพื้นที่ ทั้งในดินแดนตะวันออกกลาง (อาณาจักรเปอร์เชีย) ยุโรป รวมทั้งดินแดนชมพูทวีป (อินเดียตอนเหนือและพื้นที่ด้านตะวันตก)      จากการค้นพบลูกเต๋าตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ทำให้สันนิษฐานว่า ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการละเล่น กีฬา หรือการพนัน  ในอินเดียได้พบลูกเต๋าทรงลูกบาศก์ ตั้งแต่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุหรือในวัฒนธรรมยุคทองแดง อายุ ๔,๕๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว (๓,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล)  ในบางแห่งขุดพบลูกเต๋าร่วมกับแผ่นดินเผาที่มีการตีเส้นตาราง สันนิษฐานว่าใช้เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการละเล่นหรือกีฬาของคนสมัยโบราณ และอาจเป็นต้นเค้าของกีฬาหมากรุกในปัจจุบัน  ในอินเดียได้พบลูกเต๋าแพร่หลายมากในชั้นวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ (สมัยเหล็กตอนปลาย) ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓-๗ (ประมาณ ๑,๙๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ต่อเนื่องมาถึงสมัยคุปตะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ (ประมาณ ๑,๖๐๐ - ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)     ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ยังพบลูกเต๋าที่แหล่งโบราณคดีเนินมะกอก อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ในพื้นที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี กำหนดอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๐ หรือเมื่อ ๑,๖๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)     การค้นพบลูกเต๋าที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาวอินเดียในช่วงก่อนสมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ แสดงถึงความสำคัญในฐานะเมืองท่าค้าขายช่วงเวลานั้น   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. เนินมะกอก : รายงานเบื้องต้นเฉพาะเรื่องชั้นดินและหลักฐานโบราณคดีบางประเภท. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี :  การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๔๒. Alex Fox.  Ancient Roman Board Game found in Norwegian Burial Mound: researchers unearthed a four-sided dice and 18 circular tokens. [Online.] Available from https://www.smithsonianmag.com/.../ancient-roman-board.../ Shahid Naeem. An Ancient Indus Die. [Online.] Available from https://www.harappa.com/blog/ancient-indus-die [June 15th, 2015] Shahr-e-Sukhteh: the Burnt City. [Online.] Available from http://turquoisedomes.com/2020/01/24/shahr-e-sukhteh/ [January 24, 2020.]


ชื่อเรื่อง : วรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : ศึกษาภัรฑ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 1,328 หน้า สาระสังเขป : เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นด้วยประวัติสุนทรภู่ ตั้งแต่ก่อนรับราชการ ตอนรับราชการ ตอนออกบวช ตอนตกยาก ตอนสิ้นเคราะห์ ว่าด้วยหนังสือที่สุนทรภู่แต่ง ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ บันทึกเรื่องผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ทั้งหมด 64 ตอน มีนิทานเรื่องพระอภัยมณีต่อจากคำกลอน


ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เรื่อง วันมาฆบูชา วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์"แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก ซึ่งหลักคำสอนนี้ถือเป็นหลักใหญ่แห่งพระพุทธศาสนา เนื้อหาว่าด้วย "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"


Messenger