ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,828 รายการ
โครงการเครือข่ายดูแลรักษาเอกสารโบราณการสัมมนาเครือข่าย ความร่วมมือด้านการจัดการมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประเภทเอกสารโบราณโดย นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษเรื่อง สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา กับบทบาทและภารกิจด้านการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
ชื่อเรื่อง : ต ปัจจัย
ชื่อผู้แต่ง : พระมหาสงัด ญาณพโล
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์
จำนวนหน้า : 24 หน้า
สาระสังเขป : ต ปัจจัย คือหลักบาลีไวยากรณ์ เป็นปัจจัยตัวสำคัญสำหรับประกอบท้ายธาตุ แล้วใช้เป็นกิริยากิตก์ลงในอดีตกาล ให้แปลว่า "แล้ว" หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมหลักเกณฑ์การใช้ ต ปัจจัย โดยมีที่มาจากคัมภีร์มูลกัจจาย์ และคัมภีร์รูปสิทธิปกรณ์ พร้อมแสดงตัวอย่างการใช้คำ
พระพุทธรูปยืน ปางประทานพร
วัสดุ : ศิลา
อายุ/สมัย : ทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓)
ขนาด : กว้าง ๕๔ เซนติเมตร, สูง ๑๓๒ เซนติเมตร
สถานที่พบ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี
ปัจจุบัน : จัดแสดง ณ ห้องศาสนาและความเชื่อทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
พระพุทธรูปปางประทานพร คือ พระพุทธรูปที่มีการแสดงพระกรขวาในท่าทางยื่นไปด้านหน้าและหงายฝ่าพระหัตถ์ลง มีความหมายถึง การอวยพร ให้ความเป็นสิริมงคล ในประเทศไทยพระพุทธรูปปางประทานพรปรากฏครั้งแรกประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ เช่น พระพุทธรูปประติมากรรมนูนสูง ศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ พบที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
ต่อมาวัฒนธรรมทวารวดีได้รับรูปแบบและพัฒนาให้มีความเป็นพื้นเมืองมากขึ้น เช่น พระพุทธรูปที่จัดแสดงองค์นี้ ที่ประทับยืนหย่อนพระชานุเอียงตัวเล็กน้อย พระเศียร พระหัตถ์ซ้าย และพระบาทหักหายไป พระกรขวาวางเหยียดลงข้างพระวรกาย หงายฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้า กลางฝ่าพระหัตถ์มีลวดลายธรรมจักร ครองจีวรห่มคลุมเรียบและบางแนบพระวรกาย
ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่องค์หนึ่งที่แสดงถึงการรักษารูปแบบท่ายืนตริภังค์(เอียงตนสามส่วน)ไว้ ก่อนจะคลี่คลายเป็นการประทับยืนตรงในเวลาต่อมา
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมพระพุทธรูปยืน ปางประทานพร ได้ทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
+ + + + + + + + + + + + + + + + +
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ ๒ นนทบุรี :
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิ่งชิ่ง, ๒๕๕๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารดี วัฒนธรรมทางศาสนา
ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒
นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ชื่อผู้แต่ง : นายโป้ พิโรจน์รัตน์
ชื่อเรื่อง : เรื่องของธนบัตรในงานฌาปนกิจศพ
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์ : พระนคร
จำนวนหน้า 156 หน้า
หนังสือเรื่องเรื่องของธนบัตรได้รวบรวมเรื่องของธนบัตรขึ้นเป็นหมวดหมู่เพื่อเป็นประโยชน์ของหน่วยงานที่ปฏิบัติอยู่หรือเพื่อแนะนำพนักงานใหม่ให้ทราบเพื่อจะได้มีประสิทธิ์ภาพในการทำงาน และเพื่อมีการเข้าเยี่ยมชมธนาคารแห่งประเทศไทย หนังสือได้กล่าวถึงรายละเอียดของธนบัตรแต่ละรุ่นไว้อย่างละเอียด
พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก หรือ ที่เรียกว่า คูขื่อหน้า ในอดีตทางด้านทิศเหนือ มุมตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้กับตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า พระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้า สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชา ประมาณ พุทธศักราช ๒๑๒๐ ด้วยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง ๘ พระองค์ คือ
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- สมเด็จพระเอกาทศรถ
- เจ้าฟ้าสุทัศน์
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
- สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
- กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ใน พุทธศักราช ๒๓๑๐ พระราชวังจันทรเกษม ได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการบูรณะและปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานพระราชวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้ พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหมู่ตึกกลางของพระราชวังเป็นที่ทำการ
เมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงวัง ด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยา มาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น
วังจันทรเกษม มิวเซียมที่กรุงเก่า
ในระหว่างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลอยุธยา ท่านได้ทำการศึกษา และรวบรวมเรื่องราว รวมทั้งวัตถุสิ่งของสำคัญในบริเวณกรุงเก่า และบริเวณใกล้เคียงไว้เป็นจำนวนมาก มาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๕๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแนะนำให้พระยาโบราณราชธานินทร์ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เรียกว่า "โบราณพิพิธภัณฑ์" โดยในระยะแรกนั้นใช้ตึกโรงม้าพระที่นั่งเป็นที่เก็บรวบรวม
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัตถุต่าง ๆ จากโรงม้าพระที่นั่งเข้ามาเก็บรักษาและตั้งแสดงที่บริเวณอาคารพลับพลาจัตุรมุข พร้อมทั้งจัดสร้างระเบียงตามแนวอาคารด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เพื่อจัดตั้งวัตถุ ศิลาจารึก และประติมากรรรมต่าง ๆ ตั้งชื่อว่า "อยุธยาพิพิธภัณฑ์"
พุทธศักราช ๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป เมื่อเสด็จถึงเมืองฮอมเบิค ประเทศเยอรมนี ทรงมีโทรเลขถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า "มิวเซียมที่นี่เหมือนมิวเซียมที่กรุงเก่า" ด้วยเหตุนี้เอง "อยุธยาพิพิธภัณฑ์" ในขณะนั้น จึงเป็นที่รู้จักของบรรดาผู้สนใจ และรักในงานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของชาติ
ต่อมา ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙ กรมศิลปากร ได้ประกาศให้อยุธยาพิพิธภัณฑ์เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในนาม "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
นิทรรศการ
ปัจจุบันได้มีการจัดแสดง นิทรรศการถาวรภายในพระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ ดังนี้
พลับพลาจัตุรมุข
เป็นห้องที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังแห่งนี้ ได้แก่ พระแท่นบรรทม พระราชอาสน์พร้อมเศวตฉัตร พระบรมฉายาลักษณ์ และเครื่องราชูปโภคต่างๆ ที่หาชมได้ยาก
พระที่นั่งพิมานรัตยา
จัดแสดงโบราณศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พระยาโบราณราชธานินทร์เก็บรวบรวม ได้แก่ ประติมากรรมที่สลักจากศิลา เช่น เทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี กลุ่มพระพุทธรูปสำริด สมัยอยุธยา ที่พบในพระพาหาซ้ายของ พระมงคลบพิตร และพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีความวิจิตรงดงาม รวมทั้งพระพิมพ์แบบต่าง ๆ ที่พบจากกรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ นอกจากนี้ยังมีเครื่องไม้จำหลักฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ประณีตงดงามอีกหลายชิ้น จัดแสดงรวมอยู่ด้วย
อาคารมหาดไทย
"อาคารมหาดไทย หรือ ตึกที่ทำการภาค เป็นอาคารรูปตัว L ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ตั้งอยู่ชิดกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว ๕๐ เมตร ด้านทิศใต้ยาว ๖๕ เมตร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ ครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ใช้เป็นตึกที่ทำการภาคต่อมาจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ หลังจากนั้นยังได้ใช้เป็นที่ทำการของอัยการจังหวัด สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานคลังเขต ๑ จนกระทั่ง พุทธศักราช ๒๕๓๖จึงได้ส่งคืนให้เป็นที่ทำการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
หอพิศัยศัลลักษณ์ (หอดูดาว)
หอพิศัยศัลลักษณ์ เป็นอาคารทรงหอ ๔ ชั้นขนาดของ ๑๕.๘๐ เมตร x ๑๗ เมตร สูง ๒๒ เมตร อาคารตั้งอยู่ริมกำแพงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้พังลงก่อนเสียกรุงอยุธยาครั้งที่ ๒ สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นตามรากฐานเดิมแล้วพระราชทานนามว่าหอพิสัยศัลลักษณ์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว ต่อมาเมื่อพื้นที่ภานในพระราชวังจันทรเกษม ถูกใช้เป็นที่ทำการมณฑลกรุงเก่า จึงทำหน้าที่เป็นหอสังเกตุการณ์และติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า
ศาลาเชิญเครื่อง
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของกลุ่มพระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นลักษณะอาคารแบบโถงตะวันตกหลังคามุงกระเบื้อง หอพิสัยศัลลักษณ์ เป็นอาคารทรงหอ ๔ ชั้น ขนาด ๑๕.๘๐ เมตร x ๑๗ เมตร สูง ๒๒ เมตร ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ สันนิษฐานว่าสร้างครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้พังลงตั้งแต่ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามรากฐานเดิมแล้วพระราชทานนามว่า หอพิสัยศัลลักษณ์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว ต่อมาเมื่อพื้นที่ภายในพระราชวังจันทรเกษม ถูกใช้เป็นที่ทำการมณฑลกรุงเก่า จึงทำหน้าที่เป็นหอสังเกตุการณ์และติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า
อาคารสโมสรเสือป่า
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงปั้นหยาชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ขนาด ๑๑.๒๐ เมตร x ๒๐ เมตร ตั้งอยู่ด้านหลังพระที่นั่งพิมานรัตยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้สำหรับเป็นที่ชุมนุมกองเสือป่าของมณฑลกรุงเก่า ภายหลังเป็นที่ตั้ง "สำนักงานหอสมุดแห่งชาติ"
โรงม้าพระที่นั่ง
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาด ๖ เมตร ๑๗ เมตร ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระยาโบราณราชธานินทร์ ใช้เป็นที่ตั้ง โบราณพิพิธภัณฑ์
ชื่อเรื่อง ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมโพธิเผด็จ)สพ.บ. 140/23ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 62 หน้า กว้าง 57 ซ.ม. ยาว 5 ซ.ม. หัวเรื่อง พระพุทธเจ้า พุทธศาสนา วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีบัวบาน อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี