ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,829 รายการ


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่#ตุงและคันตุง. สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ค่ะแฟนเพจทุกท่าน วันนี้ก็กลับมาพบกับองค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ กันอีกเช่นเคยนะคะ ในวันนี้ขอเสนอเรื่อง "ตุงและคันตุง" ค่ะ . ตุง เป็นเครื่องแขวนอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในพิธีกรรมคล้ายธง โดยตุงถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่หลากหลาย เช่น ผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ตามแต่โอกาสที่ใช้และฐานะของผู้สร้าง หากเป็นตุงที่สร้างจากวัสดุที่ไม่กวัดไกวตามกระแสลมจะเรียกตุงชนิดนั้นว่า “ตุงกระด้าง” ซึ่งจะสร้างด้วยโลหะ ไม้ หรือ ปูน เป็นต้น. หลักฐานการใช้ตุงเป็นเครื่องพุทธบูชา ปรากฏในเอกสารล้านนาโบราณหลายฉบับ เช่น ตำนานเมืองเชียงแสน กล่าวถึง การประดิษฐานพระบรมธาตุเหนือยอดดอยลูกหนึ่ง พระมหากัสสปเถระเจ้าได้อธิษฐานตุงขึ้นตั้ง คันตุงนั้นสูงแปดพันวา ตุงยาวเจ็ตพันวา กว้างสี่ร้อยวา หลังจากเหตุการณ์นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกดอยแห่งนั้นว่า "ดอยตุง" . โดยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการใช้ตุงปรากฏในศิลาจารึกวัดพระยืน ระบุว่าเมื่อราว พ.ศ. ๑๙๑๓ เมื่อพญากือนาตั้งขบวนต้อนรับพระสุมนเถระจากสุโขทัย ในขบวนนั้นมีการประดับด้วยธง (ตุง) . เหตุที่ชาวล้านนานิยมถวายตุงไว้ในพระพุทธศาสนา เพราะมีความเชื่อว่าการถวายทานตุงนั้นได้อานิสงค์มาก เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วจะไม่ตกนรกนั้นเองค่ะ. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอยกตัวอย่างตุงจากห้องโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณฮอด จังหวัดเชียงใหม่  2 รายการ มาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ หากท่านใดสนใจสามารถแวะเข้ามาชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ของเรานะคะ พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่าาา """"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.44/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ก/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.337/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 133  (359-369) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : จุนฺทสูกรีกสุตฺต(จุนทสูกรีกสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๓๖ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช          พระองค์เจ้าชายอุรุพงษ์รัชสมโภช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๗๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลื่อน ประสูติวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดให้ตามเสด็จรับใช้ใกล้ชิด มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เช่นเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ปี พุทธศักราช ๒๔๔๙ และเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ปี พุทธศักราช ๒๔๕๐ พระองค์ก็ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถด้วยทั้ง ๒ ครั้ง เมื่อทรงเจริญถึงวัยที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศ เช่นเดียวกับพระราชโอรสพระองค์อื่น ก็ทรงให้เว้นเสีย และให้จ้างครูชาวต่างชาติเข้ามาสอนหนังสือถึงในพระตำหนัก แทนที่จะต้องเสด็จไปศึกษาในต่างประเทศ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นภายในพระราชวังดุสิตและพระราชทานนามว่า "ตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์" เพื่อพระราชทานให้ประทับอยู่ใกล้ ๆ           พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ สิริพระชันษา ๑๗ ปี เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๕๒           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโทมนัสยิ่งนักที่พระราชโอรสสิ้นพระชนม์ ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นสาธารณกุศล ที่เชิงสะพานทั้งสองฝั่งมีพระรูปปั้นหินอ่อนของพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระราชทานชื่อสะพานว่า สะพานอุรุพงษ์ จนถึงปัจจุบัน ไม่มีสะพานแห่งนี้แล้ว คงเหลือแต่ชื่อ สะพานอุรุพงษ์ ข้ามแม่น้ำเพชรบุรี อาคารอุรุพงษ์ ภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ถนนอุรุพงษ์ และสี่แยกอุรุพงษ์ ถนนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ   ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช (ขวาสุด)



ชื่อเรื่อง                     กาพย์มหาชาติผู้แต่ง                       กรมศิลปากรพิมพ์ครั้งที่                  2ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.31881 ม233กสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 ไทยมิตรการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2507ลักษณะวัสดุ               126 หน้าหัวเรื่อง                     เทศน์มหาชาติ                              วรรณคดีพุทธศาสนาภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก         หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงกาพย์มหาชาติ 3 กัณฑ์ คือ             1.กัณฑ์วนประเวศน์             2.กาพย์กุมารบรรพ             3.กาพย์สักรบรรพ






เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๐ พรรษาบริบูรณ์ นับเป็นมหามงคลสมัยอันประเสริฐยิ่ง กอปรกับเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตินับได้หมื่นวันเศษ ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองสมโภช จึงทรงพระราชดำริเพื่ออนุวัตร ตามโบราณบุรพราชประเพณีอันมีมาแต่ก่อน โดยทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร เทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงพระเจริญเพียบพร้อมด้วยพระคุณสมบัติ และทรงปฏิบัติพระองค์ ตามแบบแผนขัตติยราชกุมารี สนองพระเดชพระคุณในพระราชภารกิจที่ทรงมอบหมายแทนพระองค์สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี กอปรทั้งมีพระราชหฤทัยเปี่ยมไปด้วยความรักชาติ ศาสนา และทรงจงรักภักดีต่อพระบรมราชวงศ์เป็นอย่างยิ่ง ในมหามงคลสมัยการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาพระราชอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นเกียรติประวัติตามโบราณราชประเพณีเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาและเฉลิมพระนามพระบรมวงศ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามราชประเพณีซึ่งมีสืบมาแต่โบราณ โดยทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เป็นพระโสทรกนิษฐภคินีที่ได้ทรงร่วมสุขร่วมทุกข์ มาแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อทรงเจริญพระชนมายุก็ได้ทรงปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนีด้วยพระวิริยอุตสาหะ เป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติและอาณาประชาราษฎร์อย่างใหญ่หลวงเป็นอเนกประการ ครั้นในรัชกาลปัจจุบัน ก็ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในหลายวาระ และช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจน้อยใหญ่ที่สืบเนื่องมาแต่ครั้ง รัชสมัยสมเด็จพระบรมชนกนาถให้ดำเนินลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย สมควจะยกย่องพระเกียรติยศ ตามฐานะแห่งพระบรมราชวงศ์ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมใหเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี


ชื่อเรื่อง                     เส้นทางสายไหม สายใยแห่งวัฒนธรรมชุมชนผู้แต่ง                       คณะกรรมการเรียนรู้ปลูกหมอนเลี้ยงไหม และวัฒนธรรมชุมชน            ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   เทคโนโลยี เลขหมู่                      677.391242 ค123สสถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                 คณะกรรมการเรียนรู้ปลูกหมอนเลี้ยงไหม และวัฒนธรรมชุมชน  ปีที่พิมพ์                    2545ลักษณะวัสดุ               86 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     ผ้าไหม                              การทอผ้าภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          เส้นทางสายไหม สายใยแห่งวัฒนธรรมชุมชน เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมความเป็นมาของเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ด้านการทอผ้าของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 8 แห่งคือ บ้านทุ่งแสม บ้านโปร่งกระมั่ง อำเภอหนองหญ้าไซ, บ้านวังทอง บ้านใหม่ดอนคา บ้านขามใต้ อำเภออู่ทอง, บ้านหนองสานแตร อำเภอดอนเจดีย์, บ้านทุ่งก้านเหลือง อำเภอเดิมบางนางบวช และบ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี



          เปิดประสบการณ์ใหม่ ครั้งแรกที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่ ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมรับฟังดนตรีในพิพิธภัณฑ์ กับกิจกรรม “พิพิธบรรเลงเพลงวัฒนธรรม Music and Night at the Museum ” ตลอดจนชวนมาทอดน่องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในกิจกรรม “ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน” ในวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00น. - 21.00น.            โดยภายในงานจะได้พบกับการบรรเลงดนตรีไทยสากล โดย เยาวชนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ณ สนามหญ้าด้านหลังอาคาร (ฝั่งถนนจะนะ ติดกับถนนคนเดิน)เวลา 17.30น. - 18.30น. :และการบรรเลงดนตรีทางวัฒนธรรมกึ่งการเสวนาให้ความรู้ โดย อัสลีมาลา ณ ลานกิจกรรมหน้าบันไดโค้ง เวลา 19.00น. - 20.30 น.             อนึ่ง กิจกรรมนี้เกิดขึ้นเพื่อขยายเวลาในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ให้ครอบคลุมผู้ใช้บริการทุกกลุ่มวัย และก้าวไปสู่การเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัดและของชาติ  ผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 7431 1728 


Messenger