ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,828 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.114/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 64 (197-203) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปกรณาภิธมฺม (ธมฺมสงฺคิณี-มหาปฎฺฺฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.144/18ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 87 (362-367) ผูก 18 (2564)หัวเรื่อง : ติโลกวินิจฺฉย (พระไตรโลกวินิจฉัย)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.97/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5.3 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : อภิธมฺมตฺถภาวนี (อภิธมฺมตถสงฺคหฎีกา (ฎีกาสังคหะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : ความรู้ทั่วไปเรื่องป่าไม้ เล่ม 2 ชื่อผู้แต่ง : ถนอม เปรมรัศมีปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.พ.แสงสว่างจำนวนหน้า : 368 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมไม้ การส่งเสริมกิจการเกษตรกับป่าไม้โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์ที่ผู้เขียนได้ไปศึกษาดูงาน อธิบายถึงการส่งเสริมการผลิตครั่ง รวมถึงวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ไม้ผุพังและแนวทางการทำให้ไม้ทนทานขึ้น เป็นต้น
พระศรีอารยเมตไตรย จะมาอุบัติเมื่อใด
ความในพระไตรปิฎกระบุว่า กัปปัจจุบันนี้ เรียกว่า ภัทรกัป แปลว่า กัปเจริญ มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดถึง ๕ พระองค์ อุบัติแล้ว ๔ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม คงเหลือพระเมตเตยยะ เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือพระศรีอารยเมตไตรย จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า
ตามความเชื่อกระแสหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่สืบมาจากลังกา กล่าวว่าขณะนี้พระศรีอาริย์เกิดเป็นเทพบุตร ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลามาบังเกิดเมื่อสิ้นพุทธกาลของพระโคดม เมื่อล่วงเวลา ๕,๐๐๐ ปี ดังความในบทไหว้ลายลักษณ์รอยพระพุทธบาท ซึ่งชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ชาวใต้สวดเป็นประจำทุกค่ำคืนว่า
“...พระพุทธเจ้า เสด็จเข้านิฤพาน ยังแต่พระศรีอาริย์ ในชั้นดุสิตา พระพุทธรูปัง ยังครองศาสนา ให้สงฆ์ทั้งหลาย กราบไหว้วันทา ต่างองค์พระศาสดา สรรเพชญมุนี รักษาศาสนา ถ้วนห้าพันปี คำพระชินศรี โปรดให้แก่เรา...”
เรื่องเล่าในพระพุทธศาสนากล่าวว่า เมื่อพระศาสนาพระสมณโคดมเจ้าถ้วนถึง ๕,๐๐๐ ปี พระพุทธศาสนาอันตรธานไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายประกอบด้วยอกุศลกรรมหนาแน่น ทำให้มีอายุน้อยถอยลงโดยลำดับ กระทั่งมีอายุ ๑๐ ปี ชายหญิงอายุได้เพียง ๕ ปี ก็แต่งงานกัน กาลนั้นจึงเกิดสัตถันตรกัป สมัยแห่งความพินาศ ด้วยมนุษย์จับอาวุธขึ้นมาประหัตประหารกัน โดยเห็นกันและกันเป็นสัตว์ เรียกว่า มิคคสัญญี เป็นเวลา ๗ วัน จนผืนแผ่นดินเต็มด้วยซากศพ นองด้วยน้ำเลือด น้ำหนอง คนเหล่าหนึ่งหนีไปอยู่ตามลำพังในซอกเขา พุ่มไม้ เถื่อนถ้ำ ที่วิเวก เมื่อครบ ๗ วัน ออกมาพบกัน ชักชวนกันทำการกุศล ด้วยอำนาจการจำศีลภาวนา จึงเกิดฝนตกเป็นเวลา ๗ ราตรี พัดเอาซากศพสิ่งปฏิกูลลอยไป
จากนั้นด้วยผลแห่งทาน ศีล ภาวนาของคนทั้งหลาย โลกจึงกลับเจริญขึ้น เกิดห่าฝนมธุรสตกตลอด ๗ วัน เป็นอาหารแก่มนุษย์ ห่าฝนแก้วแหวนเงินทอง ห่าฝนของหอม ห่าฝนชะมด กฤษณา จันทน์จุณ ชำระล้างพื้นแผ่นดิน ให้กลิ่นหอม ห่าฝนข้าวสาร ข้าวเปลือก เลี้ยงชีวิตคน ห่าฝนผ้าผ่อนแพรพรรณ ห่าฝนภาชนะ เครื่องใช้สอย และห่าฝนแก้วมณีทั้งเจ็ด ตกลงทั่วทั้งแผ่นดิน
อายุมนุษย์ก็ทวีขึ้นตามลำดับด้วยผลแห่งกุศลกรรม จนอายุยืนถึงอสงไขยหนึ่ง มนุษย์ไม่รู้จักความเจ็บ ความตาย มีความประมาท อายุจึงลดลงเหลือ ๘๐,๐๐๐ ปี ถึงวาระที่พระศรีอารยเมตไตรยจะเสด็จลงมาโปรดคนทั้งหลาย เป็นช่วงเวลาที่โลกมนุษย์เป็นแดนบรมสุข ด้วยความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ
พระศรีอาริย์ จึงมาบังเกิดภายหลังพุทธกาลของพระพุทธเจ้าศากยมุนีเนิ่นนาน นับด้วยอสงไขย เป็นเวลานับประมาณไม่ได้
อย่างไรก็ดี ผู้ปรารถนาจะได้พบ เกิดทันศาสนาของพระศรีอาริย์ มีอยู่เป็นอันมาก ตามพื้นบ้าน พื้นเมือง จึงเกิดการแต่งนิทาน ว่าด้วยพระศรีอาริย์ยุคกึ่งพุทธกาล แสดงเรื่องพระศรีอาริย์จุติลงมาในโลกมนุษย์ เพื่อเยี่ยมโลก ในยุคศาสนาใกล้จะถึง ๒,๕๐๐ ปี ปรากฏเป็นคติความเชื่อเฉพาะถิ่นในที่บางแห่ง อาทิ ตำนานพระศรีอาริย์วัดไลย์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
เอกสารอ้างอิง
๑. จรัล ทองวิไล. “ไหว้ลายลักษณ์: วรรณกรรมแหล่บูชารอยพระพุทธบาทแบบฉบับภาคใต้.” นิตยสารศิลปากร, ปีที่ ๖๓, ฉบับที่ ๖ (พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๖๓): ๑๕-๒๙.
๒. เทพ สุทรศารทูล. กาพย์พระมาลัย. กรุงเทพฯ : พระนารายณ์, ๒๕๓๖.
๓. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวน ที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕.
๔. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
๕. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๓. จักกวัตติสูตร
๖. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.
๗. สมุดมาลัยและสุบินกลอนสวด. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๕.
๘. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และ ดรณ์ แก้วนัย. “พระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติ.” สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓ งานสำรวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง. ศูนย์สยามทัศน์ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เผยแพร่, ๒๕๕๗.
ชื่อผู้แต่ง : จำนงค์ ทองประเสริฐ
ชื่อเรื่อง : ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์ : ราชบัณฑิตยสถาน
จำนวนหน้า 444 หน้า
หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงวิชาปรัชญา ที่ไม่มีอยู่ในหลักสูตร จึงได้เขียนตำราทางวิชาการเล่มนี้ขี้นเพื่อบรรจุเป็นหลักสูตรในมหาวิทยาลัย และเป็นส่วนหนึ่งของวิชาศาสนา และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาประชาชนให้ความสนใจ ศาสนา และปรัญญามากขึ้น ผู้เขียนชึ่งเป็นอาจารย์จึงได้เขียนตำรานี้ขึ้น
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดทำโดย สถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มโหสถ)สพ.บ. 408-2หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เตมิยะ-ภูริทัต)
สพ.บ. 411/ก/4
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยล้านนา
หัวเรื่อง พุทธศาสนา นิทานชาดก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมศิลปากรได้ปิดการให้บริการและการเข้าชมแหล่งเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมในความดูแลของกรมศิลปากร เป็นการชั่วคราวอยู่เป็นระยะ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการแหล่งเรียนรู้ในสังกัดกรมศิลปากร สามารถใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งกรมศิลปากรได้พัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เช่น - บริการสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/th-th- บริการของหอสมุดแห่งชาติ https://www.nlt.go.th- ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง http://www.virtualmuseum.finearts.go.th- ชมอุทยานประวัติศาสตร์เสมือนจริง http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th- บริการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ http://www.nsw.finearts.go.th- สืบค้นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม https://gis.finearts.go.th/fineart- ซื้อหนังสือที่จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร https://bookshop.finearts.go.th นอกจากนี้ ยังได้ปรับรูปแบบการเสวนาให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์ เผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (facebook) ของหน่วยงานในสังกัด และวีดิทัศน์สาระความรู้ต่าง ๆ ผ่านช่องทาง YouTube กรมศิลปากร โดยสามารถติดตามรายละเอียดงานบริการและองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th