ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ


กรมศิลปาากรไม่รับดูพระเครื่อง พระบูชาให้กับประชาชนทั่วไปครับ


นามานุกรมขนบประเพณีไทย ของสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์นั้น ได้จัดทำในลักษณะของสารานุกรม กล่าวคือ เป็นการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลความรู้ด้านจารีตประเพณี ได้แก่ หมวดพระราชพิธี รัฐพิธี ประเพณี คติความเชื่อ ฯลฯ




รายงานบัญชีงบทดลองและเอกสารประกอบงบทดลอง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เดือนมิถุนายน ๒๕๖๒)



สำนักศิลปากรที่ 13  สงขลา  ดำเนินการบูรณะโครงการบูรณะและปรับปรุงโบราณสถานวัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในปีงบประมาณ  2554  ตั้งแต่วันที่  9  มีนาคม  2554 ระยะดำเนินงานบูรณะ  210  วัน




          กล่าวถึงการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศหลายประการ ทำให้ทราบถึงความเป็นอยู่ ทุกข์ สุข ของราษฎรตามหัวเมือง ซึ่งในคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู เมื่อ ร.ศ.108 ได้ทรงพบว่าราษฎรที่เมืองพัทลุงเป็นไข้ทรพิษตายกันมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพัทลุงส่งคนเข้าไปฝึกหัดปลูกฝีที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ แล้วให้รับหนองโคออกมาปลูกฝีที่เมืองพัทลุงให้ราษฎรทุกปี            นอกจากจะเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่เกียรติยศและความเป็นเอกราชของไทยแล้ว พระองค์ยังได้นำแบบฉบับวิธีการปกครอง การทำนุบำรุงบ้านเมือง และแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีบางประการที่เหมาะสมกับประเทศไทยมาปรับปรุง แก้ไขและใช้บริหารประเทศ ซึ่องก่อให้เกิดผลดีแก่บ้านเมืองเป็นอันมาก


วันอังคารที่ 23 มกราคม 2561 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จัดโครงการห้องสมุดสัญจร ประจำปีงบประมาณ 2561 ในช่วงบ่าย ณ โรงเรียนเสรี-สมใจ ต.หนองปรือ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี



๑. ชื่อโครงการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาหลวงพระบางและสุโขทัย ๒. วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมประชุมกลุ่มย่อยเก็บข้อมูล เรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ของเมืองหลวงพระบาง ๓. กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๔. สถานที่ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๕. หน่วยงานผู้จัด คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๖. หน่วยงานสนับสนุน มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๗. กิจกรรม                 ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อนำข้อมูลด้านการอนุรักษ์ การพัฒนา และการบริหารจัดการเมืองหลวงพระบาง มาวิเคราะห์กลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยรับฟังการบรรยายข้อมูลการบริหารจัดการเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง โดยมีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ (Souphanouvong University)  ห้องการมรดกโลก (Luang Prabang World Heritage Office) ห้องการแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (Department of Information, Culture and Tourism) และผู้แทนผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ตามรายละเอียด ดังนี้                วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ -          บรรยายเรื่อง “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของแหล่งมรดกโลกหลวงพระบาง” และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคณะผู้วิจัยจากประเทศไทยและคณะผู้แทนจากองค์กร หน่วยงาน และภาคเอกชน ของเมืองหลวงพระบาง -          สัมภาษณ์เก็บข้อมูลกลุ่มย่อยในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ๑. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ๒. คุณภาพการให้บริการด้านการท่องเที่ยว ๓. การประชาสัมพันธ์ ๔. การสร้างชื่อเสียงและเครื่องหมายมรดกโลก ๕. การส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ๖. การสร้างธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม                    วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ -          เก็บข้อมูลและสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ของห้องการมรดกโลก เมืองหลวงพระบาง -          เดินทางกลับประเทศไทย ๘. คณะผู้แทนไทย                    ประกอบด้วยคณะผู้ดำเนินการวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ๑. รองศาสตราจารย์ ดร. วรัชยา  ศิริวัฒน์ (หัวหน้าโครงการวิจัย) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง                    ๒. รองศาสตราจารย์ ดร. วิพร  เกตุแก้ว   คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง                    ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา  ไวสำรวจ   คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง                    ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภัทรา  อำนวยสวัสดิ์  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง                    ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริลักษม์  ตันตยกุล   คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง                    ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรสรวง  ปาณินท์  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง                    ๗. นางสาวจินตนา  พรหมนิมิตร   คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง                    ๘. ว่าที่ร้อยตรี พันตรี  มีจิตต์   นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง                    ๙. นายวีรชน  เกษสกุล   นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๑๐. อาจารย์สุทิน  เกตุแก้ว  อาจารย์พิเศษ ๑๑. นายสถาพร  เที่ยงธรรม นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ๑๒. นางสาวเนืองนิตย์  ชัยภูมิ  หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ๙. สรุปสาระของกิจกรรม                 กิจกรรมหลักประกอบด้วยการฟังบรรยายสรุป เรื่อง “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของแหล่งมรดกโลกหลวงพระบาง” โดยมีประเด็น ดังนี้ ๑. หลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ โดยอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุภา- นุวงศ์ ๒. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการคุ้มครองมรดกโลกหลวงพระบางโดยผู้แทนห้องการมรดกโลก(Mr.Saveuy Silavanh รองผู้อำนวยการ)                ๓. ภารกิจของห้องการแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ด้านการดูแลรักษาแหล่งมรดกโลกหลวงพระบาง โดย ผู้แทนห้องการแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (Mr.Som-Ock Phanthavong รองผู้อำนวยการ ด้านวัฒนธรรม)                จากการประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์ในแง่มุมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในห้องประชุมและการเข้าเยี่ยมชมสำนักงานห้องการมรดกโลก เมืองหลวงพระบาง พบว่าเมืองมรดกโลกหลวงพระบางได้รับการวางแบบแผนในการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาตามมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของหลวงพระบาง คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโบราณคดี และภูมิสภาปนิก โดยปัจจุบันต้องอาศัยความช่วยเหลือจากต่างประเทศในการให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรเพื่อศึกษาเพิ่มเติมในระดับทั้งปริญญาตรี โท และเอก โดยประเทศที่ให้การสนับสนุนได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย                เป็นที่น่าสังเกตว่ามหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักในการผลิตบุคลากรของแขวงหลวงพระบาง มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยวโดยเน้นด้านการโรงแรมและการบริการการท่องเที่ยว แต่ไม่มีหลักสูตรด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่จะผลิตบุคลากรเพื่อรองรับงานด้านการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกโลกแห่งนี้ ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม                 ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการพื้นที่เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง โดยเน้นในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสศึกษาโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวในเมืองหลวงพระบางอย่างลึกซึ้ง แต่จากการสังเกตด้านการดูแลสภาพภูมิทัศน์ของเมืองและการควบคุมสิ่งปลูกสร้าง นับว่าเมืองหลวงพระบางมีมาตรฐานในการควบคุมเป็นอย่างดี ทั้ง ๆ ที่หลวงพระบางเองยังขาดทรัพยากรบุคคลด้านโบราณคดีและภูมิสถาปนิก แต่ได้พยายามดัดแปลงสิ่งปลูกสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้มีรูปแบบสอดคล้องกับศิลปกรรมที่ปรากฏอยู่ แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในการดูแลรักษาและคุ้มครองลักษณะทางกายภาพของเมืองมรดกโลกแห่งนี้


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลีหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    อานิสงส์                                    ประเพณีการทำปราสาทผึ้งประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    14 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


Messenger