ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           6/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              42 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         รูปปั้นโรมาโน วิเวียนี          100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรีศิลปแห่งนวสมัย          โรมาโน วิเวียนี (Romano Viviani) เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กับแฟนนี่ วิเวียนี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2470 ที่ประเทศไทย ภายหลังจากที่อาจารย์ศิลป์เดินทางมารับราชการที่ประเทศไทยได้ 4 ปี รูปปั้นโรมาโนเป็นผลงานที่อาจารย์ศิลป์ปั้นไว้ราว พ.ศ. 2471 ขณะที่โรมาโนมีอายุได้ 1 ขวบ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2481 โรมาโนเดินทางกลับไปเรียนหนังสือที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี และได้นำรูปปั้นชิ้นนี้กลับไปด้วย โดยไม่ได้กลับมาประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งพ่อของเขาถึงแก่กรรม ต่อมามีลูกศิษย์อาจารย์ศิลป์คนหนึ่งได้ดั้นด้นค้นหาบ้านของอาจารย์ศิลป์ที่เมืองฟลอเรนซ์จนพบ และได้เชิญชวนให้โรมาโนกลับมาเยี่ยมประเทศไทยอีกครั้ง โรมาโนจึงได้มอบรูปปั้นชิ้นนี้ไว้ให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ เพื่อจัดแสดงต่อไป รูปปั้นชิ้นนี้หล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ มีสีขาวนวล อาจารย์ศิลป์สร้างสรรค์ในรูปแบบเหมือนจริง อย่างศิลปะตามหลักวิชาการแบบตะวันตก (Western Academic Art) ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างสรรค์งานประติมากรรมที่อาจารย์ศิลป์มีความเชี่ยวชาญและได้พยายามถ่ายทอดให้นักเรียนศิลปะชาวไทยในสมัยนั้นสามารถสร้างสรรค์ได้อย่างชาวตะวันตก          นิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” จัดแสดงระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)   ที่มา นิตยสาร ARTRECORD ฉบับพิเศษ 15 กันยายน 2544


ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   พระมหาสุระเสนชาดก ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์            - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า              ๑๒๘   หน้า หมายเหตุ                สข.๐๓๒ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหมึก (เนื้อหา)                  พระเจ้ามหาสุระเสนครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระองค์ทรงบำเพ็ญทานและรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำ ต่อมาพระอินทร์แปลงมาเป็นคนคอขาด ขอพระเศียรพระองค์ก็ให้ แต่พระอินทร์ก็ถวายคืนให้   


กฤตภาคข่าวท้องถิ่น เรื่อง เรือรบหลวงสพีร์ (HMS SPEY) อังกฤษ ฝึกซ้อมทางทหารร่วมกับกองทัพไทย



เลขทะเบียน : นพ.บ.464/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 5 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160  (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระธรรม 3 ไตร--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.604/8                   ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 193  (399-407) ผูก 8 (2566)หัวเรื่อง : อภิธัมมา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้มีมติเห็นชอบคำจำกัดความคำว่ามรดกไทย คือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา" คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึกรัก และหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยได้ดำเนินการผ่านมาแล้วหลายปี โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัด หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาลและประชาชนในการจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในช่วง สัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย 2 - 8 เมษายน ของทุกปี บางจังหวัด บางหน่วยงานก็จัดกิจกรรมสนับสนุนตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง การจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัศนศึกษาโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่จะยังประโยชน์ต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ได้การรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถานศาสนสถาน ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ดำเนินการจัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อันเนื่องด้วยการอนุรักษ์มรดกไทยให้แพร่หลายกว้างขวาง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัวในการร่วมกันดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ การจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นกิจกรรมหลักที่กรมศิลปากรและหน่วยงานในสังกัดดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี




          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "ศาสตร์และศิลป์บนซองแผ่นเสียง" วิทยากร นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร




          ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอแนะนำหนังสือน่าอ่าน เรื่อง "ระยะทางไปมณฑลภาคพายัพ พระพุทธศักราช ๒๔๖๕" เป็นบันทึกการเดินทางตรวจราชการภาคเหนือของพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ระหว่างวันที่ ๒๔ มกราคม – ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ เนื้อหาว่าด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ เส้นทางการคมนาคม สภาพบ้านเมือง สถานที่ราชการ ตลอดจนสถานที่สำคัญที่ผู้บันทึกได้พบเห็นในมณฑลภาคพายัพ รวมถึงบางส่วนของมณฑลพิษณุโลกและมณฑลนครสวรรค์ อันแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของบ้านเมือง และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว            หนังสือเล่มนี้มีจำนวน ๑๒๘ หน้า จำหน่ายราคาเล่มละ ๙๕ บาท ผู้สนใจสามารถซื้อหนังสือดังกล่าวได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) โทรศัพท์ ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ เปิดทำการวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. (ปิดวันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม Facebook Page ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร


         กลองแอว์ : กลองอืด : กลองตึ่งโนง           กลองแอว์ เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลองทำจากไม้รูปทรงกระบอก เอวคอดแกะสลักรอบเป็นเล็บช้าง คร่าวหูหิ่งทำจากหนังเป็นเส้นสายโยงเร่งเสียงถักขึงกับหน้ากลอง ตอนท้ายมีรูปทรงเรียวยาวกลึงเป็นปล้อง ปลายบานคล้ายดอกลำโพง          ภายในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีกลองแอว์ ๒ รายการ คือ ชิ้นที่ ๑ กลองแอว์ขนาดเล็กมีความสูงประมาณ ๑๔๕ เซนติเมตร ฝีมือของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ กระทรวงมหาดไทยมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ           ส่วนชิ้นที่ ๒ คือกลองแอว์พร้อมฐานล้อเกวียน มีความยาวประมาณ ๓๓๖ เซนติเมตร ตามประวัติระบุว่า พระยาเพ็ชรพิสัยศรีสวัสดิ์ส่งมาจากจังหวัดแพร่          คำว่า "กลองแอว์" มาจาก กลองมีสะเอว มีรูปร่างคล้ายคลึงกับกลองยาว แต่ขนาดใหญ่และยาวกว่ามาก สามารถพบได้ตามวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ใช้ตีบอกสัญญาณ เช่น ตีกลองเพล เรียกชุมนุมสงฆ์ทำพิธีสังฆกรรม และนัดหมายชาวบ้านมาร่วมงานกุศลต่างๆ           นิยมนำมาตีประชันประกวดเสียงระหว่างช่วงเดือน ๓-๔ ของภาคเหนือ ซึ่งตรงกับเดือนอ้าย-เดือนยี่ของภาคกลาง มักใช้บรรเลงร่วมกับตะโล้ดโป๊ด และเครื่องดนตรีอื่นๆ ประกอบการละเล่นพื้นเมือง เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ทั้งนี้ยังใช้ในกระบวนแห่เคลื่อนที่ในงานพิธีปอยหลวง งานแห่ครัวทาน และงานปอยลูกแก้ว (บวชเณร) ซึ่งเป็นงานประเพณีสำคัญด้วย          กลองแอว์ยังมีชื่อแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น โดยเรียกตามลักษณะของเสียงประโคม อาทิ ‘กลองตึ่งโนง’ มาจากการประโคมร่วมกับฆ้องใหญ่สลับกับฆ้องหุ่ย และตะโล้ดโป๊ด บรรเลงผสมวงกับเครื่องเป่า ทำให้มีเสียงกลองเป็นเสียง “ตึ่ง” และเสียงฆ้องเป็นเสียง "นง หรือ "โนง" เช่นเดียวกับที่มาของการเรียกขานชื่อกลองในจังหวัดต่างๆ           กล่าวคือ ‘กลองเปิ้งมง’ นิยมเรียกในเขตจังหวัดลำพูน ‘กลองตบเส้ง’ นิยมเรียกกันในจังหวัดลำปาง และ ‘กลองอืด’ นิยมเรียกกันในจังหวัดแพร่และน่าน เพราะมีเสียงกังวานยาวนานคล้ายเสียงอืดหรือเสียงลูกปลาย     อ้างอิง ธนิต อยู่โพธิ์. เครื่องดนตรีไทย พร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๒๕๒๓


Messenger