ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย แบบ “วิถีการดำรงชีวิต”
เรียบเรียงโดย : พรหมพิริยะ พรหมเมศ
การแบ่งยุคจากวิถีการดำรงชีวิต ให้ความสำคัญกับแบบแผนการดำรงชีวิตและลักษณะของสังคมเป็นหลัก โดยอ้างอิงจากวิถีการหาอาหารและการดำรงชีวิต ในยุคแรกเริ่มที่มนุษย์ได้กำเนิดขึ้นมาได้มีวิถีการดำรงชีวิตที่เรียบง่ายก่อนที่จะพัฒนาให้มีความซับซ้อนขึ้นมีเทคนิควิธีในการผลิตอาหารได้ดียิ่งขึ้นตามแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งมีพัฒนาการของวิถีการดำรงชีวิตตามลำดับได้ ดังนี้
๑. สมัยหาของป่า-ล่าสัตว์ (Hunter – Gatherer) ในบริบทพื้นที่ประเทศไทยกำหนดอายุราว ๕๐๐,๐๐๐ – ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยนี้มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์ อาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผา อยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ย้ายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยไปเรื่อย ๆ ตามแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อแหล่งที่อยู่เดิมขาดแคลนอาหารก็ย้ายที่อยู่อาศัยเร่ร่อนไปเรื่อย ๆ ไปหาแหล่งที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในสมัยชุมชนหาของป่า-ล่าสัตว์ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านผีแมน อำเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน, แหล่งโบราณคดี ถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีถ้ำปุงฮุง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น
๒. สมัยหมู่บ้านเกษตรกรรม (Agricultural village) กำหนดอายุราว ๔,๕๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยนี้ผู้คนเริ่มทำการเพาะปลูกพืชได้แล้ว จึงเริ่มย้ายถิ่นฐานลงมาจากเพิงผาและถ้ำ เพื่อมาทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ราบ เกิดการตั้งถิ่นฐานถาวรเพื่อรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการเกษตรกรรม สมัยหมู่บ้านเกษตรกรรมการดำรงชีวิตจึงเป็นแบบการตั้งถิ่นฐานถาวร มีแหล่งอาหารมาจากการทำเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก อย่างไรก็ตามยังคงมีการล่าสัตว์และเก็บของป่าอยู่แต่ไม่ใช่วิธีการหลักอีกต่อไปแล้ว
เนื่องจากมนุษย์มีการตั้งถิ่นฐานถาวรขึ้นจึงมีการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องมือทำเกษตรกรรม เครื่องประดับ เป็นต้น รวมทั้งเกิดการแบ่งงานมีช่างฝีมือเฉพาะทางเกิดขึ้น เช่น ช่างทอผ้า ช่างโลหะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกันระหว่างชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่ไม่สามารถผลิตหรือเข้าถึงทรัพยากรได้ แหล่งโบราณคดีสมัยหมู่บ้านเกษตรกรรมที่สำคัญ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
๓. สมัยสังคมเมือง (Urban society) กำหนดอายุราว ๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว สมัยนี้จะอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเรื่อยมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์จนมาเป็นสังคมในระดับรัฐต่อไป พัฒนาการในสมัยสังคมเมืองหมู่บ้านเล็กๆ มีการขยายตัวกลายเป็นชุมชนเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีลักษณะสังคมที่ซับซ้อน มีการจัดแบ่งสถานะภาพทางสังคม และชนชั้นทางสังคม ปรากฏการจัดพื้นที่ของการฝังศพ
วิถีการดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากมีการปรับแต่งภูมิประเทศก่อสร้างคันดินและขุดคูเมือง เพื่อจัดการน้ำในการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งยังใช้ในการทำเกษตรกรรมที่มีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อรองรับกับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นอกจากทำการเกษตรแล้ว ยังเริ่มมีการผลิตในระดับอุตสาหกรรมอีกด้วย เช่น การถลุงโลหะ การทำภาชนะ ดินเผา การผลิตเกลือ เป็นต้น
การติดต่อและค้าขายระหว่างชุมชนพัฒนาขึ้นเป็นอันมาก มีการติดต่อและแลกเปลี่ยนสินค้าทางไกลไปจนถึงตะวันออกกลาง ทำให้ปรากฏหลักฐานของสินค้าที่ไม่สามารถประดิษฐ์ขึ้นในท้องถิ่น เช่น ตะเกียงสำริดโรมัน ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอาเกต ตุ้มหูแบบลิง-ลิง-โอ เป็นต้น รวมทั้งปรากฎหลักฐานของการเผยแพร่พิธีกรรม ความเชื่อ ศาสนา และตัวอักษรเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย ไปจนถึงมีระบบสังคมที่ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย องค์ประกอบเหล่านี้จะนำไปสู่รากฐานการก่อเกิดสังคมรัฐในเวลาต่อมา แหล่งโบราณคดีสำคัญในสมัยสังคมเมือง เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. “โบราณคดีสำหรับเยาวชน เล่ม ๒ ยุค สมัยทางโบราณคดี.” (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)), 2560.
วันอังคารที่ ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ (ภาษา เอกสาร และหนังสือ) เป็นผู้แทนกรมศิลปากร ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวันคล้ายวันก่อตั้งหนังสือพิมพ์มติชน ก้าวสู่ปีที่ ๔๗ พร้อมทั้งมอบเงินสมทบทุนมูลนิธิ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ และมอบหนังสืออันทรงคุณค่าของกรมศิลปากรเป็นที่ระลึก เพื่อเป็นการขอบคุณที่ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร/กิจกรรมของกรมศิลปากรด้วยดีตลอดมา โดยมีนางสาวปานบัว บุนปาน กรรมการผู้จัดการบริษัทมติชน จำกัด (มหาชน), นายนฤตย์ เสกธีระ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน, นายสุพัด ทีปะลา บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์มติชน ให้การต้อนรับและเป็นผู้รับมอบ ณ อาคาร ๑ หนังสือพิมพ์มติชน ณ โถงอาคารสำนักงานบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ขอเชิญชวนแชะภาพและเช็ค(อิน) นิทรรศการ "บุคคลสำคัญ" โดยนิทรรศการบุคคลสำคัญในระยะที่หนึ่ง เป็นนิทรรศการประวัติและผลงานนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของประเทศไทย เปิดให้เข้าชมตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
นิทรรศการ แบ่งเป็น 3 โซน ดังนี้
โซนแรก : บันทึกหน้าหนึ่งถึงนายชวน แสดงให้เห็นถึงความเป็นที่รักของนายชวน ผ่านจดหมาย บัตรอวยพร บทสัมภาษณ์ และของที่ระลึก
โซนที่สอง : บันทึกจากบ้านเกิด แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเมืองตรังตั้งแต่อดีตมาจนถึงยุคสมัยที่เด็กชายชวนเกิดและเติบโต โดยจำลองสถานที่คล้ายหนังสือภาพแบบ Pop-up ร้อยเรียงต่อกัน
โซนที่สาม : เล่าเรื่องชีวิตนายชวน ผ่านวีดิทัศน์ การจำลองบ้านและโรงเรียน
ผู้สนใจสามารถเข้ามาชมนิทรรศการ "บุคคลสำคัญ" ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ได้ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทั้งนี้ หากโรงเรียนหรือหน่วยงานสนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 7521 0896
สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ขอเชิญฟังการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร หัวข้อ "ถ้ำหมอเขียว“ การค้นพบใหม่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคใต้ของประเทศไทย วิทยากรโดย นางสาวจุตินาฏ บวรสาโชติ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช นางประพิศ พงศ์มาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี และ นายประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสัตว์ อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร
สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนร่วมเข้าฟังเสวนา จะได้รับของที่ระลึกเป็นสมุดบันทึกภาพเขียนสี กระบี่และพังงา จำนวน 100 รางวัล และมีของที่ระลึกสำหรับผู้ที่มีส่วนร่วมเสนอความเห็นผ่านช่องทางออนไลน์อีกมากมาย
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนโดยแสกน qr-code หรือตามลิ้งนี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfqJq3fkXcWYkcBJrCxHsmgoXsZKo5p3HZsiBmMgwX0H-8bGQ/viewform และยังสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กองทัพเรือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 กองทัพเรือ โดยคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี จึงได้จัดทำแผนการดำเนินงานและมอบหมายให้หน่วยปฏิบัติจัดเตรียมกำลังพลประจำเรือพระราชพิธี ซึ่งเป็นการดำเนินการที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก
----------------
-เขียงฝึก-
ก่อนการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การฝึกอบรมกำลังพลฝีพายคือขั้นตอนสำคัญลำดับแรกเริ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะและความรู้พื้นฐานด้านการพายเรือพระราชพิธีให้แก่กำลังพลฝีพาย นายเรือ และนายท้าย แบ่งช่วงระยะการฝึกอบรมออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การฝึกอบรมพายเรือบนบก ระยะที่ 2 การฝึกพายเรือในน้ำ (บ่อพักเรือ) และระยะที่ 3 การฝึกเข้ารูปขบวนเรือในแม่น้ำ
การฝึกอบรมพายเรือบนบก คือการฝึกพายเรือบน “เขียงฝึก” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกฝนท่าทางการปฏิบัติของกำลังพลฝีพายก่อนที่จะลงเรือจริง ทำให้กำลังพลฝีพายเกิดความคุ้นชิน สามารถจัดระเบียบร่างกายได้อย่างถูกต้องพร้อมเพรียงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เขียงฝึกที่ใช้ในการฝึกนี้ เรียกว่า เขียงไม้ มีลักษณะเป็นไม้กระดานต่อกันสูงขึ้นเหนือจากพื้น โดยจำลองโครงสร้างให้คล้ายคลึงกับเรือพระราชพิธี ส่วนที่กำลังพลฝีพายใช้นั่ง เรียกว่า “กระทง” ซึ่งเป็นไม้กระดานหน้าเรียบ วางเรียงกันในแนวขวาง แบ่งช่องว่างเป็นตอน ๆ ด้วยระยะห่างเท่ากันเหมือนกับกระทงยึดกราบเรือ ด้านล่างกระทงต่อไม้สำหรับกำลังพลฝีพายวางและยันเท้า เรียกว่า “ไม้วางเท้า” ด้านบนตรงกลางกระทรงวางไม้ทับเป็นแนวยาว เรียกว่า “ไม้ทับกระทง”
นอกจากไม้กระดานแล้ว การก่อสร้างเขียงฝึกในปัจจุบันยังสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความคงทนแข็งแรงของโครงสร้างเขียงฝึกเป็นสำคัญ เนื่องจากต้องรองรับน้ำหนักของกำลังพลฝีพายเป็นจำนวนมาก อนึ่ง การฝึกอบรมกำลังพลฝีพายบนเขียงฝึกในครั้งนี้ กองทัพเรือวางแผนกำหนดการซ้อมตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม ถึงวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 แบ่งพื้นที่การฝึกเป็น 12 พื้นที่ มีเขียงฝึกจำนวนทั้งสิ้น 20 เขียง
เรียบเรียงโดย นางสาวเบญญา แสงคล้าย นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช) สพ.บ. 452/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา--บทสวดมนต์ ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 36 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง : ค่าวซอเรื่อง ธัมม์สุทธนูผู้แต่ง : เมืองใจ ไชยนิลพันธ์ปีที่พิมพ์ : ๒๔๘๐สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เจริญเมืองจำนวนหน้า : ๑๐๘ หน้าเนื้อหา : หนังสือเล่มนี้ชื่อคร่าวซอเรื่องธัมม์สุทธนู แต่งขึ้นใหม่เป็นเรื่องอันมีคติแลสอนใจ พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อักษร ที่โรงพิมพ์เจริญเมือง ถนนเจริญเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2480 ผู้แต่ง อักษรล้านนา ภาษาล้านนา คร่าวซอเรื่องธรรมสุทธนู ฉบับนี้มีทั้งสิ้น 9 บท ตัวอย่างข้อความ ดังนี้ “คำปรารภท่านนักอ่านทั้งหลาย หนังสือเล่มที่ถืออยู่ในมือของท่านเดี๋ยวนี้ เป็นหนังสือได้แต่งขึ้นใหม่อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่หายากแลเป็นของเก่าแก่ นายเมืองใจ ไชยนิลพันธ์จ้างนักแต่งที่มีฝีปากดีแต่งเรื่องนี้ขึ้น เพื่อจะนำประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจอยากสดับฟังในเรื่องกลอนคร่าวซอเรื่องนี้ เรื่องคร่าวซอสุทธนูได้ดำเนินเรื่องตั้งแต่เจ้าสุทธนูลงมาเอากำเนิดในท้องของนางเกสิณี มเหสีของพระยาพรหมทัต เมื่อเจ้าสุทธนูจะมาตั้งกำเนิดนั้น พระยาอินทร์ได้แปลงเพศเป็นรุ้งคาบเอาลูกมะทันมาหื้อนางเกสิณีกิน แล้วได้ฅาบเม็ดออก ม้าที่อยู่พื้นเรือนได้เก็บกินเม็ดนั้นม้าค็ตั้งครรภ์ ขึ้นเหมือนกันภายหลังมานี้ ได้พาเจ้าสุทธนูหนีออกบ้านออกเมือง และแผลงฤทธิ์เดชต่าง ๆ เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๑๖๕๑เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๑๗หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทให้แก่บุคลากรในสังกัดหน่วยงานกรมศิลปากร หลักสูตร “การเสริมสร้างวัฒนธรรม ค่านิยมสุจริต การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การต่อต้านการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงานและชุมชน ” ในระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ โรงแรมอามาธารา ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๐๙.๔๕ น. บรรยายพิเศษ เรื่อง “การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ด้านการส่งเสริมด้านคุณธรรม และความโปร่งใสภายในหน่วยงาน” โดยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเวียนมาบรรจบครบ ๒๑๒ ปี ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ คนไทยทุกคนต่างล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระองค์ทรงทุ่มเทประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ด้วยพระวิริยอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถเป็นอเนกประการในการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นสืบมาจนถึงทุกวันนี้
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๔๖) ทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒) มีพระนามเดิมว่า บุญมา เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชร่วมพระชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติในสมัยอยุธยา ตรงกับรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน๑๑ ขึ้นค่ำ ๑ ปีกุน พ.ศ.๒๒๘๖ ต่อมาในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ ทรงรับราชการตำแหน่ง
นายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ครั้นกรุงเก่าเสียแก่พม่าแล้ว ก็เสด็จหลบหนีออกไปอาศัยอยู่ ณ เมืองชลบุรี จนทรงทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ขณะทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร หรือที่นิยมขานพระนามกันทั่วไปว่า พระยาตาก หรือ เจ้าตาก) เสด็จไปรวบรวมกำลังตั้งอยู่เมืองจันทบุรีแล้ว นายสุดจินดาจึงตัดสินใจพาพรรคพวกตีฝ่าวงล้อมของพม่าเดินทางไปสมัครรับราชการ ด้วยเหตุที่ทรงคุ้นเคยกันมาแต่เมื่อรับราชการครั้งกรุงเก่า
ต่อมาภายหลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และมีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกใน พ.ศ. ๒๓๑๑ แล้ว ทรงปูนบำเหน็จรางวัลแก่บรรดาแม่ทัพนายกอง ในการนี้ โปรดเกล้าฯเลื่อนนายสุดจินดาเป็นที่พระมหามนตรี เจ้ากรมพระตำรวจ ด้วยมีความเข้มแข็งในการรบจนเป็นที่ปรากฏ และทรงได้รับบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้นเป็นพระยาอนุชิตราชา และพระยายมราช ตามลำดับ ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นไปปราบเจ้าพระฝางเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ โปรดเกล้าฯให้คุมทัพบกยกกำลังไปทางตะวันออกก่อนทัพหลวง ครั้นปราบเจ้าพระฝางแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้พระยายมราชเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราชครองเมืองพิษณุโลก โปรดให้บังคับบัญชาป้องกัน
พระราชอาณาจักรอยู่ทางฝ่ายเหนือนับแต่นั้นมา พระเดชานุภาพเลื่องลือมากจนได้รับพระนามว่า “พระยาเสือ” ในครั้งนั้น
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราชเสด็จปราบดาภิเษกเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระปฐมบรมกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ จึงได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ (ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงเฉลิมพระนามพระอัฐิว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) ครั้งนั้นยังมีศึกสงครามอยู่ เพราะพม่าเห็นไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นขึ้นอีก สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงเป็นกำลังสำคัญช่วยสมเด็จพระเชษฐาธิราชในการป้องกันพระราชอาณาจักรและปราบปรามอริราชศัตรูมาตลอดมา
นอกจากพระราชกรณียกิจสำคัญในการป้องกันประเทศแล้ว พระองค์ยังเป็นกำลังหลักในการสร้างพระนครให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงและเป็นสง่าเชิดชูพระเกียรติแห่งพระราชวงศ์ กล่าวคือ ทรงสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล ป้อม ประตูยอด สะพาน วังเจ้านาย บ้านรับแขกเมืองและบ้านข้าราชการหลายแห่ง ทรงสร้างโรงเรือถวายเป็นส่วนของพระบรมมหาราชวัง รวมทั้งพระราชวังบวรสถานมงคลทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนทรงบำรุงพระบวรพุทธศาสนาโดยการสถาปนาพระอารามต่าง ๆ อาทิ วัดมหาธาตุวัดชนะสงคราม วัดโบสถ์ วัดบางลำพู วัดสมอแครง วัดส้มเกลี้ยง และทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามเก่า คือ วัดสำเพ็ง วัดปทุมคงคา วัดครุฑ วัดสุวรรณคีรี วัดสุวรรณดาราราม และทรงช่วยสมทบทำหอมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วิหารคดวัดพระเชตุพน ตลอดจนทรงสร้างอาคารต่าง ๆ ที่ใช้ในงานศพด้วยถาวรวัตถุที่วัดสุวรรณาราม
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทประชวรพระโรคนิ่ว เมื่อครั้งเสด็จยกทัพขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ พระอาการมาก ต้องพักรักษาพระองค์อยู่ที่เมืองเถิน เมื่อเสร็จราชการศึก พระโรคคลายแล้ว จึงเสด็จยกกองทัพกลับลงมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๖ ต่อมาพระโรคกำเริบขึ้น เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ ปีกุน เบญจศก ตรงกับวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๖ พระชนมายุ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระราชโอรสธิดา รวม ๔๓ พระองค์
ทั้งนี้ กรมศิลปากร กำหนดจัดพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในวันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน
ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet
ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ